สมุนไพร บรรเทาอาการไม่สบาย เป็นหวัด เป็นไข้

 ลดไข้  ปิดความเห็น บน สมุนไพร บรรเทาอาการไม่สบาย เป็นหวัด เป็นไข้
มี.ค. 282016
 

เป็นข่าวที่น่ายินดี เมื่อปรากฏว่ามีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งมาได้จังหวะให้กำลังคนไทยที่กำลังรู้สึกว่ากำลังเผชิญปัญหาภัยแล้ง อย่างเช่นที่ สุพรรณบุรี ถึงขั้นแห่นาคกันกลางสายฝน แบบเย้ยฟ้าท้าอากาศ เป็นการแสดงออกถึงความสุขความพอใจที่ฝนหยาดโปรดลงมาให้ได้สัมผัส เป็นครั้งแรกในรอบปี ! ส่วนที่พัทยา ก็มีพายุฤดูร้อนที่ทำเอาฝนตกนานเป็นชั่วโมง และยังมีที่อื่นๆ ที่มีฝนตกลงมาด้วย ก็ถือว่าทำให้คนในหลายพื้นที่ใจชื้นขึ้น เมื่อฝนหลั่งลงมารดแผ่นดินให้หายแห้ง หลังจากมีสภาพภัยแล้วเกิดมานานหลายเดือน…

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะการไม่มีน้ำเป็นอะไรที่น่าวิตกกังวลมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมเรื่องของสุขภาพ การที่ฝนกระหน่ำลงมา แบบฉับพลัน เป็นเรื่องที่ทำให้คนเราเจ็บไข้ได้ป่วยได้เช่นกัน เนื่องเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ร่างกายปรับตัวรับสภาพไม่ทันทำให้เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งเรื่องนี้เราสามารถใช้สมันไพรในการป้องกันและบรรเทารักษาอาการได้ เป็นเรื่องที่ควรเตรียมและหาความรู้เอาไว้เนิ่นๆ รับมือยามสภาพอากาศเปลี่ยน และสามารถใช้ได้ทุกฤดูหากมีอาการเจ็บป่วย

พืชสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการไม่สบาย เป็นหวัดเป็นไข้ มีอยู่หลายอย่าง เช่น

ตะไคร้แห้ง หวัด

ตะไคร้แห้ง หวัด

 

 

ตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถใช้ลดอาการเป็นหวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราสามารถนำมาต้มน้ำสูดดมไอระเหย หรืออาจจะนำมาเป็นส่วนผสมของอาหาร หรือแม้แต่ใช้ตะไคร้แห้งนำมาชงดื่มเป็นชาสมุนไพรก็ได้

 

 

กระเทียม เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่น่าใช้ในเวลาที่มีอาการเป็นไข้หวัด เจ็บคอ เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี ทำให้ไข้ลด ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ บำรุงร่างกาย ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หากไม่ชอบกลิ่น สามารถเลือกรับประทานกระเทียมบดเป็นผงบรรจุแคปซูลก็ได้

ขิง หวัด

ขิง หวัด

 

ขิง เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม และมีรสร้อน ช่วยทำให้รู้สึกโล่งเวลารับประทาน ลดอาการเป็นหวัด แก้ไอ ขับเหงื่อ ลดไข้ ทำให้หายใจโล่ง และขับลมภายในท้อง สามารถรับประทานสด หรืออาจใช้เป็นขิงแห้ง หรือบดเป็นผงนำมาชงดื่มเพื่อรักษาอาการได้

 

 

ใบกระเพรา เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่น่าสนใจ เพราะนอกจากมันจะมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยทำให้จมูกโล่งได้แล้ว กระเพรายังมีสรรพคุณฆ่าเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้อาการไม่สบายดีขึ้นได้เร็ว สามารถใช้ได้ทั้งสดและแห้ง

นี่เป็นสมุนไพรที่ควรทำความรู้จัก เพื่อที่เราจะได้ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยไม่สบายในยามฝนมาฟ้ามืด อากาศเปลี่ยนรวดเร็ว และที่สำคัญควรรักษาสุขภาพ อย่าดีใจถึงขนาดเห็นฝนตกลงมาแล้วไปยืนตากฝนฉลองเลย มันเสี่ยงที่จะไม่สบายเปล่าๆ

บอระเพ็ด สุดยอดยาอายุวัฒนะ

 พืชสมุนไพร, ยาอายุวัฒนะ, ลดไข้  ปิดความเห็น บน บอระเพ็ด สุดยอดยาอายุวัฒนะ
ต.ค. 272012
 

สมุนไพรไทยของเรามีอยู่หลายชนิด วันนี้เรามีสมุนไพรชนิดหนึ่งมาแนะนำ เป็นสมุนไพรที่แค่ได้ยินชื่อหลายคนอาจเข็ดขยาดกับความขมของมัน พืชชนิดนั้นคือ บอระเพ็ดนั่นเองครับ แต่ภายในความขมของบอระเพ็ดนั้น แฝงด้วยสรรพคุณหลายๆอย่างโดยเฉพาะสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ถ้าไม่เชื่อมาลองดูกัน

บอระเพ็ดชื่อวิทยาศาสตร์  Tinospora crispa (L.)Miers ex Hook.f.& Thomson  ชื่อยาวมาก ไว้วันหลังจะพูดถึงหลักการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชสมุนไพรไพรไทย
และพืชอื่นๆให้ฟังนะครับ)
เป็นพืชวงศ์          Menispermaceae
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   เถาหัวด้วน (ภาคกลางแถวสระบุรี) หางหนู จุ่มจะลิง (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม(ภาคอิสาน หนองคาย) เครือกอฮอร์ (ภาคอิสาน อุดรธานี)

ลักษณะทั่วไปของบอระเพ็ด
เป็นไม้เถาเลื้อย เถาค่อนข้างกลมขนาดของเถาเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยจะมีปุ่มรอบๆเถาสีดำ รสขมมาก(มากแบบมากจริงๆนะครับ) ใบของบอระเพ็ดเป็นรูปหัวใจ ปลูกง่ายตามข้างรั้ว หรือเลื้อยพันกับต้นไม้ใหญ่

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ราก   ถอนพิษไข้
ต้น    ลดไข้เช่นเดียวกับราก  บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลในร่างกาย นอกจากนี้ตามตำราสมุนไพรไทยกล่าวว่า สามารถช่วย บำรุงกำลัง และยังเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย

วิธีใช้บอระเพ็ดเป็นยาอายุวัฒนา
เนื่องจากว่าส่วนต้นของบอระเพ็ด มีความขมมาก จะรับประทานสดสด คงไม่ไหม ต้องมีวิธีปรุงยาสมุนไพรไทยก่อน ขอแนะนำสามวิธีดังนี้
1. ใช้เถาบอระเพ็ดหั่นแล้วตากแห้ง จากนั้นบดเป็นผงผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนนอนวันละ 3-5 เม็ด
2. สำหรับคนที่ไม่แพ้แอลกลอฮอร์ ใช้เถาสดดองเหล้า โดยจะใช้บอระเพ็ดสดประมาณ 2 ขีดหั่นเป็นข้อใส่ในโถเหล้า ส่วนการดื่มให้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารเย็น
3. วิธีนี้ง่ายที่สุด คือนำบอระเพ็ดตากแห้ง แล้วนำมาบดใส่แคปซูล ทานวันละ 2-3 แคปซูลโดยทานก่อนอาหารเช้า เย็น (อาจทานเช้าเย็น มื้อละแคปซูล หรือเช้า 1 เย็น 2 ก็ได้)

วิธีใช้บอระเพ็ดเป็นยาบรรเทาไข้ ลดความร้อน                                                

  1. ใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ประมาณ 15-20 เซนติเมตร (30-40 กรัม) ตำให้แหลกและคั้นเอาน้ำดื่ม (อย่าลืมใส่ถุงมือตอนคั้นนะครับ ขมติดมือไม่รู้ด้วย )หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
  2. ใช้เถาสด ดองเหล้าโรง แนะนำ 20 ดีกรีก็พอ รับประทานเพียงครั้งละ 1 ช้อนชา

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของบอระเพ็ด ใครเลยจะรู้ว่าเจ้าสมุนไพรอย่างบอระเพ็ดเอง อาจเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็อาจเป็นได้

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของบอระเพ็ด ใครเลยจะรู้ว่าเจ้าสมุนไพรอย่างบอระเพ็ดเอง อาจเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็อาจเป็นได้

ต.ค. 162012
 

พูดถึงมะยม แค่พูดชื่อก็เปรี้ยวจี๊ดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้จี๊ดแค่ชื่อ สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยยังจัดว่าจ๊๊ดอีกด้วย (จี๊ด เป็นศัพท์วัยรุ่นนะครับ สำหรับท่านที่ไม่ทันเช่นผม จี๊ดมีความหมายประมาณว่าสุดๆไปเลย อะไรทำนองนี้) และด้วยความที่มะยมเป็นของหาง่าย ปลูกง่าย มะยมจึงจัดว่าเป็นพืชยอดนิยมเหมือนชื่อของมัน วันนี้เองผมจึงอยากแนะนำให้รู้ทุกท่านได้รู้จักมะยมกัน อย่างชนิดที่เรียกว่าหมดเปลือก(จริงๆมะยมก็ไม่มีเปลือก) มาดูว่าสรรพคุณของมันมีมากน้อยเพียงใด จี๊ด ดังที่ผมกล่าวไว้ในตอนแรกหรือเปล่า

ชื่อต่าง ๆ ของมะยม

มะยมชื่อโดยทั่วไป  มะยม  Star gooseberry  สังเกตุชื่อในภาษาอังกฤษตรงคำว่าเบอร์รี่ (berry)  ฝรั่งนี่ก็แปลกเห็นอะไรลูกเล็กๆ เล่นเรียก เบอร์รี่ ไปหมดทุกลูก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Phyllanthus acidus Skeels

ชื่ออื่นๆตามท้องถิ่น    หมากยม (ภาคอิสาน)    ยม  (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไปของต้นมะยม

  • ลำต้น มะยมเป็นไม้ยืนต้น แบบต้นเตี๊ยหน่อย ก้สักสามเมตร แบบสูงสุดเท่าที่เคยเห็น ก็เกือบสิบเมตรได้ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงปลายยอด กิ่งมะยมค่อนข้างเปราะ และแตกง่าย เปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบมะยม ใบของมะยมเป็นใบย่อย ออกเรียงแบบสลับกันเป็นสองแถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ขอบใบเรียบ (ยังจำก้านมะยมได้ไหม ตอนเด็กๆใครเคยโดนมั่ง)
  • ดอก ดอกมะยมออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยจะมีสีเหลืองอมน้้าตาล
  • ผลมะยม หรือลูกมะยม จะออกเป็นช่อตามกิ่ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือขาวแกมเหลือง หลุดจากช่อได้ง่าย

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะยม

  • รากของมะยม  ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ซับน้ำเหลืองจากแผลให้แห้ง ดับพิษเสมหะ แก้ประดง*

* เพิ่มเติมข้อมูล โรคประดง คือ โรคผื่นคันตามผิวหนังหรือที่เรียกกันติดปากว่า “โรคประดง” ลักษณะของผื่น มีหลายแบบ เช่นอาจขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ คล้ายยุงกัดทั่วตัว หรือเป็นผื่นแดงเล็กๆ หรือขึ้นเป็นทางตามตัว  ผื่นเม็ดเล็กสีค่อนข้างขาว   หรือผื่นขึ้นคล้ายลมพิษ   (ข้อมูลจาก http://www.numsai.com)

  • เปลือกของลำต้น  ใช้แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ (สองอาการนี้น่าจะต่างกันที่ลำดับก่อนหลัง ของรอบเดือน และอาการไข้)และ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบ  ใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท โดยต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย และใบมะเฟือง อาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคตา ชำระล้างดวงตา (สูตรนี้ไม่แนะนำนะครับ เรื่องของดวงตา อยากให้รักษาด้วยแผนปัจจุบันมากกว่า แต่ลงพอให้ทราบว่าว่าตำรายาสมุนไพรไทยสมัยก่อน เขามีสูตรนี้)
  • ผล ใช้กัดเสมหะ (ขับเสมหะ )แก้ไอ บำรุงโลหิต และเป็นยาระบาย

