4 สมุนไพรไทย สรรพคุณมากมาย หาได้ง่ายๆ ใกล้ตัวคุณ

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน 4 สมุนไพรไทย สรรพคุณมากมาย หาได้ง่ายๆ ใกล้ตัวคุณ
ต.ค. 272018
 
สมุนไพร กระเทียม น้ำมันมะกอก

สมุนไพร กระเทียม น้ำมันมะกอก

https://pixabay.com/th/ขนมปัง-น้ำมันมะกอก-กระเทียม-3571268/

สมุนไพรนั้นเป็นของใกล้ตัวของคนไทย นอกจากจะนำมาใช้ในการประกอบอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย มีเอกสารการวิจัยรองรับทั้งในและต่างประเทศด้วย ทำให้เรามั่นใจในการนำสมุนไพรมาสกัดหรือนำมาปรุงเป็นยามากยิ่งขึ้น อย่างเช่นสมุนไพรในครัวเรือน เช่น เหง้ากระชาย น้ำมันมะกอก มะนาว ขิง เป็นต้น ซึ่งวันนี้เรามีสรรพคุณของสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดโดยอ้างอิงงานวิจัยมาให้ดูกัน

ดร.แคทรียา สุทธานุช นักวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเหง้ากระชายดำ โดยค้นพบว่าในเหง้ากระชายดำมีสารบริสุทธิ์ 11 ชนิด ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเมทอกซีฟลาโวน มีรายงานต้านการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลชีพในช่องปากและทางเดินอาหาร

ผศ. ดร. ปิน ซวี จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคและวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกา กล่าวว่า สารประกอบในน้ำมันมะกอกอย่าง โอรียูโรฟีอีน มีส่วนช่วยกระคุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานการเผาผลาญของน้ำตาลในเลือด และยับยั้งพิษจากเซลล์ที่เกิดจากโมเลกุลอะมีลิน ซึ่งพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง

สมุนไพร ขิง ชามะนาว

สมุนไพร ขิง ชามะนาว

https://pixabay.com/th/ขิง-มะนาวร้อน-ชา-มะนาว-หิมะ-1918107/

น.ส.ชลิดา ภาวนาเกษมศานต์ พยาบาลชำนาญการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ได้นำน้ำอุ่นผสมมะนาวเช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้ผู้ป่วย โดยนำมะนาวมากดในน้ำอุ่นและผ่าครึ่งแล้วบีบน้ำมะนาวออกมาแล้วนำมาเช็ดตัวในผู้ป่วยเด็ก ในกลุ่มที่ได้รับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว สามารถลดอุณหภูมิในร่างกายได้มากกว่ากลุ่มที่เช็ดด้วยน้ำอุ่นธรรมดา เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่ามะนาวมีส่วนช่วยลดไข้ได้จริง

ขิง สมุนไพรชนิดหนึ่งที่ทุกคนรู้จักกันดี มีสรรพคุณมากมาย ในตำรายาไทย เราใช้เหง้าขิงในการรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อได้ แก้ท้องเสีย ขิงแห้งยังมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ไอขับเสมหะ เป็นต้น ส่วนในตำราเภสัชของจีนจะใช้ทั้งขิงแห้งและขิงสด ขิงแห้งจะช่วยสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ส่วนขิงสด จะช่วยขับพิษออกมาทางเหงื่อได้

จะเห็นได้ว่า สมุนไพรทั้ง 4 ชนิดนั้นหาได้ง่ายๆในครัวของเราเอง แต่ละชนิดนั้นมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน แต่รับรองเลยว่าหากใครได้ทานแล้ว จะเอื้อประโยชน์ให้กับร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพของคุณให้แข็งแรงขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามการทานสมุนไพรนั้นต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพได้จริง และที่สำคัญอย่าละเลยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอด้วย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่คู่กับคุณไปแสนนาน

อ้างอิงงานวิจัย

http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/31776 (น้ำมันมะกอก)

https://gs.kku.ac.th/home/images/news/kanokaward/2553.pdf (เหง้ากระชายดำ)

https://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5806 (มะนาว)

https://www.disthai.com/16488302/ขิง

ก.ย. 132015
 

ใครได้ดูหนังเรื่อง ฟรีแลนส์บ้างครับ ผมพึ่งไปดูมา เนื้อเรื่องแปลกใหม่ดี แต่ผมไม่ได้มารีวิวหนังนะครับเพราะเว็บนี้เป็นเว็บเกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ซึ่งถ้าใครได้ดู  พบว่าจากเนื้อในหนังเราจะพบว่าพระเอกป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งในหนังก็ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไรซะด้วย  แต่อาการที่พบได้แก่อาการคัน และตุ่ม ผื่นต่างๆ ถ้าไปหาหมอ หมอก็จะจัดพวกยาต่างๆตามอาการ  ซึ่งจริงๆแล้ว หากอาการไม่ร้ายแรงนัก เช่นตุ่มผดผื่นคันจากอากาศร้อน หรือการแพ้ที่มีไม่มาก เราก็สามารถใช้สมุนไพรไทยรักษาได้เช่นกัน  ลองมาดูกันครับว่ามีสมุนไพรอะไรกันบ้าง

ว่านหางจระเข้1.ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพรไทย ชนิดนี้เราคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว ลองอ่านเพิ่มเติมจากลิ้งค์นี้ได้ครับ  ว่านหางจระเข้ เพื่อผมสวย ผิวใสการใช้งานรักษาอาการคัน โดยการใช้ส่วนที่เป็นวุ้นวุ้นจากว่านหางจระเข้ทาที่ผิวส่วนที่มีอาการต่างๆเช่นผื่นคัน  ผด โดยให้ทา วันละ 2-3 ครั้ง แต่ที่สำคัญควรล้างผิวหนังให้สะอาดก่อนทุกครั้ง สารจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์บรรเทาอาการคันให้ทุเลาลงได้   อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูสภาพผิวให้กลับมาดีขึ้นได้ด้วย ใครไม่มีลองหาจากตลาดนัดมาปลูกดูนะครับ ปลูกง่าย

2.ขมิ้น เป็นสมุนไพรไทยที่ดีมากๆในการรักษาโรคผิวหนัง โรคผดผื่นคันต่างๆ ขมิ้นวิธีการคือให้นำเหง้าสดของขมิ้นมาล้างจากนั้นใช้ครก ตำให้เกิดน้ำแล้วนำมาทาผิว หรือจะใช้เครื่องบดแล้วคั้นเอาน้ำก็ไม่ว่ากันครับ   เป็นไงง่ายไหมครับสำหรับรายละเอียดสรรพคุณด้านสมุนไพรเพิ่มเติมลองดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ   ขมิ้น ไม่สิ้นซึ่งสรรพคุณ

3.พลู สมุนไพรไทยตัวนี้น่าจะพอหาไดครับ ตามตลาด เพราะคนแก่ๆใช้เคี้ยวร่วมกับหมาก วิธีการใช้ก็โดยนำใบสด  3-4 ใบ มาตำแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับเหล้าโรง (หรือเหล้าขาวนั่นแหละครับ ที่เรียกว่าเหล้าโรงเพราะเขาไม่อยากให้มองในแง่ของเหล้าเถื่อน) ซึ่งพลูสามารถช่วยลดอาการของผดผื่นคันได้เป็นอย่างดี

