ก.ย. 152013
 

ใบหม่อน เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณนึกถึงอะไร แน่นอนเมื่อสมัยก่อนคนอาจนึกถึงใบของพืชชนิดชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหม แล้วสมัยนี้ล่ะเขานึกถึงอะไรกัน แน่นอนคันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ชาใบหม่อนชาสมุนไพรไทยนั่นเองนั่นเอง ก่อนที่จะพูดถึงชา เรามาพูดถึงต้นหม่อนกันก่อน

ชื่อสมุนไพร          หม่อน  หรือ mulberry (สังเกตฝรั่งเห็นอะไรเป็นลูกๆเป็นพวงๆ เขาเล่นเรียก berry หมด)
ชื่ออื่นๆ                 มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)   ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn.  ชื่อวงศ์  Moraceae
ใบหม่อนลักษณะของต้นหม่อน

  • ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
  • ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์   ผิวใบสาก  ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
  • ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
  • ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน  นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว เรายังสามารถ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร (นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากหลีกเลี่ยงผงชูรส )หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ  และยังพบอีกว่าหากนำใบหม่อนให้วัวและควายกินสามรถทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน

หลักๆเลยในใบหม่อนนั้นจะมีสารตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยที่ แตกต่างกัน คือ

1.  สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา  (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก  ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง  ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6.สารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (ลองอ่านดูเรื่องเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่ลิงค์นี้นะครับ สารต้านอนุมูลอิสระ

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า

ชาใบหม่อน

จริงก็ไม่มีอะไรมากครับ  โดยที่ให้เราชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส (กะเอาได้ครับคือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่)   จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้ นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

เป็นไงบ้างครับ สำหรับเรื่องดีๆที่นำมาอ่านกันอย่าลื่มลองหาชาใบหม่อน ชาสมุนไพร แบบไทยๆมาทานกันดูบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธ.ค. 262012
 

ผมเองคิดอยู่ตั้งนานว่าจะเขียนถึงสมุนไพรตัวนี้ดีไหม เพราะปัจจุบันมีคนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับมะรุมเอาไว้มากเหลือเกิน รวมถึงมีการทำเป็นยาสารพัดชนิด สรรพคุณก็ว่ากันไปต่างๆนานา ตั้งแต่รักษามะเร็งไปจนถึงเอดส์เลยก็มี ซึ่งบางทีผมว่ามันก็อาจดูเกินจริงไปหน่อย แน่นอนมะรุมเป็นพืชที่ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามันมีการพูดกันจนโอเว่อร์เกินไป ผมก็ว่าแทนที่จะทำให้คนรู้จักสมุนไพรตัวนี้ กลับทำให้สมุนไพรตัวนี้ขาดความน่าเชื่อถือ ผมจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับมะรุม ในแบบที่ควรจะเป็นจริงๆ

มารู้จักมะรุมกันก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

มะรุมชื่อโดยทั่ไป :  มะรุม หรือ Horse radish tree, Drumstick  (คำนี้แปลว่าไม้กลอง สังเกตุต้นมะรุมดู)

ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของมะรุม

  •  ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม
  • ใบ  ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร
  • ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก

เมื่อรู้จักกับมะรุมแล้ว ขออนุญาตพูดถึงมะรุมต่อ ดังที่บอกไปในตอนต้น ปัจจุบันมีคนพูดถึงมากเหลือเกินโดยเฉพาะบรรดาบริษัทผลิตอาหารเสริมต่างๆที่มีการนำมะรุมมาแปรรูปเป็นแคปซูลสกัด ในกรณีที่ทำเป็นแคปซูลโดยบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรณีนี้ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าเป็นกรณีที่บอกว่าใช้เป็นยารักษาสารพัดโรคล่ะก็ อันนี้ต้องคุยกันยาว เพื่อตอบข้อสงสัยผมขอเขียนลักษณะถามตอบเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการจับประเด็นก็แล้วกันครับ

มะรุมเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงจริงหรือ ?

ข้อนี้ตอบว่าจริงครับ อันนี้ยอมรับเลยมะรุมมีแร่ธาตุและสารอาหารหลายชนิด โดยที่ฝักมะรุม  100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

มะรุมรักษาโรคเอดส์ได้จริงหรือไม่ ? ตอบว่ายังไม่มีการศึกษาในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ  สรรพคุณของมะรุมมีแต่เพียงว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น ดังนั้นสำหรับผู้ป่วย HIV ยาต้านไวรัสที่คุณหมอจัดให้ ยังคงจำเป็นอยู่

มะรุมรักษาเบาหวานได้หรือไม่ ? ไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่รักษาเบาหวานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มะรุมสามรถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับพืชสมุนไพรหลายชนิดเช่นมะระ แต่หากมีอาการเบาหวานจริงๆ การรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันยังคงดีที่สุด

สรรพคุณของมะรุมจริงๆแล้วคืออะไร

หากท่านได้ลองค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจจะพบมีการอ้างประโยชน์ของมะรุมมากกว่านี้ แต่ผมจะนำเสนอเฉพาะประเด้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามะรุมมีสรรพคุณในข้อนั้นจริง ๆ ส่วนประเด็นที่ยังเป้ข้อสงสัยและถกเถียงผมจะขออนุญาตไม่นำเสนอ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ (มีการทดลองใช้ในประเทศแถบแอฟริกาที่มีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการ )

2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงดังที่กล่วไป แต่ต้องความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

3. สามรถลดความดันโลหิตได้

4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

5. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง (เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด)

6. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

7. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

8.บำรุงสายตา (เนื่องจากวิตามินเอในมะรุม)

สุดท้ายอยากจะฝากนิดนึงนะครับ ว่ามะรุมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณค่าในตัวมันอยู่แล้ว แต่ผมอยากให้มองว่ามะรุมเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ดีกว่าการมองมะรุมเป็นยาที่มีความพิเศษหรืออัศจรรย์ หรือหากจะมองเป็นยาจริง ก็ขอให้มองเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อสุขภาพที่ใช้ควบคู่กับการรักษาในกระแสหลักจะเป็นการดีที่สุด

ธ.ค. 182012
 

ส่วนใหญ่พืชที่เรานำมาทำสมุนไพร คนจะนึกถึงพืชล้มลุก ต้นเล็กๆ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่สมุนไพรไทยบางอย่างก็อาจเป็นต้นไม้ใหญ่ได้เช่นกัน อย่างเช่นในวันนี้สมุนไพรไทยที่เราจะพูดถึงกันก้จัดเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีชื่อว่า อินทนิล นั่นเอง

อินทนิลชื่อทางวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.

ชื่อโดยทั่วไป:   Queen’s crape myrtle , Pride of India (ชื่อนี้บอกถิ่นที่มาของพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี)

ชื่อวงศ์ :   LYTHRACEAE

ชื่อตามภูมิภาค :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)

ลักษณะของต้นอินทนิล: 

  • ลำต้น  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะค่อยๆตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น  ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือบางทีเป้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
  • ดอก ดอกของอินทนิลจะมีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต มีความสวยงามตามะรรมชาติ ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.  เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

  1. ใบอินทนิล มีรสจืด-ขมฝาดเย็น ใช้ต้มหรือชงกับน้ำร้อน ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการเบาหวาน ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
  2. เปลือก  มีรสฝาดขม ต้มกับน้ำรับประทานแก้ไข้และแก้ท้องเสีย
  3. เมล็ด    มีรสขม แก้ดรคเบาหวาน ช่วยให้นอนหลับสบาย
  4. แก่น     มีรสขมใช้ต้มดื่ม รักาาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
  5. ราก      มีรสขม ใช้รักาาโรคแผลในปาก

ขอบคุณข้อมูลจาก เว้บ สมุนไพร 200 ชนิด(สมเด็จพระเทพ),หนังสือสมุนไพรใกล้ตัวตู้ยาข้างบ้าน ภาพจากเว็บ skyscrapercity

พ.ย. 272012
 

สวัสดีชาวเว็บไทยสมุนไพร.net ทุกท่าน ห่างหายไปหลายวันเหมือนกัน วันนี้กับมาพบกันอีกพร้อมด้วยสาระดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรเช่นเคย วันนี้เองมาแนะนำพืชชนิดหนึ่งให้รู้จักผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยทาน แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่อาจไม่กล้าทานเพราะรสขมของมัน พืชชนิดนั้นคือมะระจีนนั่นเองครับ สำหรับในเรื่องมะระเราเคยนำเสนอไปแล้วในตอน”มะระขี้นก สมุนไพรไทยที่มากกว่าแค่ทานกับน้ำพริก” แต่มะระที่จะพูดถึงในตอนนี้เป็นอีกสายพันธ์ และเป็นมะระที่นิยมทานแพร่หลายกว่า สำหรับสรรพคุณของมะระจีนเป็นอย่างไร เรามารู้จักไปพร้อมๆกันครับ

มะระ หรือ มะระจีนชื่อวิทยาศาสตร์  ของมะระจีน     Momordica charantia

ชื่อในภาษาอังกฤษ  มีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (ผมชอบชื่อ bitter melon มากครับแปลตรงตามตัวคือแตงขม รู้เลยว่ารสชาติเป็นอย่างไร)

ชื่อวงศ์  Cucurbitaceae (จะสังเกตุว่าเป็นพืชวงศ์เดียวกับกับแตงกวา)

ลักษณะของต้นมะระจีน

  • ลำต้น มะระจีนเป็นพืชเลื้อยลักษณะเป็นเถา มีมือเกาะใช้ยึดพยุงลำต้นให้พันขึ้น
  • ใบ ลักษณะใบจะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีของหยักๆ รูปคล้ายฝ่ามือ
  • ดอกสีเหลืองมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น
  • ผล ผลของมะระจีนมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา รูปร่างยาว รอบๆผลจะเป็นสันตะปุ่มตะป่ำประมาณ 10 สัน (ลองนับดูได้นะครับว่า 10 สันจริงไหม) ผลอ่อนสีขาว ผลแก่มีสีเขียว

สรรพคุณด้านสมุนไพรในการรักษาโรคเบาหวานของมะระจีน

มะระจีนมีสรรพคุณอยู่มากทีเดียว แต่สรรพคุณที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของมะระจีนคือ มีคุณสมบัติในการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น จากการศึกษาพบว่ามะระจีนจะช่วยเพิ่มเบต้าเซลล์(beta-cell)ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin Hormone) ที่เป็นฮอร์โมนสำคัญในในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  และในมะระจีนยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานในระยะเริ่มต้นเป็นอย่างยิ่ง (แนะนำให้รักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ)  สำหรับการใช้ในการรักษา เราจะใช้เนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือเพื่อเพิ่มรสชาติสามารถผสมกับชาอื่นๆได้

สรรพคุณด้านสมุนไพรอื่นๆ

  • ผล  มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และนอกจากนั้น ยังสามรถใช้ทาภายนอก แก้ผิวหนังแห้ง ลดอาการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบ
  • ราก  ตามตำรากล่าวว่ามีฤทธิ์ ฝาดสมาน ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก แก้บิด ต้มดื่มแก้ไข้
  • เถา มีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อน แก้บิด
  • เมล็ด มีรสขมใช้ขับพยาธิตัวกลม

ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ

ไม่ควรรับประทานมะระทีมีผลสุก  (ปรกติก็ไม่ค่อยมีใครทานอยู่แล้วแต่บอกเผื่อไว้ โดยที่ผลสุกจะออกสีแดง ต่างกับผลแก่ที่เราทานซึ่งมีสีเขียว)  ซึ่งในมะระผลสุกจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากสารซาโปนิน ซึ่งสารนี้มีพิษต่อร่างกาย และไม่ควรทานมะระมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ต้มจืดมะระ


เคล็ดลับการลดความขมของมะระ
หวานเป็นลมขมเป็นยา คำนี้ทุกคนรู้ดี แต่ถ้าขมมากๆอาจพาลทำให้ไม่อยากทานเอา สำหรับวิธีการลดความขมของมะระ คือก่อนนำไปประกอบอาหารให้นำมะระแช่กับน้ำเกลือ (อัตราส่วนเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำ 1 ลิตร )โดยแช่ทิ้งไว้สัก 20 นาทีแล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นก็แช่น้ำเปล่าอีก 10 นาทีก่อนนำขึ้นมาประกอบอาหาร และที่สำคัญเวลาประกอบอาหารโดยการต้มเช่นแกงจืด ไม่ควรเปิดฝาหรือคน เพราะจะทำให้มะระขม นี่คือเคล็ดลับง่ายๆในการลดความขมของมะระ
พ.ย. 102012
 

จริงๆแล้วเมืองไทยนั้นอุดมไปด้วยพืชผักผลไม้ มากมาย บางอย่างเดินไปตลาดก็ซื้อหาจับจ่ายมาทานกันได้แล้ว แต่บางอย่างแทบไม่ต้องไปตลาดเลย แค่เดินไปริมรั้วก็สามารถเด็ดมาทานได้ง่ายๆ และพืชผักสมุนไพรไทย ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก็อยู่ในประเภทที่ว่าเดินไปริมรั้ว ก็สามารถเด็ดทานได้ พืชชนิดนั้นก็คือ ผักตำลึงนั่นเองครับ

สำหรับตำลึงนั้นเป็นพืชที่แพร่พันธ์ได้ง่าย มีอยู่ทุกภูมิภาคของเมืองไทย เรียกว่าไปที่ไหนก็มีให้เห็น สามรถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย ยกตัวอย่างก็ได้ตั้งแต่ใส่ต้มจืด ผัดหมูสับใส่ตำลึง แม้แต่กระทั่งเวลาลวกมาม่าตอนสิ้นเดือน ที่กระเป๋าเริ่มแบน ก็ได้เจ้าตำลึงนี่แหละที่เพิ่มคุณค่าทางอาหาร แต่นอกจากประโยชน์ในด้านการประกอบอาหารแล้ว ตำลึงยังมีสรรพคุณทางด้านสมุนไทยอีกมากที่เราอาจยังไม่รู้ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตำลึงกันนะครับ

ตำลึง ผักตำลึงชื่อทั่วไป    ตำลึง หรือ Lvy Gourd, Coccinia

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cocconia grandis (L.) Voigt

ชื่ออื่น ๆ   ผักแคบ (ทางภาคเหนือ), แคเด๊าะ (เผ่ากะเหรี่ยงและในแม่ฮองสอน), สี่บาท (ภาคกลาง ยังจำที่ครูให้ท่องกันได้ไหม หนึ่งตำลึงเท่ากับสี่บาท), ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะทั่วไปของตำลึง

  • ลำต้น ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มีมือจับเพื่อเอาไว้ยึดเกาะหลักเช่นแนวรั้ว อย่างที่เราเห็น หรือยึดเกาะต้นไม้ต่างๆ เถาตำลึงจะเป็นสีเขียว
  • ใบ ส่วนใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา ลักษณะใบจะเป็น เป็น 3 แฉก หรือบางที  5 แฉก ขนาดประมาณ 4-8 ซม. โคนใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอก ลักษณะดอกของตำลึง เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว มีทั้งออกดอกเดี่ยวๆ และออกเป็นกลุ่มสองถึงสามดอกก็มี
  • ผล  มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่าผลแตงกวา ในขณะที่เป็นผลอ่อนจะเป็นผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

ในใบสีเขียวของตำลึง อุดมไปด้วยวิตามินวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น มีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มี fiber หรือกากใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย นอกจากนี้ในตำลึง ยังมีแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

จากตำรายาด้านสมุนไพร มีการระบุถึงสรรพคุณของตำลึงโดยแยกเป็นส่วนต่างๆ ของตำลึงไว้ดังนี้

  • ใบ ใช้เป็นยาเขียว ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (อันนี้เป็นสำนวนของคนโบราณหมายถึงบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน)  เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย(หรือพืชอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการคัน แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด  แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  • ดอก สรรพคุณใช้บรรเทาอาการคันผิวหนังได้
  • เมล็ด ใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิดได้ (หิดเป็นโรคที่เกิดจากปรสิตที่เรียกว่าตัวหิด หรือ Scabies miteไชเข้าผิวหนังทำให้เกิดตุ่มคัน)
  • ราก ลดไข้ อาเจียน ลดความอ้วน ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย(อันนี้ถ้าโดนแนะนำให้หาหมอนะครับ)
  • เถา ใช้ชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ เป็นยาทาพอกแก้โรคผิวหนัง มีสรรพคุณลดไข้เช่นเดียวกับใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทั้งต้น (ราก ใบ เถา) นำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

สูตรยาสมุนไพรไทยจากตำลึง

1. สูตรยาถอนพิษ (จากพืช ที่ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน) ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ทาบรเวณที่ถูกพิษ ปวดแสบปวดร้อน จะสามารถบรรเทาอาการลงได้

อาหารที่ทำจากผักตำลึง2. สูตรยาช่วยย่อยอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต  ใช้ยอดอ่อน และใบ ปรุงเป็นอาหาร จะสามรถช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นได้

3.สูตรยารักษา อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใบสดหนึ่งกำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียด โดยผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำจนกว่าอาการจะบรรเทา

ทั้งหมดนี้คือประโยชน์จากตำลึง พืชสมุนไพรข้างรั้วที่บางครั้งเราอาจมองข้ามมันไป

ใบเตย สมุนไพรไทยกลิ่นหอมชื่นใจ

 ขับปัสสาวะ, บำรุงหัวใจ, พืชสมุนไพร, รักษาเบาหวาน  ปิดความเห็น บน ใบเตย สมุนไพรไทยกลิ่นหอมชื่นใจ
ต.ค. 132012
 

หากพูดถึงใบเตย ( ที่ไม่ใช่นักร้อยค่ายอาร์สยามสุดเซ็กซี่ ) ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยผ่านการทาน น้ำต้มใบเตยมาแล้วบ้าง ไม่มากก็น้อย ถ้าแบบธรรมดา คือต้มน้ำใส่ใบเตยแล้วทานเพื่อเพิ่มความหอม ถ้าแบบฮาร์ดคอร์หน่อยคือทานน้ำใบเตยกับเหล้าดองยากันบาดคอ  ด้วยกลิ่นหอมที่ชื่นใจ ใบเตยจึงเป็นพืชที่ได้รับความนิยม นอกจากกลิ่นหอมแล้วนั้นใบเตยยังคงคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยอีกหลายอย่าง

มารู้จักใบเตยกันก่อน

ใบเตย จริงๆก็แปลกนะครับ พืชชนิดนี้มันก็ไม่ได้ชื่อว่าใบเตยด้วยซ้ำ แต่ชื่อว่าจริงๆคือ เตย หรือ เตยหอม ซึ่งไม่ค่อยมีคนเรียก นิยมเรียกใบเตยเสียมากกว่า บางครั้งเห็นคนเรียกต้นใบเตยเลยก็มี แต่สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะส่วนของพืชที่คนนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด คือใบของต้นเตยนั่นเอง

  • ชื่อโดยทั่วไป  เตย , เตยหอม ,Pandanus Palm , Fragrant Pandan,Pandom wangi
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย  Pandanus amaryllifolius? Roxb.

 

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ของใบเตย

ตามตำราสมุนไพรไทยโบราณ ใบเตยมีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ และช่วยลดการกระหายน้ำ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของใบเตย เมื่อนำไปต้มน้ำจะรู้สึกชุ่มคอ และให้ความสดชื่นนอกจากนี้ยังมีการนำปคั้นน้าผสมกับขนมไทย เพื่อเพิ่มกลิ่นหอม และเพิ่มสีเขียวแบบธรมมชาติไปในตัว  ส่วนรากของใบเตย (ต้นเตย)สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ และจากการศึกษาพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี เรื่องลดระดับน้ำตาลในเลือด หากสนใจลองอ่านบทความนี้เพิ่มเติมดูนะครับ  “สูตรยาสมุนไพรลดระดับน้ำตาลในเลือด

สูตรยาสมุนไพรไทยจากใบเตย

ใช้เป้นยาบำรุงหัวใจ โดยใช้ใบสดเอาแค่ประมาณ 1 กำ นำมาบดให้ละเอียด คั้นเอาน้ำ อาจต้มใส่น้ำตาล เล็กน้อยเพื่อรสชาติที่ดี โดยดื่มครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ร่างกายสดชื่น และสามารถบำรุงหัวใจได้

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ  โดยใช้ใบสดพอประมาณ (อาจสัก 3-5 ใบ)หั่นเป็นท่อน แล้วนำมาต้มดื่มแทนน้ำ ประมาณ2-3 วัน หรืออาจดื่มสัปดาห์เว้นสัปดาห์ จะช่วยขับปัสสาวะและช่วยบำรุงธาตุ

ทั้งหมดนี้คือ สรรพคุณของใบเตยที่นำมาฝากกัน หากบ้านใครมี หรือระแวกบ้านมี จะนำมาลองต้มทานดูก็ไม่สิทธิ์นะครับ

 

ต.ค. 102012
 

หากพูดถึงผลไม้ที่เนื้อในเป็นสีเหลือง หลายคนคงบอกว่ามีเยอะ ถ้าถ้าบอกว่า พืชที่เป็นทั้งผักและผลไม้ และมีสีเหลืองหล่ะ แน่นอนคำตอบคือหัวข้อของเราในวันนี้ ฟักทองนั่นเองครับ สำหรับฟักทองนั้นเราสามารถใช้เป็นผักได้เช่นเอามาแกง อย่างนี้เขาเรียกฟังทองเป็นผัก แต่ถ้าเอามานึ่งทานทำขนม อันนี้จะกลายเป็นผลไม้ทันที แต่ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ ฟักทองนั้นเป้นพืชที่มีคุณค่าสูงตัวหนึ่งที่เราควรทำความรู้จัก ทั้งในแง่ของสารอาหารและในแง่ของพืช สมุนไพรไทย

มารู้จักกับฟักทองกัน

ฟักทองชื่อโดยทั่วไป  ฟักทอง , Pumpkin

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cucurbita maxima Duchesne.

ชื่อวงศ์   CUCURBITACEAE

ชื่อตามภูมิภาคหรือตามท้องถิ่น

หมากอึ (ภาคอิสาน) มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว (เลย) น้ำเต้า (ภาคใต้) หมักอื้อ (เลย-ปราจีนบุรี) หมากฟักเหลือง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า

ลักษณะของฟักทอง

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก(สู้ไม่ถอยอีกแล้ว)  ที่มีลำต้นเป็น เถาอาศัยเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือหลักยึดต่างๆเช่นริมรั่ว หรือค้างที่คนทำไว้ให้  ตามเถาจะมีมือเอาไว้เกาะยึดสิ่งต่างๆ เพื่อความมั่นคงของต้น เถามีขนาดยาว ใหญ่ และมีขน ปกคลุม อยู่ มีสีเขียว

ใบ ออกใบเดี่ยว ตามลำเถา ใบของฝัก ทองเป็นแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ มือ ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ ส่วนยอดของเถา ลักษณะของดอกเป็นรูปกระดิ่ง หรือระฆังสีเหลือง ในดอกตัวเมียเมื่อบานเต็มที่แล้ว จะมองเห็นผลเล็กๆ เป็นกระเปาะติดอยู่ใต้ดอก

ผล มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นพูกลมจะมี ส่วยใหญ่เป็นทรงแบน และมีทรงสูงอยู่บ้าง เปลือกของผลจะแข็ง ผิวลักษณะขรุขระ มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงก็ตามแต่พันธ์ของฟักทอง เนื้อในผลสีเหลือง มีเมล็ดสีขาว  นึกไม่ออกนึกถึงเมล็ดฟักทองตามือ (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่าน ขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)

คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของฟักทอง

เนื่องจากประโยชน์ของฟักทองมีมากมายจริงๆ จึงขอแยกย่อยเป็นข้อๆและคัดมาเฉพาะส่วนสำคัญให้ได้อ่านกัน

1.ฟักทองนั้นเป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำ อาจขัดกับความคิดของหลายๆคน แต่จากการวิจัยเทียบกับพืชชนิดอื่นถือว่าต่ให้พลังงานต่ำ มีไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก (ทานฟักทองเป็นมื้อหลักช่วยควบคุมน้ำหนักได้ แต่ทานฟักทองเป็นของหวาน หลังจากทานข้าวขาหมูเสร็จ ฟักทองไม่ช่วยอะไรนะครับ) อีกทั้งฟักทองยังมีกากไยมากสามรถช่วยระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

2.คาร์โบไฮเดรตในฟักทอง ช่วยรักษาและบรรเทาอาการ แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ในส่วนบนได้ด้วย คนที่เป็นโรคกระเพาะแนะนำเลยครับ ทานฟักทองนึ่งไปไม่ผิดหวัง อาการปวดท้องของท่านจะบรรเทาเบาบาง แบบไม่ต้องพึ่งแอนตาซิล (เชยเนาะสมัยนี้เขาต้อง กราวิสคอนแล้ว) แต่ถ้าเป็นมากๆแนะนำให้หาหมอนะครับ

3.จากการวิจัยพบว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบในผู้สูงอายุได้

4.หากรับประทานฟักทองทั้งเปลือกจะสามรถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย หากขาดสารตัวนี้ หรือการหลั่งอินซูลินผิดปรกติ จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้การรับประทานทั้งเปลือกยัง สามรถควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพได้อีกด้วย

5.ในฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส (แต่ไม่ถึงขั้นขาววิ้งนะครับ)

6.สตรีหลังคลอดบุตรหากทางฟักทอง ซึ่งตามตำราสมุนไพรไทยเขาเรียก”มีฤทธิ์อุ่น” จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง และลดการอักเสบ แก้ปวดได้ดีมากๆ

นี่แหละครับประโยชน์ของผลฟักทอง แต่ยัง ยังไม่หมดนอกจากผลแแล้วส่วนอื่นๆของฟักทองก็มีประโยชน์ไม่น้อย ลองมาดูกัน

  • ใบอ่อนของฟักทอง (ใบแก่ไม่พูดถึงนะครับเพราะทานลำบาก) เชื่อหรือไม่ว่าในใบอ่อนมีวิตามินซีสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง นอกจากนั้นยังมีฟอสฟอรัส สูงกว่าในเนื้อฟักทองเสียอีก
  • ดอกของฟักทอง ในดอกมีวิตามิน A แคงเซียม และฟอสฟอรัส แถมยังมีวิตามินซีด้วยเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน และที่สำคัญยังมีสารที่ชื่อ คิวเคอร์บิตาซิน ( Cucurbitacin ) สารตัวนี้สามรถกำจัดพยาธิจำพวกพยาธิตัวตืดได้อีกด้วย และเมล็ดฟักทองยังมีสรรพคุณขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว และป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้เป็นอย่างดี
  • น้ำมันจากเมล็ดดอกฟังทอง ช่วยบำรุงประสาทได้ดี อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนบางชนิด ที่ป้องกันต่อมลูกหมาก ของท่านชายขยายใหญ่ขึ่น ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากอัณฑะให้อยู่ในระดับปรกติ
  • รากฟักทอง นำมาต้มใช้ดื่มแก้ไอได้ และยังช่วยบำรุงร่างกาย
  • เยื่อที่อยู่กลางผล ก็ส่วนที่เราคว้านทิ้งเวลาเอาฟักทองมาทำอาหารนี่แหละ ซึ่งเยื่อตัวนี้สามรถนำมาพอกแผลได้ แก้อาการฟกช้ำปวดอักเสบได้อย่างดี

การนำฟักทองไปใช้

หัวข้อนี้คงไม่ขอพูดอะไรมาก แต่ขอยกตัวอย่างเมนูบางส่วนจากฟักทองก็แล้วกัน เมนูที่แนะนำคือ แกงเผ็ดเนื้อใส่ฟักทอง  แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนของหวานก็มี สังขยาฟักทอง (อันนี้ชอบมากเป็นการส่วนตัว) ขนมฟักทอง บวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองเชื่อม และอื่นๆที่ไม่ได้กล่าว

คำแนะนำเพิ่มเติม

– การเลือกฟักทองควรเลือกพันธ์ที่มีรสหวาน เนื้อละเอียด จะมีสรรพคุณทางยามาก (เรื่องรสหวานเนื้อละเอียดถามคนขายดูได้ถ้าเขาไม่โกหก โดยส่วนใหญ่พันธ์ผสมจะเป็นที่นิยม)

– การทานฟักทองมากเกินไปจะทำให้ผิวเหลือง แน่นท้อง ผู้รู้เขาแนะนำว่าการใส่กระเทียมเจียวกับเต้าเจี๊ยวในผัดฟักทอง จะชาวยลดการแน่นท้องลงได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก กรมแพทย์ทางเลือก และหนังสือ อาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

 

บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ

 พืชสมุนไพร, รักษาเบาหวาน, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ
ต.ค. 052012
 

บุกมาแล้ว ! บุกมาแล้ว !  รีบหนีเร็ว  เอ๊ะยังไงนี่ เรากำลังดูหนังสงครามอยู่เหรอ เปล่าครับ บุกในที่นี้ไม่ได้ถึงข้าศึกบุก แต่หมายถึงหัวบุก สมุนไพรไทยบ้านเรา ต่างหาก และที่ต้องหนี ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นโรคฮอตฮิตในปัจจุบันอย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน ต่างหากที่ต้องหนีไป

บุก ส่วนที่เห็นคือ หัวบุก ทีแรกเรื่องของบุกในเมืองไทย มันก็ไม่ได้แพร่หลายหรือเป็นที่ได้รับความนิยมเหมือนทุกวันนี้เพราะจริงๆ ทีแรกมันก็เป็นพืชพื้นบ้านอยู่ดี  คนในท้องถิ่นก็นำบุกมาประกอบอาหาร เหมือนเผือก เหมือนมันทั่วไป     พอเริ่มมีคนมาวิจัย   สรรพคุณต่างๆของมัน เลยกลายเป็นพืชสมุนไพรไทยยอดนิยม มีการแปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สารสกัด บุกผง วุ้นบุก และอื่นๆอีกมาก วันนี้เองก็คงจะไม่ช้าเกินไปที่จะนำทุกท่านมารู้จัก พืชสมุนไพรไทย ที่เรียกว่าบุกกันแบบถึงกึ๋น

 

มารู้จักบุกกัน  

ชื่อไทย   บุก 

ชื่อสามัญ  Konjac ,  devil’s tongue  (ลิ้นปิศาจ  น่ากลัวนะครับชื่อนี้ คาดว่ามาจากลักษณะของดอกบุก )   , shade palm, umbrella arum

ชื่อวิทยาศาสตร์      Amorphophallus rivieri Durieu cv. Konjac

ชื่อวงศ์    ARACEAE

ชื่อตามท้องถิ่น  :  บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง)  หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)  กระบุก (อิสาน)

 

เราพบบุกได้ที่ไหน

บุกเป็นพืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยขึ้นอยู่ตาม ชายป่า และบางทีก็พบตามพื้นที่ ทำนา เช่นที่ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นต้น บุกขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีให้หัวขนาด ใหญ่ได้ในดินร่วนซุย น้ำไม่ขังและดินที่มีฮิวมัส หรืออินทรียวัตถุสูง

 

ลักษณะของต้นบุก

ลักษณะของต้น บุก แสดงให้เห็นส่วนประกอบคือใบบุก และหัวบุกลำต้นใต้ดิน  บุกมีลำต้นใต้ดินหรือที่เราเรียกแบบง่ายๆก็คือ หัวบุก  แบบเดียวกับเรียกหัวเผือก หัวมัน ขนาดอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร (บางพันธ์อาจเล็กกว่านี้ )ทรงกลมแป้นลักษณะทรงเดียวกับลูกฟักทอง แต่บางสายพันธ์มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป  ซึ่งส่วนนี้เอง เป็นใช้ที่สะสมอาหารของบุก

 ใบ  ลักษณะเหมือนใบมะละกอ มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย    บางชนิดมีหนามอ่อนๆ  หรือบางทีบุกบางชนิดก็มีใบมีจุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน  จะเห็นว่าใบบุกมีใบลักษณะที่หลากหลายมาก  แต่ที่เด่นๆสังเกตง่ายว่าเป็บุกคือ จะมีก้านตรงจากกลางของหัว เมื่อโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทาง มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่บาง พันธุ์จะแปลกตรงที่กลับขึ้นด้านบนเหมือนหงายร่ม ดังนั้นลักษณะของใบบุก มีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของบุก

ดอกของบุก     ลักษณะดอกดอกคล้ายต้นหน้าวัว แต่ละชนิดมีขนาด สี และรูป ทรงต่างกัน บางชนิดมีดอกใหญ่มาก โดยเฉพาะบุกคางคก ดอกบุกมีกลิ่น เหม็นเหมือนเนื้อสัตว์เน่า บุกชนิดอื่นๆ มีดอกเล็กก้านดอกจะโผล่ขึ้นตรง จากกลางหัวบุก เช่นเดียวกับก้านใบ บุกมักจะมีดอกในช่วงปลายฤดูแล้ง แต่บุกสามารถออกดอกได้ในช่วง เวลาต่างๆ กัน ระยะเวลาในการแก่เต็มที่ ของดอกที่จะติดผลก็ต่างกัน

 ผลบุก (อย่าสับสนกับหัวบุกนะ ) หลังจากดอก ผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล ผลอ่อนของบุก มีสีขาวอมเหลือง พออายุ ได้ 1-2 เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่ปลายคล้ายผลกล้วย ผล ของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว  บุกบางชนิดก็มีเมล็ดในกลม   ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือแดงส้ม

 

 

บุกกับการนำมาประกอบอาหาร

เป็นพืชอาหารพื้นบ้านซึ่งคนไทยนำเอาก้านใบมาแกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก     ส่วนหัวบุกมีการนำไปดัดแปลงตามแต่ละภูมิภาค เช่นทางภาคอีสาน มีการทำขนมที่เรียกว่าขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน (แกงลาว)   ภาคตะวันออกจะมีการฝาน หัวบุกเป็นแผ่น บางบาง แล้วนำมานึ่งกินกับข้าว ทางภาคเหนือโดยเฉพาะชาวเขา มักนำมา ปิ้งรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน

*บุกมีหลายชนิดหลายพันธุ์ อาจขมและมีพิษ ทุกชนิดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ทั้งที่ก้านใบและหัว ซึ่งอาจทำให้คัน ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มเสียก่อน ไม่งั้นกินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง

อาหารที่แปรรูปมาจากบุก

ปัจจุบันมีการนำบุกมาแปรรูป ทั้งในลักษณะของเส้นบุก ซึ่งคือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส่วนหัวบุก มีแบบเส้นใส สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้ ผมว่าใครเคยไปกินเนื้อย่างคงเคยเจอบ้าง   นอกจากเส้นบุกแล้วมีการนำมาผสมเครื่องดื่มต่างๆ เอาแบบฮิตๆสมัยก่อน คือ เจเล่ ผสมผงบุก ถ้าจำไม่ผิดอันนี้เขามาทำเป็นรายแรก (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่านขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)
สรรพคุณของบุก

จากการศึกษาพบว่า  แป้งบุกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พวกกลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร (dietary fiber)  ซึ่งดูดน้ำได้มาก แต่ร่างกายย่อยสลายได้ยาก ดูดซึมได้ช้า จึงให้พลังงานและสารอาหารน้อย เหลือกากมาก ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดี ผู้ที่ต้องการลดความอ้วนนิยมกินอาหารจากแป้งบุก เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก เพราะกินอิ่มได้ ระบายท้อง แต่ไม่ทำให้อ้วน

นอกจากนี้เองเจ้า สารกลูโคแมนแนนนี้ สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำตาลได้ดีมาก ปัจจุบันจึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง

นี่แหละครับคือประโยชน์จากบุก ลองหามาทานกันนะครับ มีประโยชน์ขนาดนี้ สมัยนี้ไม่หายากแล้วเดินไปห้าง ก็ได้บุกเส้นแล้ว แนะนำมามายำแบบยำวุ้นเส้นนะครับ รับรองอร่อยแท้ๆ

 

 

ก.ย. 242012
 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้่ที่หาทานได้ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่สรรพคุณไม่กล้วยเหมือนชื่อของมันเลยกล้วยน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไปกล้วยน้ำว้า สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทย์ Musa sapientum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MUSACEAE
ชื่ออื่น -ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกัน จะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 25 เมตร
ใบ มีสีเขียว เป็นแผ่นยาว เส้นของใบจะขนานกัน แกนใบจะเห็นชัดเจน
ดอก มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. เป็นช่อซึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อ
มีสีแดงปนม่วง เป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซ.ม ส่วนทีเป็นฐานดอกจะมีเกสรตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้
ช่อดอกจะเจริญกลายไปเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้จะร่วงไป
ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้ว ผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว
เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียว แล้วตายไป
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ หรือแยกเหง้า
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย

สรรพคุณ
ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการเบาหวาน)