ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร

 ขับปัสสาวะ, บำรุงเส้นผม, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร
ก.ย. 202012
 

อัญชันหลายคนคงเคยเห็น แบบที่ขึ้นเองตามข้างถนนบ้าง หรือปลูกบ้างก็มี ใครจะรู้ว่าสีม่วงสดใสของอัญชันจะแฝงด้วยคุณค่าหลายอย่างอัญชัน สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitore ternatea Linn. วงศ์ Papilionaceae

ชื่ออังกฤษ Butterfly pea, Blue pea, Asian pigeon-wings

ชื่อท้องถิ่น แดงชัน เอื้องชัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อัญชันเป็นไม้เลื้อยซึ่งปลูกเป็นไม้ประดับรั้วหรือซุ้มทั่ว ๆ ไป ลำต้น มีขนนุ่ม ใบ เป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ อัญชันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดดอกขาว และชนิดดอกสีน้ำเงิน (ขาบ) แต่ละชนิดมีทั้งดอกเป็นชั้นเดียวและดอกซ้อน ชนิดพันธุ์ทางมีดอกสีม่วงเกิดจากการผสมระหว่างดอกสีขาวและสีน้ำเงิน

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ผมดกดำ นุ่มสลวย

ดอกอัญชันใช้ทำแชมพูสระผม ช่วยให้ผมดกดำ นุ่มสลวย

แต่งสีอาหาร

ดอกอัญชันสีน้ำเงินใช้แต่งสีอาหารได้ ใช้เป็นสีผสมอาหารในขนหลายชนิด เพื่อนให้ขนมนั้น ๆ มีสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วง เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ วิธีสกัดสีจากดอกอัญชัน ทำได้โดยนำกลีบดอกอัญชันมาบดในน้ำเล็กน้อย กรองผ่านผ้าขาวบาง บีบน้ำออกได้สีน้ำเงิน ถ้าต้องการสีม่วงให้เติมมะนาวลงไปเล็กน้อย

เมล็ด

ใช้เป็นยาระบาย แต่มักจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

ราก

 

มีรสขม ใช้เป็นยาขับปัสวะและใช้เป็นยาระบาย

 สารสำคัญ

 

ชนิดที่กลีบดอกสีน้ำเงิน จะมีสารพวก Anthocyanin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวบ่งชี้ทางสารเคมี (indicator) เช่นเดียวกับลิตมัส (litmus) ในสภาวะที่เป็นกรดจะมีสีออกไปทางสีแดง ในด่างจะออกสีน้ำเงิน

 

มะเขือเทศ มากกว่าผิวสวย

 บำรุงผิว, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน มะเขือเทศ มากกว่าผิวสวย
ก.ย. 202012
 

มะเขือเทศถ้าพูดว่าเพื่อผิวสวยหลายคนอาจเคยได้ยินแต่คุณค่ามันมากกว่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของสารอาหารต่างๆ เราไปรู้จักกับพืชสมุนไพรชนิดนี้กันนะครับ

มะเขือเทศ สมุนไพรชื่อวิทยาศาสตร์ Lycopersicon esculentum Mill วงศ์ Solanaceae

ชื่ออังกฤษ tomato , lova apple

ชื่อท้องถิ่น ตรอบ (สรินทร์) ตีรอบ (เขมร) มะเขือส้ม(ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุก สูง 1-2 เมตรลำต้นและใบมีขน

ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ออกสลับกันยาว 10-14 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อง่ามใบ ช่อหนึ่งมี 3-7 ดอก กลีบดอกสีเหลืองติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ ผล รูปร่างและขนาดมีได้ต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่กลม กลมรีหรือกลมแบน มะเขือเทศเป็นพืชอบอุ่นและแสงแดด ผลเมื่อยังดิบมีสีเขียว แต่เมื่อสุกเต็มที่แล้วมีสีแดงอมส้มถึงแดง ผิวนอกเรียบเป็นมัน มีเนื้อฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่มสดใส

ใสสตรีนิยมใช้น้ำมะเขือเทศสดพอพอกหน้าหรือใช้มะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะลงบนใบหน้า เนื่องจากวิตามินหลายชนิดในมะเขือเทศจะช่วยบำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่ม สดชื่น นอกจากนี้น้ำจากผลมะเขือเทศสุกที่คั้นใหม่ ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้เนียนนุ่ม โดยนำผลมะเขือเทศมาบดให้ละเอียด เติมน้ำมะนาว 2-3 หยด ขั้นตอนการใช้เริ่มจากการล้างหน้าให้สะอาด ทาครีมสำหรับใบหน้า วางชั้นสำลีแห้งบาง ๆ แล้วปิดด้วยสำลีที่ชุ่มน้ำมะเขือเทศที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที เอาสำรีออกแล้วทาครีมอีกครั้ง และเช็ดออกให้สะอาด ด้วยสำลี ชุบน้ำมะเขือเทศ

            ผลมะเขือเทศนิยมใช้เป็นผักสด ผลไม้ ประกอบอาหารหรือทำซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่ม

การรับประทานผลสดที่มีไลโคปีน ซึ่งคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) ลดการเกิดมะเร็ง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ยาระบายอ่อน ๆ เจริญอาหาร

ใช้ผลสดต้มน้ำแกงหรือกินสด

ต้น

ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืช มีฤทธ์ไล่แมลงและเพิ่มความต้านทานต่อแมลง

สารสำคัญ

ผล มะเขือเทศมีวิตามินหลายชนิดเช่น thiamine, nicotic, acid, riboflavin, ascorbic acid, pantothenic acid, biotin, วิตามินเค นับว่าเป็นผักหรือสมุนไพรที่มีวิตามินเกือบครบ สารจำพวก carotennoid ที่พบในมะเขือเทศมี B-carotene และ lycopene ในมะเขือเทศที่สุกมี lycopene เพิ่มขึ้น

ใบ ส่วนเหนือดินและผลดิบ ใบมะเขือเทศมีสารพวก สเตียรอยดัลอัลคาลอยด์ (steroidal alkaloids) ได้แก่ อัลฟาโทมาทีน

ข้อควรระวัง

สารอัลฟาโทมาทีน มีลักษณะคล้ายซาโปนิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุอย่างแรง ถ้ารับประทานในขนาดที่ทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง มีฤทธ์กระตุ้มระบบประสาทส่วนกลางอาจเป็นอัมพาตได้

การใช้มะเขือเทศพอกหน้า บำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่มสดชื่น ผลที่ใช้ต้องสด ดูสภาพดี ไม่ควรใช้ผลที่เหี่ยวแห้งแล้วภาชนะที่ใส่ผลไม้ไม่ควรทำด้วยโลหะที่เป็นสนิม ควรใช้แก้วหรือกระเบื้อง การพอกอย่าพอกที่ตา ปากและรูจมูก

 

ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา