ก.ย. 202012
 

ไม่ว่าจะว่านหางจรเข้ หรือ ว่านหางจระเข้ คำไหนเขียนผิดหรือเขียนถูก ผมก็ไม่รู้ แต่ถ้าเรื่องสรรพคุณ ความเป็นสมุนไพรไทยของมัน ก็พอจะบอกได้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรไทยชื่อทางวิทยาศาสตร์ Aloe barbadenisi Mill. วงศ์ Liliaceae

  1. indica Royle
  2. vera Linn.

ชื่ออังกฤษ

Aloe, Star Cartus< Aloin<Jafferabad,Barbados

ชื่อท้องถิ่น ว่านไฟไหม้ (เหนือ) หางตะเข้ (กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ส้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตรข้อและปล้องสั้น ใบ เป็น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใสใต้ผิว สีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อน มีประสีขาว ดอก เป็นช่อออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลงสีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผล เป็นผลแห้ง แตกได้

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ลบรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว

วุ้นจากว่านหางจระเข้ ใช้ทาลดความมันบนใบหน้า ลดรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว รักษาการอักเสบต่าง ๆ ทำให้สิวแห้งหลุดง่าย

วิธีใช้ โดยนำใบว่านหางจระเข้ขนาดพอเหมาะมาปอกเปลือกออกให้เกลี้ยงล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดยาง ตาเอาเฉพาะวุ้นใส ๆ ทาบาง ๆ ตอนเช้าและก่อนนอน นาน 6 เดือน ทำให้ ผิวหน้ามีน้ำมีนวล ไร้รอยสิวและรอยแผลเป็น

บำรุงผมและหนังศีรษะ

ใช้สระผมช่วยบำรุงหนังศีรษะ ป้องกันผมร่วง และช่วยลดความมันของเส้นผมได้ ลดอาการคัน ไม่มีรังแค และทำให้ผมไม่หงอกเร็วโดนนำว่านหางจระเข้ที่แก่มาปอกเปลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นนำมาบดใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด

ตำราไทยใช้น้ำยางสีเหลืองขากใบ เคี่ยวให้แห้งเรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย วุ้นสดของใบใช้ปิดขมับแก้ปวดหัว ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดนและการฉายรังสี แผลสด แผลเรื้อรัง ใช้กินรักษาแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอาง เช่น แชมพูสระผม สบู่ และครีมกันแดด

สารสำคัญ

ในยางมี แอนทราควิโนน

ในวุ้นมี กลับโคโปรตีน aloctin A สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน

ข้อควรระวัง

  1. การใช้ว่านหางจระเข้เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกัน ทั้งโดยการรับประทานหรือใช้ภายนอก อาจเกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันได้ จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ
  2. สารในวุ้นของว่านหางจระเข้สลายตัวได้ง่ายและรวดเร็วจึงควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือเตรียมใหม่สด ๆ ก่อนใช้