ก.ย. 292012
 

ทับทิม เป็นพืชสมุนไพรไทย หรือจะเรียกว่าเป็น ผลไม้สมุนไพรก็ได้ ด้วยรสชาติที่หอมหวานจึงมีคนนำทับทิมมาประยุกต์เป็นอาหารที่หลาหลาย เช่นนำมาใส่ของหวาน ทำทับทิมลอยแก้ว นอกจากนี้ในด้านการเป็นสมุนไพร ทับทิมยังมีสรรพคุณต่างๆอีกมากมาย

ทับทิม สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไปของทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์   Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE

ชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่น
มะแก๊ะ (เหนือ) มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน) หมากลิง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) พิลา (หนองคาย) เจียะลิ้ว (จีน)

ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น เป็นไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 – 6 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 – 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

การขยายพันธุ์ ทับทิมนั้นเป็นพืชที่โตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้ เมล็ด

ส่วนที่ใช้ เปลือกลำต้น , ใบ , ดอก, เปลือกผล , เมล็ด , และเปลือกราก

สรรพคุณ

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้าง แผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบ สดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้เป็น ต้น

เปลือกต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35 – 0.6 ฺ% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้ มีชื่อเรียกว่า Pelle tierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6 – 9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน หรือยาลูกกลอน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจาก โรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำ ให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น

เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6 – 12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรังเป็นต้น

ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3 – 6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือด กำเดาแข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก

เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5 – 4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรค บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น

 

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของทับทิม ว่าแล้วก็เด็ดมาทานสักลูกจากต้นข้างบ้านดีกว่า

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 182012
 

ฝรั่ง เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องเคยทานผลไม้ชนิดนี้ ซึ่งจริงๆแล้วฝรั่งเอง ก็จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งเหมือนกัน สำหรับสรรพคุณของมันนั้นมีมากมายทีเดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปทำความรู้จักกับผลไม้ชนิดนี้กันเลยนะครับฝรั่ง สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ psidium guajawa L. วงศ์ Myrtaceae

ชื่ออังกฤษ Guava

ชื่อท้องถิ่น จุ่มโป (สุราษฏร์ธานี) มะแกว (แพร่) มะกา (แม่ฮ่องสอน) มะมั่น (ลำปาง)มะปุ่น (สุโขทัย) มะก้วย (เชียงใหม่) สีดา (นครพนม) ชมพู่ (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลางสูง 3 –8 เมตรเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือออกสลับกันมีขนเล็กน้อย ใบรูปร่างวงรี ขอบขนาน กว้าง4-6 เซนติเมตรยาว 7-12 เซนติเมตรดอกออกเป็นกระจุก 2- 4 ดอกบางครั้งออกเป็นดอกเดี่ยวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียวแข็งรสฝาดเมื่อแก่จัดสีขาวจะอมเขียวสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ดับกลิ่นปาก

ใบฝรั่งมีน้ำหอมระเหย ช่วยกลบกลิ่นอาหารที่อยู่ในปากใบฝรั่งยังช่วยบำรุงรักษาเหงือกและฟันให้แข็งแรงด้วยดับกลิ่นปากให้เคี้ยวใบฝรั่ง 3 ใบ หรือ 3 ยอดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆหรือเมื่อต้องการกลบกลิ่นปาก เคี้ยวให้ละเอียด อมไว้นานๆแล้วค่อยบ้วนทิ้ง

 แก้ท้องเสีย

 

เนื่องจากมีสารแทนนินอยู่มาก ซึ่งสารนี้นอกจากจะช่วยยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรคแล้วยังช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องเสียให้เคี้ยวยอดอ่อนทีละน้อยเพราะถ้ากินมากๆจะรู้สึกขม ถ้าเคี้ยวพร้อมเกลือเล็กน้อยจะช่วยให้กินง่ายขึ้นให้กินทั้งหมด 7 ยอด (1 ยอดมีใบอ่อน 4 ใบ)

สารสำคัญ

ใบฝรั่งมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย nerolidol, limonene,caryophyllene cineol

และมีแทนนิน 8-10% เปลือกต้นเปลือกรากมีแทนนิน12-30%ผลดิบมีวิตามินซีมากจึงใช้กินแก้โรคลักปิดลักเปิดผลสุกมีสารเพกตินอยู่มากจึงใช้เป็นยาระบาย

ข้อควรระวัง

1.รับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก

2ก่อนรับประทานควรล้างให้สะอาดจากยาฆ่าแมลง

ก.ย. 082012
 

 แตงกวา สมุนไพรไทย

หากพูดถึงแตงกวาน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หลายคนคิดว่ามันเป็นผักธรรมดาที่วางอยู่บนจานข้าวผัด แต่แท้จริงแล้วมันเป็น สมุนไพรไทย อย่างหนึงที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก่อนที่เราจะรู้จักประโยชน์และสรรพคุณของมัน เรามาทำความรู้จักกับ พืชสมุนไพรชนิดนี้กันก่อนนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucumis sativus Linn วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ Cucumber

ชื่อท้องถิ่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยาง (แม่ฮ่องสอน) แตงเห็น แตงอ้ม (เชียงใหม่) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวา สมุนไพรไทย

 แตงกวาเป็นไม้เถามีอายุปีเดียว ต้นมีขนหยาบสีขาว ใบออกสลับกันตรงสามเหลี่ยมมนใหญ่ กว้าง 12 –18 เซนติเมตรมีแฉกใหญ่ 3 – 5 แฉก ตัวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเป็นตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองส่วยปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมล็ดลีแบนผิวเรียนสีขาว ผล รูปทรงกระบอกมีลายเขียวแก่มีพื้นสีเขียวอมขาวมีขนาดต่างๆกัน ในทางพฤษกศาสตร์แตงกวาและแตงร้านมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันพืชนี้มีถินกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพืชที่รู้จักกันดี ในบางพันธุ์ผลที่ยังอ่อนจะมีตุ่มยื่นออกมา

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์ฝาดสมาน

น้ำคั้นจากผลสดมีฤทธิ์ฝาดสมาน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าเรียบตึง ในผลมีเอ็นไซม์ อีเรบซิน( erepsin ) ช่วยย่อยโปรตีนซึ่งจะช่วยย่อยผิวชั้นนอกที่หยาบกร้านออกไปทำให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม เนื่องจากในผลแตงกวามีปริมาณกรดอะมิโนสูงจึงนิยมใช้น้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่นครีมล้างหน้า ครีมทาตัว แว่นแตงกวานำมาวางแนบผิวหน้าให้ความนุ่มเย็นบำรังผิว น้ำและเนื้อแตงกวาให้ความสดชื่นได้ดี

ยาเย็น

ผลเป็นยาเย็นขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ คอเจ็บ ตาแดง ไฟลวกและผดผื่นคัน กินเป็นผักจิ้มหรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

แก้ท้องเสียบิด

ใบมีรสขม มีพิษเล็กน้อยใช้แก้ท้องเสีย บิด

ยาถ่ายพยาธิ

เนื้อในเมล็ด ( kernel ) จากเมล็ดแก่กินเป็นอาหารและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนัง

เถา รสขม มีพิษเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนองและลดความดันโลหิต

สารสำคัญ

ผลแตงกวาเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบดังนี้ ความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % แร่ธาตุเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามิน B และวิตามิน C ผลแตงกวามีเอนไซม์อยู่หลายชนิดคือ เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ascorbic acid oxidase , succinic malic dehydroginase เถ้า (ash) จากเมล็ดมีปริมาณของฟอสฟอรัสสูง

ข้อควรระวัง

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเป็นแผลกินแล้วจะทำให้ปวดท้องท้องเสียง่าย