สมุนไพรไทยนับว่ามีประโยชน์อยู่มากมาย หากนำมาใช้อย่างถูกวิธี แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัด โรคบางโรคอาการบางอาการ ก็ไม่ควรใช้สมุนไพร บทความวันนี้จึงขอนำเสนออีกแง่หนึ่ง เพราะการที่เราจะใช้อะไรนั้น เราต้องศึกษาถึงประโยชน์และข้อจำกัดของมันให้ถ้วนถี่
อาการหรือโรคใดบ้างไม่ควรใช้สมุนไพรไทย(นำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน)
1. เด็กอายุ 0-12 ปีถ้ามีอาการ ไข้สูง ไอมาก หรือหายใจมีเสียงผิดปกติ เหมือนกับมีอะไรติดอยู่ในลำคอ บางทีก็มีอาการหน้าเขียวด้วย (เป็นอาการของโรคโรคคอตีบ)นำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษากับแพทย์ทันที
2. อาการเลือดออกสดๆ ตกเลือด หรือเป็นลิ่มเลือด จากทางไหนก็ตาม โดยเฉพาะทางช่องคลอด ให้พาไปพบแพทย์ทันที่ การเสียเลือดในปริมาณที่มากเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
3. มีไข้สูง ตัวร้อนจัด ตาแดง ปวดเมื่อยมาก ซึม บางทีพูดเพ้อ สับสน ไม่ได้สติ อาจเป็นอาการของไข้หวัดใหญ่หรือไข้ป่าชนิดขึ้นสมอง
2. ไข้สูงและดีซ่าน (ตาเหลือง ตัวเหลือง) อ่อนเพลียมาก อาจเจ็บในแถวชายโครง อาจเป็นเกี่ยวกับตับเช่น โรคตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฯลฯ
3. มีอาการปวดแถวสะดือ เวลาเอามือกดเจ็บปวดมากขึ้น หน้าท้องแข็ง อาจท้องผูกและมีไข้ (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือลำไส้อักเสบ)
7. ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด บางทีไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อยมาก อาจมากถึง 10 ครั้งต่อชั่วโมง อ่อนเพลียมาก (อาจเป็นโรคบิดชนิดรุนแรง)
4. มีอาการเจ็บแปลบในท้องคล้ายมีอะไรฉีกขาด ปวดท้องรุนแรงมาก อาจมีอาการตัวร้อนและคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย บางคนมีประวัติปวดท้องบ่อยๆ มาก่อน (อาจมีการทะลุของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุ)
5. อาเจียนเป็นเลือด หรือไอเป็นเลือด (อาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือปอด) ต้องให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ก่อน ถ้าแพทย์อยู่ใกล้ควรเชิญมาตรวจที่บ้าน (กรณีเหตุด่วนฉุกเฉิน เราสามรถขอความช่วยเหลือ ที่หมายเลข 1669) ถ้าจำเป็นต้องพาไปพบแพทย์ ควรรอให้เลือดหยุดเสียก่อน และควรพาไปโดยวิธีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
6. ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ บางทีมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว บางทีถ่ายพุ่ง ถ่ายติดต่อกันอย่างรวดเร็ว คนไข้อ่อนเพลียมาก ตาลึก หนังแห้ง (อาจเป็นโรคอหิวาตกโรค) ต้องพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
เมื่อรู้จัดฃกอาการที่ไม่ควรใช้สมุนไพรแล้ว คราวนี้มาดูอาการที่สามารถใช้สมุนไพรได้บ้าง
กลุ่มหรือโรคที่สามารถใช้สมุนไพรไทยรักษาได้กลุ่มโรค/อาการเบื้องต้นที่สมารถใช้สมุนไพรมี 18 กลุ่มโรคหรืออาการ ดังนี้
– อาการคลื่นไส้ อาเจียน สาเหตุเช่นมาจากการพักผ่อน เมารถ เวียนศรีษะ
– อาการไอ ขับเสมหะ
– อาการไข้
– อาการขัดเบา (คือปัสสาวะขัด ปัสสาวะกะปริบกะปรอยแต่ไม่มีอาการบวม)
– อาการท้องผูก
– อาการท้องอึดอัด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
– อาการท้องเสีย ชนิดที่ไม่รุนแรง- โรคกลาก
– โรคเกลื้อน
– อาการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากความเครียด แนะนำให้ใช้การนั่งสมาธิ ฟังเพลง ดูหนัง เพื่อผ่อนคลาย ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง เข้าร่วมด้วย
– ฝี แผลพุพอง เฉพาะภายนอกเท่านั้น
– รเคล็ดขัดยอก เฉพาะภายนอกเท่านั้น
– อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย (ยกเว้นงูกัด)
– แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
– เหา
– ชันนะตุ
– พยาธิลำไส้
– บิด
อาการเหล่านี้สามรถใช้สมุนไพรได้ และต้องหยุดใช้เมื่ออาการหายไป แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายในสองถึงสามวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักาต่อไป
ขอขอบคุณ http://www.rspg.or.th/ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ยิ่ง