พ.ค. 102016
 

ช่วงนี้อากาศร้อนจัด และบางวันมีลมแรงไปจนพายุฝนฟ้าคะนอง วันก่อนอุณหภูมิถึงกับแตะระดับ 40 องศา ในบางพื้นที่ ! และกรมอุตุวิทยายังได้แถลงคาดการณ์ว่าต้นเดือนพฤษภาคมที่จะถึงจะเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของปี ! ซึ่งนั่นก็แปลว่า คนไทยเราจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวนไปอีกพักหนึ่ง วันนี้ร้อน พรุ่งนี้อาจจะมีฝนกระหน่ำ สภาพอากาศอย่างนี้ทำให้คนไม่สบายได้ง่าย และในช่วงที่อากาศร้อน หลายคนมีปัญหาเรื่องความอยากอาหาร กินอะไรก็ไม่อร่อย เพราะอากาศร้อนอบอ้าวแถมยังแปรปรวนง่าย การที่เราเบื่ออาหารก็มีส่วนทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เพราะรับสารอาหารไม่เพียงพอ

ไทยร้อน

หากว่าใครรู้สึกเบื่ออาหาร ร่างหายอ่อนแอ เราสามารถใช้สมุนไพรช่วยได้ ซึ่งสมุนไพรไทยที่สามารถช่วยเหลือในเรื่องการกระตุ้นให้รู้สึกเจริญอาหาร ได้

สมุนไพรที่ช่วยให้เจริญอาหารมีหลายชนิดอาทิเช่น…

บอระเพ็ด สมุนไพรราขม แต่มีสรรพคุณมากหลาย หนึ่งในนั้นก็คือ ทำให้รู้สึกเจริญอาหาร ขับน้ำย่อย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหาร บำรุงกำลัง แถมยังสามารถใช้ต้านอนุมูลอิสระ และยังทำให้ร่างกายลดความร้อนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย วิธีใช้ บดบอระเพ็ดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นประจำ

รากชะพลู เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่ช่วยทำให้รู้สึกเจริญอาหาร กระตุ้นความอยากอาหารให้มากขึ้น ขับลมในกระเพาะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง

แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู สมุนไพรดีที่อยู่ตามที่รกป่าหญ้า  มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลธาตุ ทำให้รู้สึกเจริญอาหาร ทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้ธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย เกิดความสมดุล เพิ่มภูมิต้านทานโรค

นอกจากนี้ยังมีตำรับยาสมุนไพรที่เข้าตัวยาหลายอย่างที่ช่วยบำรุง ซึ่งใช้สมุนไพรแห้งบดเป็นผง ให้เป็นยาบำรุงธาตุ กระตุ้นความอยากอาหาร เสริมสุขภาพ มีอยู่หลายตำรับ เช่น

สูตร สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม นำเอาเนื้อสมุนไพรแห้งมาบดเป็นผง จะรับประทานด้วยการชงกับน้ำอุ่น หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้

ดีปลี เหง้าขิง พริกไทย นำเอามาบดเป็นผง สูตรนี้มีฤทธิ์ร้อน และไม่ควรใช้ในสตรีมีครรภ์

เถาสะค้าน (สมุนไพรในกลุ่มตรีผลา) รากชะพลู และรากเจตมูลเพลิง

ยาทั้ง 3 สูตรนี้ ใช้สมุนไพรแห้ง รับประทานครั้งละ 250 – 500 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร ช่วยทำให้รู้สึกเจริญอาหาร ขับลม ปรับสมดุลธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง อย่างไรก็ตาม การใช้ในเด็กควรระวังและควรที่จะปรึกษาแพทย์แผนไทยก่อน เนื่องจากมีฤทธิ์ร้อน และสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะในช่วงครรภ์อ่อนๆ มีผลต่อทารกในครรภ์ได้

สมุนไพรสามารถช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มความอยากอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขภาพ และการออกกำลังเป้นประจำก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยแบบนี้

เม.ย. 202016
 

สิ้นสุดกันไปหมาดๆ กับเทศกาลสงกรานต์ประจำปี พ.ศ.2559 ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ที่ผู้คนหลั่งไหลกลับคืนสู่ถิ่นฐาน กลับบ้านไปพบพ่อแม่ญาติมิตรพี่น้อง เล่นน้ำ และสังสรรค์กัน เป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานที่หลายคนประทับใจ และต้องเฝ้ารอกันไป 1 ปี เพื่อให้มันเวียนมาบรรจบอีกครั้ง ! วันนี้ (18 เม.ย.) เชื่อว่าเป็นวันเริ่มงานของคนจำนวนมาก หลังจากหยุดยาวไปสนุกกันมา แต่อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังรู้สึกว่าเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย เนื่องมาจากการเดินทางไกล ความร้อน และอาจรวมถึงการอดนอนและดื่มกินอย่างเต็มที่ในช่วงสงกรานต์อาทิตย์ที่ผ่านมา…

สมุนไพร อ่อนเพลีย

สมุนไพร อ่อนเพลีย

สมุนไพรที่สามารถช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของเราได้มีอยู่หลายชนิด อาทิเช่น…

  1. มะขามป้อม เป็นผลไม้ที่มีสิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน และทำให้รู้สึกสดชื่น มีสรรพคุณกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ขับสารพิษ ลดความเครียด แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง แก้กระหายน้ำ
  2. มะตูม เป็นสมุนไพรแห้งอีกชนิดที่ช่วยได้เป็นอย่างดีเมื่อเรามีอาการรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง มีรสหอม สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาธาตุ ปรับสมดุลในร่างกาย ขับลม นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ แก้ไอ แก้หอบหืด และแก้ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย โรคลำไส้ได้อีกด้วย
  3. กันเกรา พืชสมุนไพรที่ใช้ส่วน แก่น ของไม้มาทำเป็นยา มีสรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงม้าม บำรุงเลือด แก้เลือดพิการ บำรุงร่างกายและเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง และยังมีสรรพคุณในการ ขับลม และแก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือดได้อีกด้วย
  4. กฤษณา สมุนไพรที่แห้ง ที่ใช้แก่นไม้ เนื้อไม้ และชัน เอามาทำเป็นยาสมุนไพรดูแลสุขภาพ มีสรรพคุณ แก้เป็นลม หน้ามืด วิงเวียน เป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แก้อาการอ่อนเพลียใจสั่น ปรับสมดุลในร่างกาย นิยมใช้เข้าเครื่องยาทำเป็นยาหอม

นี่เป็นตัวอย่างสมุนไพรที่เราสามารถใช้ช่วยให้ร่างกายที่มีอาการอ่อนเพลียกลับมารู้สึกสดชื่นมีเรี่ยวแรง แต่ที่สำคัญอีกอย่างนอกเหนือจากการรับประทานยาสมุนไพรแล้วก็คือ เราต้องใส่ใจกับการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังจากใช้มันทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานเต็มที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา และหากว่าอาการอ่อนเพลีย เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มมึนเมามามาก ก็อาจจะต้องอาศัยสมุนไพรอื่นช่วยในการขับพิษจากร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้นได้อีกด้วย และช่วงนี้อากาศร้อน การดื่มน้ำให้เพียงพอ และอยู่ในร่มไม่ออกแดดมากเกินไปก็เป็นอีกส่วนที่ช่วยได้ ทำให้ร่างกายของเรากลับมาสดชื่นแข็งแรงได้เร็วยิ่งขึ้น ใช้ร่วมกับการรับประทานสมุนไพรบำรุงกำลังลดอาการอ่อนเพลียได้เป็นอย่างดี

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 242012
 

สำหรับ สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าได้เห็นรูปของสมุนไพรชนิดนี้อาจจะร้องอ๋อ ต้นแบบนี้นี่เอง สำหรับกระทือเป็นพืชตระกูลเดีวกับพวกขิง ข่า ลักษณะดอกสวยงาม

ข้อมูลทั่วไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   ingiber zerumbet Smith.
ชื่อวงศ์ Family  : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ)  เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง
ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้า ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้ม ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ลำต้น    ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร เจริญอาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ(ผมเองก็งงกับศัพท์คำนี้อยู่น่าจะหมายถึงขับประจำเดือน)  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอาน้ำดื่มกิน
ดอก      เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า     ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษและบำรุงน้ำนม วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม) ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว แล้วใช้น้ำดื่ม

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี