ก.ย. 152013
 

ใบหม่อน เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณนึกถึงอะไร แน่นอนเมื่อสมัยก่อนคนอาจนึกถึงใบของพืชชนิดชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหม แล้วสมัยนี้ล่ะเขานึกถึงอะไรกัน แน่นอนคันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ชาใบหม่อนชาสมุนไพรไทยนั่นเองนั่นเอง ก่อนที่จะพูดถึงชา เรามาพูดถึงต้นหม่อนกันก่อน

ชื่อสมุนไพร          หม่อน  หรือ mulberry (สังเกตฝรั่งเห็นอะไรเป็นลูกๆเป็นพวงๆ เขาเล่นเรียก berry หมด)
ชื่ออื่นๆ                 มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)   ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn.  ชื่อวงศ์  Moraceae
ใบหม่อนลักษณะของต้นหม่อน

  • ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
  • ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์   ผิวใบสาก  ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
  • ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
  • ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน  นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว เรายังสามารถ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร (นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากหลีกเลี่ยงผงชูรส )หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ  และยังพบอีกว่าหากนำใบหม่อนให้วัวและควายกินสามรถทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน

หลักๆเลยในใบหม่อนนั้นจะมีสารตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยที่ แตกต่างกัน คือ

1.  สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา  (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก  ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง  ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6.สารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (ลองอ่านดูเรื่องเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่ลิงค์นี้นะครับ สารต้านอนุมูลอิสระ

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า

ชาใบหม่อน

จริงก็ไม่มีอะไรมากครับ  โดยที่ให้เราชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส (กะเอาได้ครับคือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่)   จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้ นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

เป็นไงบ้างครับ สำหรับเรื่องดีๆที่นำมาอ่านกันอย่าลื่มลองหาชาใบหม่อน ชาสมุนไพร แบบไทยๆมาทานกันดูบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธ.ค. 262012
 

ผมเองคิดอยู่ตั้งนานว่าจะเขียนถึงสมุนไพรตัวนี้ดีไหม เพราะปัจจุบันมีคนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับมะรุมเอาไว้มากเหลือเกิน รวมถึงมีการทำเป็นยาสารพัดชนิด สรรพคุณก็ว่ากันไปต่างๆนานา ตั้งแต่รักษามะเร็งไปจนถึงเอดส์เลยก็มี ซึ่งบางทีผมว่ามันก็อาจดูเกินจริงไปหน่อย แน่นอนมะรุมเป็นพืชที่ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามันมีการพูดกันจนโอเว่อร์เกินไป ผมก็ว่าแทนที่จะทำให้คนรู้จักสมุนไพรตัวนี้ กลับทำให้สมุนไพรตัวนี้ขาดความน่าเชื่อถือ ผมจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับมะรุม ในแบบที่ควรจะเป็นจริงๆ

มารู้จักมะรุมกันก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

มะรุมชื่อโดยทั่ไป :  มะรุม หรือ Horse radish tree, Drumstick  (คำนี้แปลว่าไม้กลอง สังเกตุต้นมะรุมดู)

ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของมะรุม

  •  ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม
  • ใบ  ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร
  • ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก

เมื่อรู้จักกับมะรุมแล้ว ขออนุญาตพูดถึงมะรุมต่อ ดังที่บอกไปในตอนต้น ปัจจุบันมีคนพูดถึงมากเหลือเกินโดยเฉพาะบรรดาบริษัทผลิตอาหารเสริมต่างๆที่มีการนำมะรุมมาแปรรูปเป็นแคปซูลสกัด ในกรณีที่ทำเป็นแคปซูลโดยบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรณีนี้ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าเป็นกรณีที่บอกว่าใช้เป็นยารักษาสารพัดโรคล่ะก็ อันนี้ต้องคุยกันยาว เพื่อตอบข้อสงสัยผมขอเขียนลักษณะถามตอบเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการจับประเด็นก็แล้วกันครับ

มะรุมเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงจริงหรือ ?

ข้อนี้ตอบว่าจริงครับ อันนี้ยอมรับเลยมะรุมมีแร่ธาตุและสารอาหารหลายชนิด โดยที่ฝักมะรุม  100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

มะรุมรักษาโรคเอดส์ได้จริงหรือไม่ ? ตอบว่ายังไม่มีการศึกษาในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ  สรรพคุณของมะรุมมีแต่เพียงว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น ดังนั้นสำหรับผู้ป่วย HIV ยาต้านไวรัสที่คุณหมอจัดให้ ยังคงจำเป็นอยู่

มะรุมรักษาเบาหวานได้หรือไม่ ? ไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่รักษาเบาหวานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มะรุมสามรถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับพืชสมุนไพรหลายชนิดเช่นมะระ แต่หากมีอาการเบาหวานจริงๆ การรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันยังคงดีที่สุด

สรรพคุณของมะรุมจริงๆแล้วคืออะไร

หากท่านได้ลองค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจจะพบมีการอ้างประโยชน์ของมะรุมมากกว่านี้ แต่ผมจะนำเสนอเฉพาะประเด้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามะรุมมีสรรพคุณในข้อนั้นจริง ๆ ส่วนประเด็นที่ยังเป้ข้อสงสัยและถกเถียงผมจะขออนุญาตไม่นำเสนอ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ (มีการทดลองใช้ในประเทศแถบแอฟริกาที่มีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการ )

2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงดังที่กล่วไป แต่ต้องความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

3. สามรถลดความดันโลหิตได้

4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

5. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง (เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด)

6. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

7. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

8.บำรุงสายตา (เนื่องจากวิตามินเอในมะรุม)

สุดท้ายอยากจะฝากนิดนึงนะครับ ว่ามะรุมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณค่าในตัวมันอยู่แล้ว แต่ผมอยากให้มองว่ามะรุมเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ดีกว่าการมองมะรุมเป็นยาที่มีความพิเศษหรืออัศจรรย์ หรือหากจะมองเป็นยาจริง ก็ขอให้มองเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อสุขภาพที่ใช้ควบคู่กับการรักษาในกระแสหลักจะเป็นการดีที่สุด

ต.ค. 152012
 

วันนี้เราจะพามารู้จักพืชผักสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งกัน นั่นก็คือผักโขม หรือผักขมนั่นเองครับ ผักโขมนั้นมีหลายชนิด พอที่จะแยกได้ดังนี้

  •    ผักโขมบ้าน เป็นผักโขมชนิดที่ใบกลมเล็ก มีลำต้นขนาดเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบมีสีเขียวเหลือบแดง
  •    ผักโขมหนาม มีลำต้นสูง ใบใหญ่ จะมีหนามที่ช่อของดอก จึงเป้นที่มาของชื่อ ผักโขมหนาม ใช้เฉพาะส่วนยอดอ่อนมาประกอบอาหาร
  •    ผักโขมสวน ใบมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกแล้ว จะมีสีแดงอมม่วง
  •    ผักโขมจีน เป็นผักโขมที่มีต้นใหญ่ ใบเป็นสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ใบสดมีรสเผ็ด และมีกลิ่นฉุน


แต่ถ้าจะบอกว่าชนิดไหนเป็นที่นิยม ก็คงจะเป็น ผักโขมสวน เพราะมีใบที่โต และอ่อนนุ่ม รสชาติดี และมีคุณค่าทางอาหารทีสูงเอาเรื่อง เพราะในผักโขม อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด กรดโฟเลต วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และโปรตีน นี่แค่ย่อยๆ ที่เด็ดกว่านั้นล่ะ เรามาดูกัน

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

  1. ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
  2. ผักโขมมีสาร ซาโปนิน(Saponin)ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล ในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
  3. วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็น และช่วยบำรุงสายตา
  4. วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
  5. ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

นอกจากผักโขมจะมีคุณค่าในด้านสารอาหารต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผักโขมยังมีคุณค่าในด้านสมุนไพรไทยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งตำราประมวลสรรพคุณยาไทย ของ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ได้กล่าวถึงประโยชน์ด้านสมุนไพรไทยของผักโขมเอาไว้ดังนี้

ผักโขมหัด(น่าจะเป็นผัโขมบ้าน) ใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนใน แก้ไข้ต่างๆ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี

ผักโขมหนาม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

การนำผักโขมไปใช้ ประกอบอาหาร  

แกงเลียงผักโขมถ้าจะให้พูดคงหลายเมนู ยกตัวอย่างที่เด็ดๆแล้วกันนะครับเช่น ผักโขมผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักโขมหมูบะช่อ สลักผักโขม ซุปผักโขม ยำผักโขม นำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆก็อร่อย นี่แค่อาหารไทย ถ้าใครไปทานในร้านพิซซ่า ก็จะเจอเมนูผักโขมอบชีส อันนี้ผมเคยลองแล้ว อร่อยไม่เบา อ้อลืมบอกในสมัยก่อน(จนถึงปัจจุบัน) นิยมทำแกงเลียงผักโขมให้แม่ที่พึงคลอดรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าช่วยบำรุงเลือดและ เรียกน้ำนม ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะในผักโขมอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงสามารถช่วยตรงนี้ได้

 

ต.ค. 102012
 

หากพูดถึงผลไม้ที่เนื้อในเป็นสีเหลือง หลายคนคงบอกว่ามีเยอะ ถ้าถ้าบอกว่า พืชที่เป็นทั้งผักและผลไม้ และมีสีเหลืองหล่ะ แน่นอนคำตอบคือหัวข้อของเราในวันนี้ ฟักทองนั่นเองครับ สำหรับฟักทองนั้นเราสามารถใช้เป็นผักได้เช่นเอามาแกง อย่างนี้เขาเรียกฟังทองเป็นผัก แต่ถ้าเอามานึ่งทานทำขนม อันนี้จะกลายเป็นผลไม้ทันที แต่ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ ฟักทองนั้นเป้นพืชที่มีคุณค่าสูงตัวหนึ่งที่เราควรทำความรู้จัก ทั้งในแง่ของสารอาหารและในแง่ของพืช สมุนไพรไทย

มารู้จักกับฟักทองกัน

ฟักทองชื่อโดยทั่วไป  ฟักทอง , Pumpkin

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cucurbita maxima Duchesne.

ชื่อวงศ์   CUCURBITACEAE

ชื่อตามภูมิภาคหรือตามท้องถิ่น

หมากอึ (ภาคอิสาน) มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว (เลย) น้ำเต้า (ภาคใต้) หมักอื้อ (เลย-ปราจีนบุรี) หมากฟักเหลือง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า

ลักษณะของฟักทอง

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก(สู้ไม่ถอยอีกแล้ว)  ที่มีลำต้นเป็น เถาอาศัยเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือหลักยึดต่างๆเช่นริมรั่ว หรือค้างที่คนทำไว้ให้  ตามเถาจะมีมือเอาไว้เกาะยึดสิ่งต่างๆ เพื่อความมั่นคงของต้น เถามีขนาดยาว ใหญ่ และมีขน ปกคลุม อยู่ มีสีเขียว

ใบ ออกใบเดี่ยว ตามลำเถา ใบของฝัก ทองเป็นแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ มือ ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ ส่วนยอดของเถา ลักษณะของดอกเป็นรูปกระดิ่ง หรือระฆังสีเหลือง ในดอกตัวเมียเมื่อบานเต็มที่แล้ว จะมองเห็นผลเล็กๆ เป็นกระเปาะติดอยู่ใต้ดอก

ผล มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นพูกลมจะมี ส่วยใหญ่เป็นทรงแบน และมีทรงสูงอยู่บ้าง เปลือกของผลจะแข็ง ผิวลักษณะขรุขระ มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงก็ตามแต่พันธ์ของฟักทอง เนื้อในผลสีเหลือง มีเมล็ดสีขาว  นึกไม่ออกนึกถึงเมล็ดฟักทองตามือ (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่าน ขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)

คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของฟักทอง

เนื่องจากประโยชน์ของฟักทองมีมากมายจริงๆ จึงขอแยกย่อยเป็นข้อๆและคัดมาเฉพาะส่วนสำคัญให้ได้อ่านกัน

1.ฟักทองนั้นเป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำ อาจขัดกับความคิดของหลายๆคน แต่จากการวิจัยเทียบกับพืชชนิดอื่นถือว่าต่ให้พลังงานต่ำ มีไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก (ทานฟักทองเป็นมื้อหลักช่วยควบคุมน้ำหนักได้ แต่ทานฟักทองเป็นของหวาน หลังจากทานข้าวขาหมูเสร็จ ฟักทองไม่ช่วยอะไรนะครับ) อีกทั้งฟักทองยังมีกากไยมากสามรถช่วยระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

2.คาร์โบไฮเดรตในฟักทอง ช่วยรักษาและบรรเทาอาการ แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ในส่วนบนได้ด้วย คนที่เป็นโรคกระเพาะแนะนำเลยครับ ทานฟักทองนึ่งไปไม่ผิดหวัง อาการปวดท้องของท่านจะบรรเทาเบาบาง แบบไม่ต้องพึ่งแอนตาซิล (เชยเนาะสมัยนี้เขาต้อง กราวิสคอนแล้ว) แต่ถ้าเป็นมากๆแนะนำให้หาหมอนะครับ

3.จากการวิจัยพบว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบในผู้สูงอายุได้

4.หากรับประทานฟักทองทั้งเปลือกจะสามรถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย หากขาดสารตัวนี้ หรือการหลั่งอินซูลินผิดปรกติ จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้การรับประทานทั้งเปลือกยัง สามรถควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพได้อีกด้วย

5.ในฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส (แต่ไม่ถึงขั้นขาววิ้งนะครับ)

6.สตรีหลังคลอดบุตรหากทางฟักทอง ซึ่งตามตำราสมุนไพรไทยเขาเรียก”มีฤทธิ์อุ่น” จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง และลดการอักเสบ แก้ปวดได้ดีมากๆ

นี่แหละครับประโยชน์ของผลฟักทอง แต่ยัง ยังไม่หมดนอกจากผลแแล้วส่วนอื่นๆของฟักทองก็มีประโยชน์ไม่น้อย ลองมาดูกัน

  • ใบอ่อนของฟักทอง (ใบแก่ไม่พูดถึงนะครับเพราะทานลำบาก) เชื่อหรือไม่ว่าในใบอ่อนมีวิตามินซีสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง นอกจากนั้นยังมีฟอสฟอรัส สูงกว่าในเนื้อฟักทองเสียอีก
  • ดอกของฟักทอง ในดอกมีวิตามิน A แคงเซียม และฟอสฟอรัส แถมยังมีวิตามินซีด้วยเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน และที่สำคัญยังมีสารที่ชื่อ คิวเคอร์บิตาซิน ( Cucurbitacin ) สารตัวนี้สามรถกำจัดพยาธิจำพวกพยาธิตัวตืดได้อีกด้วย และเมล็ดฟักทองยังมีสรรพคุณขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว และป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้เป็นอย่างดี
  • น้ำมันจากเมล็ดดอกฟังทอง ช่วยบำรุงประสาทได้ดี อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนบางชนิด ที่ป้องกันต่อมลูกหมาก ของท่านชายขยายใหญ่ขึ่น ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากอัณฑะให้อยู่ในระดับปรกติ
  • รากฟักทอง นำมาต้มใช้ดื่มแก้ไอได้ และยังช่วยบำรุงร่างกาย
  • เยื่อที่อยู่กลางผล ก็ส่วนที่เราคว้านทิ้งเวลาเอาฟักทองมาทำอาหารนี่แหละ ซึ่งเยื่อตัวนี้สามรถนำมาพอกแผลได้ แก้อาการฟกช้ำปวดอักเสบได้อย่างดี

การนำฟักทองไปใช้

หัวข้อนี้คงไม่ขอพูดอะไรมาก แต่ขอยกตัวอย่างเมนูบางส่วนจากฟักทองก็แล้วกัน เมนูที่แนะนำคือ แกงเผ็ดเนื้อใส่ฟักทอง  แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนของหวานก็มี สังขยาฟักทอง (อันนี้ชอบมากเป็นการส่วนตัว) ขนมฟักทอง บวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองเชื่อม และอื่นๆที่ไม่ได้กล่าว

คำแนะนำเพิ่มเติม

– การเลือกฟักทองควรเลือกพันธ์ที่มีรสหวาน เนื้อละเอียด จะมีสรรพคุณทางยามาก (เรื่องรสหวานเนื้อละเอียดถามคนขายดูได้ถ้าเขาไม่โกหก โดยส่วนใหญ่พันธ์ผสมจะเป็นที่นิยม)

– การทานฟักทองมากเกินไปจะทำให้ผิวเหลือง แน่นท้อง ผู้รู้เขาแนะนำว่าการใส่กระเทียมเจียวกับเต้าเจี๊ยวในผัดฟักทอง จะชาวยลดการแน่นท้องลงได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก กรมแพทย์ทางเลือก และหนังสือ อาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

 

ต.ค. 092012
 

พืชที่เราบริโภคลำต้นใต้ดิน หรือเรียกกันแบบบ้านๆว่าหัว นั้นมีอยู่หลายชนิด ที่ได้รับความนิยมหน่อยก็พวก กระชาย หรือข่า ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่เราได้เคยพูดกันมาแล้ว (ตามอ่านได้) แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงพืชชนิดหนึ่งกัน ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครตรงที่เมื่อนำหัวมาฝนจะให้สีเหลืองที่สวยงาม นึกออกแล้วใช่ไหมครับว่าผมพูดถึงอะไร สมุนไพรไทยชนิดนั้นก็คือขมิ้นชัน หรือขมิ้นนั่นเอง

 มาทำความรู้จักกับขมิ้นกัน

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชันชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น  : Curcuma longa Linn

ชื่อในภาษาอังกฤษ  : Turmaric

ชื่ออื่นๆ   :  ขมิ้น ขมิ้นแกง  ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง   ขมิ้นดี  ตายอ

ลักษณะของขมิ้น  : เป็นพืชที่ไม่ท้อถอย (พืชล้มแล้วลุก)  สูงไม่มากประมาณ  30-90 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้องข้างในสีเหลืองเข้ม (ใช้คำว่าเหลืองอ๋อย คงจะเหมาะ)   มีกลิ่นที่หอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้า  ดอกออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ผลรูปกลมมีสามพู

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านสมุนไพรไทย  เหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตามธรรมชาติ ลดการอักเสบ และยังช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีสรรพคุIในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง อาการแพ้และอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านโภชนาการ 

ในขมิ้นชันมีวิตามิน AEC (หรือประชาคมเศรษกิจอาเซียน ไม่ใช่แล้ว) คือเจ้า วิตามิน A,C,E ทั้งสามตัวจะเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆกันจึงมีผลมากมาย เฉพาะในเรื่องของมะเร็งก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งตับ และกำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้ว เตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง    ส่วนในเรื่องอื่นๆที่เขาวิจัยก็มี เรื่องการช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ  นับว่าสรรพคุณค่อนข้างดีมากๆ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติม เช่นป้องกันการแข้งตัวของเลือด การเป็นสารต้านมะเร็งเนื้องอกต่างๆ รวมถึงยังมีการใช้เป็ยาต้านเชื้อในผู้ป่วย HIV ย้ำนะครับว่าอยู่ในขั้นการทดลอง และขมิ้นชันเองมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเหมาะมาก กับคนที่เป็นหวัด หรือแพ้อากาศบ่อยๆ

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขมิ้นชัน

1.สูตรยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำและคั้นแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

2.สูตรยาภายนอก ทาแก้ผื่นคันโรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น ให้ใช้เหง้าแก่แห้ง ไม่จำกัดจำนวน ป่นเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน โดยในเด็กใช้กันมาก

ข้อควรระวังในการใช้  เมื่อมีประโยชน์ ย่อมต้องมีสิ่งที่ต้องระวังบ้างเป็นธรรมดา ลองมาดูกันเลย

  •  การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  • บางคนอาจมีการแพ้ขมิ้นโดยอาการคือ คลื่นไว้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาทันที บางคนอาจทานอาหารใต้ไม่ได้ ทานแล้วท้องเสียไม่แน่อาจเกิดจากสาเหตุการแพ้ขมิ้นในอาหารก็เป็นได้
  • ไม่ควรซื้อผวขมิ้นชันตามตลาดควรทำเอง เพราะตามตลาดเขาใช้ขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีมักผ่านความร้อน ทำให้สูญเสียน้ำมันหอมระเหยไป

 

ต.ค. 092012
 

เมื่อตอนที่แล้วได้พูดถึงกะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวไป  เพื่อไม่ให้พืชอีกพันธ์ที่คล้ายกันต้องน้อยใจ ผมเลยต้องขอพูดถึงกระหล่ำปลีม่วงบ้าง เพราะนอกจากสีที่ต่างกันแล้ว ยังมีรายละเอียดในด้านคุณค่าบางส่วนที่แตกต่างกัน จะขอพูดถึงสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย แยกย่อยเป็นข้อๆดังนี้

คุณค่าของกะหล่ำปลีม่วง

กะหล่ำม่วง หรือกระหล่ำปลีม่วง1. กะหล่ำปลีม่วงจะอุดมไปด้วยสาร อินไทบิน(intybin) ทีมีส่วนสำคัญมากในระบบเผาผลาญอาหารของคนเรา เพราะช่วยกระตุ้นเลือดไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี และกระเพาะอาหารที่ดีขึ้น  เมื่อเลือดไปเลี้ยงดีแล้วระบบพวกนี้จึงมีความสมบูรณ์

2. กะหล่ำปลีม่วงจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก จึงช่วยเสริม ฮีโมโกลบิน ที่เป็นสารที่ทำหน้าที่จับและพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อไปเลื้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หากเราขาดสารนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งสารฮีโมโกลบินนี้นอกจากพบในพืชแล้วยังพบในพวกเครื่องในสัตว์เช่นตับสัตว์ แต่ตับสัตว์มีคอเรสเตอรอลค่อนข้างสูง กะหล่ำปลีม่วง จึงป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

3. กะหล่ำปลีม่วงมีสาร เอส มีไทล์เมทิโอนีน (S-methylmethionine) หรือที่เรียกกันคือวิตามินยู ชื่อไม่คุ้นเลยว่าไหมครับ แต่ทางการแพทย์มีการใช้ สารเอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือวิตามินยู ในการช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและช่วยบรรเทาอาการปวดท้องที่มีสาเหตุจากแผลในกระเพาะและช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ  นอกจากนั้นสารเอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือวิตามินยู ยังช่วยต้านมะเร็งคือสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้ได้ แถมยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย

4.สามารถใช้ประคบเต้าคม เพื่อบรรเทาอาการปวดตีงคัดเต้านมเช่นเดียวกับกะหล่ำปลีเขียว

5.ในกะหล่ำปลีม่วง มีวิตามินซีสูงกว่า กะหล่ำปปลีสีเขียวถึงสองเท่า (เรียกว่าเกทับกันเห็นๆ) คุณค่าของวิตามินซีเราคงไม่ขอพูดถึงมากเพราะพูดกันในหลายๆบทความแล้ว

6.กะหล่ำปลีม่วงจะช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลได้ และนอกจากกนี้ยังมีสารซัลเฟอร์ในการช่วยระบบประสาทให้นอนหลับดี โดยอาศัยกลไกเดียวกับกะหล่ำปลีเขียว

 

การบริโภคกะหล่ำปลีม่วง

สำหรับการบริโภคกะหล่ำปลีม่วงจะต่างกับกะหล่ำปลีเขียวหน่อยตรงที่ว่า กะหล่ำปลีม่วงนิยมทานสดมากกว่า เช่นสลัดก็มีการหันฝอยเพื่อเพิ่มสีสัน ข้อแนะนำอย่างหนึ่งคือ การนำมากะหล่ำปลีม่วงมาประกอบอาหารระวังอย่าให้ผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าวิตามิน

 

ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลีดิบครั้งละมากๆ เพราะมันมีสาร Goitrogen ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อทไทรอยด์นำไอโอดีนที่อยู่ในเลือดไปใช้ได้น้อย ทำให้เกิดภาวะขาดไอโอดีน ฉะนัน้ทานอะไรก็ควรทานแต่พอดี สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับพืชอื่นๆบ้างจะช่วยให้ได้คุณค่าอย่างครบถ้วน

ต.ค. 082012
 

วันนี้เพิ่มอีกหนึ่งเรื่อง คราวนี้ขอพูดถึงเรื่องผักบ้าง แถมเป็นผักที่พบเห็นได้ง่ายๆ ชนิดว่าคงไม่มีใครไม่เคยทาน เอาง่ายๆเดินไปซื้อลูกชิ้น เชื่อไหม 6ใน10 ร้านต้องมีผักชนิดนี้แถมให้ (ไม่ได้วิจัยจริงๆจังๆนะครับแค่จากประสบการณ์ บางทีอาจมี แตงกวา บ้างก็ว่ากันไป)นั่นก็คือกะหล่ำปลีนั่นเอง เขียนให้ถูกนะครับ”กะหล่ำปลี” ไม่ใช่ “กะหล่ำปี ” กะหล่ำที่พบตามท้องตลาด โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่สองสี คือแดงกับเหลือง เอ๊ยเขียวกับม่วงในบทความนี้จะเน้นที่กะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวก่อน ไว้มีโอกาศจะเล่าถึงกะหล่ำปลีสีม่วง หรือกะหล่ำปลีม่วงถ้าโอกาศเอื้ออำนวย

คุณค่าของกะหล่ำปลี 

กะหล่ำปลี ลักษณะใบของกะหล่ำปลี หรือที่คนชอบเรียก ดอกกะหล่ำนอกจากนำมากินเป็นผักสด หรือประกอบอาหารแล้ว ในคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยของมันยังมีอีกเพียบ ขอแยกเป็นข้อๆปล้องๆดังนี้

1.มีวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่า กะหล่ำปลีสีเขียว จะสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้สูงถึงร้อยละหกสิบหก ( 66 เปอร์เซ็นต์)อีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินซียังสามรถป้องกันโรค เลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหารและล้างสารพิษ

2.มีใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง จะช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร กระตุ้นลำไส้ใหญ่ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

3.มีกรดทาร์ทาริก *ช่วยยับยั้งไม่ให้แป้งและน้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เปลี่ยนกลายเป็นไขมันส่วนเกิน สะสมอยู่ตามร่างกาย จึงเหมาะมากๆกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

*เพิ่มเติมข้อมุลนิดนึงนะครับ กรดตาร์ตาริก (tartaric acid) คือ กรดอินทรีย์ (organic acid) พบตามธรรมชาติในผักผลไม้ และเป็นกรดที่พบในไวน์  มีสูตรทางเคมีคือ  C4H6O6  อยู่ในรูป L-Tartaric acid อาจเรียกว่า L-2-3-Dihydroxysuecinic acid หรือ L-2,3-Dihydroxybutanedioic (ข้อมูลจากจากสารานุกรมอาหาร)

4.อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ทีส่วนสำคัญในเรื่องของการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งยิ่งแก่ตัวไป หรือเด็กๆ ยิ่งจำเป็นมากๆ

5.กะหล่ำมีสารซัลเฟอร์ สารตัวนี้จะช่วยระงับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้นอนหลับดีขึ้นนั่นเอง

6.กะหล่ำปลีมีสารต้านการอักเสบ ของแผลในกระเพาะ และลำไส้ ช่วยกระตุ้นให้เซซล์ที่ทำหน้าที่บุเยื่อกระเพาะสร้างสารคัดหลั่งเพื่อช่วยเคลือบผิวทางเดินอาหาร จึงป้องกันโรคกระเพาะและลำไส้ได้ ไม่แปลกเลยที่ส้มตำเผ็ดๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดคนโบราณจึงให้นิยมทานกับกะหล่ำ

7.สำหรับสาวๆกะหล่ำปลี สามารถบรรเทาอาการปวดคัดตึงเต้านมได้อีกด้วย โดยใช้กะหล่ำปลีมาประคบเต้านมข้างละใบ (คิดว่าคงพอเพียงกับขนาดหญิงไทยมาตรฐาน) และใช้ผ้าพันไว้ 20 โดยไม่ต้องนวดคลึงอาคารปวดบวมคัดตึงจะหายไปเอง

การนำไปใช้

จริงๆในหัวข้อนี้ผมคงไม่ต้องลงรายละเอียดมากเพราะกะหล่ำเองนำไปบริโภคได้ทุกส่วนอยู่แล้ว ตั้งแต่ใบ กาบใบ สามรถเอามาทำอาหารหลายชนิด ขอยกตัวอย่างเช่น กะหลำปลีผัดกับหมู ต้มจืด บะช่อหมูสับ กะหล่ำยัดไส้ (น้ำยายไหล) หรือถ้าไม่ประกอบอาหารจะทานสดๆก็ไม่พรบ.หรือรัฐธรรมนูญมาตราใด เช่นนำมากินแกล้มกับลาบ ส้มตำ ลูกชิ้นปิ้งได้หมด หรือจะนึ่งจิ้มน้ำพริก ทานกับปลานึ่งอันนี้ก็แจ๋ว

ข้อควรระวังในการใช้กะหล่ำปลี

เวลาที่เราซื้อกะหล่ำมาจากตลาด แน่นอนผักออแกนิค(ปลอดสารพิษ) มันไม่ได้ขายกันทุกตลาดฉะนั้นทางที่ดีที่สุด ล้างให้สะอาดก่อนเพราะลักษณะของกะหล่ำปลีอาจจะทำให้เก็บยาฆ่าแมลงไว้ได้มาก อาจใช้น้ำผสมเกลือหรือน้ำช้มสายชูล้าง จะทำให้ชำระล้างสารพิษได้มาก

ทานกะหล่ำปลีให้อร่อยนะครับทานเผื่อผมด้วย ไว้คราวหลังจะนำเรื่องพืชผักสมุนไพรไทยดีๆมาฝากอีก

ขอบคุณหนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง สำหรับข้อมูล

 

 

ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ก.ย. 262012
 

ช่วงนี้กระแสเห็ดฟีเวอร์ มีการนำเห็ดมาสกัดผสมกับซุปไก่ยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่ง ตอนโฆษณาเขาใช้คำว่าเห็ด ซิทาเกะ ฟังดูออกญี่ปุ่นมาก แต่จริงแล้วเห็ดชนิดนี้คนไทยเราคุ้นเคยมานาน ซึ่งมันก็คือเห็ดหอมนั้นเองครับ แม้เห็ดหอม ไม่ได้เป็น สมุนไพรไทย แต่คนไทยเราก็รู้จักกันดี โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง ทางเว็บเราจึงขอตามกระแสหน่อยด้วยการนำข้อมูลของเห็ดหอมมานำเสนอ

เห็ดหอม หรือ shiitake mushroom ภาพที่เห็นคือ เห็ดหอมแห้ง ที่ผ่านการตาก หรือ อบชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.

ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ

ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ

ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม

ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว

แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร

การกิน  : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น

สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก ป้องกัน และต้านมะเร็ง