ข่า สมุนไพรไทย รักษาลมพิษ

 รักษาโรคผิวหนัง  ปิดความเห็น บน ข่า สมุนไพรไทย รักษาลมพิษ
ก.ย. 242012
 

นอกจากประโยชน์ของข่าในการใช้ประกอบอาหารแล้วนั้น ประโยชน์อย่างหนึ่งที่คนไม่รู้กันคือช่วยในการบรรเทาโรคผิวหนัง และลมพิษต่างๆ จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์มากทีเดียว

ข่า ข้อมูลทั่วไป
ข่า
ชื่อวิทย์ Alpinia nigra (Gaertn.) B.L.Burtt
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)
กุฏกกโรหินี เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน)สะเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ลงหัวจำพวก กะวาน เร่ว กะลา จะลงหัวใหญ่ขาวอวบอ้วน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม
ใบ จะมีลักษณะรูปไข่ยาว จะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้นบนดิน ซึ่งจะเป็นกาบของใบหุ้ม ลำต้น ใบคล้ายพาย
ดอกเป็นช่อมีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
ดอก จะออกเป็นช่อตรงปลายยอด และดอกช่อนั้นก็จะจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีกาบ
สีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้นจะบาน จากข้างล่างขึ้นข้างบน
ผล มีลักษณะกลมโตและมีขนาดเท่าเม็ด บัว เมื่อแก่จะมีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน จะมีรสขม เผ็ดร้อน
การขยายพันธุ์ ข่าจะปลูกด้วยเหง้า หรือหน่อจะปลูกได้ทุกฤดูกาล โดยการแยกปลูกเป็นหลุม ๆ ละต้น ปลูกห่างกันราว ๆ
80 ซม. เผื่อให้มันแตกกอ และปลูกง่ายไม่มีศัตรูพืชรบกวน
ส่วนที่ใช้ เหง้าอ่อน และแก่

สรรพคุณ ของพืชสมุนไพร ชนิดนี้
เหง้า เหง้าแก่ นำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ใช้เป็นยารักษาภายนอก หรือจะตำใช้ทำกระ สายเป็นเหล้าโรง ทารักษาอาการคันในโรค ลมพิษ ทาบ่อย ๆ จนกว่าลมพิษนั้นจะหายไป

ก.ย. 242012
 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้่ที่หาทานได้ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่สรรพคุณไม่กล้วยเหมือนชื่อของมันเลยกล้วยน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไปกล้วยน้ำว้า สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทย์ Musa sapientum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MUSACEAE
ชื่ออื่น -ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกัน จะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 25 เมตร
ใบ มีสีเขียว เป็นแผ่นยาว เส้นของใบจะขนานกัน แกนใบจะเห็นชัดเจน
ดอก มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. เป็นช่อซึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อ
มีสีแดงปนม่วง เป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซ.ม ส่วนทีเป็นฐานดอกจะมีเกสรตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้
ช่อดอกจะเจริญกลายไปเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้จะร่วงไป
ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้ว ผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว
เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียว แล้วตายไป
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ หรือแยกเหง้า
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย

สรรพคุณ
ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการเบาหวาน)

 

ก.ย. 242012
 

สำหรับ สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าได้เห็นรูปของสมุนไพรชนิดนี้อาจจะร้องอ๋อ ต้นแบบนี้นี่เอง สำหรับกระทือเป็นพืชตระกูลเดีวกับพวกขิง ข่า ลักษณะดอกสวยงาม

ข้อมูลทั่วไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   ingiber zerumbet Smith.
ชื่อวงศ์ Family  : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ)  เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง
ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้า ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้ม ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ลำต้น    ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร เจริญอาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ(ผมเองก็งงกับศัพท์คำนี้อยู่น่าจะหมายถึงขับประจำเดือน)  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอาน้ำดื่มกิน
ดอก      เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า     ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษและบำรุงน้ำนม วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม) ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว แล้วใช้น้ำดื่ม

ก.ย. 232012
 

กระชายพืชชนิดนี้เอง มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะเป็นสมุนไพรที่ได้ชือว่า สมุนไพรเพื่อเพิ่มสมรถภาพทางเพศ ทุกวันนี้เรื่องเพศเป็นเรื่องที่เปิดกว้าง สามรถคุยกันได้อย่างเปิดเผย ปัญหาทางเพศก็เช่นกัน สำหรับท่านที่มีปัญหา สมุนไพรตัวนี้สามารถช่วยได้ นอกจากนั้นประโยชน์ด้านอื่นๆของกระชายก็มีมากเช่นกัน

กระชาย สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไป

กระชาย

ชื่อวิทย์ Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr.
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่่วไป

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ 90 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30 – 35 ซม.
ดอก มีสีม่วงแดง ดอกออกเป็นช่อ กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว
เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปาก
แตรเกลี้ยงไม่มีขน
การขยายพันธุ์ จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว
และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก
ส่วนที่ใช้ รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ
ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด

สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก
รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า “โสมไทย”

ข้อมูลงานวิจัยในเรื่องกระชาย

จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง “กระชายดำ” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่

ค้นจากหนังสือชื่อ กระชายดำ ของสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547 เขาเขียนไว้ว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผมดำ ตาแจ่มใส ผิวเต่งตึง ทำให้กระชุ่มกระชาย บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แถมยังใช้ในด้านอยู่ยงคงกระพันได้ด้วย

ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก

ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว

แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้

แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า “กระชาย(เฉย ๆ)” เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน “กระชายดำ” ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ

เอกสารอ้างอิง :
กระชาย หรือ “โสมไทย” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ   บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด

ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

ก.ย. 232012
 

จะสั่งข้าวที เวลานึกอะไรไม่ออกเรามักจะสั่ง กระเพราไข่ดาวจานนึง บางคนอาจจะบอกเราสิ้นคิด แต่ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย ใครจะว่าก็ไม่เป็นไร หนำซ้ำกระเพรายังมีคุณค่าของ สมุนไพรไทย มากมายอีกด้วย

กระเพรา สมุนไพรไทยกระเพรา
ชื่อวิทย์ Ocimum sanctum, Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE

ชื่ออื่น
กระเพราแดง, กระเพราขาว (ภาคกลาง)
ก่ำก้อขาว , ก่ำก้อดำ, กอมก้อขาว, กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาเหนือ)
ห่อตูปลา, ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน

ลักษณะโดยทั่่วไป
ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนของลำต้น เนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม
ใบ ใบสีเขียว เรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนโดย เฉพาะส่วนที่เป็นยอด
ของมันจะมีมากกว่าส่วน อื่น ๆ ใบมีกลิ่นหอม
กิ่ง กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของ มันจะอ่อน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง
เมล็ด เมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด หรือลำต้น ใน การขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นดีในดินร่วนซุยน้ำ น้อย
ส่วนที่ใช้ ใบ, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ
ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย

สูตรยาสมุนไพร ลดระดับน้ำตาลในเลือด

 สูตรยาสมุนไพร  ปิดความเห็น บน สูตรยาสมุนไพร ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ก.ย. 222012
 

สมุนไพรไทย ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานเบาหวานเป็นโรคที่ใครหลายๆคนไม่อยากจะเป็น จากคำบอกเล่าสูตรยานี้เป็นสูตรยาที่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
1. นำใบเตย 24 ใบ มาซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดซัก 2-3 แดดให้แห้งสนิท ไม่มีความชื้น
2. นำใบสัก 7 ใบ ที่ยังอยู่บนต้นสัก ไม่ตกลงพื้น มาตากแดดซัก 2-3 แดดจนแห้ง ซึ่งจะกรอบ และทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ
3. นำใบเตย และใบสักที่แห้งสนิท ตามสัดส่วนมาผสมให้เข้ากัน เก็บในภาชนะปิดสนิท เช่นขวดกาแฟ เป็นต้น

4. นำใส่แก้ว เติมน้ำร้อน หรือใส่กาน้ำชา ดื่มคล้ายน้ำชา เริ่มจากวันละ 1 แก้ว ช่วงไหนของวันก็ได้ จนเป็น 3 แก้วต่อวัน

5. คอยสังเกตุ ติดตามผลการตรวจวัดน้ำตาล จากโรงพยาบาล ว่าค่าน้ำตาลลดลงหรือไม่ เพราะถ้าน้ำตาลลดลงจนอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว ให้หยุดดื่มน้ำชาสูตรพิเศษนี้ทันที เพราะถ้าดื่มต่อ อาจทำให้ค่าน้ำตาลต่ำ ซึ่งก็ไม่ดีอีก

6. จากนั้นคอยติดตามผลการวัดค่าน้ำตาลจากทางโรงพยาบาลต่อ ถ้าค่าน้ำตาลขึ้นอีก ก็เริ่มดื่มน้ำชาสูตรนี้ใหม่อีกครั้ง อดทนปฏิบัติเช่นนี้ไปเรื่อยๆ นานๆ เข้าก็จะสามารถหายจากโรคเบาหวานได้

7. ข้อควรระวังคือ ถ้าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำชาสูตรพิเศษนี้ มีอาการ ” ปัสสาวะขัด ” แสดงว่าไม่ถูกกันให้หยุดดื่มทันทีครับ หรือถ้าเกิดสิ่งผิดปกติอื่นใดที่สังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจน ก็ควรหยุดเช่นกัน สุดท้ายถ้าดื่มแล้วไม่สบายใจ ผมก็แนะนำให้หยุดเช่นกัน
สูตรยานี้ ได้มาจาก blog ของคุณปรีดาลิ้ม นนทสกุล ขอบคุณมา ณที่นี้ครับ

สูตรยาสมุนไพรบำรุงสายตา

 สูตรยาสมุนไพร  ปิดความเห็น บน สูตรยาสมุนไพรบำรุงสายตา
ก.ย. 222012
 

บำรุงสายตา สมุนไพรไทย

มีหลายต่อหลายคน บอกว่าดวงตา เป็นหน้าต่างของหัวใจ วันนี้เว็บเราได้ค้นเจอ สูตรยามสมุนไพรไทยสูตรหนึ่ง ที่เชื่อว่า สรรพคุณบำรุงสายตาได้ เลยถือโอกาศ เอามาให้อ่านกัน

ส่วนประกอบ มีแค่สองอย่าง คือ

1.ผักบุ้งแดง  500 กรัม หรือครึ่งกิโล

ผักบุ้งแดง ก็คือ ผักบุ้งธรรมดา ที่ขึ้นตามท้องไร่ ท้องนา หรือผักบุ้ง ที่เราใช้กินกับส้มตำนี่แหละ (ไม่ใช้ผักบุ้งจีนที่ใช้ผัดไฟแดง) เอามาตากแดดให้แห้ง และบดให้ละเอียด

2.พริกไทยเม็ด ใช้ทั้งหมด 170 กรัม เอามาบดละเอียด

จากนั้นก็เอาส่วนประกอบทั้งสองผสม เข้าด้วยกัน ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย พอปั้นติดกันเป็นก้อนเล็ก เอาขนาดสาคูเม็ดใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ดก่อนอาหาร

สรรพคุณ

ตามตำราโบราณบอกไว้ว่า แก้ตาฟ้าฟาง ตามืด ตาพร่ามัว คนที่มักแสบตา ตามีน้ำตาไหลอยู่เสมอสามารถช่วยได้ เมื่อรับประทานเป็นประจำ

สูตรนี้ได้มาจากหนังสือ ตำรายาสมุนไพรไทย จากแพทย์แผนโบราณ

 

 

ความหมาย และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรไทย

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน ความหมาย และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรไทย
ก.ย. 222012
 

สมุนไพรไทย หมายถึง สมุนไพรของไทยที่มีสรรพคุณ ในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ

ความหมายของสมุนไพรไทย

–  และการที่นำเอาสมุนไพร ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มาผสมรวมกัน ซึ่งจะเรียกว่า “ยา”

– ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้ว ยังอาจประกอบด้วยสัตว์ และ แร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบ    ของยานี้ว่า “เภสัชวัตถุ” เช่น เกลือ

– พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระวาน จันทน์เทศ หรือกานพลู  เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า “เครื่องเทศ”

 

“พืชสมุนไพร” หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพร จำแนกออกเป็น 5 ลักษณะคือ

1. รูป หมายถึงลักษณะภายนอกเช่น  เปลือก แก่น กระพี้  ราก เมล็ด ใบ ดอก

2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีอะไรเช่น สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ

3. กลิ่น ให้สามรถรับรู้ได้ว่ามีกลิ่น กลิ่นหอม กลิ่นฉุน  หรือกลิ่นอย่างไร

4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว  รสจืด รสฝาด รสเย็น

5. ชื่อ ต้องรู้ว่พืชสมุนไพรนั้นมีชื่อว่าอะไร  เช่นรู้ว่า กระชายเป็นอย่างไร ใบหนาดเป็นอย่างไร

ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพรทีมีการนำมาใช้ประโยชน์

ส่วนต่างๆของพืชสมุนไพร

1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่น กระชาย ขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.1 รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น

1.2 รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็น

รากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น

2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช

แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น

1. ประเภทไม้ยืนต้น

2. ประเภทไม้พุ่ม

3. ประเภทหญ้า

4. ประเภทไม้เลื้อย

3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า”คอลโรฟิลล์”อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น

ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ

1. ตัวใบ

2. ก้านใบ

3. หูใบ

ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน

2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว  มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น

4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก

ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ

1. ก้านดอก

2. กลีบรอง

3. กลีบดอก

4. เกสรตัวผู้

5. เกสรตัวเมีย

5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ

1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน

2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า

3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด

มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1. ผลเนื้อ

2. ผลแห้งชนิดแตก

3. ผลแห้งชนิดไม่แตก

ก.ย. 202012
 
คนที่ชอบทานอาหารรสจัดหน่อยก็คงชอบ ภายในรสเผ็ดร้อนของมันนั้น มีคุณค่าของสมุนไพรไทย แฝงอยู่ถึงหกประการด้วยกัน

พริก สมุนไพรไทยพริกขี้หนู (cayenne pepper)

พริกชี้ฟ้า (chili Spur pepper)

พริกหยวก (red-pepper หรือ sweet pepper)

พริกเป็นอาหารสมุนไพรที่ใช้กับทุกครัวเรือน ท่านทราบหรือไม่ว่าพริกนั้นมีคุณค่าทางอาหารและคุณค่าทางยาที่วิเศษชนิดหนึ่ง พริกที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารจะใช้ทั้ง พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า และพริกหยวก

ในพริกมีสาร capsaicin ซึ่งมีมากในไส้พริก เป็นสารที่มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมีสาร carotenoid วิตามินซี วิตามินเอ ไขมัน  และ โปรตีน

สรรพคุณ

1. พริกช่วยขับเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง สารแคปไซซินช่วยลดความไวของปอด ต่อการเกิดอาการต่างๆ  เช่น การบวมของเซลล์หลอดลมใหญ่และเล็ก ลดการหดเกร็งเนื้อรอบหลอดลม พริกเผ็ดจึงเป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นหอบหืด เมื่อเราลองกินพริกที่รสเผ็ดๆ น้ำตา น้ำมูกไหล ซึ่งอธิบายได้ว่า พริกช่วยให้เสมหะที่ข้นเหนียว เจือจางลง ร่างกายจะขับเสมหะออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น

2.  ช่วยสลายลิ่มเลือด  มีรายงานการวิจัย   นายแพทย์สุคนธ์   วิสุทธิพันธ์และคณะ จากศิริราชพยาบาล ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือคนที่ได้รับพริก และไม่ได้รับพริกในอาหาร ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับพริกจะมีการทำงานของร่างกายเพื่อสลายลิ่มเลือดได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับพริก แต่หลังจากกินพริกแล้วครึ่งชั่วโมง ความสามารถในการสลายลิ่มเลือดจะกลับคืนสู่ปกติ และยังมีการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ของชาวอินเดีย เปรียบเทียบชาวไทยกับชาวอเมริกันที่อาศัยในไทยแต่ไม่รับประทานพริก พบว่าคนอเมริกันมี fribrinogen ในเลือดสูง และเลือดมีโอกาสจะจับตัวเป็นลิ่ม และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้ง่ายกว่า ดังนั้นผลดีที่คนไทยใช้พริกประกอบอาหาร โอกาสจะเกิดโรคหัวใจจึงมีน้อยกว่า

3. บรรเทาอาการปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน สารแคปไซซิน  ออกฤทธิ์ต่อเซลประสาทโดยชะลอการหลั่งของ neurotransmitter ที่ปลายประสาท substance P ส่งผลให้สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง

4. พริกช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอ็นดอร์พิน (endorphins) ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เมื่อรับประทานพริกจะเกิดความสุขและเป็นส่วนหนึ่งทำให้อยากเพิ่มขนาดพริกในอาหารขึ้นเรื่อยๆ สารเอ็นดอร์พินมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือ การออกฤทธิ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้อยากหลับ (opiates) ซึ่งนั้นก็ให้เกิดความสุขแก่ตัวเราและทำให้ความดันโลหิตลดลง

5. พริกจะช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร

6.พริกช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในพริกมีทั้งวิตามิน เอ ซี และโปรตีน

ข้อควรระวัง

แม้ว่าพริกจะมีสรรพคุณนานัปการอย่างที่กล่าวแล้ว แต่ท่านต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานรสเผ็ดจัด และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ไม่ควรรับประทานพริกมาก เพราะอาการเจ็บป่วยของท่านอาจเป็นมากขึ้น ไม่ควรทานเผ็ดในช่วงท้องว่าง ควรปรุงเป็นอาหาร ไม่ควรเคี้ยวพริกสด ๆ  เพราะอาจจะเกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร อาจจะทำให้ท่านเป็นแผลเรื้อรังและกลายเป็นมะเร็งได้

ก.ย. 202012
 

กระเทียม สมุนไพรไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีภาพวาดหัวกระเทียมปรากฏบนโลงศพมัมมี่อียิปต์ ประมาณ 3,200 ปีก่อนพระคริสต์ มีการขุดค้นพบกระเทียมฝังเป็นแนวรอบมหาราชวัง knosos  ในกรีซ และในปอมเปอี

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าใช้กระเทียมเพื่อรักษา

  • · อาการปวดศีรษะ เจ็บคอ บำรุงร่างกายที่อ่อนแอ
    • · กระเทียมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
    • · ตำราจีนและญี่ปุ่น ใช้กระเทียมช่วยลดความดัน
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กระเทียมได้รับการยอมรับในการรักษาโรคไทฟัสและโรคบิด
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แพทย์ชาวอังกฤษ รักษาแผลสด  เป็นยาฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ตามตำรายาไทยหลายเล่มยังได้ระบุสรรพคุณและประโยชน์ทางยาของกระเทียมได้หลายอย่าง

  • · ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
  • · ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • · ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ

กระเทียม allium sativum linn.

สารสำคัญ

ในหัวกระเทียมสดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-0.4 % มีสารสำคัญ ที่มีกำมะถันหลายชนิดเช่น alliin, allicin, diallyl disulfide, methyl n-propyl disulfide นอกจากนี้แล้วยังมีกรดกำมะถัน เช่น d-glutamyl-s-methylcysteine ส่วนกลิ่นของกระเทียมเกิดจาการย่อย allylcystein sulfoxide หรือ alliin ซึ่งไม่มีกลิ่นให้เป็นสาร allylthiosulfinote หรือ allicin ด้วยเอนไซม์  allinase

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่ากระเทียมสามารถลดปริมาณของ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้

ส่วนการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม กับคนปกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับ Cholesterol สูง ในขนาดที่ได้ 0.25 mg /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 เดือน พบว่าระดับ Cholesterol ในเลือดลดลง และเมื่อใช้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขาด 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1ใน 3 ของคนไข้ที่มีระดับ Cholesterol สูง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีก 2 ใน 3 ลดลงปกติ สารที่มีฤทธิ์ในการลด Cholesterol คือ allicin กระเทียมกับการลดความดันโลหิต

พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95 % จากหัวกระเทียมสามารถลดความดันในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงได้

กระเทียมกับการลดน้ำตาลในเลือด

จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยการให้สารสกัดกระเทียมด้วย แอลกอฮอล์ให้กับกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอ ๆ กับ tolbutamide

กระเทียมยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

น้ำคั้นกระเทียมและกระเทียมผงมีผลต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ mycobaerium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของโรควัณโรค สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว คือ สารจำพวกซัลไฟด์ (sulfide) ซึ่งได้แก่ allicin, scordinin และ scordinin A

กระเทียมกับ HIV

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งไม่พบในกระเทียมสด แต่จะพบในกระเทียมที่หมักในน้ำมัน สาร ajoene สามารถป้องกัน CD4  Cell จากการติดเชื้อ HIV และยังช่วยลดการสร้างไวรัสตัวใหม่ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

ใช้กระเทียมอย่างไร  ในชีวิตเราจะใช้กระเทียมในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกกะปิ ผัดผัก ผักแกล้มหมูทอดกระเทียม ส้มตำ ฯลฯ แม้แต่เรากินข้าวขาหมูยังมีกระเทียมเป็นผักแกล้ม ถ้าจะอธิบายเป็นแบบสมัยใหม่น่าจะอธิบายได้ว่า เพราะข้าวขาหมูมีไขมันสูง ถ้าเรากินกับกระเทียม เข้าใจว่าจะช่วยลดไขมันที่เรากินไปได้ เราจะกินกระเทียมให้ได้คุณค่าของกระเทียมสูงควรจะใช้

“กระเทียมสด ดีที่สุด”

“กระเทียมไทย ให้ผลสูงสุด”

ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักต่อหนึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 10-15 กลีบต่อวัน)

นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง 5-10 วัน อาการจะดีขึ้นและทาต่อจนกว่าจะหาย

หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า

 ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า
ก.ย. 202012
 

หอมหลายครั้งมักถูกนำมาเป็นเครื่องเคียง หรือ โรยประดับ สิ่งที่เห้นอยู่บ่อยๆคือคนมักเขี่ยหอมทิ้ง แต่ไอ้สิ่งที่เราเขี่ยทิ้งเนี่ยหลายคนจะรู้บ้างไหมว่ามันมีคุณค่าขนาดไหน

หอม สมุนไพรไทยหอมใหญ่  allium cepa linn.

หอมแดง allium ascalonicum linn.

สรรพคุณหรือประโยชน์ทางยา ตามตำรายาไทยช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

การศึกษาวิจัยพบว่า หัวหอมมีประโยชน์ดังนี้

                มีผลต่อการเพิ่ม high density lipoprotein (HDL) cholesterol หรือคอเรสเตอรอล ตัวดี

                มีผลต่อ low density lipoprotein (LDL) ลดลง หรือคอเรสเตอรอล ตัวร้าย

ลดปริมาณ cholesterol ในกระแสเลือด และยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ สารสำคัญที่สามารถละลายลิ่มเลือดที่จับตัวขัดขวางทางเดินโลหิตได้ คือ สารไซโคลอัลลิอิน

ขนาดและวิธีใช้

1. หอมหัวใหญ่ ใช้ครึ่งหัว

2. หอมแดง ใช้ 5-6 หัว

รับประทานทุกวัน อย่างน้อย สองเดือน จะรับประทานร่วมกับอาหารอื่นก็ได้ และที่สำคัญถ้าจะให้ผลดีต้องรับประทานสด เช่น เมี่ยงคำ ยำ น้ำพริก ผักแกล้ม เป็นต้น หลังจากที่ได้ทราบคุณค่าทางยาของหัวหอมแล้ว หวังว่าท่านคงจะไม่เขี่ยหอมออกนอกจานต่อไป

อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร

 ขับปัสสาวะ, บำรุงเส้นผม, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร
ก.ย. 202012
 

อัญชันหลายคนคงเคยเห็น แบบที่ขึ้นเองตามข้างถนนบ้าง หรือปลูกบ้างก็มี ใครจะรู้ว่าสีม่วงสดใสของอัญชันจะแฝงด้วยคุณค่าหลายอย่างอัญชัน สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitore ternatea Linn. วงศ์ Papilionaceae

ชื่ออังกฤษ Butterfly pea, Blue pea, Asian pigeon-wings

ชื่อท้องถิ่น แดงชัน เอื้องชัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อัญชันเป็นไม้เลื้อยซึ่งปลูกเป็นไม้ประดับรั้วหรือซุ้มทั่ว ๆ ไป ลำต้น มีขนนุ่ม ใบ เป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ อัญชันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดดอกขาว และชนิดดอกสีน้ำเงิน (ขาบ) แต่ละชนิดมีทั้งดอกเป็นชั้นเดียวและดอกซ้อน ชนิดพันธุ์ทางมีดอกสีม่วงเกิดจากการผสมระหว่างดอกสีขาวและสีน้ำเงิน

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ผมดกดำ นุ่มสลวย

ดอกอัญชันใช้ทำแชมพูสระผม ช่วยให้ผมดกดำ นุ่มสลวย

แต่งสีอาหาร

ดอกอัญชันสีน้ำเงินใช้แต่งสีอาหารได้ ใช้เป็นสีผสมอาหารในขนหลายชนิด เพื่อนให้ขนมนั้น ๆ มีสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วง เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ วิธีสกัดสีจากดอกอัญชัน ทำได้โดยนำกลีบดอกอัญชันมาบดในน้ำเล็กน้อย กรองผ่านผ้าขาวบาง บีบน้ำออกได้สีน้ำเงิน ถ้าต้องการสีม่วงให้เติมมะนาวลงไปเล็กน้อย

เมล็ด

ใช้เป็นยาระบาย แต่มักจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

ราก

 

มีรสขม ใช้เป็นยาขับปัสวะและใช้เป็นยาระบาย

 สารสำคัญ

 

ชนิดที่กลีบดอกสีน้ำเงิน จะมีสารพวก Anthocyanin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวบ่งชี้ทางสารเคมี (indicator) เช่นเดียวกับลิตมัส (litmus) ในสภาวะที่เป็นกรดจะมีสีออกไปทางสีแดง ในด่างจะออกสีน้ำเงิน

 

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี

ว่านหางจระเข้ เพื่อผมสวย ผิวใส

 ช่วยสมานแผล, บำรุงผิว, บำรุงเส้นผม  ปิดความเห็น บน ว่านหางจระเข้ เพื่อผมสวย ผิวใส
ก.ย. 202012
 

ไม่ว่าจะว่านหางจรเข้ หรือ ว่านหางจระเข้ คำไหนเขียนผิดหรือเขียนถูก ผมก็ไม่รู้ แต่ถ้าเรื่องสรรพคุณ ความเป็นสมุนไพรไทยของมัน ก็พอจะบอกได้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรไทยชื่อทางวิทยาศาสตร์ Aloe barbadenisi Mill. วงศ์ Liliaceae

  1. indica Royle
  2. vera Linn.

ชื่ออังกฤษ

Aloe, Star Cartus< Aloin<Jafferabad,Barbados

ชื่อท้องถิ่น ว่านไฟไหม้ (เหนือ) หางตะเข้ (กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ส้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตรข้อและปล้องสั้น ใบ เป็น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใสใต้ผิว สีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อน มีประสีขาว ดอก เป็นช่อออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลงสีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผล เป็นผลแห้ง แตกได้

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ลบรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว

วุ้นจากว่านหางจระเข้ ใช้ทาลดความมันบนใบหน้า ลดรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว รักษาการอักเสบต่าง ๆ ทำให้สิวแห้งหลุดง่าย

วิธีใช้ โดยนำใบว่านหางจระเข้ขนาดพอเหมาะมาปอกเปลือกออกให้เกลี้ยงล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดยาง ตาเอาเฉพาะวุ้นใส ๆ ทาบาง ๆ ตอนเช้าและก่อนนอน นาน 6 เดือน ทำให้ ผิวหน้ามีน้ำมีนวล ไร้รอยสิวและรอยแผลเป็น

บำรุงผมและหนังศีรษะ

ใช้สระผมช่วยบำรุงหนังศีรษะ ป้องกันผมร่วง และช่วยลดความมันของเส้นผมได้ ลดอาการคัน ไม่มีรังแค และทำให้ผมไม่หงอกเร็วโดนนำว่านหางจระเข้ที่แก่มาปอกเปลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นนำมาบดใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด

ตำราไทยใช้น้ำยางสีเหลืองขากใบ เคี่ยวให้แห้งเรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย วุ้นสดของใบใช้ปิดขมับแก้ปวดหัว ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดนและการฉายรังสี แผลสด แผลเรื้อรัง ใช้กินรักษาแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอาง เช่น แชมพูสระผม สบู่ และครีมกันแดด

สารสำคัญ

ในยางมี แอนทราควิโนน

ในวุ้นมี กลับโคโปรตีน aloctin A สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน

ข้อควรระวัง

  1. การใช้ว่านหางจระเข้เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกัน ทั้งโดยการรับประทานหรือใช้ภายนอก อาจเกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันได้ จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ
  2. สารในวุ้นของว่านหางจระเข้สลายตัวได้ง่ายและรวดเร็วจึงควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือเตรียมใหม่สด ๆ ก่อนใช้