เม.ย. 192015
 

เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง

แคนา  จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า)   ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา  ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ   ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามีดังนี้ครับ ขอบคุณคณะเภสัชาสตร์ ม.อุบล สำหรับข้อมูลอ้างอิง

 

ชื่อสมุนไพร แคนา
ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า)  แคขาว (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ)   แคเค็ตถวา  (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่)      แคทราย(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ดอกแคนา 

  • ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
  • เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม  โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7  เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี   ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร
  •  ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร
  •  ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ   พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ  โดยออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย    

  •   ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
  •   เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด
  •   ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก
  •    ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม
  •    เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท(ตำราน่าจะหมายถึงอาการปวดต่างๆนะครับ) แก้โรคชัก

ประโยชน์อื่นๆ   แน่นอนครับสำหรับแคนา ประโยชน์หลักๆคือดอก ใช้ในการลวกจิ้ม หรือประกอบอาหารต่างๆ รสชาติขมนิดๆ ช่วยเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นต้นแคนาเองก็มีการนำไปเป็นไม้ให้ร่มเงา ตามบ้าน รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายๆแห่งนำไปใช้ปลูกตามถนนเข้าโครงการก็มี จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ทีเดียว

 

ก.ค. 012014
 

หลังจากที่ไม่ได้ update เนื้อหาใน web มานานพอควร ได้ฤกษ์งามยามดีขออนุญาตนำบทความดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากเช่นเคยครับ ซึ่งบทความนี้เผอิญไปอ่านเจอใน pantip  โดยคุณ Dear Nostalgia เป็นผู้รวบรวมมาเห็น่าสนใจดีเลยนำมาฝากทุกท่าน (โดยขออนุญาตเรียบเรียงใหม่และตัดทอน รวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนให้ง่ายต่อการอ่านนะครับ

พูดถึงสะระแหน่หลายคนคงคิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยแท้แต่ดังเดิม ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จากคำบอกเล่า ศจ.อินทรี จันทรสถิต ผ่านทาง ด็อกเตอร์ ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า จริงๆแล้วสะระแหน่ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วง ร.3 โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่อของ สะระแหน่นั่นเอง

ข้อมูลจำเพาะของสะระแหน่

  • ชื่อ  สะระแหน่  (Kitchen Mint )
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mentha aruensis Linn   วงศ์   Labiatae  สกุล  Mint
  • ชื่อในแต่ละท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) ,หอมด่วน (ภาคเหนือและอิสาน) ,สะแน่(ภาคใต้)

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม ไม่มีขน (ต่างจากพวก mint ของฝรั่งที่มีขนยาวกว่า)ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว สะระแหน่เป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง จึงทำให้มีรสเย็นสดชื่อนั่นเอง

สะระแหน่ในฐานะสมุนไพรไทย

แพทย์แผนไทย นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณคือ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม  นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยถ้าจะสรุปตามการประยุกต์ใช้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตามตำราสมุนไพรไทยดังนี้

  •   รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย  วันละ  2 ครั้ง
  •  รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
  •  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
  •  ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  •  รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  •  รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ประโยชน์ด้านอื่นๆนอกจากด้านสมุนไพรของสะแหน่

สะระแหน่เป็นสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อยกว่ามินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

 

ธ.ค. 182012
 

ส่วนใหญ่พืชที่เรานำมาทำสมุนไพร คนจะนึกถึงพืชล้มลุก ต้นเล็กๆ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่สมุนไพรไทยบางอย่างก็อาจเป็นต้นไม้ใหญ่ได้เช่นกัน อย่างเช่นในวันนี้สมุนไพรไทยที่เราจะพูดถึงกันก้จัดเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีชื่อว่า อินทนิล นั่นเอง

อินทนิลชื่อทางวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.

ชื่อโดยทั่วไป:   Queen’s crape myrtle , Pride of India (ชื่อนี้บอกถิ่นที่มาของพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี)

ชื่อวงศ์ :   LYTHRACEAE

ชื่อตามภูมิภาค :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)

ลักษณะของต้นอินทนิล: 

  • ลำต้น  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะค่อยๆตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น  ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือบางทีเป้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
  • ดอก ดอกของอินทนิลจะมีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต มีความสวยงามตามะรรมชาติ ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.  เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

  1. ใบอินทนิล มีรสจืด-ขมฝาดเย็น ใช้ต้มหรือชงกับน้ำร้อน ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการเบาหวาน ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
  2. เปลือก  มีรสฝาดขม ต้มกับน้ำรับประทานแก้ไข้และแก้ท้องเสีย
  3. เมล็ด    มีรสขม แก้ดรคเบาหวาน ช่วยให้นอนหลับสบาย
  4. แก่น     มีรสขมใช้ต้มดื่ม รักาาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
  5. ราก      มีรสขม ใช้รักาาโรคแผลในปาก

ขอบคุณข้อมูลจาก เว้บ สมุนไพร 200 ชนิด(สมเด็จพระเทพ),หนังสือสมุนไพรใกล้ตัวตู้ยาข้างบ้าน ภาพจากเว็บ skyscrapercity

ต.ค. 082012
 

อาการปวดฟันนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกทรมานมาก ใตรที่เคยปวดย่อมรู้ดี เว็บสมุนไพรไทยเองขอแนะนำสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่ง ที่จะสามารถช่วยบรรเทาเบาบาง อาการปวดฟันได้ (ก่อนที่จะไปหาหมอฟันเพื่อจัดการกับต้นเหตุต่อไป ) สมุนไพรที่เราจะมาแนะนำในวันนี้คือ กานพลู

มารู้จักกับกานพลูกันก่อน

กานพลู รูปดอกกานพลู สมุนไพรไทย ที่สามารถระงับอาการปวดฟันได้ชื่อโดยทั่วไป : กานพลู หรือ clove tree

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :SyZagium aromaticum

ชื่ออื่นๆ :  จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะ โดยทั่วไปของกานพลู

ลำต้น เป้นไม้ยืนต้น ทรงพุม มีกิ่งก้านสาขามาก สูง 9-20 เมตร ลำต้นตั้งตรง

ใบ   มีใบเดียว เรียงตรงข้าม แตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน

ดอกและผล    ช่อดอกออกที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกกานพลูมีน้ำมัน ซึ่งมีกลิ่นหอมและรสค่อนข้างเผ็ดร้อน เมื่อมีผลจะออกเป็นรูปกรวยยาว

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของกานพลู

ดอกกลานพลู  นอกจากเรื่องของบรรเทาอาการปวดฟันดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น กานพลูเองยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นดอกของกานพลู หากยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออกจะมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก มีรสเผ็ด สรรพคุณคือ แก้รำมะนาด และยังสามารถแก้ปัญหากลิ่นปากได้อย่างชะงัด  ใครดื่มสุรามาสามรถใช้ดับกลิ่นได้ (ป้องกันคุณแม่บ้านจับได้เป้นอย่างดี  แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเนียนของแต่ละคนด้วย ) และสำคัญที่สุดคือ บรรเทาอาการปวดฟัน    เรียกได้ว่าสรรพคุณในด้านเหงือกและฟันค่อนค้างครบวงจรเลยทีเดียว  นอกจากนั้นด้านอื่นยังมีในเรื่องของ  บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และขัมลม แก้ไอ แก้โรคเหน็บชา ขับเสมหะได้ สามรถแก้ท้องเสียในเด็ก

ผลกานพลู  ผลการพลู  ใช้เป็นเครื่องเทศได้เป้นอย่างดี ช่วยเพิ่มความหอมให้กับอาหารได้

น้ำมันหอมระเหยจากการพลู หากสะกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออกมา เฉพาะตัวน้ำมันหอมระเหย จะมีสรรพคุณ ในการเป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรมได้ เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา ใช้ป็นยาขับลม และ แก้ปวดท้อง

สูตรยาสมุนไพรไทยจากกานพลู 

ได้อ่านสรรพคุณกันไปแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำยาจากกานพลูกันบ้างว่ามีวิธีการทำอย่างไร

 สูตรยาช่วยระงับอาการปวดฟัน  ใช้ไม้พันสำลี หรือ คัตเติลบัต ชุบน้ำมันกานพลูนำไปหยด 4 -5 หยด ในรูฟันที่ปวด หรือใช้ชุบสำลี เคียวไว้ในปากบริเวณที่ปวด

สูตรยากำจัดกลิ่นปาก ให้อมดอกกานพลูไว้ 2-3 ดอกสัก 1-2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง

สูตรยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม  สำหรับผู้ใหญ่ใช้ดอกกานพลู 5-8 ดอก นำมาต้มหรือบดให้เป็นผงรับประทาน ในกรณีที่เป็นเด็ก ใช้ดอกกานพลู 3 ดอก ทุบให้แตกแช่ในน้ำเดือด ชงนมผสมประมาณ 750 cc ให้เด็กดื่ม

ทั้งหมดนี้เป็นสุตรยาสมุนไพรไทยจากการพลู ลองเอาไปทำดูได้นะครับ สุดท้ายยังไม่หมด เรามีสูตรชาสมุนไพรจากดอกกานพลูมาฝากทุกท่านครับ

เมนูน้ำสมุนไพร ชากานพลู

ส่วนผสม

  • ดอกกานพลู                             4-5    ก้าน
  • น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรวด              1   ช้อนชา

วิธีการทำ

1. ใส่กานหลูในถ้วยชา ใส่น้ำร้อนเกือยเต้มทิ้งไว้ 5 นาที

2. ใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรดลงไปคนเข้ากัน

ควรดื่มอุ่นๆ จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยย่อย ได้เป็นอย่างดี

ต.ค. 072012
 

ยอ ในที่นี้ไม่ได้ถึงการยกย่อง ชมเชย หรือแม้กระทั่งประจบประแจง แต่อย่างใด แต่มันเป็นชื่อสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง พูดชื่อคงนึกออกนะครับว่าหมายถึงอะไร

วันนี้เรามารู้จักกับยอกันดีกว่าครับ

ชื่อโดยทั่วไป : Great Morinda,Indian Mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Molinda Critiforia Linn

ชื่ออื่นอื่นของยอ :ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-ทางแม่ฮ่องสอน)

มารู้จักลักษณะของยอกัน

ยอ ลักษณะผลของยอ หรือลูกยอลำต้น ยอเป็นไม้ยืนต้น แต่ค่อนข้างมีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 3-8 เมตร (จริงๆก็ไม่เล็กมากแต่นี่เทียบกับต้นไม้อื่นๆ)

ใบ  ไม่ผลัดใบ ใบใหญ่หนาสีเขียวสด มีดอกเป็นช่อสีขาว

ผลยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุนมาก

สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของยอ

ผลดิบ ใช้ขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งของหญิงมีครรภ์ ผสมยาแก้สะอ๊ก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน

ผลสุก  ช่วยขับลมในลำไส้

ราก  ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก

ใบ  มีวิตามินเอ ใช้บำรุงสายตา หัวใจ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้เกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ด แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค

สูตรยาเด็ดๆจากยอ  พอมารู้จักยอกันแล้วผมเองมีสูตรเด็ดจากยอมาฝากกันครับ

สูตรที่ 1  แก้คลื่นไส้อาเจียน ใช้ลูกยอดิบเผาหรือปิ้งโดยใช้ไฟอ่อน เผาผิวนอกให้ดำเป็นถ่าน ข้างในให้เหลือง ถ้าเผาไม่ถึงที่ยาจะมีรสขม ให้หั่นลูกยอเป็นแว่นบางๆคั่วทั้งสดๆ โดยใช้ไฟอ่อนคั่วจนเหลืองจากนั้นนำมาชงน้ำร้อน กินเป็นชาหรือต้มก็ได้

สูตรที่ 2 แก้คลื่อนไส้อาเจียน (เป็นอีกหนึ่งสูตรสำหรับคนที่ไม่ถนัดปิ้งหรือย่าง)  ต้มให้เดือดนาน 2-3 นาที ถ้าชงน้ำร้อนใช้ยอหนึ่งลูกต่อน้ำหนึ่งแก้ว แล้วชงทิ้งไว้สัก 5 นาที ควรเติมเกลือลงไปพอให้มีรสเค็มปะแล่มเพื่อชดเชย เกลือแร่ที่เสียไปจากการอาเจียน หรือจะใช้ยาหอมผสมลงไปด้วยจะยิ่งดีใหญ่ เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์จะช่วยให้หายอาเจียนเร็วขึ้น  ข้อแนะนำ ควรกินน้ำยอขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่

สูตรที่ 3 ยาแก้ท้องผูก  นำรนากยอที่โตขนานนิ้วชี้ ยาวประมาณ 6 นิ้ว สับเป็นชิ้นๆ ใส่น้ำ 2 แก้ว ต้ม 10-15 นาที กิน 1 แก้วก่อนเข้านอน ตอนเช้าท้องไส้จะระบายดี เหมาะกับคนเป็นโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร

สูตรที่ 4  ยาลดไข้  ใช้เปลือกยอต้ม 10-15 นาที  กินวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ไข้ลดลง

เป็นงครับกับ 4 สูตรเด็ดที่นำมาฝาก ขอแถมท้ายด้วยเมนูสมุนไพรสุตรฮิต นั่นก็คือ

เมนูน้ำสมุนไพรลูกยอ

ส่วนประกอบที่ใช้  

  • ลูกยอสุกผลใหญ่                   1-2         ผล
  • น้ำสะอาด                             1 1/2      ถ้วย
  • ใช้น้ำผึ้ง                               1/2         ถ้วย
  • น้ำตาลทราย                          1/4       ถ้วย
  • เกลือป่น                               1/2       ช้อนชา

 

วิธีทำง่ายมากครับ

 น้ำลูกยอ เป็นน้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี1.  นำลูกยอสุกมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำสะอาดให้เปื่อยจนเม็ดหลุดออก

2. กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำตั้งไฟ

3.เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และเกลือป่นคนให้เข้ากัน

4.เสร็จแล้วครับ จะทานร้อนๆ หรือทิ้งไว้เย็นเติมน้ำแข็งก็ได้เหมือนกัน

 

ต.ค. 022012
 

มะละกอ จริงๆแล้วจะว่ามะละกอเป็นพืช สมุนไพรไทย คงจะไม่ค่อยถูกนัก เพราะอะไร เพราะมะละกอเดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา (มาไกลแฮะ) ตอนมาก็หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาปัจจุบัน ออกลูกออกหลาน ขยายพันธ์เต็มบ้านเต็มเมืองเราได้ เริ่มต้นนั้นชาวยุโรปนำเข้ามาผ่านเรือสินค้าปัจจุบันก็กระจายกันไปจนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะบ้านเรามะละกอขึ้นชื่อมาก จนบางทีหลายคนคิดว่าถิ่นกำเนิดมาจากบ้านเรา อ้อฝรั้งนั้นรู้จักชื่อเสียงของมะละกอบ้านเราดี ในแง่ของการนำไปทำส้มตำหรือ papaya pok pok          (ปาปาย่า ป็อก ป็อก )    ไม่เชื่อ seach google ดูโดยใช้คำว่า papaya pok pok มีแต่เว็บฝรั่งทั้งนั้น)

ชื่อเรียกโดยทั่วไป papaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.
วงศ์  CARICAEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น  ในข้อมูลไม่บอกไว้ด้วย รู้แต่ว่า ภาคกลางเรียก มะละกอ ภาคอิสานเรียก บักหุ่ง (ใครพอรู้ของภาคอื่นๆ post ไว้ที่ comment หน่อยนะครับ)

ลักษณะทั่วไปของมะละกอ

ลักษณะของ ต้นมะละกอลำต้น เป็นพรรณไม่เนื้ออ่อน ไม่เหมาะแก่การนำมาสร้างบ้าน (แหงล่ะ) บางต้นสูงได้ถึง 8 เมตร ทีเดียว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นตรง ก้านใบแตกออกมาลำต้นโดยตรง
ใบ เป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆ คล้ายขนนก ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร
ดอก มะละกอก็มีดอกนะครับถ้าไม่สังเกตจะไม่ค่อยเห็น ดอกตัวผู้มีสีเหลืองออกเขียว กลีบดอกบางยาว 2 ซม.ดอกตัวเมียไม่มีก้านดอก ยาว 7 เซนติเมตร เป็นดอกเดี่ยวและกระจุก กลีบดอกสีขาวเหลือง
ผล กลมยาวรี ผลดิบภายนอกมีสีเขียวเนื้อในสีขขาว เมื่อสุงอมจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อหนานุ่ม น่ารับประทาน รสหวานฉ่ำ มีเมล็ดสีดำผิวขรุขระอยู่ด้านใน

สรรพคุณทาง สมุนไพรไทย
– นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี(ช่วยในการย่อยไขมัน) ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แบบไม่ต้องง้อยาริดสีดวงทวารตรา ปลามังกรคู่
– ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่ดีมากๆ เป็นยาระบายชั้นดี
– นำเนื้อสุกมาปั่นพอกหน้าเพิ่มความชุ่มชื้น ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เรื่อง “รวมสูตรสมุนไพร เพื่อการบำรุงผิวหน้าง่ายๆที่บ้าน

มะละกับการประกอบอาหาร และคุณค่าทางอาหาร
– มะละกอเอามาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ถ้ามะละกอดิบ แน่นอนส้มตำส้มตำ หรือ papaya pok pok
– อย่าคิดว่ามะละกอดิบจะทำส้มตำได้อย่างเดียว หั่นเป้นแว่นๆพอคำ ใส่แกงส้มปลาช่อน ที่ไม่ใช่แกงส้มAF ได้
-มะละกอสุก นำมาปอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด หั่นเป้นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่นผสมน้ำตาล หรือน้ำเชื่อม และใส่เกลือเล็กน้อย คลายร้อนได้อย่างดี
-มะละกออุดมไปด้วย

> แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

> วิตามินซี เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ (คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้) และช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน

> วิตามินเอ บำรุงสายตาและระบบประสาท
นี่แหละครับคือคุณค่าของมะละกอที่ผมเอามาฝาก อ่านบทความจบแล้วจะไปหามะละกอสักลูกมาทานก็ไม่ว่ากันครับ ทานเผื่อผมด้วย

ข้อมูลอ้างอิง herb&healthy  ,thai wiki

หากท่านใดต้องการเอาบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อผมไม่หวงครับ แต่ขอความกรณาลง link ที่มา จาก web                                                                                                                    http://ไทยสมุนไพร.net  ให้ด้วยนะครับ

 

 

ก.ย. 232012
 

กระชายพืชชนิดนี้เอง มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะเป็นสมุนไพรที่ได้ชือว่า สมุนไพรเพื่อเพิ่มสมรถภาพทางเพศ ทุกวันนี้เรื่องเพศเป็นเรื่องที่เปิดกว้าง สามรถคุยกันได้อย่างเปิดเผย ปัญหาทางเพศก็เช่นกัน สำหรับท่านที่มีปัญหา สมุนไพรตัวนี้สามารถช่วยได้ นอกจากนั้นประโยชน์ด้านอื่นๆของกระชายก็มีมากเช่นกัน

กระชาย สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไป

กระชาย

ชื่อวิทย์ Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr.
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ)
ขิงทราย (มหาสามคาม)
จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่่วไป

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ 90 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30 – 35 ซม.
ดอก มีสีม่วงแดง ดอกออกเป็นช่อ กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว
เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปาก
แตรเกลี้ยงไม่มีขน
การขยายพันธุ์ จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว
และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก
ส่วนที่ใช้ รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ
ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด

สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก
รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า “โสมไทย”

ข้อมูลงานวิจัยในเรื่องกระชาย

จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง “กระชายดำ” ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่

ค้นจากหนังสือชื่อ กระชายดำ ของสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547 เขาเขียนไว้ว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผมดำ ตาแจ่มใส ผิวเต่งตึง ทำให้กระชุ่มกระชาย บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แถมยังใช้ในด้านอยู่ยงคงกระพันได้ด้วย

ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก

ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว

แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้

แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า “กระชาย(เฉย ๆ)” เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน “กระชายดำ” ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ

เอกสารอ้างอิง :
กระชาย หรือ “โสมไทย” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ   บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี
ก.ย. 182012
 

ฝรั่ง เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องเคยทานผลไม้ชนิดนี้ ซึ่งจริงๆแล้วฝรั่งเอง ก็จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งเหมือนกัน สำหรับสรรพคุณของมันนั้นมีมากมายทีเดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปทำความรู้จักกับผลไม้ชนิดนี้กันเลยนะครับฝรั่ง สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ psidium guajawa L. วงศ์ Myrtaceae

ชื่ออังกฤษ Guava

ชื่อท้องถิ่น จุ่มโป (สุราษฏร์ธานี) มะแกว (แพร่) มะกา (แม่ฮ่องสอน) มะมั่น (ลำปาง)มะปุ่น (สุโขทัย) มะก้วย (เชียงใหม่) สีดา (นครพนม) ชมพู่ (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลางสูง 3 –8 เมตรเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือออกสลับกันมีขนเล็กน้อย ใบรูปร่างวงรี ขอบขนาน กว้าง4-6 เซนติเมตรยาว 7-12 เซนติเมตรดอกออกเป็นกระจุก 2- 4 ดอกบางครั้งออกเป็นดอกเดี่ยวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียวแข็งรสฝาดเมื่อแก่จัดสีขาวจะอมเขียวสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ดับกลิ่นปาก

ใบฝรั่งมีน้ำหอมระเหย ช่วยกลบกลิ่นอาหารที่อยู่ในปากใบฝรั่งยังช่วยบำรุงรักษาเหงือกและฟันให้แข็งแรงด้วยดับกลิ่นปากให้เคี้ยวใบฝรั่ง 3 ใบ หรือ 3 ยอดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆหรือเมื่อต้องการกลบกลิ่นปาก เคี้ยวให้ละเอียด อมไว้นานๆแล้วค่อยบ้วนทิ้ง

 แก้ท้องเสีย

 

เนื่องจากมีสารแทนนินอยู่มาก ซึ่งสารนี้นอกจากจะช่วยยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรคแล้วยังช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องเสียให้เคี้ยวยอดอ่อนทีละน้อยเพราะถ้ากินมากๆจะรู้สึกขม ถ้าเคี้ยวพร้อมเกลือเล็กน้อยจะช่วยให้กินง่ายขึ้นให้กินทั้งหมด 7 ยอด (1 ยอดมีใบอ่อน 4 ใบ)

สารสำคัญ

ใบฝรั่งมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย nerolidol, limonene,caryophyllene cineol

และมีแทนนิน 8-10% เปลือกต้นเปลือกรากมีแทนนิน12-30%ผลดิบมีวิตามินซีมากจึงใช้กินแก้โรคลักปิดลักเปิดผลสุกมีสารเพกตินอยู่มากจึงใช้เป็นยาระบาย

ข้อควรระวัง

1.รับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก

2ก่อนรับประทานควรล้างให้สะอาดจากยาฆ่าแมลง