มี.ค. 092016
 

ข่าวเรือติดเครื่องยนต์แก๊ส เกิดระเบิดขึ้นที่คลองแสนแสบ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องเกรียวกราดในหน้าข่าวของสื่อทุกแขนง เหตุเพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าตกใจ จากเหตุการณ์ระเบิดนี้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 50 ราย และในจำนวนนี้มี 2 รายที่อาการหนัก อีกทั้งเรือก็เป็นหนึ่งในยานพาหนะสาธารณะที่มีผู้คนใน กทม. นิยมใช้บริการจำนวนไม่น้อย มันไปสะกิดความรู้สึกพรั่นพรึงของคนจำนวนมากที่ต้องโดยสารเรือให้เกิดความหวาดกลัว เกรงว่าจะเกิดเหตุแบบเดียวกันนี้ขึ้นกับตัวเอง

อย่างไรก็ตามสาเหตุของการระเบิดยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งก็มีอยู่หลายประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นมาในการสอบสวน รวมถึงประเด็นสาเหตุที่มีการเล่าลือกันออกไปต่างๆ นานา… ซึ่งเรื่องนี้เราก็ควรรอข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานและเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนก่อน แต่เราจะมาเล่าในวันนี้ไม่ใช่เรื่องสาเหตุหรือสมมุติฐานของการระเบิดที่เกิดขึ้น แต่เราอยากจะมาชวนให้นึกถึงวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากแผลไฟไหม้ เพราะมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งกว่า เป็นเรื่องพบเจอกันเป็นประจำในชีวิตประจำวันทั้งนอกบ้านและในบ้าน…

เมื่อเกิดแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก เราสามารถใช้สมุนไพรใกล้ตัวช่วยได้ในการรักษา ซึ่งสมุนไพรที่นิยมใช้กันในการแก้ไขอาการแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ได้แก่

  1. ว่านหางจระเข้ ให้เลือกเอาใบที่อยู่โคนด้านล่างสุดมาใช้ก่อน วิธีการก็คือนำเอาใบว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกออก แล้วเอาไปล้างน้ำชะล้างยางสีเหลืองออกไปให้เหลือแต่วุ้นใสๆ เอามาแปะทับที่แผล วุ้นจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยรักษาได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนที่แผล และลดขนาดแผลเป็นได้อีกด้วย
  2. ใบบัวบก เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีฤทธิ์เย็นจัด นอกจากสามารถนำมารับประทานบรรเทาอาการช้ำในขับเลือดเสียได้แล้ว ยังสามารถเอามาตำพอกบริเวณที่เป็นแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้อีกด้วย
  3. ใบชา นอกจากนำมาชงดื่มได้แล้ว กากของชาที่ชงยังสามารถเอามาใช้พอกที่แผลไฟไหม้ได้ สารแทนนินในใบชาสามารถรักษาอาการปวดแสบปวดร้อน ป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้นได้อีกด้วย
สมุนไพร ลดรอย น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

สมุนไพร ลดรอย น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

ในการใช้สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นอกจากจะต้องรีบทำโดยเร่งด่วนแล้ว เรายังต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาดของสมุนไพร ซึ่งโดยทั่วไปเราสามารถใช้ได้ทั้งสมุนไพรสด และสมุนไพรแห้งนำมาบดพอก ควรมีการทำความสะอาดให้แน่ใจเสียก่อน ทั้งตัวสมุนไพรที่จะนำมาใช้และปากแผลที่ควรมีการทำความสะอาดเพื่อลดปัญหาเรื่องการติดเชื้อที่ทำให้แผลอักเสบลุกลาม…

ก.ย. 132015
 

ใครได้ดูหนังเรื่อง ฟรีแลนส์บ้างครับ ผมพึ่งไปดูมา เนื้อเรื่องแปลกใหม่ดี แต่ผมไม่ได้มารีวิวหนังนะครับเพราะเว็บนี้เป็นเว็บเกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ซึ่งถ้าใครได้ดู  พบว่าจากเนื้อในหนังเราจะพบว่าพระเอกป่วยเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งในหนังก็ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไรซะด้วย  แต่อาการที่พบได้แก่อาการคัน และตุ่ม ผื่นต่างๆ ถ้าไปหาหมอ หมอก็จะจัดพวกยาต่างๆตามอาการ  ซึ่งจริงๆแล้ว หากอาการไม่ร้ายแรงนัก เช่นตุ่มผดผื่นคันจากอากาศร้อน หรือการแพ้ที่มีไม่มาก เราก็สามารถใช้สมุนไพรไทยรักษาได้เช่นกัน  ลองมาดูกันครับว่ามีสมุนไพรอะไรกันบ้าง

ว่านหางจระเข้1.ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพรไทย ชนิดนี้เราคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว ลองอ่านเพิ่มเติมจากลิ้งค์นี้ได้ครับ  ว่านหางจระเข้ เพื่อผมสวย ผิวใสการใช้งานรักษาอาการคัน โดยการใช้ส่วนที่เป็นวุ้นวุ้นจากว่านหางจระเข้ทาที่ผิวส่วนที่มีอาการต่างๆเช่นผื่นคัน  ผด โดยให้ทา วันละ 2-3 ครั้ง แต่ที่สำคัญควรล้างผิวหนังให้สะอาดก่อนทุกครั้ง สารจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์บรรเทาอาการคันให้ทุเลาลงได้   อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูสภาพผิวให้กลับมาดีขึ้นได้ด้วย ใครไม่มีลองหาจากตลาดนัดมาปลูกดูนะครับ ปลูกง่าย

2.ขมิ้น เป็นสมุนไพรไทยที่ดีมากๆในการรักษาโรคผิวหนัง โรคผดผื่นคันต่างๆ ขมิ้นวิธีการคือให้นำเหง้าสดของขมิ้นมาล้างจากนั้นใช้ครก ตำให้เกิดน้ำแล้วนำมาทาผิว หรือจะใช้เครื่องบดแล้วคั้นเอาน้ำก็ไม่ว่ากันครับ   เป็นไงง่ายไหมครับสำหรับรายละเอียดสรรพคุณด้านสมุนไพรเพิ่มเติมลองดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ   ขมิ้น ไม่สิ้นซึ่งสรรพคุณ

3.พลู สมุนไพรไทยตัวนี้น่าจะพอหาไดครับ ตามตลาด เพราะคนแก่ๆใช้เคี้ยวร่วมกับหมาก วิธีการใช้ก็โดยนำใบสด  3-4 ใบ มาตำแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับเหล้าโรง (หรือเหล้าขาวนั่นแหละครับ ที่เรียกว่าเหล้าโรงเพราะเขาไม่อยากให้มองในแง่ของเหล้าเถื่อน) ซึ่งพลูสามารถช่วยลดอาการของผดผื่นคันได้เป็นอย่างดี

5.ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรนี้ไม่ได้ขึ้นชื่อแต่พียงรักษาอาการเจ็บคอ หรือไข้นะครับ สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรซึ่งฟ้าทะลายโจรสามารถนำใบสดมาตำ แล้วคั้นเอาน้ำมา ทาบริเวณที่มีอาการผดผื่นคันซึ่งใช้วิธีคล้ายๆกับขมิ้น  หรือจะใช้ส่วนลำต้นต้มกับน้ำมันมะพร้าวจนเปื่อย แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ,yoมาทาก็ได้ ส่วนสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของฟ้าทะลายโจร ลองดูที่ลิ้งค์นี้ครับ  ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้

6.สะเดา นอกจากทานกับน้ำปลาหวาน สามารถใช้ได้ทั้งส่วนใบและเปลือกต้นสะเดา วิธีใช้โดยการคั้นเอาน้ำ มาใช้ทา เช่นเดียวกับสมุนไพรอื่นๆ เพราะสะเดาแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา จึงช่วยลดอาการคัน อาการแพ้ของผิว ได้อย่างดี สำหรับสรพคุณอื่นๆของสะเดา สามารถดูได้จากลิ้งค์นี้นะครับ สะเดา สมุนไพรรสขม แต่มากคุณค่า

ขอบคุณภาพจาก kasettrakonthai.com  เนื้อหาประกอบจาก  http://www.beauty24store.com/

พ.ย. 272012
 

สวัสดีชาวเว็บไทยสมุนไพร.net ทุกท่าน ห่างหายไปหลายวันเหมือนกัน วันนี้กับมาพบกันอีกพร้อมด้วยสาระดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรเช่นเคย วันนี้เองมาแนะนำพืชชนิดหนึ่งให้รู้จักผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยทาน แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่อาจไม่กล้าทานเพราะรสขมของมัน พืชชนิดนั้นคือมะระจีนนั่นเองครับ สำหรับในเรื่องมะระเราเคยนำเสนอไปแล้วในตอน”มะระขี้นก สมุนไพรไทยที่มากกว่าแค่ทานกับน้ำพริก” แต่มะระที่จะพูดถึงในตอนนี้เป็นอีกสายพันธ์ และเป็นมะระที่นิยมทานแพร่หลายกว่า สำหรับสรรพคุณของมะระจีนเป็นอย่างไร เรามารู้จักไปพร้อมๆกันครับ

