ก.ย. 292012
 

ทับทิม เป็นพืชสมุนไพรไทย หรือจะเรียกว่าเป็น ผลไม้สมุนไพรก็ได้ ด้วยรสชาติที่หอมหวานจึงมีคนนำทับทิมมาประยุกต์เป็นอาหารที่หลาหลาย เช่นนำมาใส่ของหวาน ทำทับทิมลอยแก้ว นอกจากนี้ในด้านการเป็นสมุนไพร ทับทิมยังมีสรรพคุณต่างๆอีกมากมาย

ทับทิม สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไปของทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์   Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE

ชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่น
มะแก๊ะ (เหนือ) มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน) หมากลิง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) พิลา (หนองคาย) เจียะลิ้ว (จีน)

ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น เป็นไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 – 6 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 – 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

การขยายพันธุ์ ทับทิมนั้นเป็นพืชที่โตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้ เมล็ด

ส่วนที่ใช้ เปลือกลำต้น , ใบ , ดอก, เปลือกผล , เมล็ด , และเปลือกราก

สรรพคุณ

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้าง แผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบ สดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้เป็น ต้น

เปลือกต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35 – 0.6 ฺ% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้ มีชื่อเรียกว่า Pelle tierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6 – 9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน หรือยาลูกกลอน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจาก โรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำ ให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น

เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6 – 12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรังเป็นต้น

ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3 – 6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือด กำเดาแข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก

เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5 – 4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรค บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น

 

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของทับทิม ว่าแล้วก็เด็ดมาทานสักลูกจากต้นข้างบ้านดีกว่า

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 242012
 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้่ที่หาทานได้ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่สรรพคุณไม่กล้วยเหมือนชื่อของมันเลยกล้วยน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไปกล้วยน้ำว้า สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทย์ Musa sapientum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MUSACEAE
ชื่ออื่น -ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกัน จะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 25 เมตร
ใบ มีสีเขียว เป็นแผ่นยาว เส้นของใบจะขนานกัน แกนใบจะเห็นชัดเจน
ดอก มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. เป็นช่อซึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อ
มีสีแดงปนม่วง เป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซ.ม ส่วนทีเป็นฐานดอกจะมีเกสรตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้
ช่อดอกจะเจริญกลายไปเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้จะร่วงไป
ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้ว ผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว
เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียว แล้วตายไป
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ หรือแยกเหง้า
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย

สรรพคุณ
ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการเบาหวาน)

 

ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย