ธ.ค. 062014
 

สวัสดีครับ ช่วงนี้เดือนนี้มีหลายๆวันที่เป็นวันหยุด หลายๆคนมีโอกาศได้อยู่พร้อมตากันครั้งครอบครัว ได้มีโอกาศพบประสังสรรค์และหนึ่งในกิจกกรมที่ขาดไม่ได้ก็คือการทำอาหารทานร่วมกัน จะว่าไปแล้วพอพูดถึงอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทยๆ เราใช้อะไรเป็นส่วนประกอบกันบ้าง ผมคิดว่าคงจะหนีไม่พ้น หอมแดง หอมหัวใหญ่ พริกชี้ฟ้า สะระแหน่ ใบมะกรูด ตะไคร้ อันนี้ยกมาเป็นตัวอย่างนะครับ เชื่อหรือไม่ในอาหาร 1 จาน หรือแกง 1 หม้อเช่นต้มยำง่าย ๆที่มีส่วนประกอบเหล่านี้ต่างอุดมไปด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยมากมายวันนี้ผมจะมาชำแหละ ส่วนประกอบและคุณค่าด้านสมุนไพรของส่วนผสมในอาหารเหล่านี้ทีละตัวกัน

สมุนไพรในอาหาร

1.หอมแดง โดยมากหากไม่เอามาโขลกทำน้ำพริก ก็หั่นฝอยโรยหน้าเป็นส่วนผสหอมแดงสามารถต้านเชื้อหวัด ทำให้หายใจได้โล่ง สังเกตุง่ายเวลาทานหอมแดงลงไป จมูกจะโล่ง นอกจากนั้นหอมแดงยังมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยกำจัดไขมันเลว (LDL) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหัวใจวายและอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังรักษาระดับไขมันชนิดดี (HDL) ได้อีกด้วย และยังมีคุรสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดได้รู้สรรพคุณอย่างนี้อย่าเขี่ยทิ้งนะครับ

2.หอมหัวใหญ่ อาหารหลายๆชนิดเช่นพวกยำนิยมใส่เช่นกัน หอมหัวใหญ่เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม แมกนีเซียมฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้มเนื้อ  มีฤทธิ์มากในการขับสารพิษทั้งที่เป็นโลหะหนักและ พยาธิ เควอเซทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากและ ยังสามารถลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือดสูง ได้อีกด้วยนับว่าสรรพคุณไม่ธรรมดาจริงๆ

3.พริกชี้ฟ้าแดง แน่นอนอาหารไทยมีรสเผ็ด พริกจึงขาดไม่ได้ พริกเป็นสมุนไพรไทยที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ มีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งคือกรดวิตามินซีซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 – 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า – แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง

4.ตะไคร้ ส่วนใหญ่ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิดให้กลิ่นหอมมีสรรพคุณทางสมุนไพรไทย ในหลายๆตำราคือ บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหารแก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง

5.สะระแหน่ สามารถแก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ หรือจะรับประทานสดๆ เพื่อดับกลิ่นปาก น้ำมันหอมระเหย ของสะระแหน่ ยังเป็นยาที่ช่วยยับยั้งเชื้อโรค และลดอาการเกร็งของลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกันไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรงในใบ สะระแหน่มีเบต้า-แคโรทีน มากถึง 538.35RE แคลเซียม 40 กรัม วิตามินซีถึง 88 มิลลิกรัม เมื่อทาน 100 กรัม

6.ใบมะกรูด เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหาร หลายๆอย่างมีประโยชน์ทางสมุนไพรเช่น ขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี นอกจากทานแล้ว น้ำมันหอมระเหยในมะกรูดทำให้ผ่อนคลายได้เหมือนกัน และทำให้กลิ่นของหารน่าทานขึ้นมาก

เห็นไหมครับอาหารไทยๆ หนึ่งจานมีคุณค่าขนาดไหนดังนั้นถ้าเราอยากจะได้คุณค่าของสมุนไพรไทย ไม่ต้องหาไกลเลยแค่ทานอาหารไทยก็ได้คุณค่ามากมายแล้ว

(ขอบคุณมาพและข้อมูลจาก web กรมประมงครับ และภาพสวยๆจาก shesweet.bloggang.com ลองเข้าไปดูได้ครับ blog นั้นมีสูตรอาหารดีมากมาย)