มะระ หรือ มะระจีนชื่อวิทยาศาสตร์  ของมะระจีน     Momordica charantia

ชื่อในภาษาอังกฤษ  มีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (ผมชอบชื่อ bitter melon มากครับแปลตรงตามตัวคือแตงขม รู้เลยว่ารสชาติเป็นอย่างไร)

ชื่อวงศ์  Cucurbitaceae (จะสังเกตุว่าเป็นพืชวงศ์เดียวกับกับแตงกวา)

ลักษณะของต้นมะระจีน

  • ลำต้น มะระจีนเป็นพืชเลื้อยลักษณะเป็นเถา มีมือเกาะใช้ยึดพยุงลำต้นให้พันขึ้น
  • ใบ ลักษณะใบจะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีของหยักๆ รูปคล้ายฝ่ามือ
  • ดอกสีเหลืองมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น
  • ผล ผลของมะระจีนมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา รูปร่างยาว รอบๆผลจะเป็นสันตะปุ่มตะป่ำประมาณ 10 สัน (ลองนับดูได้นะครับว่า 10 สันจริงไหม) ผลอ่อนสีขาว ผลแก่มีสีเขียว

สรรพคุณด้านสมุนไพรในการรักษาโรคเบาหวานของมะระจีน

มะระจีนมีสรรพคุณอยู่มากทีเดียว แต่สรรพคุณที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของมะระจีนคือ มีคุณสมบัติในการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น จากการศึกษาพบว่ามะระจีนจะช่วยเพิ่มเบต้าเซลล์(beta-cell)ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin Hormone) ที่เป็นฮอร์โมนสำคัญในในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  และในมะระจีนยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานในระยะเริ่มต้นเป็นอย่างยิ่ง (แนะนำให้รักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ)  สำหรับการใช้ในการรักษา เราจะใช้เนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือเพื่อเพิ่มรสชาติสามารถผสมกับชาอื่นๆได้

สรรพคุณด้านสมุนไพรอื่นๆ

  • ผล  มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และนอกจากนั้น ยังสามรถใช้ทาภายนอก แก้ผิวหนังแห้ง ลดอาการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบ
  • ราก  ตามตำรากล่าวว่ามีฤทธิ์ ฝาดสมาน ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก แก้บิด ต้มดื่มแก้ไข้
  • เถา มีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อน แก้บิด
  • เมล็ด มีรสขมใช้ขับพยาธิตัวกลม

ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ

ไม่ควรรับประทานมะระทีมีผลสุก  (ปรกติก็ไม่ค่อยมีใครทานอยู่แล้วแต่บอกเผื่อไว้ โดยที่ผลสุกจะออกสีแดง ต่างกับผลแก่ที่เราทานซึ่งมีสีเขียว)  ซึ่งในมะระผลสุกจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากสารซาโปนิน ซึ่งสารนี้มีพิษต่อร่างกาย และไม่ควรทานมะระมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ต้มจืดมะระ


เคล็ดลับการลดความขมของมะระ
หวานเป็นลมขมเป็นยา คำนี้ทุกคนรู้ดี แต่ถ้าขมมากๆอาจพาลทำให้ไม่อยากทานเอา สำหรับวิธีการลดความขมของมะระ คือก่อนนำไปประกอบอาหารให้นำมะระแช่กับน้ำเกลือ (อัตราส่วนเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำ 1 ลิตร )โดยแช่ทิ้งไว้สัก 20 นาทีแล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นก็แช่น้ำเปล่าอีก 10 นาทีก่อนนำขึ้นมาประกอบอาหาร และที่สำคัญเวลาประกอบอาหารโดยการต้มเช่นแกงจืด ไม่ควรเปิดฝาหรือคน เพราะจะทำให้มะระขม นี่คือเคล็ดลับง่ายๆในการลดความขมของมะระ
ต.ค. 162012
 

พูดถึงมะยม แค่พูดชื่อก็เปรี้ยวจี๊ดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้จี๊ดแค่ชื่อ สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยยังจัดว่าจ๊๊ดอีกด้วย (จี๊ด เป็นศัพท์วัยรุ่นนะครับ สำหรับท่านที่ไม่ทันเช่นผม จี๊ดมีความหมายประมาณว่าสุดๆไปเลย อะไรทำนองนี้) และด้วยความที่มะยมเป็นของหาง่าย ปลูกง่าย มะยมจึงจัดว่าเป็นพืชยอดนิยมเหมือนชื่อของมัน วันนี้เองผมจึงอยากแนะนำให้รู้ทุกท่านได้รู้จักมะยมกัน อย่างชนิดที่เรียกว่าหมดเปลือก(จริงๆมะยมก็ไม่มีเปลือก) มาดูว่าสรรพคุณของมันมีมากน้อยเพียงใด จี๊ด ดังที่ผมกล่าวไว้ในตอนแรกหรือเปล่า

ชื่อต่าง ๆ ของมะยม

มะยมชื่อโดยทั่วไป  มะยม  Star gooseberry  สังเกตุชื่อในภาษาอังกฤษตรงคำว่าเบอร์รี่ (berry)  ฝรั่งนี่ก็แปลกเห็นอะไรลูกเล็กๆ เล่นเรียก เบอร์รี่ ไปหมดทุกลูก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Phyllanthus acidus Skeels

ชื่ออื่นๆตามท้องถิ่น    หมากยม (ภาคอิสาน)    ยม  (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไปของต้นมะยม

  • ลำต้น มะยมเป็นไม้ยืนต้น แบบต้นเตี๊ยหน่อย ก้สักสามเมตร แบบสูงสุดเท่าที่เคยเห็น ก็เกือบสิบเมตรได้ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงปลายยอด กิ่งมะยมค่อนข้างเปราะ และแตกง่าย เปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบมะยม ใบของมะยมเป็นใบย่อย ออกเรียงแบบสลับกันเป็นสองแถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ขอบใบเรียบ (ยังจำก้านมะยมได้ไหม ตอนเด็กๆใครเคยโดนมั่ง)
  • ดอก ดอกมะยมออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยจะมีสีเหลืองอมน้้าตาล
  • ผลมะยม หรือลูกมะยม จะออกเป็นช่อตามกิ่ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือขาวแกมเหลือง หลุดจากช่อได้ง่าย

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะยม

  • รากของมะยม  ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ซับน้ำเหลืองจากแผลให้แห้ง ดับพิษเสมหะ แก้ประดง*

* เพิ่มเติมข้อมูล โรคประดง คือ โรคผื่นคันตามผิวหนังหรือที่เรียกกันติดปากว่า “โรคประดง” ลักษณะของผื่น มีหลายแบบ เช่นอาจขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ คล้ายยุงกัดทั่วตัว หรือเป็นผื่นแดงเล็กๆ หรือขึ้นเป็นทางตามตัว  ผื่นเม็ดเล็กสีค่อนข้างขาว   หรือผื่นขึ้นคล้ายลมพิษ   (ข้อมูลจาก http://www.numsai.com)

  • เปลือกของลำต้น  ใช้แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ (สองอาการนี้น่าจะต่างกันที่ลำดับก่อนหลัง ของรอบเดือน และอาการไข้)และ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบ  ใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท โดยต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย และใบมะเฟือง อาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคตา ชำระล้างดวงตา (สูตรนี้ไม่แนะนำนะครับ เรื่องของดวงตา อยากให้รักษาด้วยแผนปัจจุบันมากกว่า แต่ลงพอให้ทราบว่าว่าตำรายาสมุนไพรไทยสมัยก่อน เขามีสูตรนี้)
  • ผล ใช้กัดเสมหะ (ขับเสมหะ )แก้ไอ บำรุงโลหิต และเป็นยาระบาย

สูตรยาสมุนไพรไทยจากมะยม

  1. สูตรยาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ใช้ราก 1000 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร โดยต้มให้เดือด 5-10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นใช้แช่อาบ (จะแช่ในกะละมัง หรืออ่างจากุ๊ดชี่ก็ตามสะดวก) ทำควบคู่ไปกับใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาวันละ 2-3 ครั้ง
  2. สูตรยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ ใช้ผลแก่ดองในน้ำเชื่อม (น้ำ 1ส่วนน้ำตาล 3 ส่วน) ดองจนครบสามวัน ทะยอยทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. สูตรยาลดความดันโลหิต ใช้ใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วม เติมน้ำตาลเล็กน้อยพอดับเฝื่อน ต้มให้เดือนาน 5 นาที แล้วดื่มควบคู่กับการวัดความดันไปด้วย เมื่อความดันเป็นปรกติ ต้องหยุดทาน  (เรื่องความดันโลหิตเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ผมอยากให้สูตรนี้เป็นทางเลือกในการรักษามากกว่า หากท่านใดกำลังรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ควรหยุดยาที่แพทย์จ่าย)

ข้อควรระวัง

น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมมีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปอาจมีอาการปวดท้อง ปวดศรีษะ และง่วงซึม ต้องระวังเรื่องยางจากเปลือกรากให้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก   thai Wikipedia ,หนังสือ สมุนไพรก้นครัว กินแล้วไม่ป่วย ภาพประกอบจาก biogang

ต.ค. 152012
 

วันนี้เราจะพามารู้จักพืชผักสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งกัน นั่นก็คือผักโขม หรือผักขมนั่นเองครับ ผักโขมนั้นมีหลายชนิด พอที่จะแยกได้ดังนี้

  •    ผักโขมบ้าน เป็นผักโขมชนิดที่ใบกลมเล็ก มีลำต้นขนาดเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบมีสีเขียวเหลือบแดง
  •    ผักโขมหนาม มีลำต้นสูง ใบใหญ่ จะมีหนามที่ช่อของดอก จึงเป้นที่มาของชื่อ ผักโขมหนาม ใช้เฉพาะส่วนยอดอ่อนมาประกอบอาหาร
  •    ผักโขมสวน ใบมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกแล้ว จะมีสีแดงอมม่วง
  •    ผักโขมจีน เป็นผักโขมที่มีต้นใหญ่ ใบเป็นสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ใบสดมีรสเผ็ด และมีกลิ่นฉุน


แต่ถ้าจะบอกว่าชนิดไหนเป็นที่นิยม ก็คงจะเป็น ผักโขมสวน เพราะมีใบที่โต และอ่อนนุ่ม รสชาติดี และมีคุณค่าทางอาหารทีสูงเอาเรื่อง เพราะในผักโขม อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด กรดโฟเลต วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และโปรตีน นี่แค่ย่อยๆ ที่เด็ดกว่านั้นล่ะ เรามาดูกัน

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

  1. ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
  2. ผักโขมมีสาร ซาโปนิน(Saponin)ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล ในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
  3. วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็น และช่วยบำรุงสายตา
  4. วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
  5. ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

นอกจากผักโขมจะมีคุณค่าในด้านสารอาหารต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผักโขมยังมีคุณค่าในด้านสมุนไพรไทยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งตำราประมวลสรรพคุณยาไทย ของ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ได้กล่าวถึงประโยชน์ด้านสมุนไพรไทยของผักโขมเอาไว้ดังนี้

ผักโขมหัด(น่าจะเป็นผัโขมบ้าน) ใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนใน แก้ไข้ต่างๆ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี

ผักโขมหนาม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

การนำผักโขมไปใช้ ประกอบอาหาร  

แกงเลียงผักโขมถ้าจะให้พูดคงหลายเมนู ยกตัวอย่างที่เด็ดๆแล้วกันนะครับเช่น ผักโขมผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักโขมหมูบะช่อ สลักผักโขม ซุปผักโขม ยำผักโขม นำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆก็อร่อย นี่แค่อาหารไทย ถ้าใครไปทานในร้านพิซซ่า ก็จะเจอเมนูผักโขมอบชีส อันนี้ผมเคยลองแล้ว อร่อยไม่เบา อ้อลืมบอกในสมัยก่อน(จนถึงปัจจุบัน) นิยมทำแกงเลียงผักโขมให้แม่ที่พึงคลอดรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าช่วยบำรุงเลือดและ เรียกน้ำนม ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะในผักโขมอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงสามารถช่วยตรงนี้ได้

 

ต.ค. 102012
 

จากที่เคยเขียนเรื่อง สูตรสมุนไพรไทยบำรุงสายตา  จากผักบุ้งไปแล้วนั้น วันนี้เลยจะขอเจาะลึกถึงพืชชนิดนี้ เพราะนอกจากสรรพคุณในด้านการบำรุงสายตาแล้วผักบุ้งยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมาก แน่นอนครับ เราไม่เน้นที่ผักบุ้งจีน แต่เราเน้นที่ผักบุ้งนา หรือผักบุ้งแดง ที่พบได้ตามริมรั้วโดยทั่วไป

มารู้จักผักบุ้งกัน

ผักบุ้งชื่อโดยทั่วไป : ผักบุ้ง  , Woolly Morning-Glory  ( Morning-Glory เป็นดอกไม้ของต่างประเทศ รูปร่างเหมือนดอกผักบุ้งบ้านเราเปี๊ยบ)

ชื่ออื่นๆของผักบุ้ง : ผักทอดยอด(ตามที่อ.ภาษาไทยสอนแต่ทำไมไม่ค่อยมีคนใช้คำนี้เช่น แม่ค้าเอาผักทอดยอดกำนึง ) , ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งนา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forsk., I.reptans (Linn.) Poir

วงศ์ของพืช : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทั่วไป :

ผักบุ้งเป็นพืชน้ำ และเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลือยทอดไปตามน้ำหรือดิน ทีชื้นแฉะ

ต้น : มีเนื้ออ่อนลำต้นจะกลวงและมีปล้อง เป็นสีเขียว หรืออาจเป็นสีน้ำตาลแดง

ใบ : มีสีเขียวเข้ม เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมคล้ายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยวออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว 4-8 เซนติเมตร

ดอก : ลักษณะ ของดอกเป็นรูประฆัง มีสีขาว หรือม่วงอ่อน ด้านโคนดอกสีจะเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปีในช่วงฤดูร้อนจะออกมากหน่อย

ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรไทยของผักบุ้ง

ใบผักบุ้ง ผักบุ้งนั้นตามตำราสมุนไพรไทยเขาว่ามีรสเย็นจืด สรรพคุณคือถอนพิษเบื่อเมา รากมีรสจืดเฝื่อน มีสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง อาหารเป็นพิษ
ดอกผักบุ้ง เฉพาะดอกตูมใช้รักษาโรคผิวหนังเช่น กลากเกลื้อน  หรืออาจใช้ตำพอกรักษาโรคริดสีดวงทวาร

สารอาหารที่พบได้ในผักบุ้ง

ในผักบุ้งมีสารอาหารหลายชนิด ที่เป็นจุดเด่นของผักบุ้งเลยคือ วิตามินเอ ที่มีมากถึง 11447 IU* ซึ่งช่วยในการมองเห็น

(*IU ย่อมาจาก international unit เป็นหน่วยสากล เฉพาะวิตามินเอ หนึ่ง IU เท่ากับ  0.3 ไมโครกรัม เรตินอลหรือ 0.6 ไมโครกรัมของเบต้าแครอทีน)

นอกจากนั้นยังมี เส้นใย  ซึ่งช่วยในระบบขับถ่าย แคลเซียม บำรุงกระดูกและฟัน  ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 และวิตามินซี

รู้คุณค่าอย่างนี้แล้ว มาทานผักบุ้งกันเยอะๆนะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก EN-wikipedia ,หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน

ต.ค. 092012
 

พืชที่เราบริโภคลำต้นใต้ดิน หรือเรียกกันแบบบ้านๆว่าหัว นั้นมีอยู่หลายชนิด ที่ได้รับความนิยมหน่อยก็พวก กระชาย หรือข่า ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่เราได้เคยพูดกันมาแล้ว (ตามอ่านได้) แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงพืชชนิดหนึ่งกัน ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครตรงที่เมื่อนำหัวมาฝนจะให้สีเหลืองที่สวยงาม นึกออกแล้วใช่ไหมครับว่าผมพูดถึงอะไร สมุนไพรไทยชนิดนั้นก็คือขมิ้นชัน หรือขมิ้นนั่นเอง

 มาทำความรู้จักกับขมิ้นกัน

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชันชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น  : Curcuma longa Linn

ชื่อในภาษาอังกฤษ  : Turmaric

ชื่ออื่นๆ   :  ขมิ้น ขมิ้นแกง  ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง   ขมิ้นดี  ตายอ

ลักษณะของขมิ้น  : เป็นพืชที่ไม่ท้อถอย (พืชล้มแล้วลุก)  สูงไม่มากประมาณ  30-90 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้องข้างในสีเหลืองเข้ม (ใช้คำว่าเหลืองอ๋อย คงจะเหมาะ)   มีกลิ่นที่หอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้า  ดอกออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ผลรูปกลมมีสามพู

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านสมุนไพรไทย  เหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตามธรรมชาติ ลดการอักเสบ และยังช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีสรรพคุIในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง อาการแพ้และอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านโภชนาการ 

ในขมิ้นชันมีวิตามิน AEC (หรือประชาคมเศรษกิจอาเซียน ไม่ใช่แล้ว) คือเจ้า วิตามิน A,C,E ทั้งสามตัวจะเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆกันจึงมีผลมากมาย เฉพาะในเรื่องของมะเร็งก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งตับ และกำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้ว เตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง    ส่วนในเรื่องอื่นๆที่เขาวิจัยก็มี เรื่องการช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ  นับว่าสรรพคุณค่อนข้างดีมากๆ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติม เช่นป้องกันการแข้งตัวของเลือด การเป็นสารต้านมะเร็งเนื้องอกต่างๆ รวมถึงยังมีการใช้เป็ยาต้านเชื้อในผู้ป่วย HIV ย้ำนะครับว่าอยู่ในขั้นการทดลอง และขมิ้นชันเองมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเหมาะมาก กับคนที่เป็นหวัด หรือแพ้อากาศบ่อยๆ

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขมิ้นชัน

1.สูตรยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำและคั้นแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

2.สูตรยาภายนอก ทาแก้ผื่นคันโรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น ให้ใช้เหง้าแก่แห้ง ไม่จำกัดจำนวน ป่นเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน โดยในเด็กใช้กันมาก

ข้อควรระวังในการใช้  เมื่อมีประโยชน์ ย่อมต้องมีสิ่งที่ต้องระวังบ้างเป็นธรรมดา ลองมาดูกันเลย

  •  การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  • บางคนอาจมีการแพ้ขมิ้นโดยอาการคือ คลื่นไว้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาทันที บางคนอาจทานอาหารใต้ไม่ได้ ทานแล้วท้องเสียไม่แน่อาจเกิดจากสาเหตุการแพ้ขมิ้นในอาหารก็เป็นได้
  • ไม่ควรซื้อผวขมิ้นชันตามตลาดควรทำเอง เพราะตามตลาดเขาใช้ขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีมักผ่านความร้อน ทำให้สูญเสียน้ำมันหอมระเหยไป

 

ข่า สมุนไพรไทย รักษาลมพิษ

 รักษาโรคผิวหนัง  ปิดความเห็น บน ข่า สมุนไพรไทย รักษาลมพิษ
ก.ย. 242012
 

นอกจากประโยชน์ของข่าในการใช้ประกอบอาหารแล้วนั้น ประโยชน์อย่างหนึ่งที่คนไม่รู้กันคือช่วยในการบรรเทาโรคผิวหนัง และลมพิษต่างๆ จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์มากทีเดียว

ข่า ข้อมูลทั่วไป
ข่า
ชื่อวิทย์ Alpinia nigra (Gaertn.) B.L.Burtt
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)
กุฏกกโรหินี เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน)สะเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ลงหัวจำพวก กะวาน เร่ว กะลา จะลงหัวใหญ่ขาวอวบอ้วน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม
ใบ จะมีลักษณะรูปไข่ยาว จะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้นบนดิน ซึ่งจะเป็นกาบของใบหุ้ม ลำต้น ใบคล้ายพาย
ดอกเป็นช่อมีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
ดอก จะออกเป็นช่อตรงปลายยอด และดอกช่อนั้นก็จะจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีกาบ
สีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้นจะบาน จากข้างล่างขึ้นข้างบน
ผล มีลักษณะกลมโตและมีขนาดเท่าเม็ด บัว เมื่อแก่จะมีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน จะมีรสขม เผ็ดร้อน
การขยายพันธุ์ ข่าจะปลูกด้วยเหง้า หรือหน่อจะปลูกได้ทุกฤดูกาล โดยการแยกปลูกเป็นหลุม ๆ ละต้น ปลูกห่างกันราว ๆ
80 ซม. เผื่อให้มันแตกกอ และปลูกง่ายไม่มีศัตรูพืชรบกวน
ส่วนที่ใช้ เหง้าอ่อน และแก่

สรรพคุณ ของพืชสมุนไพร ชนิดนี้
เหง้า เหง้าแก่ นำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ใช้เป็นยารักษาภายนอก หรือจะตำใช้ทำกระ สายเป็นเหล้าโรง ทารักษาอาการคันในโรค ลมพิษ ทาบ่อย ๆ จนกว่าลมพิษนั้นจะหายไป

ก.ย. 232012
 

จะสั่งข้าวที เวลานึกอะไรไม่ออกเรามักจะสั่ง กระเพราไข่ดาวจานนึง บางคนอาจจะบอกเราสิ้นคิด แต่ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย ใครจะว่าก็ไม่เป็นไร หนำซ้ำกระเพรายังมีคุณค่าของ สมุนไพรไทย มากมายอีกด้วย

กระเพรา สมุนไพรไทยกระเพรา
ชื่อวิทย์ Ocimum sanctum, Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE

ชื่ออื่น
กระเพราแดง, กระเพราขาว (ภาคกลาง)
ก่ำก้อขาว , ก่ำก้อดำ, กอมก้อขาว, กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาเหนือ)
ห่อตูปลา, ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน

ลักษณะโดยทั่่วไป
ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนของลำต้น เนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม
ใบ ใบสีเขียว เรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนโดย เฉพาะส่วนที่เป็นยอด
ของมันจะมีมากกว่าส่วน อื่น ๆ ใบมีกลิ่นหอม
กิ่ง กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของ มันจะอ่อน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง
เมล็ด เมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด หรือลำต้น ใน การขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นดีในดินร่วนซุยน้ำ น้อย
ส่วนที่ใช้ ใบ, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ
ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย

ก.ย. 202012
 

กระเทียม สมุนไพรไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีภาพวาดหัวกระเทียมปรากฏบนโลงศพมัมมี่อียิปต์ ประมาณ 3,200 ปีก่อนพระคริสต์ มีการขุดค้นพบกระเทียมฝังเป็นแนวรอบมหาราชวัง knosos  ในกรีซ และในปอมเปอี

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าใช้กระเทียมเพื่อรักษา

  • · อาการปวดศีรษะ เจ็บคอ บำรุงร่างกายที่อ่อนแอ
    • · กระเทียมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
    • · ตำราจีนและญี่ปุ่น ใช้กระเทียมช่วยลดความดัน
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กระเทียมได้รับการยอมรับในการรักษาโรคไทฟัสและโรคบิด
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แพทย์ชาวอังกฤษ รักษาแผลสด  เป็นยาฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ตามตำรายาไทยหลายเล่มยังได้ระบุสรรพคุณและประโยชน์ทางยาของกระเทียมได้หลายอย่าง

  • · ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
  • · ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • · ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ

กระเทียม allium sativum linn.

สารสำคัญ

ในหัวกระเทียมสดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-0.4 % มีสารสำคัญ ที่มีกำมะถันหลายชนิดเช่น alliin, allicin, diallyl disulfide, methyl n-propyl disulfide นอกจากนี้แล้วยังมีกรดกำมะถัน เช่น d-glutamyl-s-methylcysteine ส่วนกลิ่นของกระเทียมเกิดจาการย่อย allylcystein sulfoxide หรือ alliin ซึ่งไม่มีกลิ่นให้เป็นสาร allylthiosulfinote หรือ allicin ด้วยเอนไซม์  allinase

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่ากระเทียมสามารถลดปริมาณของ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้

ส่วนการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม กับคนปกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับ Cholesterol สูง ในขนาดที่ได้ 0.25 mg /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 เดือน พบว่าระดับ Cholesterol ในเลือดลดลง และเมื่อใช้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขาด 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1ใน 3 ของคนไข้ที่มีระดับ Cholesterol สูง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีก 2 ใน 3 ลดลงปกติ สารที่มีฤทธิ์ในการลด Cholesterol คือ allicin กระเทียมกับการลดความดันโลหิต

พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95 % จากหัวกระเทียมสามารถลดความดันในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงได้

กระเทียมกับการลดน้ำตาลในเลือด

จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยการให้สารสกัดกระเทียมด้วย แอลกอฮอล์ให้กับกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอ ๆ กับ tolbutamide

กระเทียมยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

น้ำคั้นกระเทียมและกระเทียมผงมีผลต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ mycobaerium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของโรควัณโรค สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว คือ สารจำพวกซัลไฟด์ (sulfide) ซึ่งได้แก่ allicin, scordinin และ scordinin A

กระเทียมกับ HIV

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งไม่พบในกระเทียมสด แต่จะพบในกระเทียมที่หมักในน้ำมัน สาร ajoene สามารถป้องกัน CD4  Cell จากการติดเชื้อ HIV และยังช่วยลดการสร้างไวรัสตัวใหม่ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

ใช้กระเทียมอย่างไร  ในชีวิตเราจะใช้กระเทียมในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกกะปิ ผัดผัก ผักแกล้มหมูทอดกระเทียม ส้มตำ ฯลฯ แม้แต่เรากินข้าวขาหมูยังมีกระเทียมเป็นผักแกล้ม ถ้าจะอธิบายเป็นแบบสมัยใหม่น่าจะอธิบายได้ว่า เพราะข้าวขาหมูมีไขมันสูง ถ้าเรากินกับกระเทียม เข้าใจว่าจะช่วยลดไขมันที่เรากินไปได้ เราจะกินกระเทียมให้ได้คุณค่าของกระเทียมสูงควรจะใช้

“กระเทียมสด ดีที่สุด”

“กระเทียมไทย ให้ผลสูงสุด”

ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักต่อหนึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 10-15 กลีบต่อวัน)

นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง 5-10 วัน อาการจะดีขึ้นและทาต่อจนกว่าจะหาย

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี