ส.ค. 082014
 

มะลิ สมุนไพรไทย

ใกล้ถึงวันที่ 12 สิงหาคมเข้าไปทุกที ยังไงทางเว็บไทยสมุนไพร.net ขออวยพรให้คุณแม่ทุกท่านมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงนะครับ และขอเป็นตัวแทนสำหรับลูกๆทุกคนในการกล่าวคำขอบคุณ สำหรับพระคุณมากมายที่มีให้ลูก พูดถึงวันแม่ แน่นอนต้องนึกถึงดอกมะลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวันนี้  ซึ่งหลายท่านนำมามอบให้แม่เพื่อเป็นการแสดงถึงการสำนึกในพระคุณ แต่รู้หรือไม่ มะลินั้นก็จัดว่าเป็น สมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ลองมารู้จักดอกมะลิในอีกมุมกันดูครับ

 

มารู้จักมะลิกันเถอะ

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait วงศ์  Oleaceae
  • ชื่ออังกฤษ Arabian jasmine
  • ชื่อท้องถิ่น  ข้าวแตก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เตียงมุน (ละว้า-เชียงใหม่)มะลิป้อม (เหนือ) มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดอกมะลิ
จริงๆหลายคนอาจคิดว่าดอกไม้สมุนไพรไทยเช่นมะลิเป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดในไทย แต่จริงแล้วกลับมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ส่วนใหญ่ใช้ในพิธีทางศาสนา ซึ่งคล้ายๆกับเมืองไทยที่นำมาร้อยบูชาพระ ซึ่งการนำพันธ์ดอกมะลิเข้ามาในไทยเมื่อไหร่ผมเองก็ไม่มีข้อมูล  สำหรับลักษณะมะลินั้น   มะลิไม้พุ่มขนาดสูงไม่เกิน 2 เมตรแตกกิ่งสาขามาก กิ่งอ่อนมีข้นสั้น ใบ เดี่ยวออก ตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ดอก เดี่ยวหรือออกเป็นช่อละ 2-3 ดอก กลีบเป็นหลอดสีขาว กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม    เรื่องของดอกขอบอกนิดนึงจริงแล้วมะลิมีสายพันธ์เกือบ 200 สายพันธ์ ซึ่งบางสายพันธ์เป็นดอกสีเหลืองก็มีนะครับ**  แต่หายากและไม่นิยมเท่าดอกสีขาว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะลิ

  • สุวคนธบำบัด หรือการบำบัดด้วยกลิ่นหอม  น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิเรียกว่า jasmine oil ซึ่งมีกลิ่นหอมหวาน ให้ความรู้สึกอบอุ่น มีผลต่ออารมณ์ ลดอาการซึมเศร้า ผ่อนคลายความตึงเครียดและความกลัว บรรเทาอาการปวดศีรษะ ใช้ทำหัวน้ำหอมและแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางหลายชนิด   ซึ่งการ  jasmin oil จากดอกมะลิ ในอดีตใช้วิธีอองเฟลอราจ (enfkeurage) เป็นการสกัดโดยการใช้ไขสัตว์ดูดซับกลิ่นไว้ แล้วนำไปละลายในแอลกอฮอล์ ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงเปลี่ยนมาเป็นวิธีสกัดด้วยตัวละลายเฮกเซน หรือปิโตเลียมอีเทอร์ โดยนำดอกไม้มาแช่ในตัวทำละลาย จากนั้นกรองกากดอกไม้ออก แล้วนำสารสกัดไประเหยตัวทำละลายออก สารหอมที่ได้เรียกว่า concrete เวลาใช้ นำมาละลายในแอลกอฮอร์เรียก absolute ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ได้ราคาที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
  • ดอกสด  ใช้ร้อยมาลัยและอบขนมให้มีกลิ่นหอม ดอกเริ่มบานใช้ลอยน้ำให้มีกลิ่นหอม เพื่อใช้ดื่มและทำขนม เช่น ลอดช่องน้ำกะทิ ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ
  • ดอกแก่  เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
  • ใบ  แก้ไข้ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย พอกแก้ฟกชำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย
  • ราก  แก้ร้อนใน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นและข้อควรระวัง   น้ำมันหอมระเหย จากดอกมี benzyl alcohol, benzylacetate, D-linalool, jasmine, anthranilacid methyester, indol, P-cresol, geraniol, methyljasmonat   ใน ใบ มี jasminin, sambacin    ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิให้ใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทานและห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์

บทความนี้ re-write ใหม่อีกครั้งจากบทความเดิมในปี 2555  และขอบคุณข้อมูลจาก คุณ dogstar ใน blog OKnation  และข้อมูลทางสรรพคุณบางส่วนนำมาจาก cyclopaedia.net

พ.ย. 022012
 

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว ไทยสมุนไพร.net วันนี้ก็เข้าสู่เดือนพฤศจิกายนแล้ว รู้สึกอากาศก็เริ่มจะเย็นลง(นิดหน่อย) เพราะใกล้เข้าสู่หน้าหนาว พอพูดถึงหน้าหนาว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยคลายหนาวลงได้นอกจากผ้าห่มและคนรู้ใจ หลายคนก็คงนึกไปถึง เครื่องดื่มร้อนๆสักถ้วย ที่จะพอแก้หนาว เพิ่มความรู้สึกสดชื่น อาจจะเป็นชา หรือกาแฟก็ตามสะดวกนะครับ แต่วันนี้เว็บของเราเองก็มีทางเลือกดีๆทางเลือกหนึ่งมาฝากทุกท่านเช่นกัน เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ให้อารมณ์เหมือนดื่มชา แต่แตกต่างตรงที่ชาที่ผมจะแนะนำ นั้นไร้ซึ่งคาเฟอีน แถมมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย อีกต่างหาก ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนั้นคือชาจาก ดอกคำฝอย นั่นเองครับ   ก่อนจะพูดถึงสรรพคุณ แน่นอนต้องมารู้จักชื่อเสียงเรียงนามรูปร่างหน้าตาของพืชชนิดนี้กันก่อน

ดอกคำฝอยชื่อวิทยาศาสตร์  Carthamus tinetorius L.

ชื่อวงศ์   Compositae

ชื่อโดยทั่วไป   คำฝอย หรือ Safflower,False Saffron ,Saffron Thistle (จะสังเกตว่าชื่อในภาษาอังกฤษมักมีคำว่า Saffron ซึ่งคำว่า Saffron นี้แปลว่า สีเหลืองอมส้ม  ซึ่งบอกถึงลักษณะสีของดอกคำฝอยได้เป้นอย่างดี)

ชื่ออื่นๆตามแต่ละภูมิภาค  ดอกคำ (ภาคเหนือ) ,คำยอง (ลำปาง) ภาคอื่นๆจะไม่มีชื่อเฉพาะนะครับ

ลักษณะของต้นคำฝอย

เป็นไม้ที่สู้ไม่ถอย (ไม้ล้มลุก) สูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็ลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ปลายจะแหลม ปลูกง่าย ชอบอากาศเย็น มักขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ดอก มีรสหวาน สรรพคุณบำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท ขับประจำเดือน และที่สำคัญที่ทำให่ดอกคำฝอยเป็นที่นิยมคือสรรพคุณในการ ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน    นอกจากนั้นในดอกแก่ยังใช้ทำเป็นสีในการปรุงแต่งอาหาร โดยวิธีการจะนำดอกที่แก่มาชงกับน้ำร้อน แล้วกรองจะได้สีเหลืองเข้ม นำไปผสมอาหารเช่นขนม โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสม นับว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เกสร  บำรุงโลหิต  ช่วยในเรื่องประจำเดือนของสตรี

เมล็ด  มีสรรพคุณด้านสมุนไพรในการขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หรือนำมาบด ทาแก้บวม

สูตรชาจากดอกคำฝอย

นำดอกคำฝอยไปตากให้แห้ง นำไปชงกับน้ำร้อนในอัตราส่วน ดอกคำฝอยสองช้อนโต๊ะ ต่อน้ำหนึ่งแก้ว จะได้ชาดอกคำฝอยกลิ่นหอมน่ารับประทาน  แต่ถ้าใครเห็นว่าชาดอกคำฝอยเป็นเรื่องยุ่งยาก (หรือไม่รู้จะหาต้นคำฝอยได้ที่ไหน) เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องไม่ยากเลยครับ เพราะดอกคำฝอยเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คนนิยมนำมาแปรรูปขาย สามรถซื้อดอกคำฝอยที่ตากแห้งพร้อมชง ได้ตามร้าน OTOP ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้าก็มีให้เห็นบ่อยๆ แม้กระทั่งในเซเว่น(บางสาขา) ยังมีให้เห็นด้วยซ้ำ ยังไงก็ลองหามาทานดูได้  สุดท้ายช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน (รูปภาพจาก blog Lovesbody)

ใบเตย สมุนไพรไทยกลิ่นหอมชื่นใจ

 ขับปัสสาวะ, บำรุงหัวใจ, พืชสมุนไพร, รักษาเบาหวาน  ปิดความเห็น บน ใบเตย สมุนไพรไทยกลิ่นหอมชื่นใจ
ต.ค. 132012
 

หากพูดถึงใบเตย ( ที่ไม่ใช่นักร้อยค่ายอาร์สยามสุดเซ็กซี่ ) ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยผ่านการทาน น้ำต้มใบเตยมาแล้วบ้าง ไม่มากก็น้อย ถ้าแบบธรรมดา คือต้มน้ำใส่ใบเตยแล้วทานเพื่อเพิ่มความหอม ถ้าแบบฮาร์ดคอร์หน่อยคือทานน้ำใบเตยกับเหล้าดองยากันบาดคอ  ด้วยกลิ่นหอมที่ชื่นใจ ใบเตยจึงเป็นพืชที่ได้รับความนิยม นอกจากกลิ่นหอมแล้วนั้นใบเตยยังคงคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยอีกหลายอย่าง

มารู้จักใบเตยกันก่อน

ใบเตย จริงๆก็แปลกนะครับ พืชชนิดนี้มันก็ไม่ได้ชื่อว่าใบเตยด้วยซ้ำ แต่ชื่อว่าจริงๆคือ เตย หรือ เตยหอม ซึ่งไม่ค่อยมีคนเรียก นิยมเรียกใบเตยเสียมากกว่า บางครั้งเห็นคนเรียกต้นใบเตยเลยก็มี แต่สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะส่วนของพืชที่คนนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือใบของต้นเตยนั่นเอง

  • ชื่อโดยทั่วไป  เตย , เตยหอม ,Pandanus Palm , Fragrant Pandan,Pandom wangi
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย  Pandanus amaryllifolius? Roxb.

 

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ของใบเตย

ตามตำราสมุนไพรไทยโบราณ ใบเตยมีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ และช่วยลดการกระหายน้ำ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของใบเตย เมื่อนำไปต้มน้ำจะรู้สึกชุ่มคอ และให้ความสดชื่นนอกจากนี้ยังมีการนำปคั้นน้าผสมกับขนมไทย เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม และเพิ่มสีเขียวแบบธรมมชาติไปในตัว  ส่วนรากของใบเตย (ต้นเตย)สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ และจากการศึกษาพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี เรื่องลดระดับน้ำตาลในเลือด หากสนใจลองอ่านบทความนี้เพิ่มเติมดูนะครับ  “สูตรยาสมุนไพรลดระดับน้ำตาลในเลือด

สูตรยาสมุนไพรไทยจากใบเตย

ใช้เป้นยาบำรุงหัวใจ โดยใช้ใบสดเอาแค่ประมาณ 1 กำ นำมาบดให้ละเอียด คั้นเอาน้ำ อาจต้มใส่น้ำตาล เล็กน้อยเพื่อรสชาติที่ดี โดยดื่มครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ร่างกายสดชื่น และสามารถบำรุงหัวใจได้

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ  โดยใช้ใบสดพอประมาณ (อาจสัก 3-5 ใบ)หั่นเป็นท่อน แล้วนำมาต้มดื่มแทนน้ำ ประมาณ2-3 วัน หรืออาจดื่มสัปดาห์เว้นสัปดาห์ จะช่วยขับปัสสาวะและช่วยบำรุงธาตุ

ทั้งหมดนี้คือ สรรพคุณของใบเตยที่นำมาฝากกัน หากบ้านใครมี หรือระแวกบ้านมี จะนำมาลองต้มทานดูก็ไม่สิทธิ์นะครับ

 

ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ก.ย. 262012
 

ช่วงนี้กระแสเห็ดฟีเวอร์ มีการนำเห็ดมาสกัดผสมกับซุปไก่ยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่ง ตอนโฆษณาเขาใช้คำว่าเห็ด ซิทาเกะ ฟังดูออกญี่ปุ่นมาก แต่จริงแล้วเห็ดชนิดนี้คนไทยเราคุ้นเคยมานาน ซึ่งมันก็คือเห็ดหอมนั้นเองครับ แม้เห็ดหอม ไม่ได้เป็น สมุนไพรไทย แต่คนไทยเราก็รู้จักกันดี โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง ทางเว็บเราจึงขอตามกระแสหน่อยด้วยการนำข้อมูลของเห็ดหอมมานำเสนอ

เห็ดหอม หรือ shiitake mushroom ภาพที่เห็นคือ เห็ดหอมแห้ง ที่ผ่านการตาก หรือ อบชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.

ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ

ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ

ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม

ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว

แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร

การกิน  : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น

สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก ป้องกัน และต้านมะเร็ง

ก.ย. 232012
 

กระชายพืชชนิดนี้เอง มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะเป็นสมุนไพรที่ได้ชือว่า สมุนไพรเพื่อเพิ่มสมรถภาพทางเพศ ทุกวันนี้เรื่องเพศเป็นเรื่องที่เปิดกว้าง สามรถคุยกันได้อย่างเปิดเผย ปัญหาทางเพศก็เช่นกัน สำหรับท่านที่มีปัญหา สมุนไพรตัวนี้สามารถช่วยได้ นอกจากนั้นประโยชน์ด้านอื่นๆของกระชายก็มีมากเช่นกัน

กระชาย สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไป

กระชาย

ชื่อวิทย์ Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr.
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่่วไป

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ 90 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30 – 35 ซม.
ดอก มีสีม่วงแดง ดอกออกเป็นช่อ กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว
เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปาก
แตรเกลี้ยงไม่มีขน
การขยายพันธุ์ จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว
และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก
ส่วนที่ใช้ รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ
ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด

สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก
รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า “โสมไทย”

ข้อมูลงานวิจัยในเรื่องกระชาย

จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง “กระชายดำ” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่

ค้นจากหนังสือชื่อ กระชายดำ ของสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547 เขาเขียนไว้ว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผมดำ ตาแจ่มใส ผิวเต่งตึง ทำให้กระชุ่มกระชาย บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แถมยังใช้ในด้านอยู่ยงคงกระพันได้ด้วย

ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก

ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว

แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้

แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า “กระชาย(เฉย ๆ)” เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน “กระชายดำ” ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ

เอกสารอ้างอิง :
กระชาย หรือ “โสมไทย” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ   บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด

ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา

ก.ย. 182012
 

มะกรูด สมุนไพรไทยชนิดนี้ พบเห็นได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้งใบ และ ผล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

มะกรูด สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC วงศ์ Rutaceae

ชื่ออังกฤษ Leech lime

ชื่อท้องถิ่น มะขุน มะกรูด ส้มกรูด

ลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีหนามตามลำต้นและกิ่งก้านใบสีเขียวแก่ ตรงกลางใบจะแคบทำให้มองดูเหมือนเป็น 2 ใบ ภายในมีต่อมน้ำมัน มีกลิ่นหอมดอกมีสีขาว ผลมีสีเขียวผลขรุขระเวลาสุกจะมีสีเหลือง

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

รักษา ชันนะตุ รักษารังแค

น้ำคั้นจากผลใช้รักษาชันนะตุ รักษารังแค่ทำให้ผมสะอาดชุ่มชื่นเป็นเงางาม ดกดำผมลื่นโดยใช้มะกรูดแก่แต่ไม่สุกผ่าครึ่งออกเป็น 2 ชิ้นแกะเมล็ดออกเมื่อสระผมเสร็จแล้วให้เอามะกรูดสระซ้ำจะทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

สุวคนธบำบัด

น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลสดใช้แต่งกลิ่นสบู่และแชมพูลดอาการซึมเศร้า รักษากระเพาะปัสสะวะอักเสบ( ผสมในอ่างน้ำ)

ยาบำรุงหัวใจ

ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ ฝานผิวมะกรูดสุกเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้องแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือชงด้วยน้ำเดือดแช่ทิ้งไว้ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 – 2 ครั้ง ถ้ายังไม่ทุเลาจะรับประทานติดต่อกัน2-3วันก้อได้