สูตรยาสมุนไพรไทยจากมะยม

  1. สูตรยาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ใช้ราก 1000 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร โดยต้มให้เดือด 5-10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นใช้แช่อาบ (จะแช่ในกะละมัง หรืออ่างจากุ๊ดชี่ก็ตามสะดวก) ทำควบคู่ไปกับใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาวันละ 2-3 ครั้ง
  2. สูตรยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ ใช้ผลแก่ดองในน้ำเชื่อม (น้ำ 1ส่วนน้ำตาล 3 ส่วน) ดองจนครบสามวัน ทะยอยทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. สูตรยาลดความดันโลหิต ใช้ใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วม เติมน้ำตาลเล็กน้อยพอดับเฝื่อน ต้มให้เดือนาน 5 นาที แล้วดื่มควบคู่กับการวัดความดันไปด้วย เมื่อความดันเป็นปรกติ ต้องหยุดทาน  (เรื่องความดันโลหิตเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ผมอยากให้สูตรนี้เป็นทางเลือกในการรักษามากกว่า หากท่านใดกำลังรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ควรหยุดยาที่แพทย์จ่าย)

ข้อควรระวัง

น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมมีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปอาจมีอาการปวดท้อง ปวดศรีษะ และง่วงซึม ต้องระวังเรื่องยางจากเปลือกรากให้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก   thai Wikipedia ,หนังสือ สมุนไพรก้นครัว กินแล้วไม่ป่วย ภาพประกอบจาก biogang

ต.ค. 152012
 

วันนี้เราจะพามารู้จักพืชผักสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งกัน นั่นก็คือผักโขม หรือผักขมนั่นเองครับ ผักโขมนั้นมีหลายชนิด พอที่จะแยกได้ดังนี้

  •    ผักโขมบ้าน เป็นผักโขมชนิดที่ใบกลมเล็ก มีลำต้นขนาดเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบมีสีเขียวเหลือบแดง
  •    ผักโขมหนาม มีลำต้นสูง ใบใหญ่ จะมีหนามที่ช่อของดอก จึงเป้นที่มาของชื่อ ผักโขมหนาม ใช้เฉพาะส่วนยอดอ่อนมาประกอบอาหาร
  •    ผักโขมสวน ใบมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกแล้ว จะมีสีแดงอมม่วง
  •    ผักโขมจีน เป็นผักโขมที่มีต้นใหญ่ ใบเป็นสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ใบสดมีรสเผ็ด และมีกลิ่นฉุน


แต่ถ้าจะบอกว่าชนิดไหนเป็นที่นิยม ก็คงจะเป็น ผักโขมสวน เพราะมีใบที่โต และอ่อนนุ่ม รสชาติดี และมีคุณค่าทางอาหารทีสูงเอาเรื่อง เพราะในผักโขม อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด กรดโฟเลต วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และโปรตีน นี่แค่ย่อยๆ ที่เด็ดกว่านั้นล่ะ เรามาดูกัน

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

  1. ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
  2. ผักโขมมีสาร ซาโปนิน(Saponin)ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล ในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
  3. วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็น และช่วยบำรุงสายตา
  4. วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
  5. ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

นอกจากผักโขมจะมีคุณค่าในด้านสารอาหารต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผักโขมยังมีคุณค่าในด้านสมุนไพรไทยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งตำราประมวลสรรพคุณยาไทย ของ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ได้กล่าวถึงประโยชน์ด้านสมุนไพรไทยของผักโขมเอาไว้ดังนี้

ผักโขมหัด(น่าจะเป็นผัโขมบ้าน) ใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนใน แก้ไข้ต่างๆ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี

ผักโขมหนาม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

การนำผักโขมไปใช้ ประกอบอาหาร  

แกงเลียงผักโขมถ้าจะให้พูดคงหลายเมนู ยกตัวอย่างที่เด็ดๆแล้วกันนะครับเช่น ผักโขมผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักโขมหมูบะช่อ สลักผักโขม ซุปผักโขม ยำผักโขม นำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆก็อร่อย นี่แค่อาหารไทย ถ้าใครไปทานในร้านพิซซ่า ก็จะเจอเมนูผักโขมอบชีส อันนี้ผมเคยลองแล้ว อร่อยไม่เบา อ้อลืมบอกในสมัยก่อน(จนถึงปัจจุบัน) นิยมทำแกงเลียงผักโขมให้แม่ที่พึงคลอดรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าช่วยบำรุงเลือดและ เรียกน้ำนม ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะในผักโขมอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงสามารถช่วยตรงนี้ได้

 

ต.ค. 142012
 

รางจืด สมุนไพรไทยชนิดนี้มีพูดถึงกันมาก และค่อนข้างแพร่หลาย โดยเฉพาะในเรื่องของการล้างสารพิษในร่างกาย และการล้างสารพิษจากยาฆ่าแมลงต่างๆ นับว่าน่าสนใจทีเดียวกับวิถีชีวิต (life style) ของคนสมัยนี้ ที่ต้องผจญกับมลภาวะมากมาย เรามารู้จักกับสมุนไพรไทยชนิดนี้กันดีกว่านะครับ

ชื่อและลักษณะของรางจืด

รางจืดชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Thumbergia laurifolia Lindl.

ชื่อวงศ์ : Acanthaceae

ชื่อตามแต่ละภูมิภาค : กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว (ภาคกลาง) ฮางจืด (ภาคเหนือ)

ลักษณะของต้นรางจืด

เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง ใบลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบย่านาง ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ผล เป็นฝัก กลม ปลายเป็นจะงอยเมื่อออกผลจะแตกเป็น 2 แฉก ปัจจุบันนี้นิยมปลูกไว้ในบ้าน ให้ขึ้นตามรั้วหรือทำเป็นไม้กระถาง

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ใบและราก  ใช้พอกบาดแผลหรือเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร หรือพิษเบื่อเมา (อาการที่เกิดหรือดื่มเหล้ามากเกิน)

ใช้ราก ถอนพิษเบื่อเมา ถ้าให้ได้ผลดีต้องมีอายุเกิน 1 ปี ขึ้นไป ใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ นำมาฝนกับน้ำซาวข้าว จะทำให้พิษเจือจางและถอนพิษออก

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ พิษเบื่อเมาจากการรับประทานของแสลง ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ นำมาตำให้ละเอียดคั้นน้ำซาวข้าวดื่มทุกๆ 2 ชั่วโมง

 รางจืดกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์      

นอกจากสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยแล้ว ทุกวันนี้มีการวิจัยลงลึกไปกว่านั้น ในด้านสรรพคุณของรางจืด ลองมาดูนะครับว่ามีงานวิจัยสรรพคุณของรางจืดอย่างไรบ้าง

รางจืด เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า สามารถบรรเทาอาการท้องร่วง ท้องเสีย  ลดอาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ เช่นกรณีมีการวางยาสุนัขก็มีการเอารางจืดมาแก้พิษ แก้พิษจากสารเคมีในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษสารเคมีต่างๆ  พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ผมคิดเล่นๆนะครับหากตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่พนักงานต้องเผชิญสารพิษ น่าจะทำเป็นสวัสดิการ แจกสมุนไพรจากรางจืดให้พนักงานคงดีไม่น้อย (แต่การแก้ที่แหล่งกำเนิดที่ปล่อยสารเคมี ก็ยังเป็นวิธีที่ผมเห็นด้วยมากกว่า)

ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลากหลายเช่น ชาจากรางจืด นำสกัดต่างๆ  ใบรางจืดอบแห้ง กระทั่งทำเป็นแคปซูลเลยก็มี ลองหาดูได้ตามงาน OTOP ต่างๆน่าจะหาได้ไม่ยาก