5.ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรนี้ไม่ได้ขึ้นชื่อแต่พียงรักษาอาการเจ็บคอ หรือไข้นะครับ สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรซึ่งฟ้าทะลายโจรสามารถนำใบสดมาตำ แล้วคั้นเอาน้ำมา ทาบริเวณที่มีอาการผดผื่นคันซึ่งใช้วิธีคล้ายๆกับขมิ้น  หรือจะใช้ส่วนลำต้นต้มกับน้ำมันมะพร้าวจนเปื่อย แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ,yoมาทาก็ได้ ส่วนสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของฟ้าทะลายโจร ลองดูที่ลิ้งค์นี้ครับ  ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้

6.สะเดา นอกจากทานกับน้ำปลาหวาน สามารถใช้ได้ทั้งส่วนใบและเปลือกต้นสะเดา วิธีใช้โดยการคั้นเอาน้ำ มาใช้ทา เช่นเดียวกับสมุนไพรอื่นๆ เพราะสะเดาแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา จึงช่วยลดอาการคัน อาการแพ้ของผิว ได้อย่างดี สำหรับสรพคุณอื่นๆของสะเดา สามารถดูได้จากลิ้งค์นี้นะครับ สะเดา สมุนไพรรสขม แต่มากคุณค่า

ขอบคุณภาพจาก kasettrakonthai.com  เนื้อหาประกอบจาก  http://www.beauty24store.com/

เม.ย. 192015
 

เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง

แคนา  จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า)   ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา  ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ   ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามีดังนี้ครับ ขอบคุณคณะเภสัชาสตร์ ม.อุบล สำหรับข้อมูลอ้างอิง

 

ชื่อสมุนไพร แคนา
ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า)  แคขาว (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ)   แคเค็ตถวา  (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่)      แคทราย(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ดอกแคนา 

  • ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
  • เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม  โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7  เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี   ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร
  •  ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร
  •  ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ   พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ  โดยออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย    

  •   ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
  •   เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด
  •   ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก
  •    ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม
  •    เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท(ตำราน่าจะหมายถึงอาการปวดต่างๆนะครับ) แก้โรคชัก

ประโยชน์อื่นๆ   แน่นอนครับสำหรับแคนา ประโยชน์หลักๆคือดอก ใช้ในการลวกจิ้ม หรือประกอบอาหารต่างๆ รสชาติขมนิดๆ ช่วยเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นต้นแคนาเองก็มีการนำไปเป็นไม้ให้ร่มเงา ตามบ้าน รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายๆแห่งนำไปใช้ปลูกตามถนนเข้าโครงการก็มี จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ทีเดียว

 

หญ้าคาสุดยอดวัชพืชสมุนไพรไทย ที่ไม่ไร้คุณค่า

 ขับปัสสาวะ, พืชสมุนไพร, ลดความดันโลหิต  ปิดความเห็น บน หญ้าคาสุดยอดวัชพืชสมุนไพรไทย ที่ไม่ไร้คุณค่า
ก.ย. 092014
 

สวัสดีเพื่อนๆเว็บ ไทยสมุนไพร.net ทุกท่านครับ  ช่วงนี้ฝนตกค่อนข้างบ่อย ถึงแม้จะไปไหนมาไหนลำบาก แต่ก็มีข้อดีคือช่วยลดอุณภูมิภายนอกให้เย็นสดชื่นได้ พืชพันธ์ต่างๆ ก็พากันเขียวชอุ่ม โดยเฉพาะพวกวัชพืชต่างๆก็ได้อานิสงค์ไปกับเขาfด้วยเช่นพวกหญ้าคา  ซึ่งทำให้อาจต้องเปลืองแรงถอนกันอีก แต่หลายๆท่านเองอาจคิดว่าหญ้าคา เป็นเพียงวัชพื้ชที่ไร้คุณค่า  โดยมีคนเคยให้ข้อมูลว่า หญ้าคาติดอันดับ1 ใน 10 ของวัชพืชที่แย่ที่สุดของโลกเลยทีเดียว  อะไรจะขนาดนั้น     แต่ความเป็นจริงแล้ว หญ้าคานั้นถือเป็นสมุนไพรไทย ที่ทรงคุณค่ามากมายทีเดียว  มารู้จักหญ้าคากันครับ

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา      Imperata cylindrica (L.) P.Beauv
  • ชื่อวงศ์                                        Poaceae หรือ Gramineae
  • ชืออื่นๆตามภูมิภาค                     คาหลวง , คา (ภาคกลาง) ลาแล , ลาลาง มลายู และ เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

หญ้าคา

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของหญ้าคา

มีเหง้าสีขาวแข็งอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงถึง15 – 20 เซนติเมตร มีกาบใบโอบหุ้มอยู่และริมกาบใบจะมีขน ตัวใบจะเรียวยาวประมาณ 1 – 2 เมตร กว้างประมาณ 4 – 18 มิลลิเมตร มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง เป็นช่อยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากการศึกษาทางวิสยาศาสตร์

เนื่องจากหญ้าคามีสารสำคัญอยู่หลายประการโดยเฉพาะในราก มีสารประกอบฟินอลิก (phenolic compounds),โครโมน (chrmones), ไตรเตอร์ปินอยด์ (triterpenoid), เซสควิทเตอร์ปินอยด์ (sesquiterpenoids), โพลีแซคคาไรด์โดยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติสำคัญดังนี้

  1. ต้านอักเสบ  สารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า ไซลินดอลเอ (cylindol A) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส                        (5-lipoxygenase) ซึ่งจะลดการสลายกรดไขมันอะแรกชิโดนิก (arachidonic acid) ที่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารก่ออักเสบ
  2. ต้านเลือดเหนียว  สารประกอบฟินอลิกที่มืชื่อว่า อิมพีรานีน (imperanene) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
  3. ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตสารประกอบฟินอลิกในกลุ่มลิกแนนที่มีชื่อว่า (graminone B) และเซสควิทเตอร์ปินอยด์ที่ชื่อว่าไซลินดรีน (cylindrene)  ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด (vasodilative activity) โดยพบว่าสามารถยับยั้งการหดรั้งของหลอดเลือดแดงในกระต่าย  ซึ่งคุณสมบัตินี้มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต ดั่งเช่นที่พบว่าสารสกัดจากหญ้าคาสามารถลดความดันโลหิตในหนูทดลองได้
  4. ปกป้องเซลล์สมองสารโครโมนที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากสารเคมีที่เป็นพิษ
  5.  เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันโพลีแซคคาไรด์ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  6.  ต้านจุลชีพ  มีการศึกษาสารสกัดจากใบและรากของหญ้าคาพบว่าสารที่สกัดได้ทั้งจากใบ และรากของหญ้าคามีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคได้ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย B. subtilis, P aeruginosa, E. coli, S. aureus และ ยีสต์ C. albicans(11)

ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณ

  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทยคือ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้น้ำดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  โดยใช้ 1 กำมือ (สด 40-50 กรัม หรือ แห้ง10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง  ก่อนอาหารครั้งละ 1ถ้วยชา(75 มล.)
  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีนคือ รสอมหวานเย็น มีฤทธิ์ห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ใช้รักษาอาการเลือดออกจากภาวะเลือดร้อน เช่น เลือดกำเดา   ไอ อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด และมีฤทธิ์ระบายความร้อน และขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะร้อนมีสีเข้ม  ใช้ 9-30 กรัม             ต้มเอาน้ำดื่ม

 

 

ส.ค. 082014
 

มะลิ สมุนไพรไทย

ใกล้ถึงวันที่ 12 สิงหาคมเข้าไปทุกที ยังไงทางเว็บไทยสมุนไพร.net ขออวยพรให้คุณแม่ทุกท่านมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงนะครับ และขอเป็นตัวแทนสำหรับลูกๆทุกคนในการกล่าวคำขอบคุณ สำหรับพระคุณมากมายที่มีให้ลูก พูดถึงวันแม่ แน่นอนต้องนึกถึงดอกมะลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวันนี้  ซึ่งหลายท่านนำมามอบให้แม่เพื่อเป็นการแสดงถึงการสำนึกในพระคุณ แต่รู้หรือไม่ มะลินั้นก็จัดว่าเป็น สมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ลองมารู้จักดอกมะลิในอีกมุมกันดูครับ

 

มารู้จักมะลิกันเถอะ

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait วงศ์  Oleaceae
  • ชื่ออังกฤษ Arabian jasmine
  • ชื่อท้องถิ่น  ข้าวแตก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เตียงมุน (ละว้า-เชียงใหม่)มะลิป้อม (เหนือ) มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดอกมะลิ
จริงๆหลายคนอาจคิดว่าดอกไม้สมุนไพรไทยเช่นมะลิเป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดในไทย แต่จริงแล้วกลับมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ส่วนใหญ่ใช้ในพิธีทางศาสนา ซึ่งคล้ายๆกับเมืองไทยที่นำมาร้อยบูชาพระ ซึ่งการนำพันธ์ดอกมะลิเข้ามาในไทยเมื่อไหร่ผมเองก็ไม่มีข้อมูล  สำหรับลักษณะมะลินั้น   มะลิไม้พุ่มขนาดสูงไม่เกิน 2 เมตรแตกกิ่งสาขามาก กิ่งอ่อนมีข้นสั้น ใบ เดี่ยวออก ตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ดอก เดี่ยวหรือออกเป็นช่อละ 2-3 ดอก กลีบเป็นหลอดสีขาว กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม    เรื่องของดอกขอบอกนิดนึงจริงแล้วมะลิมีสายพันธ์เกือบ 200 สายพันธ์ ซึ่งบางสายพันธ์เป็นดอกสีเหลืองก็มีนะครับ**  แต่หายากและไม่นิยมเท่าดอกสีขาว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะลิ

  • สุวคนธบำบัด หรือการบำบัดด้วยกลิ่นหอม  น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิเรียกว่า jasmine oil ซึ่งมีกลิ่นหอมหวาน ให้ความรู้สึกอบอุ่น มีผลต่ออารมณ์ ลดอาการซึมเศร้า ผ่อนคลายความตึงเครียดและความกลัว บรรเทาอาการปวดศีรษะ ใช้ทำหัวน้ำหอมและแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางหลายชนิด   ซึ่งการ  jasmin oil จากดอกมะลิ ในอดีตใช้วิธีอองเฟลอราจ (enfkeurage) เป็นการสกัดโดยการใช้ไขสัตว์ดูดซับกลิ่นไว้ แล้วนำไปละลายในแอลกอฮอล์ ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงเปลี่ยนมาเป็นวิธีสกัดด้วยตัวละลายเฮกเซน หรือปิโตเลียมอีเทอร์ โดยนำดอกไม้มาแช่ในตัวทำละลาย จากนั้นกรองกากดอกไม้ออก แล้วนำสารสกัดไประเหยตัวทำละลายออก สารหอมที่ได้เรียกว่า concrete เวลาใช้ นำมาละลายในแอลกอฮอร์เรียก absolute ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ได้ราคาที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
  • ดอกสด  ใช้ร้อยมาลัยและอบขนมให้มีกลิ่นหอม ดอกเริ่มบานใช้ลอยน้ำให้มีกลิ่นหอม เพื่อใช้ดื่มและทำขนม เช่น ลอดช่องน้ำกะทิ ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ
  • ดอกแก่  เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
  • ใบ  แก้ไข้ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย พอกแก้ฟกชำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย
  • ราก  แก้ร้อนใน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นและข้อควรระวัง   น้ำมันหอมระเหย จากดอกมี benzyl alcohol, benzylacetate, D-linalool, jasmine, anthranilacid methyester, indol, P-cresol, geraniol, methyljasmonat   ใน ใบ มี jasminin, sambacin    ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิให้ใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทานและห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์

บทความนี้ re-write ใหม่อีกครั้งจากบทความเดิมในปี 2555  และขอบคุณข้อมูลจาก คุณ dogstar ใน blog OKnation  และข้อมูลทางสรรพคุณบางส่วนนำมาจาก cyclopaedia.net

ก.ค. 012014
 

หลังจากที่ไม่ได้ update เนื้อหาใน web มานานพอควร ได้ฤกษ์งามยามดีขออนุญาตนำบทความดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากเช่นเคยครับ ซึ่งบทความนี้เผอิญไปอ่านเจอใน pantip  โดยคุณ Dear Nostalgia เป็นผู้รวบรวมมาเห็น่าสนใจดีเลยนำมาฝากทุกท่าน (โดยขออนุญาตเรียบเรียงใหม่และตัดทอน รวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนให้ง่ายต่อการอ่านนะครับ

พูดถึงสะระแหน่หลายคนคงคิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยแท้แต่ดังเดิม ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จากคำบอกเล่า ศจ.อินทรี จันทรสถิต ผ่านทาง ด็อกเตอร์ ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า จริงๆแล้วสะระแหน่ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วง ร.3 โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่อของ สะระแหน่นั่นเอง

ข้อมูลจำเพาะของสะระแหน่

  • ชื่อ  สะระแหน่  (Kitchen Mint )
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mentha aruensis Linn   วงศ์   Labiatae  สกุล  Mint
  • ชื่อในแต่ละท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) ,หอมด่วน (ภาคเหนือและอิสาน) ,สะแน่(ภาคใต้)

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม ไม่มีขน (ต่างจากพวก mint ของฝรั่งที่มีขนยาวกว่า)ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว สะระแหน่เป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง จึงทำให้มีรสเย็นสดชื่อนั่นเอง

สะระแหน่ในฐานะสมุนไพรไทย

แพทย์แผนไทย นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณคือ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม  นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยถ้าจะสรุปตามการประยุกต์ใช้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตามตำราสมุนไพรไทยดังนี้

  •   รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย  วันละ  2 ครั้ง
  •  รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
  •  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
  •  ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  •  รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  •  รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ประโยชน์ด้านอื่นๆนอกจากด้านสมุนไพรของสะแหน่

สะระแหน่เป็นสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อยกว่ามินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

 

รวมสุดยอดสมุนไพรไทยคลายร้อน

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน รวมสุดยอดสมุนไพรไทยคลายร้อน
มี.ค. 112014
 

