มี.ค. 092016
 

ข่าวเรือติดเครื่องยนต์แก๊ส เกิดระเบิดขึ้นที่คลองแสนแสบ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องเกรียวกราดในหน้าข่าวของสื่อทุกแขนง เหตุเพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าตกใจ จากเหตุการณ์ระเบิดนี้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 50 ราย และในจำนวนนี้มี 2 รายที่อาการหนัก อีกทั้งเรือก็เป็นหนึ่งในยานพาหนะสาธารณะที่มีผู้คนใน กทม. นิยมใช้บริการจำนวนไม่น้อย มันไปสะกิดความรู้สึกพรั่นพรึงของคนจำนวนมากที่ต้องโดยสารเรือให้เกิดความหวาดกลัว เกรงว่าจะเกิดเหตุแบบเดียวกันนี้ขึ้นกับตัวเอง

อย่างไรก็ตามสาเหตุของการระเบิดยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งก็มีอยู่หลายประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นมาในการสอบสวน รวมถึงประเด็นสาเหตุที่มีการเล่าลือกันออกไปต่างๆ นานา… ซึ่งเรื่องนี้เราก็ควรรอข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานและเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนก่อน แต่เราจะมาเล่าในวันนี้ไม่ใช่เรื่องสาเหตุหรือสมมุติฐานของการระเบิดที่เกิดขึ้น แต่เราอยากจะมาชวนให้นึกถึงวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากแผลไฟไหม้ เพราะมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งกว่า เป็นเรื่องพบเจอกันเป็นประจำในชีวิตประจำวันทั้งนอกบ้านและในบ้าน…

เมื่อเกิดแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก เราสามารถใช้สมุนไพรใกล้ตัวช่วยได้ในการรักษา ซึ่งสมุนไพรที่นิยมใช้กันในการแก้ไขอาการแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ได้แก่

  1. ว่านหางจระเข้ ให้เลือกเอาใบที่อยู่โคนด้านล่างสุดมาใช้ก่อน วิธีการก็คือนำเอาใบว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกออก แล้วเอาไปล้างน้ำชะล้างยางสีเหลืองออกไปให้เหลือแต่วุ้นใสๆ เอามาแปะทับที่แผล วุ้นจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยรักษาได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนที่แผล และลดขนาดแผลเป็นได้อีกด้วย
  2. ใบบัวบก เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีฤทธิ์เย็นจัด นอกจากสามารถนำมารับประทานบรรเทาอาการช้ำในขับเลือดเสียได้แล้ว ยังสามารถเอามาตำพอกบริเวณที่เป็นแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้อีกด้วย
  3. ใบชา นอกจากนำมาชงดื่มได้แล้ว กากของชาที่ชงยังสามารถเอามาใช้พอกที่แผลไฟไหม้ได้ สารแทนนินในใบชาสามารถรักษาอาการปวดแสบปวดร้อน ป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้นได้อีกด้วย
สมุนไพร ลดรอย น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

สมุนไพร ลดรอย น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

ในการใช้สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นอกจากจะต้องรีบทำโดยเร่งด่วนแล้ว เรายังต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาดของสมุนไพร ซึ่งโดยทั่วไปเราสามารถใช้ได้ทั้งสมุนไพรสด และสมุนไพรแห้งนำมาบดพอก ควรมีการทำความสะอาดให้แน่ใจเสียก่อน ทั้งตัวสมุนไพรที่จะนำมาใช้และปากแผลที่ควรมีการทำความสะอาดเพื่อลดปัญหาเรื่องการติดเชื้อที่ทำให้แผลอักเสบลุกลาม…

ส.ค. 082014
 

มะลิ สมุนไพรไทย

ใกล้ถึงวันที่ 12 สิงหาคมเข้าไปทุกที ยังไงทางเว็บไทยสมุนไพร.net ขออวยพรให้คุณแม่ทุกท่านมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงนะครับ และขอเป็นตัวแทนสำหรับลูกๆทุกคนในการกล่าวคำขอบคุณ สำหรับพระคุณมากมายที่มีให้ลูก พูดถึงวันแม่ แน่นอนต้องนึกถึงดอกมะลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวันนี้  ซึ่งหลายท่านนำมามอบให้แม่เพื่อเป็นการแสดงถึงการสำนึกในพระคุณ แต่รู้หรือไม่ มะลินั้นก็จัดว่าเป็น สมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ลองมารู้จักดอกมะลิในอีกมุมกันดูครับ

 