สุดท้ายเป็นเรื่องของความเชื่อการดื่มเหล้า ว่าหากนำรางจืดมาเคี้ยวเพื่อดับฤทธิ์แอลกอฮอล์ เพื่อทำให้ดื่มได้นานขึ้น พูดง่ายคือทำให้คอแข็งว่างั้นเถอะ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อนและความเชื่ออันนี้ผมไม่ค่อยจะแนะนำเท่าไหร่ หากสนใจจะรักษาสุขภาพจริงๆ ไม่ดื่มเหล้าจะดีกว่า หรือดื่มก็พอประมาณกับสุขภาพ และเงินในกระเป๋าจะดีกว่า

ทั้งหมดนี้คือเรื่องของรางจืด สมุนไพรไทยที่นำมาฝากกัน

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ต.ค. 042012
 

ครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องตะไคร้กัน พอพูดถึงตะไคร้ แล้วคุณนึกถึงอะไร  บางคนอาจนึกถึง ยำปลาทูใส่ตะไคร้ พูดแล้วน้ำลายไหล บางคนอาจจะนึกไปไก ลถึงเรื่องเล่าที่ว่าที่ว่า

ตะไคร้ หรืือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า lemon grass

หากไม่ต้องการให้ฝนตก ให้เอาตะไคร้ มาปักกลับหัว !  ขำขำนะครับ ประเด็นนี้ ถ้ามันจะตกจริงผมว่า เอาตะไคร้มาทั้งกอก็เอาไม่อยู่   แต่ไม่ว่าคุณจะนึกถึงอะไร ไม่สำคัญ ตะไคร้ ก็ย่อมเป็นตะไคร้อยู่วันยังค่ำ มีคุณค่าในตัวของมันเอง
ซึ่งนอกจากการ ประกอบอาหาร ตะไคร้เอง ก็มีสรรพคุณในด้านการเป็น ” สมุนไพรไทย ” อยู่มากทีเดียว จากการหาข้อมูล ใครจะเชื่อว่าตะไคร้ จะถูกเอาไปทำเป็น สมุนไพรได้ถึง 5 สูตร น่าสนใจใช่ไหมล่ะครับ ก่อนที่เราจะพูดถึงสูตรเด็ดทั้งห้านั้น ตอนนี้เรามารู้จักกับ ตะไคร้ กันก่อน

 

ชื่อสามัญ   LEMON GRASS (LEMON = มะนาว  ,GRASS =หญ้า รวมกันเป็นหญ้ามะนาว เออฝรั่งเข้าใจตังชื่อดีนะครับ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้    Cymbopogon citratus Stapf

ชื่อวงศ์                                   Graminease

ชื่อแตละท้องถิ่น                    จะไคร (ทางภาคเหนือ)  ไคร (ภาคใต้)

ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุก (ขนาดพืชยังล้มแล้วลุก ทำไมคนเราล้มแล้วจึงไม่ลุก) อยู่รวมกันเป็นกอ มีข้อและปล้องสั้น ค่อนข้างเข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนจะมีใบเรียงซ้อนกันหลาชั้น ใบมีกาบใบเป็นแผ่นยาวโอบซ้อนกันจนแข็งจนคล้ายลำต้น ตัวใบเรียวยาว แหลม กว้างประมาณ 1-2 ซม.ยาวเต็มที่ได้ถึง 80 ซม. เนื้อใบหยาบมีขนอยู่ทั่วไป ขอบใบค่อนข้างคม เวลาจับใช้คามระมัดระวังด้วยนะครับ ผมเคยโดนบาดมาแล้ว  อ้ออีกอย่างตะไคร้มีดอกด้วยนะครับเวลาออกดอกเป็นช่อยาวมาก ซึ่งประกอบด้วยช่อย่อยที่มีดอกขนาดเล็กๆเป็นจำนนมาก มีขนที่ก้านดอก

เอาล่ะครับเมื่อรู้จักตระไคร้กันแล้ว เรามารู้จักสูตรเด็ด สมุนไพรไทยจากตะไคร้กันบ้าง

สุตรที่ 1 ใช้ตระไคร้เป็นสมุนไพรไทย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ  ท้องอืด ท้องเฟ้อใครไม่เคยเป็นยกมือขึ้น ไม่มีใครยกแสดงว่าเตยเป็นกันทุกคน แน่นอนครับอาการนี้ ไม่ว่าจะสาเหตุทานมากไป หรืออาหารไม่ยอมย่อย ก็ย่อมสร้างความอึดอัดแก่เราได้  บางคนอาจจะบอกว่าสมัยนี้ยามีเยอะแยะ เดินไปซื้ออีโนก็จบแล้ว อันนั้นผมไม่เถียง แต่ถ้าเรามีเลือกอื่น ที่เป็นทางเลือกจากธรรมชาติมากกว่าการใช้สารเคมี เราจะไม่ลองดูบ้างหรือ

น้ำตะไคร้ ใช้เป็นยาสมุนไพรไทยรักษา อาการท้องอืด ท้องเฟ้อวีธีใช้สมุนไพร   แค่คุณเอาตะไคร้มาทุบแหลกๆ ใช้ประมาณ  1 กำมือ เอาแบบตัวเลขแม่นๆก็ประมาณ 40-60 กรัม จากนั้นนำมาต้มกับน้ำประมาณ  2 แก้วโดยต้มสัก 4-5 นาที  จะทานร้อนๆ หรือเพื่อพิ่มรสชาติโดยการเติมน้ำตาลสักนิดแล้วตู้เย็นไว้ทานเย็นก็ได้ โดยแบ่งทานครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร

 

สุตรที่ 2 ใช้ตระไคร้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน   นอกจากการทานยาลดไข้เวลาเราไม่สบายแล้ว ตระไคร้ก็สามรถลดไข้ ลดอุณภูมิของร่างกายได้ (แต่ถ้าไข้สูง แนะนำให้พบแพทย์นะครับ)

 วิธีใช้สมุนไพร  ในสูตรนี้นอกจากตะไคร้แล้ว จะมีการใช้เหง้าขิงร่วมด้วย โดยที่ ใช้ขิงและตะไคร้ อย่างละ ¼ แก้ว และใช้น้ำ 3 แก้ว จากนั้นตั้งไฟเคี่ยวไปเรื่อยๆด้วยไฟอ่อนจนให้น้ำงวดลงจนเหลือ ประมาณ 2 ใน 3    เวลาทานก็ทานทีละ 1/3  แก้ว วันละ  3-4 ครั้ง

 

สุตรที่ 3  ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน   หลายคนอาจจะบอก่าผู้เขียนเป็นผู้ชาย จะมาเข้าใจอะไรในอาการนี้ขอผู้หญิง แน่นอนครับผมอาจจะไม่เคยปวดประจำเดือน  แต่ฟังจากคำบอกเล่า ของคุณแฟนแล้ว ก็พอเข้าใจครับว่ามันทรมานขนาดไหน

วิธีใช้สมุนไพร ใช้ต้นและรากตระไคร้สด 1 กำมือ  หั่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ชงเป็นชากับน้ำร้อนใช้ดื่มต่างน้ำ

 

สูตรที่ 4 บำรุงผมสวยด้วยตะไคร้  มาถึงสูตรนี้เป็นเรื่องความสวยความงามกันบ้าง  สำหรับสาวๆ (หนุ่มๆ) ท่านใดอยากมีผมสวยสุขภาพดี มาลองสูตรนี้ดูกัน

วิธีใช้สมุนไพร  ใช้ต้นบนดินสดๆ ตัดใบทิ้ง (แบบที่เขามัดรมกันขายในตลาดนั่นแหละครับ) ใช้ประมาณ 3-4 ต้น นำมาหั้นแล้วตำให้ละเอียด(หรือปั่นด้วยเครื่องปั่นก็ได้) จากนั้นเติมน้ำสัก 2 ถ้วยแก้ว คั้นเอาแต่น้ำ นำมาโชลมเส้นผมที่สระเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 10-15 นาทีสระออกให้หมด จะช่วยทั้งขจัดรังแค ทำให้เส้นผมดำเงางาม อีกทั้งสำคัญที่สุดคือแก้ในเรื่องผมแตกปลายได้อีกด้วย

 

สูตรที่ 5 รักษาอาการขัดเบา อาการขัดเบา หรือปัสสาวะขัดนั้น ในตำรายาสมุนไพรไทย ก็ได้เขียนเอาไว้จึงนำมาลองให้อ่านดู

วิธีใช้สมุนไพร  สำหรับรักษาอาการขัดเบา ใช้เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 40-60 กรัม ถ้าแห้งก็ 20-30 กรัม ทุบต้มกับน้ำพอควร แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือ จะหั่นตะไคร้คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร ข้อควรระวัง การใช้สมุนไพร ช่วยแก้อาการขัดเบานี้ ไม่ไช้กับคนไข้ที่มีอาการบวมน้ำ

 

เป็นไงครับกับ 5 สูตรที่ได้นำมาฝาก สนใจสูตรไหนก็ลองทำดูได้ไม่เสียหลายนะครับ

ฝากนิดนึงสำหรับคนที่จะนำบทความนี้ไปเผยแพราต่อ ทางเว็บเรายินดีครับ แต่อย่าลืมท้ายบทความช่วยลงลิงค์

http://ไทยสมุนไพร.net เพื่อเป็นเครดิตด้วยนะครับ จะได้มีกำลังใจเขียนบทความดีๆต่อไป

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือสมุนไพรไทยในวัด ,เว้บไซด์ สมุนไพรไทย 200 ชนิด:สมเด็จพระเทพ

 

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้

 ช่วยสมานแผล, พืชสมุนไพร, ลดไข้, แก้ไอ ขับเสมหะ  ปิดความเห็น บน ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้
ก.ย. 292012
 

หากใครจำเหตุกรณ์ เมื่อตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดได้จะพบว่าตอนนั้นมีพืชชนิดหนึ่ง ที่ได้รับกระแสความนิยม นั่นคือสมุนไพรไทยที่ชื่อฟ้าทะลายโจร ถึงขนาดกระทรวงสาธารณะสุขออกมาส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและใช้
และมีการทำยาลักษณะแคปซูลออกมาขายมากมาย วันนี้เรามารู้จักพืชชนิดนี้กันนะครับ

สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall. ex Ness.
สกุล  ACANTHACEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (ชลบุรี) หญ้ากันงู (สงขลา) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) เขยตายยายคลุม (อ.โพธาราม) เมฆทะลาย (ยะลา) เรียกได้ว่ามีชื่อเรียกหลากหลายทีเดียว

ลักษณะของพืชชนิดนี้

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม จะแตกกิ่งก้านออก เฉพาะด้านข้างเท่านั้น กิ่งก้านมีสีเขียว และ จะสูงประมาณ 30-60 ซม.
ใบ ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบ ตรงปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมันมีสี เขียว
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ปลาย ดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรืออมม่วง อ่อนๆ ดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก ที่ปากบน แยกออกเป็น 3 กลีบ ล่าง 2 กลีบ มีกลีบ เลี้ยง 5 กลีบ
ผล คล้ายกับผลของต้นต้อยติ่ง แต่มี ขนาดเล็กและสั้นกว่า ผลนี้จะตั้งมุมก้านดอก เมื่อผลแก่เต็มที่ก็แตกออกเป็นสองซีกทำให้ มองเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบนๆ มีอยู่จำนวนมาก

การขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ ในดินทุกชนิด และจะปลูกได้ทุกฤดูกาลด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น (สด- แห้ง) และใบ

สรรพคุณ

ใบ รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยการนำมาบดผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาตรง บริเวณที่เป็นแผล

ใบและทั้งต้น แก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดิน อาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ทอนซิล แก้ปอด อักเสบ เรียกได้ว่าเรื่องของหวัดไข้ แก้ได้อย่างครบวงจรเลยทีเดียว แก้อาการท้องเดิน โดยใช้ต้น แห้งประมาณ 1 – 3 กำมือเอามาหั่น แล้วต้ม กับน้ำดื่ม ส่วนเป็นยาแก้ไข้นั้นให้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือก่อน อาหารเช้าเย็นและถ้าเป็นโรคภายนอก

วิธีการทำยาเค็ปซูล นำใบมาตากแห้ง บดให้ละเอียด และนำมาบรรจุในแคปซูลเปล่าเพื่อรับประทาน(แคบซูลเปล่าหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป)

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของฟ้าทลายโจร สมุนไพรไทยที่เรานำมาฝากกัน

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี