ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก

 ช่วยสมานแผล  ปิดความเห็น บน ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก
ก.ย. 082012
 

ใบบัวบก พืชสมุนไพรไทย ชนิดนี้น่าจะคุยเคยกับคนไทยเป็ยอย่างดี แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับบัวบก หรือใบบัวบก อย่างถึงกึ๋นกัน

ใบบัวบก สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ centella asiatica urban วงศ์ Umbelliferae Hydrocotyle  asiatica Linn

ชื่ออังกฤษ Asiatic pennywort, goto gola , tiger, Hydrocotyle lndian hydrocotyle

ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก (กลาง) ผักแว่น (เหนือ ตะวันออก ) จำปาเครือ กระบังนอก (ลำปาง) ผักแว่น ผักหมอกช้าง (จันทบุรี ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินชอบที่ชื้นแฉะมีรากฝังลงในดินและงอกปลายยอดใหม่ชูขึ้น ใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกตรงข้อจำนวน 2- 6 ใบแผ่นใบรูปไตขอบใบหยักใบกว้าง 2-5 เซนติเมตรดอก ช่อเป็นกระจุกสีแดงอมเขียวออกระหว่างช่อก้านใบกับลำต้นที่แผ่ติดดินผลขนาดเล็กเป็นลูกค่อนข้างกลมแตกได้

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์สมานบาดแผล

จากงานวิจัยพบว่าบัวบกสามารถทำให้แผลอักเสบต่างๆหายโดยทำให้แผลอ่อนตัวลง เพิ่มการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณบาดแผลและมีฤทธิ์สมานบาดแผลจากคุณสมบัติเหล่านี้ปัจจุบันได้มีผู้นำสารสกัดบัวบกไปทำครีมทาช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นและนำสารสกัดบัวบกไปผสมในเครื่องสำอาง

ลดอาการหน้ามัน

ใช้น้ำคั้นใบสดมาล้างหน้า

แก้ช้ำใน( พลัดตกหกล้ม )

ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่ม 1 ครั้งกินไปเรื่อยๆจนกว่าอาการจะหายสนิทหรืออาจใช้ตำฟอกบริเวณฟกช้ำ

สารสำคัญ

ต้นใบบัวบกประกอบด้วยสารกลุ่ม triterpenes คือ asiaticosind, madecassoside,  asiatic

สารกลุ่ม alkaloid คือ hydrocotylene

ข้อระวัง

1.ในต่างประเทศพบว่าถ้ารับประทานใบบัวบกมากเกินไปจะไปกดประสาททำให้ง่วงเหงามึนงง

2.การรับประทานน้ำคั้นบัวบก ห้ามรับประทานติดต่อกันนาน

เทียนกิ่ง เปลี่ยนสีผมด้วย สมุนไพรไทย

 บำรุงเส้นผม  ปิดความเห็น บน เทียนกิ่ง เปลี่ยนสีผมด้วย สมุนไพรไทย
ก.ย. 082012
 

หลายคนเช่น ผมเอง เป็นคนที่ต้องย้อมผมอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลของเรื่องแฟชั่น แต่มันเพราะได้เจ้าผมหงอกมันดันขึ้นมาไม่หยุดไม่หย่อน แต่การย้อมผมแต่ละทีแทบจะต้องพะอืดพะอมกับกลิ่นของน้ำยาย้อมผม บทความนี้เองจะเสนออีกหนึ่งวิธี ที่เราจะเปลี่ยนสีผม ด้วยสมุนไพรไทยกันครับ

เทียนกิ่ง สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Lawsonia inermis Linn วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ henna tree , sinnamomo,Egyptian private

ชื่อท้องถิ่น เทียนย้อม เทียนไม้ (ไทย) เทียนป้อม เทียนต้น (กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นสูง 30-50 เซนติเมตรแตกกิ่งก้านมากใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรีกว่าง 1-2 เซนติเมตรยาว 3-4 เซนติเมตรเนื้อใบค่อนข้างแข็ง ดอก ช่อออกที่ปลายกิ่ง มีดอกทั้งปี ดอกย่อยขนาดเล็ก มีสองพันธุ์คือพันธุ์ดอกขาวและพันธุ์ดอกแดง ผล ผลเป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลมสีเขียวแกจัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

เทียนกิ่งหรือเฮนน่า เป็นสมุนไพรที่ย้อมผมกันมานานชาติที่นำมาย้อมผมเป็นชาติแรกคือ อียิปต์ เทียนกิ่งเมื่อใช้ย้อมผมจะทำให้ได้ผมสีไปทางสีแดงหรือสีแดงปนส้มนอกจากย้อมผมแล้วยังใช้ย้อมเล็บ ฝ่ามือ และฝ่าเท้านางระบำด้วยนอกจากนี้ยังพบว่าในเทียนกิ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด สารสกัดเอทานอล 95 % มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดใบเทียนกิ่งด้วยน้ำมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว ได้มีผู้ทดสอบความเป็นพิษของใบเทียนกิ่งในคนพบเมื่อให้รับประทานคนละ30 กรัมไม่พบว่าเป็นพิษแต่ถ้าให้ไปนานๆจะมีอาการเบื่ออาหาร และมีอาการเคลื่อนไหวของลำไส้มาก และเมื่อทดสอบในสุนัขก็ไม่ปรากฏอาการพิษจะเห็นว่าการการใช้ใบเทียนกิ่งย้อมผมจึงค่อนข้างปลอดภัย

ย้อมผม

ใช้ใบเทียนกิ่งตากแห้ง 8-12 หมักในน้ำชาจีน 1 คืน ตอนเช้าเติมกาแฟ 1 ช้อนชา ไข่แดง 1 ฟอง คนให้เข้ากันชโลมให้ทั่วเส้นผมทิ้งไว้ 2- 3 ชั่วโมงจึงล้างออกทำซ้ำๆกันหลายๆครั้งจะได้ผมสีดำหรือน้าตาลอมแดง

เครื่องสำอางพอกเล็บ

ใช้ใบเทียนกิ่งสดตำพอกเล็บทำให้เล็บมีสีน้ำตาลอมเหลือง

สารสำคัญ

สารเคมีที่สำคัญในการย้อมผมที่มีในใบคือ Lawsone หรือ 2- hydroxy-1, 4-napthoquinone นอกจากใช้ย้อมผมแล้ว  Lawsone ยังช่วยป้องกันผมจากแสงแดดและไม่มีฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์จากงานวิจัยพบว่า Lawsone ติดผมไม่แน่นเท่ากับสารสกัดจากเฮนน่าแสดงว่าการย้อมผมโดยใช้ผงใบเทียนกิ่งย้อมดีกว่าสารบริสุทธิ์ Lawsone

ก.ย. 082012
 

 แตงกวา สมุนไพรไทย

หากพูดถึงแตงกวาน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หลายคนคิดว่ามันเป็นผักธรรมดาที่วางอยู่บนจานข้าวผัด แต่แท้จริงแล้วมันเป็น สมุนไพรไทย อย่างหนึงที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก่อนที่เราจะรู้จักประโยชน์และสรรพคุณของมัน เรามาทำความรู้จักกับ พืชสมุนไพรชนิดนี้กันก่อนนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucumis sativus Linn วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ Cucumber

ชื่อท้องถิ่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยาง (แม่ฮ่องสอน) แตงเห็น แตงอ้ม (เชียงใหม่) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวา สมุนไพรไทย

 แตงกวาเป็นไม้เถามีอายุปีเดียว ต้นมีขนหยาบสีขาว ใบออกสลับกันตรงสามเหลี่ยมมนใหญ่ กว้าง 12 –18 เซนติเมตรมีแฉกใหญ่ 3 – 5 แฉก ตัวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเป็นตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองส่วยปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมล็ดลีแบนผิวเรียนสีขาว ผล รูปทรงกระบอกมีลายเขียวแก่มีพื้นสีเขียวอมขาวมีขนาดต่างๆกัน ในทางพฤษกศาสตร์แตงกวาและแตงร้านมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันพืชนี้มีถินกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพืชที่รู้จักกันดี ในบางพันธุ์ผลที่ยังอ่อนจะมีตุ่มยื่นออกมา

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์ฝาดสมาน

น้ำคั้นจากผลสดมีฤทธิ์ฝาดสมาน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าเรียบตึง ในผลมีเอ็นไซม์ อีเรบซิน( erepsin ) ช่วยย่อยโปรตีนซึ่งจะช่วยย่อยผิวชั้นนอกที่หยาบกร้านออกไปทำให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม เนื่องจากในผลแตงกวามีปริมาณกรดอะมิโนสูงจึงนิยมใช้น้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่นครีมล้างหน้า ครีมทาตัว แว่นแตงกวานำมาวางแนบผิวหน้าให้ความนุ่มเย็นบำรังผิว น้ำและเนื้อแตงกวาให้ความสดชื่นได้ดี

ยาเย็น

ผลเป็นยาเย็นขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ คอเจ็บ ตาแดง ไฟลวกและผดผื่นคัน กินเป็นผักจิ้มหรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

แก้ท้องเสียบิด

ใบมีรสขม มีพิษเล็กน้อยใช้แก้ท้องเสีย บิด

ยาถ่ายพยาธิ

เนื้อในเมล็ด ( kernel ) จากเมล็ดแก่กินเป็นอาหารและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนัง

เถา รสขม มีพิษเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนองและลดความดันโลหิต

สารสำคัญ

ผลแตงกวาเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบดังนี้ ความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % แร่ธาตุเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามิน B และวิตามิน C ผลแตงกวามีเอนไซม์อยู่หลายชนิดคือ เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ascorbic acid oxidase , succinic malic dehydroginase เถ้า (ash) จากเมล็ดมีปริมาณของฟอสฟอรัสสูง

ข้อควรระวัง

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเป็นแผลกินแล้วจะทำให้ปวดท้องท้องเสียง่าย