ต.ค. 092012
 

พืชที่เราบริโภคลำต้นใต้ดิน หรือเรียกกันแบบบ้านๆว่าหัว นั้นมีอยู่หลายชนิด ที่ได้รับความนิยมหน่อยก็พวก กระชาย หรือข่า ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่เราได้เคยพูดกันมาแล้ว (ตามอ่านได้) แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงพืชชนิดหนึ่งกัน ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครตรงที่เมื่อนำหัวมาฝนจะให้สีเหลืองที่สวยงาม นึกออกแล้วใช่ไหมครับว่าผมพูดถึงอะไร สมุนไพรไทยชนิดนั้นก็คือขมิ้นชัน หรือขมิ้นนั่นเอง

 มาทำความรู้จักกับขมิ้นกัน

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชันชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น  : Curcuma longa Linn

ชื่อในภาษาอังกฤษ  : Turmaric

ชื่ออื่นๆ   :  ขมิ้น ขมิ้นแกง  ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง   ขมิ้นดี  ตายอ

ลักษณะของขมิ้น  : เป็นพืชที่ไม่ท้อถอย (พืชล้มแล้วลุก)  สูงไม่มากประมาณ  30-90 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้องข้างในสีเหลืองเข้ม (ใช้คำว่าเหลืองอ๋อย คงจะเหมาะ)   มีกลิ่นที่หอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้า  ดอกออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ผลรูปกลมมีสามพู

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านสมุนไพรไทย  เหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตามธรรมชาติ ลดการอักเสบ และยังช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีสรรพคุIในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง อาการแพ้และอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านโภชนาการ 

ในขมิ้นชันมีวิตามิน AEC (หรือประชาคมเศรษกิจอาเซียน ไม่ใช่แล้ว) คือเจ้า วิตามิน A,C,E ทั้งสามตัวจะเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆกันจึงมีผลมากมาย เฉพาะในเรื่องของมะเร็งก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งตับ และกำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้ว เตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง    ส่วนในเรื่องอื่นๆที่เขาวิจัยก็มี เรื่องการช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ  นับว่าสรรพคุณค่อนข้างดีมากๆ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติม เช่นป้องกันการแข้งตัวของเลือด การเป็นสารต้านมะเร็งเนื้องอกต่างๆ รวมถึงยังมีการใช้เป็ยาต้านเชื้อในผู้ป่วย HIV ย้ำนะครับว่าอยู่ในขั้นการทดลอง และขมิ้นชันเองมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเหมาะมาก กับคนที่เป็นหวัด หรือแพ้อากาศบ่อยๆ

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขมิ้นชัน

1.สูตรยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำและคั้นแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

2.สูตรยาภายนอก ทาแก้ผื่นคันโรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น ให้ใช้เหง้าแก่แห้ง ไม่จำกัดจำนวน ป่นเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน โดยในเด็กใช้กันมาก

ข้อควรระวังในการใช้  เมื่อมีประโยชน์ ย่อมต้องมีสิ่งที่ต้องระวังบ้างเป็นธรรมดา ลองมาดูกันเลย

  •  การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  • บางคนอาจมีการแพ้ขมิ้นโดยอาการคือ คลื่นไว้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาทันที บางคนอาจทานอาหารใต้ไม่ได้ ทานแล้วท้องเสียไม่แน่อาจเกิดจากสาเหตุการแพ้ขมิ้นในอาหารก็เป็นได้
  • ไม่ควรซื้อผวขมิ้นชันตามตลาดควรทำเอง เพราะตามตลาดเขาใช้ขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีมักผ่านความร้อน ทำให้สูญเสียน้ำมันหอมระเหยไป