หากพูดถึงกวาวเครือขาว สมุนไพรไทยชนิดนี้มักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในเรืองของการ ช่วยเพิ่มหน้าอก หรือช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ตามแแผงสมุนไพรเสริมความงามต่างๆก็มีแทบทุกร้าน แต่วันนี้เราจะมารู้กันว่าประโยชน์มันดีอย่างที่ว่าจริงหรือ และโทษหรือผลข้างเคียงของมันล่ะมีอะไรบ้างเรามารู้กัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab.
วงศ์ Leguminosae หรือเป็นพืชในตระกูลถัวนั่นเอง
แหล่งที่พบ ขึ้นในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250-800 เมตรในป่าสูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ขนาดกลาง เถายาวประมาณ 5 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกนอกของลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มและค่อนข้างแข็ง มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร
รูปร่างลักษณะ ค่อนข้างกลม และคอดยาวเป็นตอนๆต่อเนื่องกัน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ก้านช่อดอก และกลีบเลี้ยงมีขนสั้นๆ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 10-38 ซม. ใบย่อยใบกลางรูปไข่กว้าง 9-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายมนถึงเรียวแหลม โคนสอบถึงมน กวาวเครือแดง คาดว่าคือ Butea superba Roxb. ในวงศ์ Leguminosae เช่นเดียวกัน
นอกจากกวาวเครือขาวยังมีกวาวเครือชนิดอื่นอีกหรือไม่ ? ตอบว่ามีครับคือ
กวาวเครือแดง เมื่อถูกสะกิดที่เปลือกหัวจะมียางสีแดงคล้ายเลือดไหลออกมาเมื่อใช้ทำเป็นยา ชนิดแดงแรงกว่าชนิดขาว
กวาวเครือดำ ลำต้นและเถาเหมือนกวาวเครือแดง แต่ใบและหัวมีขนาดเล็กกว่า มียางสีดำ ใช้ทำเป็นยามีฤทธิ์แรงมาก ขนาดที่ใช้น้อยมาก
กวาวเครือมอ ทุกส่วน ต้น เถา ใบ หัว เหมือนกับชนิดดำ แต่เนื้อในหัวและยางสีมอๆค่อนข้างจะหายาก เช่นเดียวกับชนิดดำ มีหัวเล็กขนาดมันเทศ
เพราะอะไรกวาวเครือขาวจึงทำให้หน้าอกขยายตัวได้ ?
สมุนไพรตัวนี้ต้องทานมากน้อยขนาดไหนจึงจะพอดี ?
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดขนาดในการรับประทานว่าห้ามเกินวันละ 100 mg. และที่สำคัญห้ามรับประทานร่วมกับการใช้ยาคุมกำเนิด
กวาวเครือขาวมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?
- ตำรายาแผนโบราณระบุไว้ว่า คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน (ในที่นี้คงจะหมายถึงผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี)
- ห้ามใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะตัวยาอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศและระบบประจำเดือนได้ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
- เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
- สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
- ผู้ที่ดื่มสุรา และมีประวัติเป็นโรคตับเป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบบีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูง ก็ไม่ควรรับประทาน
- ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปหรือติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
- ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำ หรือไม่เกินวันละ 100 mg.
- ห้ามรับประทานของหมักดองเปรี้ยว ดองเค็ม (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
- ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
- ห้ามไม่ให้ตากอากาศเย็นเกินไป (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
- ฮอร์โมนเหล่านี้หากได้รับมากจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
- อาจจะทำให้เยื่อหุ้มอัณฑะหนาตัวและอาจเป็นมะเร็งอัณฑะในเพศชายได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ในเพศหญิงอาจมีผลทำให้เต้านมแข็งเป็นก้อนหรืออาจทำให้เกิดเนื้องอกจนเป็นมะเร็งเต้านมได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
- กราวเครือนั้นมีพิษทำให้เมาเบื่อตัวเองการรับประทานมาเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ด้วยเหตุนี้ควรรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องอืดร่วมด้วย เช่น พริกไทย เป็นต้น
- หากรับประทานกราวเครือขาวแล้วอาจจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ จนบางท่านรู้สึกกังวล แต่การที่ประจำเดือนมามากนี้ก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงไม่ต้องเป็นกังวล
- สามารถใช้ครีมบำรุงทรวงอก (Breast Cream) ร่วมกับกราวเครือขาวได้ในการเพิ่มขนาดทรวงอกได้
- กวาวเครือขาว ผลข้างเคียงและอาการอื่นๆที่พบได้ทั่วไป เช่น เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าผลข้างเคียงค่อนข้างมากเหมือนกันฉะนั้นจะใช้ก็ให้พิจารณาและใช้ความระมัดระวังนะครับจริงๆ อีกอย่างแต่เดิมตำราสมุนไพรไทย กราวเครือขาวจะถูกนำมาใช้กับผู้สูงอายุมากกว่า หากจะใช้จริงๆ ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เวลาเลือกซื้อก็ควรเลือกแบบ น่าไว้ใจ (มี อ.ย. )ไม่ผสมนั่นผสมนี่เข้าไปจนเกินจำเป็น