ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร

 ขับปัสสาวะ, บำรุงเส้นผม, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร
ก.ย. 202012
 

อัญชันหลายคนคงเคยเห็น แบบที่ขึ้นเองตามข้างถนนบ้าง หรือปลูกบ้างก็มี ใครจะรู้ว่าสีม่วงสดใสของอัญชันจะแฝงด้วยคุณค่าหลายอย่างอัญชัน สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitore ternatea Linn. วงศ์ Papilionaceae

ชื่ออังกฤษ Butterfly pea, Blue pea, Asian pigeon-wings

ชื่อท้องถิ่น แดงชัน เอื้องชัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อัญชันเป็นไม้เลื้อยซึ่งปลูกเป็นไม้ประดับรั้วหรือซุ้มทั่ว ๆ ไป ลำต้น มีขนนุ่ม ใบ เป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ อัญชันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดดอกขาว และชนิดดอกสีน้ำเงิน (ขาบ) แต่ละชนิดมีทั้งดอกเป็นชั้นเดียวและดอกซ้อน ชนิดพันธุ์ทางมีดอกสีม่วงเกิดจากการผสมระหว่างดอกสีขาวและสีน้ำเงิน

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ผมดกดำ นุ่มสลวย

ดอกอัญชันใช้ทำแชมพูสระผม ช่วยให้ผมดกดำ นุ่มสลวย

แต่งสีอาหาร

ดอกอัญชันสีน้ำเงินใช้แต่งสีอาหารได้ ใช้เป็นสีผสมอาหารในขนหลายชนิด เพื่อนให้ขนมนั้น ๆ มีสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วง เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ วิธีสกัดสีจากดอกอัญชัน ทำได้โดยนำกลีบดอกอัญชันมาบดในน้ำเล็กน้อย กรองผ่านผ้าขาวบาง บีบน้ำออกได้สีน้ำเงิน ถ้าต้องการสีม่วงให้เติมมะนาวลงไปเล็กน้อย

เมล็ด

ใช้เป็นยาระบาย แต่มักจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

ราก

 

มีรสขม ใช้เป็นยาขับปัสวะและใช้เป็นยาระบาย

 สารสำคัญ

 

ชนิดที่กลีบดอกสีน้ำเงิน จะมีสารพวก Anthocyanin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวบ่งชี้ทางสารเคมี (indicator) เช่นเดียวกับลิตมัส (litmus) ในสภาวะที่เป็นกรดจะมีสีออกไปทางสีแดง ในด่างจะออกสีน้ำเงิน

 

ก.ย. 082012
 

 แตงกวา สมุนไพรไทย

หากพูดถึงแตงกวาน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หลายคนคิดว่ามันเป็นผักธรรมดาที่วางอยู่บนจานข้าวผัด แต่แท้จริงแล้วมันเป็น สมุนไพรไทย อย่างหนึงที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก่อนที่เราจะรู้จักประโยชน์และสรรพคุณของมัน เรามาทำความรู้จักกับ พืชสมุนไพรชนิดนี้กันก่อนนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucumis sativus Linn วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ Cucumber

ชื่อท้องถิ่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยาง (แม่ฮ่องสอน) แตงเห็น แตงอ้ม (เชียงใหม่) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวา สมุนไพรไทย

 แตงกวาเป็นไม้เถามีอายุปีเดียว ต้นมีขนหยาบสีขาว ใบออกสลับกันตรงสามเหลี่ยมมนใหญ่ กว้าง 12 –18 เซนติเมตรมีแฉกใหญ่ 3 – 5 แฉก ตัวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเป็นตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองส่วยปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมล็ดลีแบนผิวเรียนสีขาว ผล รูปทรงกระบอกมีลายเขียวแก่มีพื้นสีเขียวอมขาวมีขนาดต่างๆกัน ในทางพฤษกศาสตร์แตงกวาและแตงร้านมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันพืชนี้มีถินกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพืชที่รู้จักกันดี ในบางพันธุ์ผลที่ยังอ่อนจะมีตุ่มยื่นออกมา

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์ฝาดสมาน

น้ำคั้นจากผลสดมีฤทธิ์ฝาดสมาน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าเรียบตึง ในผลมีเอ็นไซม์ อีเรบซิน( erepsin ) ช่วยย่อยโปรตีนซึ่งจะช่วยย่อยผิวชั้นนอกที่หยาบกร้านออกไปทำให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม เนื่องจากในผลแตงกวามีปริมาณกรดอะมิโนสูงจึงนิยมใช้น้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่นครีมล้างหน้า ครีมทาตัว แว่นแตงกวานำมาวางแนบผิวหน้าให้ความนุ่มเย็นบำรังผิว น้ำและเนื้อแตงกวาให้ความสดชื่นได้ดี

ยาเย็น

ผลเป็นยาเย็นขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ คอเจ็บ ตาแดง ไฟลวกและผดผื่นคัน กินเป็นผักจิ้มหรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

แก้ท้องเสียบิด

ใบมีรสขม มีพิษเล็กน้อยใช้แก้ท้องเสีย บิด

ยาถ่ายพยาธิ

เนื้อในเมล็ด ( kernel ) จากเมล็ดแก่กินเป็นอาหารและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนัง

เถา รสขม มีพิษเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนองและลดความดันโลหิต

สารสำคัญ

ผลแตงกวาเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบดังนี้ ความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % แร่ธาตุเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามิน B และวิตามิน C ผลแตงกวามีเอนไซม์อยู่หลายชนิดคือ เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ascorbic acid oxidase , succinic malic dehydroginase เถ้า (ash) จากเมล็ดมีปริมาณของฟอสฟอรัสสูง

ข้อควรระวัง

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเป็นแผลกินแล้วจะทำให้ปวดท้องท้องเสียง่าย