ก.ย. 242012
 

สำหรับ สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าได้เห็นรูปของสมุนไพรชนิดนี้อาจจะร้องอ๋อ ต้นแบบนี้นี่เอง สำหรับกระทือเป็นพืชตระกูลเดีวกับพวกขิง ข่า ลักษณะดอกสวยงาม

ข้อมูลทั่วไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   ingiber zerumbet Smith.
ชื่อวงศ์ Family  : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ)  เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง
ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้า ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้ม ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ลำต้น    ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร เจริญอาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ(ผมเองก็งงกับศัพท์คำนี้อยู่น่าจะหมายถึงขับประจำเดือน)  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอาน้ำดื่มกิน
ดอก      เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า     ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษและบำรุงน้ำนม วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม) ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว แล้วใช้น้ำดื่ม