ในหลวงกับสมุนไพรไทย

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน ในหลวงกับสมุนไพรไทย
ธ.ค. 042013
 

ในหลวงกับสมุนไพรไทย

เนื่องในโอกาศ 5 ธีนวามหาราชในปีนี้  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ในฐานะที่เว็บ ไทยสมุนไพร.net เป็นเว็บที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย มาอย่างต่อเนื่อง ทางเว็บจึงขออนุญาตนำบทความ พระราชกรณีกิจของพระองค์ท่านที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรไทยที่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบ มาเพยแพร่ให้ทุกท่านได้ศึกษา  โดยบทความทั้งหมดสรุปย่อ และเรียบเรียบจาก  รายงานเรื่อง งานวิจัยเรื่องสาธารณสุข และการศึกษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย  โดยคุณทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

ในหลวงกับสมุนไพรไทยในเรื่องพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เริ่มต้นจากพระมหากรุณาธิคุณ และความใส่พระราชหฤทัยในด้านการสาธารณสุขของพสกนิกร ซึ่งพระองค์ท่าน  นอกจากจะทรงใช้วิธีการดูแลพสกนิกร ผ่านทางบุคลากรทางการแพทย์จากหลายสาขา แล้วนั้น   ด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกล พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชดำริที่ในเรื่องจะต้องให้ความสนใจใน สมุนไพรไทย ซึ่งได้มีการใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ในอดีต

จึงทรงเห็นว่า ควรจะได้มีการส่งเสริมการใช้และการพัฒนาสมุนไพรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยพระองค์ได้ทรงดำเนินการ เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่ามีโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาและอนุรักษ์สมุนไพรเกิดขึ้นหลายโครงการ รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อมอีกเป็นจำนวนมาก เช่น

  • โครงการสวนป่าสมุนไพรของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
  • โครงการสวนแม่พันธุ์ต้นซิงโคนา
  • โครงการภายใต้มูลนิธิโครงการหลวง
  • โครงการสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นต้นhttps://xn--o3cepkej9b3gpeg.net/wp-content/uploads/2013/12/ศูนย์ศึกษาการพัฒนาขาหินซ้อน

ยกตัวอย่างโครงการด้านสมุนไพรไทยอย่างเด่นชัดที่สุด ได้แก่ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่จำนวน  15 ไร่ จัดสร้างสวนป่าสมุนไพรชนิดต่างๆไว้ศึกษาวิจัยทางวิชาการเผยแพร่การใช้ประโยชน์ และ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ

การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับปรัชญาในการพัฒนาสังคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ประการ คือ

  1. การส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเองของประชาชน
  2. การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
  3. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
  4. เศรษฐกิจพอเพียง
  5.  การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ 

ซึ่งแนวพระราชดำริเรื่องการนำสมุนไพรมาศึกษาและวิจัยนี้ต่อมาได้นำไปสู่การศึกษา พัฒนา และการนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น รวมทั้งสมุนไพรจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูก และทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมาใช้

สมุนไพรกับโครงการหลวง

พืชสมุนไพรเป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้พยายามพัฒนาให้เป็นพืชทางเลือก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรตามพระราโชบายในการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นบนพื้นที่สูงของเกษตรกรชาวเขา
  2. ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
  3. เพื่อธำรงไว้ซึ่งความกินดีอยู่ดีของพสกนิกรบนพื้นที่สูง

ร้านโครงการหลวงปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้ศึกษาและค้นคว้าพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก หลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชกลุ่มเครื่องเทศและพืชหอม ซึ่งมีมูลค่าผลผลิตสดต่อปีหลายแสนบาท และมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปมากกว่าสามล้านบาท ปัจจุบันมูลนิธิ โครงการหลวงกำลังขยายงานวิจัยเพื่อพัฒนาพืชกลุ่มนี้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสมุนไพรพื้นบ้านบน พื้นที่สูง ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านหรือพืชป่าและมีอยู่จำนวนมากในเขตพื้นที่รับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง จากการศึกษาเบื้องต้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิโครงการหลวงพบว่า เฉพาะในพื้นที่ดอยอ่างขางแห่งเดียว ซึ่งมีชาวเขา 5 เผ่าอาศัยอยู่ คือจีนฮ่อ, ไทใหญ่, มูเซอ, เย้า และปะหล่อง เฉพาะชาวปะหล่องเผ่าเดียวมีการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นถึง 228 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นพืชอาหาร 88 ชนิด และเป็นพืชยาถึง 51 ชนิด

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าในจำนวนนี้พืชหลายชนิดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่อาจพัฒนาเป็นพืชเครื่องเทศ และพืชน้ำมันหอมระเหยได้ เช่น ตะไคร้ต้น อีหลืน มะแขว่น พืชบางชนิดมีสารออกฤทธิ์ควบคุมโรคและแมลงได้ เช่น สาบหมา คาวตอง ค้างคาวดำ พืชบางชนิดมีฤทธิ์ทางยา เช่น ผักเชียงดา   ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ดังนั้นพืชท้องถิ่นเหล่านี้จึงมีศักยภาพในการพัฒนาในหลายรูปแบบ๕๐สำหรับพืชสมุนไพรที่ทางมูลนิธิโครงการหลวงนำมาปลูกนั้นแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มพืชสมุนไพรและเครื่องเทศเมืองหนาว   และพืชสมุนไพรพื้นบ้านบนพื้นที่สูง โดยมีพันธุ์พืชที่ทดลองปลูกดังนี้คือ

  1.  พืชสมุนไพรและเครื่องเทศเมืองหนาว ได้แก่ ตังกุย คาโมมาย ซอเรล ไชว์ อิตาเลี่ยน พาร์สเลย์เลมอนบาล์ม มาร์จอแรม มินต์ ออริกาโน่ โรสแมรี่ เสจ ทายม์ เจอราเนียม ลาเวนเดอร์ และสวีทเบซิล
  2.  พืชสมุนไพรพื้นบ้านบนพื้นที่สูง ได้แก่ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หอม กะตังใบ กะตังแดง กระเม็งกำลังเสือโคร่ง โกฐจุฬาลัมพา ไข่ปู (หนามไข่ปู หรือมะหู้ไข่ปู) ครามป่า (ครามขาว) ต่างไก่ป่า ทะโล้ (สารภีดอย หรือมังตาน) ปัญจขันธ์ (เบญจขันธ์) ปิ้งขาว ผักบุ้งส้ม ผักไผ่ดอย ผักแพวแดง พุทธรักษา เพี้ยกระทิง (สะเลียมดง) ไพลดำ รางจืดเถา (หนำแน่) ว่านท้องใบม่วง ส้มผด สาบแร้งสาบกา สาบเสือ สาบหมา สามร้อยยอด สีฟันคนทา หญ้าถอดปล้อง หญ้าเอ็นยืด อัคคีทวาร อูนป่า เอื้องหมายนา และฮ่อมช้าง

ในปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงได้มีการนำสมุนไพรที่ปลูกได้ในโครงการมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แชมพู – ครีมนวดผม, โลชั่น, ยาสีฟัน, สบู่, ยาระงับกลิ่นปาก, น้ำยาบ้วนปาก, เจลบรรเทาปวด,รอยัลบาล์ม, น้ำมันหอมนวดตัว, สเปรย์บรรเทาปวด, สเปรย์ระงับกลิ่นเท้า, สมุนไพรไล่ยุง และน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

บทความนี้ผมตัดตอนมาให้อ่านเพียงบางส่วนเท่านั้นนะครับ หากสนใจสามรถ ดาวโหลดไฟล์ PDF มาอ่านได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ  http://www.firstroyalfactory.org/download/book/6.pdf   โดยเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้เริ่มตั้งแต่หน้า 53

“ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน” ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าผู้จัดทำเว็บ ไทยสมุนไพร.net

 

แจกหนังสือ “คู่มือสมุนไพรไทย”

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน แจกหนังสือ “คู่มือสมุนไพรไทย”
ก.ย. 092013
 

พอดีผมมีโอกาศได้เข้าไปหาข้อมูลใน Website ของ สำนักงานพระพุทธศาสนา บังเอิญไปเห็นว่ามีการแจก E-book เล่มหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อเต็มๆของหนังสือเล่มนั้นคือ  คู่มือสมุนไพร โครงการสวนสมุนไพรในวัด (พรรณไม้ ๗๖ จังหวัด) ชื่อยาวนิดนึง หน้าปกเป็นดังในรูปครับ

คู่มือสมุนไพร

หนังสือสมุนไพร

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อหาข้างในดีมากๆ มีมากถึง 171 หน้า โดยแบ่งออกหมวดหมู่น่าสนใจเช่น แบ่งชื่อสมุนไพรตามตัวอักษร และที่น่าสนใจคือมีการบอกว่าจังหวัดนั้นๆมีสมุนไพรอะไรที่ขึ้นชื่อ อย่างในรูปเป็นสมุนไพร ที่ชื่อสีเสียดแก่น เป็นไม้สมุนไพรประจำจังหวัด กำแพงเพชร  จริงๆแล้วตั้งใจว่าเนื้อหาทั้งหมดจะทยอยนำมาเผยแพร่ที่ web ไทยสมุนไพร.net แห่งนี้นะครับ แต่ถ้าใครอยากได้ไปศึกษา ก็สามารถโหลดทั้งเล่มได้ที่ลิ้งค์นี้เลยนะครับ (ดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อเปิดไฟล์ หรือ คลิ๊กขวาแล้วเลือกsave as)

 

http://www.onab.go.th/e-Books/Herbal50.pdf

ยังไงต้องขอขอบคุณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ได้จัดทำหนังสือดีๆเป็นวิทยาทานแก่คนที่รักในสมุนไพรไทย ทุกท่าน ขอบพระคุณมากครับ

ความหมาย และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรไทย

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน ความหมาย และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรไทย
ก.ย. 222012
 

สมุนไพรไทย หมายถึง สมุนไพรของไทยที่มีสรรพคุณ ในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ

ความหมายของสมุนไพรไทย

–  และการที่นำเอาสมุนไพร ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป มาผสมรวมกัน ซึ่งจะเรียกว่า “ยา”

– ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้ว ยังอาจประกอบด้วยสัตว์ และ แร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบ    ของยานี้ว่า “เภสัชวัตถุ” เช่น เกลือ

– พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระวาน จันทน์เทศ หรือกานพลู  เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า “เครื่องเทศ”

 

“พืชสมุนไพร” หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพร จำแนกออกเป็น 5 ลักษณะคือ

1. รูป หมายถึงลักษณะภายนอกเช่น  เปลือก แก่น กระพี้  ราก เมล็ด ใบ ดอก

2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีอะไรเช่น สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ

3. กลิ่น ให้สามรถรับรู้ได้ว่ามีกลิ่น กลิ่นหอม กลิ่นฉุน  หรือกลิ่นอย่างไร

4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว  รสจืด รสฝาด รสเย็น

5. ชื่อ ต้องรู้ว่พืชสมุนไพรนั้นมีชื่อว่าอะไร  เช่นรู้ว่า กระชายเป็นอย่างไร ใบหนาดเป็นอย่างไร

ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพรทีมีการนำมาใช้ประโยชน์

ส่วนต่างๆของพืชสมุนไพร

1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่น กระชาย ขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.1 รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น

1.2 รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็น

รากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น

2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช

แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น

1. ประเภทไม้ยืนต้น

2. ประเภทไม้พุ่ม

3. ประเภทหญ้า

4. ประเภทไม้เลื้อย

3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า”คอลโรฟิลล์”อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น

ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ

1. ตัวใบ

2. ก้านใบ

3. หูใบ

ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน

2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว  มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น

4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก

ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ

1. ก้านดอก

2. กลีบรอง

3. กลีบดอก

4. เกสรตัวผู้

5. เกสรตัวเมีย

5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ

1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน

2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า

3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด

มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1. ผลเนื้อ

2. ผลแห้งชนิดแตก

3. ผลแห้งชนิดไม่แตก