มารู้จักมะลิกันเถอะ

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait วงศ์  Oleaceae
  • ชื่ออังกฤษ Arabian jasmine
  • ชื่อท้องถิ่น  ข้าวแตก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เตียงมุน (ละว้า-เชียงใหม่)มะลิป้อม (เหนือ) มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดอกมะลิ
จริงๆหลายคนอาจคิดว่าดอกไม้สมุนไพรไทยเช่นมะลิเป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดในไทย แต่จริงแล้วกลับมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ส่วนใหญ่ใช้ในพิธีทางศาสนา ซึ่งคล้ายๆกับเมืองไทยที่นำมาร้อยบูชาพระ ซึ่งการนำพันธ์ดอกมะลิเข้ามาในไทยเมื่อไหร่ผมเองก็ไม่มีข้อมูล  สำหรับลักษณะมะลินั้น   มะลิไม้พุ่มขนาดสูงไม่เกิน 2 เมตรแตกกิ่งสาขามาก กิ่งอ่อนมีข้นสั้น ใบ เดี่ยวออก ตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ดอก เดี่ยวหรือออกเป็นช่อละ 2-3 ดอก กลีบเป็นหลอดสีขาว กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม    เรื่องของดอกขอบอกนิดนึงจริงแล้วมะลิมีสายพันธ์เกือบ 200 สายพันธ์ ซึ่งบางสายพันธ์เป็นดอกสีเหลืองก็มีนะครับ**  แต่หายากและไม่นิยมเท่าดอกสีขาว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะลิ

  • สุวคนธบำบัด หรือการบำบัดด้วยกลิ่นหอม  น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิเรียกว่า jasmine oil ซึ่งมีกลิ่นหอมหวาน ให้ความรู้สึกอบอุ่น มีผลต่ออารมณ์ ลดอาการซึมเศร้า ผ่อนคลายความตึงเครียดและความกลัว บรรเทาอาการปวดศีรษะ ใช้ทำหัวน้ำหอมและแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางหลายชนิด   ซึ่งการ  jasmin oil จากดอกมะลิ ในอดีตใช้วิธีอองเฟลอราจ (enfkeurage) เป็นการสกัดโดยการใช้ไขสัตว์ดูดซับกลิ่นไว้ แล้วนำไปละลายในแอลกอฮอล์ ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงเปลี่ยนมาเป็นวิธีสกัดด้วยตัวละลายเฮกเซน หรือปิโตเลียมอีเทอร์ โดยนำดอกไม้มาแช่ในตัวทำละลาย จากนั้นกรองกากดอกไม้ออก แล้วนำสารสกัดไประเหยตัวทำละลายออก สารหอมที่ได้เรียกว่า concrete เวลาใช้ นำมาละลายในแอลกอฮอร์เรียก absolute ใช้ทาภายนอกเท่านั้น ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ได้ราคาที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
  • ดอกสด  ใช้ร้อยมาลัยและอบขนมให้มีกลิ่นหอม ดอกเริ่มบานใช้ลอยน้ำให้มีกลิ่นหอม เพื่อใช้ดื่มและทำขนม เช่น ลอดช่องน้ำกะทิ ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ
  • ดอกแก่  เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
  • ใบ  แก้ไข้ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย พอกแก้ฟกชำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย
  • ราก  แก้ร้อนใน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นและข้อควรระวัง   น้ำมันหอมระเหย จากดอกมี benzyl alcohol, benzylacetate, D-linalool, jasmine, anthranilacid methyester, indol, P-cresol, geraniol, methyljasmonat   ใน ใบ มี jasminin, sambacin    ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิให้ใช้ภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทานและห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์

บทความนี้ re-write ใหม่อีกครั้งจากบทความเดิมในปี 2555  และขอบคุณข้อมูลจาก คุณ dogstar ใน blog OKnation  และข้อมูลทางสรรพคุณบางส่วนนำมาจาก cyclopaedia.net

ธ.ค. 032013
 

วันนี้ผมเรื่องราวของมะพร้าวมาฝาก  ผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้จักมะพร้าวแน่ๆ เพราะขนมไทยเกือบทุกชนิด จะมีการนำพืชชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ ไม่ใส่ลงไปตรงๆ เช่นขูดเป็นฝอย ก็ใส่ลงไปทางอ้อมผ่านทางน้ำกระทิ  แต่ใครจะรู้ว่ามะพร้าว ก็จัดเป็นสมุนไพรไทย ที่มีคุณค่าเช่นกันเดียว มารู้จักมะพร้าวกันนะครับ

ต้นมะพร้าว

  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว  : Cocos nucifera L. var. nucifera
  • ชื่อในภาษาอังกฤษ : Coconut  (ส่วนน้ำกระทิ เรียก coconut milk นะครับ)
  • ชื่อวงศ์ : Palmae (หรือง่ายๆคือเป็นพืชตระกูลปาล์มนั่นเอง)
  • ชื่อตามภูมิภาคต่างๆของไทย  : เนื่องจากมะพร้าวขึ้นอยู่ทุกภูมิภาค จึงมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

 

ลักษณะของต้นมะพร้าว                                                                                                                                          

  • ลำต้น  :   ไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร(สูงที่สุดในพืชตระกูลปาล์ม) ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ
  • ใบ       :    เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอก   :  ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ
  • ผล     : ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

  • เปลือกผล – รสฝาดขม สุขุม (ตามตำราโบราณเขาเรียกแบบนี้จริงๆครับ คงประมาณฝาดลึกๆ) ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา  – แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
  • ถ่านจากกะลา – รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ (ปัจจุบันมีถ่านแบบใช้ทานดูสารพิษ แก้ท้องเสียจ่ายให้ผู้ป่วยใน รพ. แล้วนะครับ ข้อนี้อาจไม่จำเป็นต้องทำตามก็ได้)
  • น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา – ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว – รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
  • น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว – ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้
  • น้ำมะพร้าว – รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในอดีตยามจำเป็น  น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน เคยใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้ (ไม่แนะนำนะครับ ปัจจุบันนี้ให้รักษากับแพทย์แผนปัจจุบันดีกว่า)
  • ราก – รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
  • เปลือกต้น – เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
  • สารสีน้ำตาล – ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

การประยุกต์ใช้อื่นๆ  

มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมะพร้าว,น้ำมะพร้าว

อ้างอิงจากงานเขียนของคุณพนิตตา  สวัสดี  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  วช. นะครับ(ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ) ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ของน้ำมะพร้าวอีกหลายประการคือ

  1. การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้  โดยผลงานวิจัยของ ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโตร-เจน (Estrogen) สูง ซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง
  2. การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวัน   ยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ  และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย
  3. น้ำมะพร้าวช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่   ภายนอกเพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่   ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน  ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้
  4. น้ำมะพร้าวสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี
  5. น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ  ขับของเสีย หรือสารพิษออกจากร่างกาย  (คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์ )  จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง  ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของมะพร้าว ลองหามาทานกันดูนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพนิตตา  สวัสดี  ภารกิจข้อมูลวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  วช. และฐานข้อมูลสมุนไพรไทย 200 ชนิด เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ

 

ม.ค. 072013
 

ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าสำนวนที่บอก “ไม่เป็นสับปะรด”มันมีที่มาที่ไปยังไง ทำไมมันไปหมายถึงอะไรที่ไม่เข้าท่าไปได้ แต่อย่างไรก็ตามสมุนไพรไทยที่นำเสนอวันนี้ผมรับรองว่าเป็นสับปะรดแน่นอน เพราะมันคือสัปปะรด งงไหม? ก่อนที่เราจะไปดูกันต่อว่าสับปะรดมีดียังไงเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามและลักษณะของสับปะรดกันก่อน

สับปะรดชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสัปปะรด :   Ananas comosus  (L.) Merr.

ชื่อโดยทั่วไป:  สับปะรด หรือ Pineapple (หลายคนอาจงงว่ามันเกี่ยวกับแอบเปิ้ลยังไง จริงๆคำนี้มันก็ตามตัวนะครับคือฝรั่งจะมีขนมอย่างหนึ่งที่ใช้ผลไม้เป็นองค์กระกอบ ซึ่งก็คือพายผลไม้นั่นเอง คราวนี้มันมีพายอันหนึ่งคือพายทำจากแอปเปิ้ล ลักษณะจะออกสีเหลืองๆ ซึ่งลักษณะมีเนื้อคล้ายๆของเนื้อสับปะรด เมื่อฝรั่งได้เห็นสับปะรดเป็นครั้งแรกจึงตั้งชื่อผลไม้ที้ว่า พาย-แอปเปิ้ลนั่นเอง

ชื่อวงศ์ :   Bromeliaceae

ชื่ออื่น :  หมากนัด (ภาคอีสาน) แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ลิงทอง (เพชรบูรณ์) จะเห็นว่าชื่อตามท้องถิ่นมีเยอะมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้หลายที่นั่นเอง

ลักษณะของสับปะรด : เป็นผลไม้สมุนไพร ที่เป้นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวีสลับซ้อนกัน ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำมีตาอยู่รอบผลที่เป้นลักษณะเฉพาะของสับปะรด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย : สับประรดเรียกได้ว่าทุกส่วนมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยแทบทั้งสิ้นสุดแต่เราจะเลือกใช้

  • ราก –  ใช้บรรเทานิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด – เป็นยาระบาย ฆ่าและถ่ายพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ – ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก – ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด – แก้ขัดเบา (ฉะนั้นทางสับปะรดก็อย่าทิ้งแกนกลางมันนะครับ)
  • เปลือก – ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก – ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง – แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

เคล็ดลับในการรับประทานผลสับประรด ให้ได้รสชาติดีและปลอดภัย

ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงๆ เป็นแถว เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น (ลองสังเกตตอนที่แม่ค้าหั่นดูก็ได้)แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และ เอ็มไซม์ บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หลังรับประทาน

มาทานสับประรดกันนะครับนอกจากเป็นผลไม้ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรไทยอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ สมุนไพรก้นครัวกินแล้วไม่ป่วย ,ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

พ.ย. 202012
 

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบทานน้ำพริกกะปิมาก ด้วยรสชาติที่อร่อย และสามารถทานกับอาหารได้หลายอย่าง อาทิเช่น ปลาทู ไข่เจียว หรือถ้าเป็นผักก็ทานได้หลายชนิด แต่มีผักอยู่ชนิดหนึ่งที่เรียกได้ว่าขาดกันไม่ได้เลย นั่นก็คือ มะเขือยาวพระเอกของเรื่องในวันนี้นั่นเอง (คงพอนึกภาพออกนะครับที่ก่อนทานเขาจะนำมะเขือยาวไปชุบกับไข่ทอดให้เหลืองฟู ไว้ทานกับน้ำพริกกะปิ ) สำหรับคุณค่าของมะเขือยาวนั้นนับว่ามีอยู่มากทีเดียวทั้งด้านโภชนาการและด้านสมุนไพร เรามารู้จักกับเจ้ามะเขือยาวไปพร้อมๆกันนะครับ

มะเขือยาวชื่อทางวิทยาศาสตร์    SO-LANUM MELONGENA LINN.

ชื่อวงศ์    SOLA-NACEAE

ลักษณะของมะเขือยาว

  • ลำต้น   มะเขือยาวจัดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ1 เมตร ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น กิ่งอ่อนมักมีขนละเอียดปกคลุมทั่วและมักมีหนามขนาดเล็ก
  • ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนนุ่ม ผิวใบสีเขียวสด
  • ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ 3-5 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแหลม ดอกเป็นสีม่วง กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อันอยู่ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรและอับเกสรเป็นสีเหลือง
  • ผล รูปกลมยาว มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ที่มาีผลเป็นสีเขียว กับ พันธุ์ที่ผลเป็นสีม่วง ผิวผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เวลาติดผลดกและผลยาวห้อยลงจะดูสวยงามทั้งสีเขียวและสีม่วง โดยมะเขือยาวเองจะติดผลตลอดปี เรียกว่าหากปลูกแล้วมีให้ทานตลอด

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

อย่างที่บอกไป ว่ามะเขือยาวมีคุรค่าทางโภชนาการหลายอย่าง เช่น คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย เส้นใยอาหาร ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  ฟอสฟอรัส ช่วยให้วิตามินบีต่าง ๆทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด  โพแทสเซียม ช่วยในเรื่องการควบคุมความดันโลหิต     นอกจากนั้นยังมี   วิตามินA วิตามิน B2 วิตามินC

ที่กล่าวไปข้างต้นเป้นแค่ส่วนหนึ่งนอกจากนั้น มะเขือยาวยังมีสารไกลโคอัลคาลอยด์ (Glycoalkaloid)  สารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า เทอร์ปิน (terpene) เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยรักษาหลอดเลือดหัวใจให้เป้นปรกติ ป้องกันโรคความดันโลหิตสุง ลดอาการบวม และช่วยขับปัสสาวะได้

สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของมะเขือยาว

ลำต้นและราก แก้บิดเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด* แผลอักเสบ

ใบ แก้ปัสสาวะขัด  พอกแผลบวมเป็นหนอง

ผลแห้ง ทำเป็นยาเม็ดกินแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้* ขับเสมหะ ผลสด ตำพอกแผลอักเสบมีหนอง

ขั้วผลแห้ง เผาเป็นเถ้าบดให้ละเอียดกินเป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้*

*สำหรับอาการอุจจาระมีเลือดปนมีสาเหตุการเกิดได้หลายสาเหตุ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ

ทั้งหมดนี้คือคุณค่าดีๆของพืชผักสมุนไพร ที่ชื่อว่ามะเขือยาว ที่เรานำมาฝากกัน ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.(สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) ,หนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

 

 

มังคุด ผลไม้สมุนไพร ใช้ได้แม้เปลือก

 ช่วยสมานแผล, แก้ท้องเสีย ท้องร่วง  ปิดความเห็น บน มังคุด ผลไม้สมุนไพร ใช้ได้แม้เปลือก
พ.ย. 142012
 

วันนี้เรามาพูดถึงผลไม้ ที่ใช้เป็นยาสมุนไพรไทยกันบ้าง และผลไม้สมุนไพรชนิดที่เราจะพูดถึงในวันนี้ ผมว่าทุกคนคงรู้จักและเคยทาน  ผลไม้ชนิดนี้มีรสชาติที่หอมหวาน และเนื้อในที่ขาวเนียนซึ่งถูกซ่อนเอาไว้ในเปลือกหนาสีแดงอมม่วง พูดลักษณะมาแบบนี้หลายคนคงนึกออกแล้วใช่ไหม ว่าผมพูดถึงอะไร แน่นอนสิ่งที่ผมพูดถึงจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก “มังคุด” นั่นเอง

ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ผมขอถามทุกคนก่อนว่าสำหรับมังคุดนั้น เวลาทาน เราจะทานกันยังไง ? หลายคนอาจบอก ก็แกะเปลือกทานเนื้อข้างในสิ ไม่น่าถามเลย!!! ก็ถูกครับผมไม่เถียง แล้วถ้าผมถามต่อว่าล่ะว่า แล้วเปลือกมังคุดที่แกะออกมาล่ะ ทำไงกับมันต่อ หลายคนก็คงจะตอบผมทันทีว่า ก็ทิ้งสิ จะเก็บไว้ทำไม ทานก็ไม่ได้ !!! ก็ถูกอีกครับ ถูกตรงที่ทานไม่ได้ แต่ถ้าเป็นด้านสมุนไพรไทย แล้วนับว่าน่าเสียดายมากที่จะทิ้งเปลือกมังคุด เพราะส่วนเปลือกเป็นส่วนที่จะใช้เป็นยาสมุนไพรได้มากที่สุด ก่อนที่เราจะพูดถึงต่อไปว่าเปลือกมังคุดเอาไปทำยาสมุนไพรอะไรได้บ้าง  เรามารู้จักลักษณะของมังคุดกันก่อนดีกว่านะครับ

มังคุดชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia mangostana Linn.

ชื่อโดยทั่วไป      มังคุด  หรือ  mangosteen   มังคุดคล้ายกับมะม่วงยังไงใครรู้ช่วยบอกที ? ทำไมในชื่อภาษาอังกฤษต้องมีคำว่ามะม่วง (mango)นำหน้าชื่อ

ชื่ออื่นๆของมังคุด  แมงคุด ,เมงค็อฟ

ลักษณะของมังคุด

  • ลำต้น มังคุดเป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร  ลำต้นตรง เปลือกลำต้นภายนอกมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ภายในเปลือกประกอบด้วยท่อน้ำยาง มีน้ำยางสีเหลือง (โดนเสื้อผ้าแล้วซักออกยากมาก)
  • ใบ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน กว้าง 6-12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มลักษณะเป็นมัน ท้องใบจะมีสีอ่อนกว่า
  • ดอก ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่โดยจะออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองโดยจะติดอยู่จนเป็นผล(ดังที่เราเห็นกลีบสีเขียวติดอยู่ที่ผลมังคุดที่วางขาย) กลีบดอกมีสีแดง ลักษณะฉ่ำน้ำ
  • ผล ลักษณะผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง(แบบเดียวกับลำต้น) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก (อันนี้ผมเคยเล่นทายกับเพื่อนโดยทายจำนวนเนื้อมังคุดของแต่ผลมีกี่กลับ ไอ้เพื่อนเราก็งงว่าเรารู้ได้ไง ลองเอาไปเล่นทายดูได้นะครับ สังเกตุจากกลีบดอกด้านล่างตามที่บอกไป)
คุณค่าทางโภชนาการ   นักโภชนาการได้ศึกษาจนพบว่าในมังคุด 100 กรัม ให้พลังงาน 76 แคลอรี โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม  นับว่าเป็นผลไม้ที่ให้คุณค่ามากทีเดียว
สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยจากมังคุด
ในที่สุดก็ถึงหัวข้อหลักของบทความนี้ ดังที่กล่วไว้ในตอนต้นว่าสรรพคุณด้านสมุนไพรของมังคุด จะอยู่ที่เปลือกมาดูกันว่าเปลือกมังคุดมีสรรพคุณอะไรบ้าง
  1. รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้  โดยมีสูตรยาสมุนไพรคือ ใช้เปลือกมังคุดครึ่งผล (ประมาณ 4-5 กรัม) ต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ 1 แก้ว
  2. รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยมีสูตรยาสมุนไพรคือ ใช้เปลือกมังคุ ต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำรับประทาน ดดยมีขนาดรับประทานอยู่ที่ เด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก 4 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง
  3. รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง (ปีนี้ไหนน้ำท่วมอีก คงได้ใช้สูตรนี้ แต่ยังไงขอให้ไม่ท่วมจะดีกว่า) สูตรสมุนไพรนี้จะใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ พอสมควร ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ก่อนที่จะทา ควรล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด ถ้ามีแอลกลอฮอร์เช็ดแผลควรเช็ดก่อน)  สาเหตุที่เปลือกของมังคุดสามรถรักษาแผลได้เพราะในเปลือก  มีสาร คือแทนนิน (tannin) ทำให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี
เป็นยังไงบ้างครับกับสรรพคุณของมังคุด พออ่านจบแล้วบางท่านอยากจะลองนำไปใช้ดูก็ไม่ว่ากันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก thai wikipedia  หนังสือ สมุนไพรก้อนครัว
ต.ค. 242012
 

เมื่อไม่กี่วันผ่านมาผมได้มีโอกาศไปทาน อาหารญี่ปุ่นกับคุณแฟน ที่ร้าน S.(ขอไม่เอ่ยชื่อเต็มนะครับ) ซึ่งจะเป็นแบบบุปเฟ่ อาหาร+เครื่องดื่ม ก็ไม่มีอะไรทานตามปรกติสุข แต่พอจะไปกดเครื่องดื่มมาดื่ม ก็สะดุดตากับเครื่องดื่มสีส้มสดใส ตอนแรกคิดว่าน้ำส้ม แต่พออ่านป้ายจึงรู้ว่าเป็น น้ำเสาวรสนี่เอง ก็เลยลองมาหาข้อมูลของพืชชนิดนี้ดู พบว่าสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ของพืชชนิดนี้มีมาก เลยลองมาแบ่งปันให้เพื่อนๆชาว ไทยสมุนไพร.net ได้ลองอ่านกันดู

          พูดถึงเสาวรส  ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าพืชชนิดนี้ไม่ได้เป็นพืชของไทยเรามาแต่เดิมนะครับ เพราะพืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา แต่มาแพร่พันธ์ในไทย ก่อนรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามของพืชชนิดนี้กันนะครับ

เสาวรสชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis

ชื่อโดยทั่วไป   :  เสาวรส  หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Passionfruit

ชื่ออื่นๆ  : กระทกรก  สุคนธรส

ลักษณะของเสาวรส

เป็นไม้เลื้อย ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ที่พิเศษคือเมื่อสุกจะมีหลายสี แล้วแต่ว่าพันธ์อะไร  ที่พบจะมีทั้งทั้งสีม่วง สีเหลือง สีส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก(เป็นทีมาของกระทกรก) เมล็ดมีสีดำ อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสเปรี้ยวอมหวาน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ยอด รับประทานเป็นผักสด จิ้มน้ำพริกมีรสขมเล็กน้อย หรือจะนำไปแกงก็ได้

เนื้อไม้  ตามตำราสมุนไพรบอกว่าเป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมทุกขนิด ใช้รักษาบาดแผล

ราก ใช้ต้มน้ำเพื่อแก้ไข้  รักษาผดผื่นคัน กามโรค

ใบ ใช้ตำให้ละเอียด แล้วคั้นน้ำดื่มเป้นยาขับพยาธิได้

คอก ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ

ผล รับประทานเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ด คั้นเป็นน้้ำดื่มเพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของน้ำเสาวรสน้ำเสาวรส

ดังที่บอกไปว่าเสาวรสมีประโยชน์ในทุกส่วน แต่ส่วนที่คนนิยมใช้จริงๆ คือผลของเสาวรส  ที่คนมักนิยมนำมาคั้นทำเป็นน้ำเสาวรส ลองมาดูประโยชน์ของมันกันครับ

  • น้ำเสาวรสมีวิตามินเอสูง ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ
  • น้ำเสารสมีวิตามินซีสูง จึงสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน อีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอกระบานการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถลดไขมันในเลือดได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานเสาวรส

  •   ผู้ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงควรดื่มพอประมาณ
  •   ไม่ควรรับประทานสดแบบทั้งต้น เพราะมีสารพิษอาจเป็นอันตรายได้

ขอบคุณข้อมูลจาก Thai wiki pedia ,หนังสือ สมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน  /ภาพประกอบจาก internet

ต.ค. 142012
 

รางจืด สมุนไพรไทยชนิดนี้มีพูดถึงกันมาก และค่อนข้างแพร่หลาย โดยเฉพาะในเรื่องของการล้างสารพิษในร่างกาย และการล้างสารพิษจากยาฆ่าแมลงต่างๆ นับว่าน่าสนใจทีเดียวกับวิถีชีวิต (life style) ของคนสมัยนี้ ที่ต้องผจญกับมลภาวะมากมาย เรามารู้จักกับสมุนไพรไทยชนิดนี้กันดีกว่านะครับ

ชื่อและลักษณะของรางจืด

รางจืดชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Thumbergia laurifolia Lindl.

ชื่อวงศ์ : Acanthaceae

ชื่อตามแต่ละภูมิภาค : กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว (ภาคกลาง) ฮางจืด (ภาคเหนือ)

ลักษณะของต้นรางจืด

เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง ใบลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบย่านาง ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ผล เป็นฝัก กลม ปลายเป็นจะงอยเมื่อออกผลจะแตกเป็น 2 แฉก ปัจจุบันนี้นิยมปลูกไว้ในบ้าน ให้ขึ้นตามรั้วหรือทำเป็นไม้กระถาง

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ใบและราก  ใช้พอกบาดแผลหรือเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร หรือพิษเบื่อเมา (อาการที่เกิดหรือดื่มเหล้ามากเกิน)

ใช้ราก ถอนพิษเบื่อเมา ถ้าให้ได้ผลดีต้องมีอายุเกิน 1 ปี ขึ้นไป ใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ นำมาฝนกับน้ำซาวข้าว จะทำให้พิษเจือจางและถอนพิษออก

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ พิษเบื่อเมาจากการรับประทานของแสลง ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ นำมาตำให้ละเอียดคั้นน้ำซาวข้าวดื่มทุกๆ 2 ชั่วโมง

 รางจืดกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์      

นอกจากสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยแล้ว ทุกวันนี้มีการวิจัยลงลึกไปกว่านั้น ในด้านสรรพคุณของรางจืด ลองมาดูนะครับว่ามีงานวิจัยสรรพคุณของรางจืดอย่างไรบ้าง

รางจืด เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า สามารถบรรเทาอาการท้องร่วง ท้องเสีย  ลดอาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ เช่นกรณีมีการวางยาสุนัขก็มีการเอารางจืดมาแก้พิษ แก้พิษจากสารเคมีในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษสารเคมีต่างๆ  พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ผมคิดเล่นๆนะครับหากตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่พนักงานต้องเผชิญสารพิษ น่าจะทำเป็นสวัสดิการ แจกสมุนไพรจากรางจืดให้พนักงานคงดีไม่น้อย (แต่การแก้ที่แหล่งกำเนิดที่ปล่อยสารเคมี ก็ยังเป็นวิธีที่ผมเห็นด้วยมากกว่า)

ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลากหลายเช่น ชาจากรางจืด นำสกัดต่างๆ  ใบรางจืดอบแห้ง กระทั่งทำเป็นแคปซูลเลยก็มี ลองหาดูได้ตามงาน OTOP ต่างๆน่าจะหาได้ไม่ยาก

สุดท้ายเป็นเรื่องของความเชื่อการดื่มเหล้า ว่าหากนำรางจืดมาเคี้ยวเพื่อดับฤทธิ์แอลกอฮอล์ เพื่อทำให้ดื่มได้นานขึ้น พูดง่ายคือทำให้คอแข็งว่างั้นเถอะ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อนและความเชื่ออันนี้ผมไม่ค่อยจะแนะนำเท่าไหร่ หากสนใจจะรักษาสุขภาพจริงๆ ไม่ดื่มเหล้าจะดีกว่า หรือดื่มก็พอประมาณกับสุขภาพ และเงินในกระเป๋าจะดีกว่า

ทั้งหมดนี้คือเรื่องของรางจืด สมุนไพรไทยที่นำมาฝากกัน

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้

 ช่วยสมานแผล, พืชสมุนไพร, ลดไข้, แก้ไอ ขับเสมหะ  ปิดความเห็น บน ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้
ก.ย. 292012
 

หากใครจำเหตุกรณ์ เมื่อตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดได้จะพบว่าตอนนั้นมีพืชชนิดหนึ่ง ที่ได้รับกระแสความนิยม นั่นคือสมุนไพรไทยที่ชื่อฟ้าทะลายโจร ถึงขนาดกระทรวงสาธารณะสุขออกมาส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและใช้
และมีการทำยาลักษณะแคปซูลออกมาขายมากมาย วันนี้เรามารู้จักพืชชนิดนี้กันนะครับ

สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall. ex Ness.
สกุล  ACANTHACEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (ชลบุรี) หญ้ากันงู (สงขลา) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) เขยตายยายคลุม (อ.โพธาราม) เมฆทะลาย (ยะลา) เรียกได้ว่ามีชื่อเรียกหลากหลายทีเดียว

ลักษณะของพืชชนิดนี้

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม จะแตกกิ่งก้านออก เฉพาะด้านข้างเท่านั้น กิ่งก้านมีสีเขียว และ จะสูงประมาณ 30-60 ซม.
ใบ ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบ ตรงปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมันมีสี เขียว
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ปลาย ดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรืออมม่วง อ่อนๆ ดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก ที่ปากบน แยกออกเป็น 3 กลีบ ล่าง 2 กลีบ มีกลีบ เลี้ยง 5 กลีบ
ผล คล้ายกับผลของต้นต้อยติ่ง แต่มี ขนาดเล็กและสั้นกว่า ผลนี้จะตั้งมุมก้านดอก เมื่อผลแก่เต็มที่ก็แตกออกเป็นสองซีกทำให้ มองเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบนๆ มีอยู่จำนวนมาก

การขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ ในดินทุกชนิด และจะปลูกได้ทุกฤดูกาลด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น (สด- แห้ง) และใบ

สรรพคุณ

ใบ รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยการนำมาบดผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาตรง บริเวณที่เป็นแผล

ใบและทั้งต้น แก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดิน อาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ทอนซิล แก้ปอด อักเสบ เรียกได้ว่าเรื่องของหวัดไข้ แก้ได้อย่างครบวงจรเลยทีเดียว แก้อาการท้องเดิน โดยใช้ต้น แห้งประมาณ 1 – 3 กำมือเอามาหั่น แล้วต้ม กับน้ำดื่ม ส่วนเป็นยาแก้ไข้นั้นให้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือก่อน อาหารเช้าเย็นและถ้าเป็นโรคภายนอก

วิธีการทำยาเค็ปซูล นำใบมาตากแห้ง บดให้ละเอียด และนำมาบรรจุในแคปซูลเปล่าเพื่อรับประทาน(แคบซูลเปล่าหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป)

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของฟ้าทลายโจร สมุนไพรไทยที่เรานำมาฝากกัน

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 242012
 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้่ที่หาทานได้ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่สรรพคุณไม่กล้วยเหมือนชื่อของมันเลยกล้วยน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไปกล้วยน้ำว้า สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทย์ Musa sapientum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MUSACEAE
ชื่ออื่น -ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกัน จะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 25 เมตร
ใบ มีสีเขียว เป็นแผ่นยาว เส้นของใบจะขนานกัน แกนใบจะเห็นชัดเจน
ดอก มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. เป็นช่อซึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อ
มีสีแดงปนม่วง เป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซ.ม ส่วนทีเป็นฐานดอกจะมีเกสรตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้
ช่อดอกจะเจริญกลายไปเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้จะร่วงไป
ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้ว ผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว
เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียว แล้วตายไป
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ หรือแยกเหง้า
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย

สรรพคุณ
ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการเบาหวาน)

 

ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

ว่านหางจระเข้ เพื่อผมสวย ผิวใส

 ช่วยสมานแผล, บำรุงผิว, บำรุงเส้นผม  ปิดความเห็น บน ว่านหางจระเข้ เพื่อผมสวย ผิวใส
ก.ย. 202012
 

ไม่ว่าจะว่านหางจรเข้ หรือ ว่านหางจระเข้ คำไหนเขียนผิดหรือเขียนถูก ผมก็ไม่รู้ แต่ถ้าเรื่องสรรพคุณ ความเป็นสมุนไพรไทยของมัน ก็พอจะบอกได้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรไทยชื่อทางวิทยาศาสตร์ Aloe barbadenisi Mill. วงศ์ Liliaceae

  1. indica Royle
  2. vera Linn.

ชื่ออังกฤษ

Aloe, Star Cartus< Aloin<Jafferabad,Barbados

ชื่อท้องถิ่น ว่านไฟไหม้ (เหนือ) หางตะเข้ (กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ส้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตรข้อและปล้องสั้น ใบ เป็น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 เซนติเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใสใต้ผิว สีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อน มีประสีขาว ดอก เป็นช่อออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลงสีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผล เป็นผลแห้ง แตกได้

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ลบรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว

วุ้นจากว่านหางจระเข้ ใช้ทาลดความมันบนใบหน้า ลดรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว รักษาการอักเสบต่าง ๆ ทำให้สิวแห้งหลุดง่าย

วิธีใช้ โดยนำใบว่านหางจระเข้ขนาดพอเหมาะมาปอกเปลือกออกให้เกลี้ยงล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดยาง ตาเอาเฉพาะวุ้นใส ๆ ทาบาง ๆ ตอนเช้าและก่อนนอน นาน 6 เดือน ทำให้ ผิวหน้ามีน้ำมีนวล ไร้รอยสิวและรอยแผลเป็น

บำรุงผมและหนังศีรษะ

ใช้สระผมช่วยบำรุงหนังศีรษะ ป้องกันผมร่วง และช่วยลดความมันของเส้นผมได้ ลดอาการคัน ไม่มีรังแค และทำให้ผมไม่หงอกเร็วโดนนำว่านหางจระเข้ที่แก่มาปอกเปลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นนำมาบดใช้ 2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด

ตำราไทยใช้น้ำยางสีเหลืองขากใบ เคี่ยวให้แห้งเรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย วุ้นสดของใบใช้ปิดขมับแก้ปวดหัว ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดนและการฉายรังสี แผลสด แผลเรื้อรัง ใช้กินรักษาแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอาง เช่น แชมพูสระผม สบู่ และครีมกันแดด

สารสำคัญ

ในยางมี แอนทราควิโนน

ในวุ้นมี กลับโคโปรตีน aloctin A สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน

ข้อควรระวัง

  1. การใช้ว่านหางจระเข้เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกัน ทั้งโดยการรับประทานหรือใช้ภายนอก อาจเกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันได้ จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ
  2. สารในวุ้นของว่านหางจระเข้สลายตัวได้ง่ายและรวดเร็วจึงควรเก็บไว้ในตู้เย็น หรือเตรียมใหม่สด ๆ ก่อนใช้

ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก

 ช่วยสมานแผล  ปิดความเห็น บน ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก
ก.ย. 082012
 

ใบบัวบก พืชสมุนไพรไทย ชนิดนี้น่าจะคุยเคยกับคนไทยเป็ยอย่างดี แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับบัวบก หรือใบบัวบก อย่างถึงกึ๋นกัน

ใบบัวบก สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ centella asiatica urban วงศ์ Umbelliferae Hydrocotyle  asiatica Linn

ชื่ออังกฤษ Asiatic pennywort, goto gola , tiger, Hydrocotyle lndian hydrocotyle

ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก (กลาง) ผักแว่น (เหนือ ตะวันออก ) จำปาเครือ กระบังนอก (ลำปาง) ผักแว่น ผักหมอกช้าง (จันทบุรี ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินชอบที่ชื้นแฉะมีรากฝังลงในดินและงอกปลายยอดใหม่ชูขึ้น ใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกตรงข้อจำนวน 2- 6 ใบแผ่นใบรูปไตขอบใบหยักใบกว้าง 2-5 เซนติเมตรดอก ช่อเป็นกระจุกสีแดงอมเขียวออกระหว่างช่อก้านใบกับลำต้นที่แผ่ติดดินผลขนาดเล็กเป็นลูกค่อนข้างกลมแตกได้

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์สมานบาดแผล

จากงานวิจัยพบว่าบัวบกสามารถทำให้แผลอักเสบต่างๆหายโดยทำให้แผลอ่อนตัวลง เพิ่มการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณบาดแผลและมีฤทธิ์สมานบาดแผลจากคุณสมบัติเหล่านี้ปัจจุบันได้มีผู้นำสารสกัดบัวบกไปทำครีมทาช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นและนำสารสกัดบัวบกไปผสมในเครื่องสำอาง

ลดอาการหน้ามัน

ใช้น้ำคั้นใบสดมาล้างหน้า

แก้ช้ำใน( พลัดตกหกล้ม )

ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่ม 1 ครั้งกินไปเรื่อยๆจนกว่าอาการจะหายสนิทหรืออาจใช้ตำฟอกบริเวณฟกช้ำ

สารสำคัญ

ต้นใบบัวบกประกอบด้วยสารกลุ่ม triterpenes คือ asiaticosind, madecassoside,  asiatic

สารกลุ่ม alkaloid คือ hydrocotylene

ข้อระวัง

1.ในต่างประเทศพบว่าถ้ารับประทานใบบัวบกมากเกินไปจะไปกดประสาททำให้ง่วงเหงามึนงง

2.การรับประทานน้ำคั้นบัวบก ห้ามรับประทานติดต่อกันนาน