ถัดจากหน้าหนาวก็เป็นหน้าร้อน สำหรับในปีนี้ ตามรายงานของกรมอุตุคาดว่าอาจร้อนรุนแรงกว่าทุกปี แต่ก่อนมีมุขเรื่องสภาพอากาศที่ฝรั่งชอบเล่นอยู่ว่า เมืองไทยมี 3 ฤดูคือฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และ ฤดูร้อนมากที่สุด ถ้าได้ฟังแต่ก่อนก็คงขำๆ แต่เดี๋ยวนี้คงขำไม่ออก เพราะมันใกล้เคียงความเป็นจริงมาก แต่ว่าจะร้อนเพียงไร เว็บ ไทยสมุนไพร.net ของเรา ก็มีเรื่องราวดีๆของสมุนไพรที่ช่วยคลายร้อนมาฝากกัน กับเรื่อง รวมสุดยอดสมุนไพรคลายร้อน (ขอบคุณข้อมูลดีๆ และภาพสวยๆจาก  bkkparttime.com บทความโดยคุณKorsupak Deaw)

มะตูม สมุนไพรคลายร้อนมะตูม  เป็นพืชสมุนไพรไทยที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ผลอ่อนสีเขียว และผลแก่มีสีเหลือง เปลือกจะแข็ง เอกลักษณ์ของพืชชนิดนี้คือกลิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เรียกได้ว่าหอมมากๆ มีการนำไปแปรรูปหลากหลาย หลักๆ เป็นในรูปผลแห้งพร้อมชงได้ทันที เรียกได้ว่าสะดวกดี สำหรับสรรพคุณสมุนไพรไทยของมะตูมคือเป็นยาระบาย ขับลม ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ขับถ่ายดี เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ และยังแก้อาการร้อนในได้ดีอีกด้วย

ใบเตย สมุนไพรคลายร้อนใบเตย สำหรับพืชชนิดนี้รายละเอียดแบบเจาะลึกผมเคยเขียนเอาไว้ที่ ลิ้งนี้ครับ    ใบเตย สมุนไพรไทยกลิ่นหอมชื่นใจ   ลองอ่านกันได้ แต่สรรพคุณโดยย่อคือ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ แก้โรคเบาหวาน (เฉาพะการลดระดับน้ำตาลในเลือด) ชุ่มคอ สังเกตุจากร้านเหล้ายาดองต่างๆ จะมีน้ำใบเตยเป็นเครื่องเคียงมาตรฐาน

ใบบัวบก สมุนไพรคลายร้อนใบบัวบก  อันนี้เว็บเราก็เคยเขียนไว้เช่นกัน เช่นเคยคลิ๊กอ่านได้ที่ลิ้งค์เลยนะครับ    ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก  สำหรับสรรพคุณที่ทราบกันดีคือแก้ช้ำใน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ แก้อาการเริ่มโรคบิด แก้ท้องร่วง รักษาโรคผิวหนัง (ผดผื่นคันที่มากับหน้าร้อน) ลดความเครียด บำรุงสมอง นอกจากนี้ยังรักษาแผลเปื่อย และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ฝาง สมุนไพรคลายร้อนฝาง พืชชนิดต่อมาคือฝาง  ฝางเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม มีหนามแข็งๆทั่วทั้งลำต้นเปลือกนอกสีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วทั้งเถา ส่วนปลายกิ่งจะมีหนามแหลมสีดำ ถ้าปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น พืชชนิดนี้หายากหน่อยมักพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง และตามชายป่าดงดิบทั่วประเทศไทย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ  แก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ (หมายถึงภาวะผิดปรกติ จากภาวะของระบบย่อยอาหาร) และที่สำคัญคือแก้ร้อนใน

เก๊กฮวย สมุนไพรคลายร้อน                                                                                                                                                                                                               

ดอกเก๊กฮวย อาจไม่เชิงเป็นสมุนไพรไทยเท่าไหร่ แต่ถือว่าหาทานได้ง่าย ถึง ง่ายมากในเมืองไทย ซึงเก๊กฮวยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน เป็นพืชล้มลุกอยู่ในตระกูลเดียวกับเบญจมาศ สำหรับชื่อแบบไทยๆบางคนก็เรียกว่า เบญจมาศสวน หรือเบญจมาศหนู เก๊กฮวยจะมีดอกสีขาว และสีเหลือง สรรพคุณเป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน ขับลม ขับเหงื่อ เป็นยาแก้ปวดท้อง และช่วยระบาย ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ป้องกันโรคความดันสูง แก้อาการไข้ แก้ไอ แก้เวียนหัว หน้ามืด

ตรีผลา สมุนไพรคลายร้อนตรีผลา อันนี้ไม่ใช่พืชตัวเดียว  แต่หมายถึง ผลไม้ 3 ชนิด อันได้แก่ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก และมะขามป้อม ว่ากันว่าเป็นสูตรยาที่มีสรรพคุณช่วยรักษาความสมดุลธาตุ สรรพคุณคือเป็นยาระบาย ช่วยล้างพิษออกจากร่างกาย แก้ลมจุกเสียด เป็นยาบำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้เสมหะ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ นอกจากนี้ยังแก้เลือดออกตามไรฟัน (เนื่องจากมีวิตามินซีสูง)  อย่าลืมถ้าจะครบองค์ประกอบของตรีผลา ต้องมีสมุนไพรครบทั้งสามชนิดนะครับ ในตำรายาโบราณได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องสามชนิดว่าช่วยลดผลข้างเคียงของกันและกัน

ขอให้สุขกายสบายใจในหน้าร้อนนี้นะครับ ร้อนกายไม่เท่าไหร่ขออย่าร้อนใจเป็นพอ

รับมืออากาศหนาวด้วยสมุนไพรไทย

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน รับมืออากาศหนาวด้วยสมุนไพรไทย
ม.ค. 262014
 

ปีนี้ค่อนข้างแปลกตรงที่ฤดูหนาวค่อนข้างยาวนานจะเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์แล้วก็ยังหนาวอยู่ ดังนั้นการรักษาสุขภาพจึงสิ่งที่สำคัญที่สุด วันนี้ผมมีบทความสั้นๆมาฝากกันครับ ว่าสมุนไพรไทยของเราอะไรบ้างที่สามารถช่วยท่านรับมือกับความหนาวนี้ได้

คลายหนาวด้วยอาหารสมุนไพร ในหน้าหนาว ควรเลือกรับประทานอาหารที่ร้อน เพราะจะทำให้ร่างกายสดชื่น และอบอุ่น  โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ ส่วนรสชาติควรเน้นพวกรสเปรี้ยวอมขมเล็กน้อยและรสเผ็ด ส่วนวัตถุดิบก็พวกพืชผักสมุนไพรนี่แหละครับเช่นสะเดา

  • สะเดา ซึ่งมีรสขมเมื่อกินแล้วสามารถช่วยเจริญอาหาร นอกจากนั้นยังสามารถบรรเทาอาการไข้ต่างๆได้ด้วย
  • ขิง  ชงเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร เพื่อช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการไอ แก้หวัด ช่วยให้เสมหะอ่อนขับตัวออกได้ง่าย ป้องกันการเป็นหวัดได้อีกทางหนึ่ง
  • พริก และ พริกไทย  อันนี้ไม่ต้องพูดถึง รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยในการสูบฉีดโลหิต ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
  • นอกจากนั้นยังมีพวก ผักโขมที่อุดมด้วยวิตามินซี ป้องกันหวัด หัวหอม หอมต้น ที่ทำให้จมูกโล่ง หายใจสะดวกหรือแม้แต่ยามที่เจ็บป่วยเป็นไข้ไม่สบาย และเจ็บคอ ฟ้าทะลายโจรก็เป็นทางเลือกที่ดีตัวหนึ่ง

บำรุงผิวรับลมหนาวด้วยสมุนไพรไทย ด้วยอากาศที่หนาวเย็น การอาบน้ำควรเป็นน้ำอุ่น เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรเป็นเสื้อผ้าที่หนาและอบอุ่น   แต่การอาบน้ำอุ่นจะทำให้ผิวแห้งง่ายกว่าอาบน้ำเย็น เพราะน้ำมันที่ผิวหนังจะถูกชะล้างออกไป รวมทั้งความชื้นของอากาศลดลง จะทำให้ผิวแห้งแตกและคัน ดังนั้นการดูแลผิวพรรณในฤดูหนาวจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ดูแลผิวพรรณ ได้แก่ น้ำมันงา ขมิ้นชัน ผิวมะนาวและผิวมะกรูด เป็นต้นโดยมีวิธีใช้ดังต่อไปนี้

 

ขมิ้นชันมะกรูดน้ำมันงา

  • น้ำมันงา โดยนำงาดิบประมาณ 1 ถ้วย โขลกให้ละเอียด บีบเอาน้ำมันจากงาเก็บไว้ในขวด ทาผิวเช้าและก่อนนอน น้ำมันงาจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดอาการแห้งแตกและคัน
  • ขมิ้นชัน มีสรรพคุณลดอาการคัน และช่วยเกิดอาการผดผื่นตามผิวหนัง โดยนำขมิ้นชันสดมาล้างให้สะอาด โขลกให้ละเอียด บีบน้ำที่ได้ทาผิว หลังอาบน้ำ เช้า–เย็น         ข้อควรระวัง สีขมิ้นจะติดตามเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซักออกลำบาก
  • ผิวมะกรูด น้ำมันที่ผิวของมะนาวและมะกรูด จะช่วยเคลือบผิวให้ชุ่มชื้น ลดอาการคัน ลดการอักเสบ โดยนำมะกรูดที่ใช้น้ำแล้ว นำบริเวณผิวด้านนอกทาผิวบริเวณที่แห้งคัน เช้า-เย็น

ลองเอาไปใช้ดูนะครับ สำหรับเคล็ดลับการคลายหนาวด้วยสมุนไพรที่เว็บเรานำมาฝาก ขอให้ทุกท่านอบอุ่นทั้งกายและใจนะครับ โดยเฉพาะอุ่นใจนี่ก็สำคัญ

ธ.ค. 242013
 

ชาเป็นเครื่องดื่มที่คุ้นเคยกันทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราเอง  นอกจากใบชาตรงๆแล้วนั้นมีการนำสมุนไพรหลายชนิด ทั้งสมุนไพรไทย และ สมุนไพรจีนมาชงในลักษณะของชา  ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือเป็นชาที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน ส่วนคุณประโยชน์ก็หลากหลายตามชนิดและประเภทของชา วันนี้ทางเว็บไทยสมุนไพร.net จึงขอนำเสนอ 10 สุดยอดชาสมุนไพรมาท่านทุกท่านได้รู้จักกัน

ชาใบเตย1.ชาใบเตย  สำหรับสรรพคุณของชาใบเตย  ได้แก่บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ  ชาใบเตย ทำจากใบเตยหอม อบแห้ง บดเป็นผง มี สีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจใบเตยมีคุณสมบัติหลักๆ ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้กลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดี เป็น Aroma therapy อีกรูปแบบหนึ่ง

2.ชามะตูม สรรพคุณตามตำราคือ บางตำราบอกเพิ่มสมรถภาพทางเพศ  บำรุงสุขภาพ ทำจากผลมะตูมแก่ บดเป็นผง ให้น้ำชาสีแดงออกน้ำตาล มีกลิ่นหอมหวานชวนดื่ม ส่วนใหญ่จะแต่งรสด้วยน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น มะตูมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ร้อนใน เป็นยาอายุวัฒนะชาขิง

3.ชาขิง จริงๆจะเรียกว่าน้ำขิงก็ไม่ผิดอะไรนัก แก้หวัด และช่วยย่อย  ทำจากเหง้าขิงแก่ ที่มีน้ำมันหอมระเหย  มีสรรพคุณทางร้อน ช่วยบรรเทาหวัด แก้คลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด

4.ชาใบฝรั่ง คุณสมบัติหลักคือดับกลิ่น ฆ่าเชื้อ ทำจากใบฝรั่งไทยอบให้แห้ง บดเป็นผง มีกลิ่นหอมชวนดื่ม มีคุณสมบัติดับกลิ่นปาก ฆ่าเชื้อในปากและคอ เหมาะที่จะรับประทานหลังอาหาร สามารถที่จะใช้ชาใบฝรั่งระงับอาการท้องเสีย (ในรายที่ไม่มีไข้) แต่ต้องชงอย่างเข้มข้นกว่าปกติ

5.ชาหญ้าหนวดแมว สรพพคุณหลักคือขับปัสสาวะ  ตอนนี้คนรู้จักพืชชนิดนี้มากขึ้น  สำหรับชานี้ทำจากหญ้าหนวดแมวอบแห้งบด มีรสคล้าย ๆ ใบชา มีคุณสมบัติขับปัสสาวะ ขับนิ่วก้อนเล็ก ๆ มีคุณสมบัติขับกรดยูริค เหมาะกับคนที่เป็นต่อมลูกหมากโต คนที่เป็นนิ่วก้อนเล็ก ๆ ชวยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน มีโปรแตสเสียมสูง ระวังการใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ

6.ชาตะไคร้ สามารถช่วยขับลม ช่วยย่อย  ทำจากต้นและใบตะไคร้อบให้แห้งแล้วบด ตะไคร้จะมีกลิ่นหอม ช่วยย่อยชาตะไคร้อาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและมีรายงานการทดลองพบว่า ตะไคร้นั้นมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้อีกด้วย

7.ชาชุมเห็ดเทศ มีคุณสมบัติเป็นยาระบายท้อง ได้จากใบชุมเห็ดเทศคั่วให้แห้ง  แล้วบดเป็นผง ให้น้ำชาเป็นสีน้ำตาลมีกลิ่นหอมของใบไม้คั่ว มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แต่หากดื่มเป็นประจำร่างกายก็อาจดื้อยาได้ ควรหาวิธีอืนในการสร้างนิสัยการถ่ายให้เป็นประจำโดยวิธีอื่นด้วย

ชาดดอกคำฝอย8.ชาดอกคำฝอย ลดไขมันในเลือด  สามรถหาซื้อได้ทั่วไป โดยทำจากดอกคำฝอย ลักษณะสีของชา มีสีแดงชวนดื่ม กลิ่นหอมชื่นใจ มีคุณสมบัติลดไขมันในเส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงเลือดสตรี ขับระดู ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนไม่ปกติ

9.ชารางจืด สามรถกำจัดพิษ และล้างสารพิษ  ทำจากใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้ง หอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ ที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ชารางจืดไม่มีพิษดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน

10.ชากระเจี๊ยบ สามารถช่วยขับปัสสาวะไขมันในเลือด ได้มาจากดอกของกระเจี๊ยบแดง มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ชากระเจี๊ยบมีสีแดง รสเปรี้ยวมักเติมน้ำตาลเพื่อแต่งรส

ขอบคุณข้อมุลจาก เว็บไซต์นิสิตมหาลัยนเรศวร

ธ.ค. 032013
 

วันนี้ผมเรื่องราวของมะพร้าวมาฝาก  ผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้จักมะพร้าวแน่ๆ เพราะขนมไทยเกือบทุกชนิด จะมีการนำพืชชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ ไม่ใส่ลงไปตรงๆ เช่นขูดเป็นฝอย ก็ใส่ลงไปทางอ้อมผ่านทางน้ำกระทิ  แต่ใครจะรู้ว่ามะพร้าว ก็จัดเป็นสมุนไพรไทย ที่มีคุณค่าเช่นกันเดียว มารู้จักมะพร้าวกันนะครับ

ต้นมะพร้าว

  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว  : Cocos nucifera L. var. nucifera
  • ชื่อในภาษาอังกฤษ : Coconut  (ส่วนน้ำกระทิ เรียก coconut milk นะครับ)
  • ชื่อวงศ์ : Palmae (หรือง่ายๆคือเป็นพืชตระกูลปาล์มนั่นเอง)
  • ชื่อตามภูมิภาคต่างๆของไทย  : เนื่องจากมะพร้าวขึ้นอยู่ทุกภูมิภาค จึงมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

 

ลักษณะของต้นมะพร้าว                                                                                                                                          

  • ลำต้น  :   ไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร(สูงที่สุดในพืชตระกูลปาล์ม) ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ
  • ใบ       :    เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอก   :  ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ
  • ผล     : ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

  • เปลือกผล – รสฝาดขม สุขุม (ตามตำราโบราณเขาเรียกแบบนี้จริงๆครับ คงประมาณฝาดลึกๆ) ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา  – แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
  • ถ่านจากกะลา – รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ (ปัจจุบันมีถ่านแบบใช้ทานดูสารพิษ แก้ท้องเสียจ่ายให้ผู้ป่วยใน รพ. แล้วนะครับ ข้อนี้อาจไม่จำเป็นต้องทำตามก็ได้)
  • น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา – ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว – รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
  • น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว – ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้
  • น้ำมะพร้าว – รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในอดีตยามจำเป็น  น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน เคยใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้ (ไม่แนะนำนะครับ ปัจจุบันนี้ให้รักษากับแพทย์แผนปัจจุบันดีกว่า)
  • ราก – รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
  • เปลือกต้น – เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
  • สารสีน้ำตาล – ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

การประยุกต์ใช้อื่นๆ  

มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมะพร้าว,น้ำมะพร้าว

อ้างอิงจากงานเขียนของคุณพนิตตา  สวัสดี  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  วช. นะครับ(ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ) ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ของน้ำมะพร้าวอีกหลายประการคือ

  1. การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้  โดยผลงานวิจัยของ ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโตร-เจน (Estrogen) สูง ซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง
  2. การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวัน   ยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ  และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย
  3. น้ำมะพร้าวช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่   ภายนอกเพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่   ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน  ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้
  4. น้ำมะพร้าวสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี
  5. น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ  ขับของเสีย หรือสารพิษออกจากร่างกาย  (คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์ )  จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง  ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของมะพร้าว ลองหามาทานกันดูนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพนิตตา  สวัสดี  ภารกิจข้อมูลวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  วช. และฐานข้อมูลสมุนไพรไทย 200 ชนิด เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ

 

ก.ย. 152013
 

ใบหม่อน เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณนึกถึงอะไร แน่นอนเมื่อสมัยก่อนคนอาจนึกถึงใบของพืชชนิดชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหม แล้วสมัยนี้ล่ะเขานึกถึงอะไรกัน แน่นอนคันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ชาใบหม่อนชาสมุนไพรไทยนั่นเองนั่นเอง ก่อนที่จะพูดถึงชา เรามาพูดถึงต้นหม่อนกันก่อน

ชื่อสมุนไพร          หม่อน  หรือ mulberry (สังเกตฝรั่งเห็นอะไรเป็นลูกๆเป็นพวงๆ เขาเล่นเรียก berry หมด)
ชื่ออื่นๆ                 มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)   ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn.  ชื่อวงศ์  Moraceae
ใบหม่อนลักษณะของต้นหม่อน

  • ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
  • ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์   ผิวใบสาก  ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
  • ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
  • ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน  นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว เรายังสามารถ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร (นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากหลีกเลี่ยงผงชูรส )หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ  และยังพบอีกว่าหากนำใบหม่อนให้วัวและควายกินสามรถทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน

หลักๆเลยในใบหม่อนนั้นจะมีสารตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยที่ แตกต่างกัน คือ

1.  สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา  (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก  ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง  ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6.สารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (ลองอ่านดูเรื่องเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่ลิงค์นี้นะครับ สารต้านอนุมูลอิสระ

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า

ชาใบหม่อน

จริงก็ไม่มีอะไรมากครับ  โดยที่ให้เราชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส (กะเอาได้ครับคือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่)   จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้ นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

เป็นไงบ้างครับ สำหรับเรื่องดีๆที่นำมาอ่านกันอย่าลื่มลองหาชาใบหม่อน ชาสมุนไพร แบบไทยๆมาทานกันดูบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ก.ย. 082013
 

ตอนเด็กๆ ระหว่างทางเดินกลับบ้านจะมีวัชพืชชนิดหนึ่งที่ผมมักจะเล่นด้วยประจำ นั่นคือเวลาที่เราจับใบของมันใบของมันจะหุบอัตโนมัติ จากต้นเขียวๆจะกลายเป้นต้นแดงๆเหมือนมันเหี่ยวภายในพริบตา  แปลกดีเหมือนกัน พืชชนิดนี้มีชื่อว่าไมยราบนั่นเอง หลายคนมักมองว่าไมยราบเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่มีค่าอะไร แต่จริงๆแล้วไมยราบจัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามากทีเดียว มารู้จักพืชสมุนไพรชนิดนี้กันเถอะครับ.

ไมยราบ

ชื่อโดยทั่วไป  ไมยราบ หรือ Sensitive plant (ชื่อบอกลักษณะได้อย่างไร ว่าเป็นพืชที่อ่อนไหว แค่มีอะไรมากระทบก็หุบใบได้เอง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pucida L.   วงศ์ : Fabaceae (Leguminosae-Mimosoideae)
ชื่อตามอื่นๆภูมิภาค : เนื่องจากไมยราบเป็นสมุนไพร ที่พบได้ทุกภูมิภาคของไทย จึงมีชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่          กระทืบยอด  หนามหญ้าราบ (จันทนบุรี)  กะหงับ (ภาคใต้)  ก้านของ (นครศรีธรรมราช)  ระงับ (ภาคกลาง)  หงับพระพาย (ชุมพร)  หญ้าจิยอบ  หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ)
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้ แต่ประเทศไทยนำเข้าโดยกรมทางหลวงเพื่อช่วยคลุมหน้าดิน นับว่ามีประโยชนืมากทีเดียว

ลักษณะต้นไมยราบ : ไมยราบเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งพบว่าสูงถึง 1 ม. มีขนหยาบปกคลุมลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ และช่อดอก  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1-2 ใบ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม.  ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-4 ซม.  ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 0.1 มม. กลีบดอกรูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้มี 4 อัน รังไข่ยาวประมาณ 0.5 มม. เกลี้ยง  ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปขอบขนาน ตรง ยาว 1.5-1.8 ซม. มีขนแข็งตามขอบ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ราก      แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลา                 มีประจำเดือน ถ้าไข้ขนาดสูงมากๆ จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ริดสีดวงทวารรสขมเล็กน้อย ฝาด ปวดข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

ต้น        ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว ขับโลหิต
ใบ         แก้เริม งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามป่า
ทั้งต้น  ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็น                               ตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี

จะเห็นว่าไมยราบมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยมากมายจริงๆ จะลองเอามาปลูกดูก็ไม่เสียหลายนะครับ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล  : คุณนพพล เกตุประสาท  หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม เผยแพร่ใน ใน web ของ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

กวาวเครือขาว เพิ่มหน้าอกได้จริงหรือ?

 บำรุงผิว, พืชสมุนไพร, เสริมความงาม  ปิดความเห็น บน กวาวเครือขาว เพิ่มหน้าอกได้จริงหรือ?
มิ.ย. 232013
 

หากพูดถึงกวาวเครือขาว สมุนไพรไทยชนิดนี้มักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในเรืองของการ ช่วยเพิ่มหน้าอก หรือช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ตามแแผงสมุนไพรเสริมความงามต่างๆก็มีแทบทุกร้าน แต่วันนี้เราจะมารู้กันว่าประโยชน์มันดีอย่างที่ว่าจริงหรือ และโทษหรือผลข้างเคียงของมันล่ะมีอะไรบ้างเรามารู้กัน

กวาวเครือ,กวาวเครือขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว   Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab.

วงศ์ Leguminosae    หรือเป็นพืชในตระกูลถัวนั่นเอง

แหล่งที่พบ  ขึ้นในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250-800 เมตรในป่าสูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ขนาดกลาง เถายาวประมาณ 5 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกนอกของลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มและค่อนข้างแข็ง มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร

รูปร่างลักษณะ  ค่อนข้างกลม และคอดยาวเป็นตอนๆต่อเนื่องกัน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ก้านช่อดอก และกลีบเลี้ยงมีขนสั้นๆ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 10-38 ซม. ใบย่อยใบกลางรูปไข่กว้าง 9-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายมนถึงเรียวแหลม โคนสอบถึงมน กวาวเครือแดง คาดว่าคือ Butea superba Roxb. ในวงศ์ Leguminosae เช่นเดียวกัน

นอกจากกวาวเครือขาวยังมีกวาวเครือชนิดอื่นอีกหรือไม่ ?  ตอบว่ามีครับคือ

กวาวเครือแดง เมื่อถูกสะกิดที่เปลือกหัวจะมียางสีแดงคล้ายเลือดไหลออกมาเมื่อใช้ทำเป็นยา ชนิดแดงแรงกว่าชนิดขาว

กวาวเครือดำ ลำต้นและเถาเหมือนกวาวเครือแดง แต่ใบและหัวมีขนาดเล็กกว่า มียางสีดำ ใช้ทำเป็นยามีฤทธิ์แรงมาก ขนาดที่ใช้น้อยมาก

กวาวเครือมอ ทุกส่วน ต้น เถา ใบ หัว เหมือนกับชนิดดำ แต่เนื้อในหัวและยางสีมอๆค่อนข้างจะหายาก เช่นเดียวกับชนิดดำ มีหัวเล็กขนาดมันเทศ

เพราะอะไรกวาวเครือขาวจึงทำให้หน้าอกขยายตัวได้ ?

ในกราวเครือขาวจะมีสารออกฤทธิ์สำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง (Phytoestrogens) ซึ่งได้แก่miroestrol และ deoxymiroestrol ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลักษณะความเป็นผู้หญิงออกมา เช่น หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นในระยะเวลา 2-3 เดือน ประมาณ 0.5 – 1 นิ้ว ซึ่งกระบวน การเหล่านี้จะทำให้หน้าอกขยายขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่งเมื่อหน้าอกกระชับแล้วกระบวนการเหล่านี้ก็จะสิ้นสุดลง และสาร miroestrol ยังช่วยให้เพิ่มความเปล่งปลั่งสดใสให้ผิวพรรณได้อีกด้วย ซึ่งการออกฤทธิ์ดังกล่าวนี้หากใช้ในปริมาณน้อย จะช่วยออกฤทธิ์กระตุ้นในเชิงบวก แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งเสียเอง โดยฤทธิ์ของกราวเครือขาวนั้นไม่ถาวร ถ้าหยุดรับประทานฤทธิ์ของกราวเครือก็จะค่อยๆหมดไปภายใน 2-3 สัปดาห์ (และการเก็บรักษาที่นานเกินไป 5-10 ปี จะทำให้ฤทธิ์ก็จะค่อยๆเสื่อมลงเช่นกัน)

 

สมุนไพรตัวนี้ต้องทานมากน้อยขนาดไหนจึงจะพอดี ?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดขนาดในการรับประทานว่าห้ามเกินวันละ 100 mg. และที่สำคัญห้ามรับประทานร่วมกับการใช้ยาคุมกำเนิด

 

กวาวเครือขาวมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?

  1. ตำรายาแผนโบราณระบุไว้ว่า คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน (ในที่นี้คงจะหมายถึงผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี)
  2. ห้ามใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะตัวยาอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศและระบบประจำเดือนได้ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  3. เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  4. สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  5. ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  6. ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  7. ผู้ที่ดื่มสุรา และมีประวัติเป็นโรคตับเป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบบีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูง ก็ไม่ควรรับประทาน
  8. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปหรือติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  9. ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำ หรือไม่เกินวันละ 100 mg.
  10. ห้ามรับประทานของหมักดองเปรี้ยว ดองเค็ม (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
  11. ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
  12. ห้ามไม่ให้ตากอากาศเย็นเกินไป (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
  13. ฮอร์โมนเหล่านี้หากได้รับมากจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  14. อาจจะทำให้เยื่อหุ้มอัณฑะหนาตัวและอาจเป็นมะเร็งอัณฑะในเพศชายได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  15. ในเพศหญิงอาจมีผลทำให้เต้านมแข็งเป็นก้อนหรืออาจทำให้เกิดเนื้องอกจนเป็นมะเร็งเต้านมได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  16. กราวเครือนั้นมีพิษทำให้เมาเบื่อตัวเองการรับประทานมาเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ด้วยเหตุนี้ควรรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องอืดร่วมด้วย เช่น พริกไทย เป็นต้น
  17. หากรับประทานกราวเครือขาวแล้วอาจจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ จนบางท่านรู้สึกกังวล แต่การที่ประจำเดือนมามากนี้ก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงไม่ต้องเป็นกังวล
  18. สามารถใช้ครีมบำรุงทรวงอก (Breast Cream) ร่วมกับกราวเครือขาวได้ในการเพิ่มขนาดทรวงอกได้
  19. กวาวเครือขาว ผลข้างเคียงและอาการอื่นๆที่พบได้ทั่วไป เช่น เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าผลข้างเคียงค่อนข้างมากเหมือนกันฉะนั้นจะใช้ก็ให้พิจารณาและใช้ความระมัดระวังนะครับจริงๆ  อีกอย่างแต่เดิมตำราสมุนไพรไทย กราวเครือขาวจะถูกนำมาใช้กับผู้สูงอายุมากกว่า หากจะใช้จริงๆ ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เวลาเลือกซื้อก็ควรเลือกแบบ น่าไว้ใจ (มี อ.ย. )ไม่ผสมนั่นผสมนี่เข้าไปจนเกินจำเป็น

 ข้อมูลอ้างอิง

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090413175228AAg94kg
http://www.greenerald.com/
 

ชุบชีวิต เสื้อผ้าเก่า ด้วยดอกอัญชัญ

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย, สูตรยาสมุนไพร  ปิดความเห็น บน ชุบชีวิต เสื้อผ้าเก่า ด้วยดอกอัญชัญ
เม.ย. 152013
 

สวัสดีครับ ชาว ไทยสมุนไพร.net ทุกท่าน วันนี้ขอฉีกแนวนิดนึง คือทุกครั้งจะเป็นเรื่องราวของสมุนไพร ที่ใช้ในการรักษาโรค คราวนี้มาในแนวสมุนไพร กับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายบ้าง อย่าพึ่งงงครับว่าเกี่ยวข้องกันยังไง และอย่าพึ่งตกใจไป ผมไม่ได้มาแนะนำให้เอาใบ สมุนไพร มาตัดเย็บเป็นชุดสวมใส่เหมือนนางไม้ แต่สำหรับเรื่องที่จะมาเล่ากันในวันนี้ เป็นการทำให้เสื้อตัวเก่าที่ดูจืด เช่นเสื้อขาว ที่ใส่ไปนานๆแล้วหมอง (หรือจะใช้เทคนิคนี้กับเสื้อใหม่ก็ได้) มาทำเป็นเสื้อมัดย้อมสีสันสดใส โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ แต่เป็นการใช้สมุนไพรล้วนๆ

ยังไงก็ขอบคุณไอเดียดีดี เนื้อหา และภาพประกอบ จากหนังสือ SOOK (หาซื้อได้ที่ 7-Eleven วางแผงทุกวันที่ 28)

สิ่งที่ต้องเตรียม

ผ้ามัดย้อม1.ดอกอัญชัญ สมุนไพรบ้านๆที่หาได้ทั่วไป

2.เสื้อผ้าที่ต้องการย้อม

3.ผ้าขาวบาง จะบางน้อยหรือบางมากก็ไม่เป็นไร

4.หนังยางหรือเชือกฟาง

5.น้ำ                6. เกลือ

วิธีการทำ

ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อม

– ต้มน้ำให้เดือด ใส่เกลือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้ละลาย จากนั้นใส่ดอกอัญชัญลงไป ต้มจนได้สีน้ำเงินเข้ม

– ตักดอกอัญชัญออก

-นำผ้าหรือเสื้อที่ต้องการมัดย้อมมามัดด้วยหนังยางหรือเชือกฟางให้แน่น ขั้นตอนนี้จะมัดแบบไหนก้ตามใจ เพราะลวดลายมันขึ้นอยู่กับการมัดของเรา ถ้านึกไม่ออก ก็จับเสื้อทบครึ่งตามยาว และมัดเป็นปล้องสักสองปล้องก็ได้ แต่ที่สำคํญมัดแน่นเข้าไว้

-นำผ้าหรือเสื้อที่มัดไว้ ลงแช่สักสองหรือสามชั่วโมง ขั้นตอนนี้อย่าแกะหนังยางหรือเชือกออก เพื่อกันไม่ให้น้ำสีหลุดติดตรงที่เรามัดไว้

เสื้อจากดอกอันชัน

-แกะหนังยางหรือเชือกฟาง ออกแล้ว นำผ้าไปแช่น้ำเกลือ สัก หนึงชั่วโมง จากนั้นนำไปซักกับน้ำเปล่า จนสีไม่ตก

-ตากให้แห้ง แค่นี้คุณก็จะได้เสื้อตัวใหม่สวยไม่ซ้ำใครแล้ว

ใครจะลองทำดูก็ไม่เสียหลายนะครับวัสดุก็หาได้ใกล้ๆตัว แถมผลงานที่ทำออกมายังแนวไม่เหมือนใครอีก  ไว้โอกาศหน้าจะหาเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังอักนะครับ

 

ม.ค. 072013
 

ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าสำนวนที่บอก “ไม่เป็นสับปะรด”มันมีที่มาที่ไปยังไง ทำไมมันไปหมายถึงอะไรที่ไม่เข้าท่าไปได้ แต่อย่างไรก็ตามสมุนไพรไทยที่นำเสนอวันนี้ผมรับรองว่าเป็นสับปะรดแน่นอน เพราะมันคือสัปปะรด งงไหม? ก่อนที่เราจะไปดูกันต่อว่าสับปะรดมีดียังไงเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามและลักษณะของสับปะรดกันก่อน

สับปะรดชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสัปปะรด :   Ananas comosus  (L.) Merr.

ชื่อโดยทั่วไป:  สับปะรด หรือ Pineapple (หลายคนอาจงงว่ามันเกี่ยวกับแอบเปิ้ลยังไง จริงๆคำนี้มันก็ตามตัวนะครับคือฝรั่งจะมีขนมอย่างหนึ่งที่ใช้ผลไม้เป็นองค์กระกอบ ซึ่งก็คือพายผลไม้นั่นเอง คราวนี้มันมีพายอันหนึ่งคือพายทำจากแอปเปิ้ล ลักษณะจะออกสีเหลืองๆ ซึ่งลักษณะมีเนื้อคล้ายๆของเนื้อสับปะรด เมื่อฝรั่งได้เห็นสับปะรดเป็นครั้งแรกจึงตั้งชื่อผลไม้ที้ว่า พาย-แอปเปิ้ลนั่นเอง

ชื่อวงศ์ :   Bromeliaceae

ชื่ออื่น :  หมากนัด (ภาคอีสาน) แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ลิงทอง (เพชรบูรณ์) จะเห็นว่าชื่อตามท้องถิ่นมีเยอะมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้หลายที่นั่นเอง

ลักษณะของสับปะรด : เป็นผลไม้สมุนไพร ที่เป้นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวีสลับซ้อนกัน ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำมีตาอยู่รอบผลที่เป้นลักษณะเฉพาะของสับปะรด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย : สับประรดเรียกได้ว่าทุกส่วนมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยแทบทั้งสิ้นสุดแต่เราจะเลือกใช้

  • ราก –  ใช้บรรเทานิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด – เป็นยาระบาย ฆ่าและถ่ายพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ – ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก – ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด – แก้ขัดเบา (ฉะนั้นทางสับปะรดก็อย่าทิ้งแกนกลางมันนะครับ)
  • เปลือก – ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก – ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง – แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

เคล็ดลับในการรับประทานผลสับประรด ให้ได้รสชาติดีและปลอดภัย

ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงๆ เป็นแถว เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น (ลองสังเกตตอนที่แม่ค้าหั่นดูก็ได้)แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และ เอ็มไซม์ บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หลังรับประทาน

มาทานสับประรดกันนะครับนอกจากเป็นผลไม้ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรไทยอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ สมุนไพรก้นครัวกินแล้วไม่ป่วย ,ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต