ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 242012
 

สำหรับ สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าได้เห็นรูปของสมุนไพรชนิดนี้อาจจะร้องอ๋อ ต้นแบบนี้นี่เอง สำหรับกระทือเป็นพืชตระกูลเดีวกับพวกขิง ข่า ลักษณะดอกสวยงาม

ข้อมูลทั่วไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   ingiber zerumbet Smith.
ชื่อวงศ์ Family  : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ)  เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง
ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้า ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้ม ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ลำต้น    ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร เจริญอาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ(ผมเองก็งงกับศัพท์คำนี้อยู่น่าจะหมายถึงขับประจำเดือน)  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอาน้ำดื่มกิน
ดอก      เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า     ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษและบำรุงน้ำนม วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม) ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว แล้วใช้น้ำดื่ม

ก.ย. 232012
 

จะสั่งข้าวที เวลานึกอะไรไม่ออกเรามักจะสั่ง กระเพราไข่ดาวจานนึง บางคนอาจจะบอกเราสิ้นคิด แต่ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย ใครจะว่าก็ไม่เป็นไร หนำซ้ำกระเพรายังมีคุณค่าของ สมุนไพรไทย มากมายอีกด้วย

กระเพรา สมุนไพรไทยกระเพรา
ชื่อวิทย์ Ocimum sanctum, Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE

ชื่ออื่น
กระเพราแดง, กระเพราขาว (ภาคกลาง)
ก่ำก้อขาว , ก่ำก้อดำ, กอมก้อขาว, กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาเหนือ)
ห่อตูปลา, ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน

ลักษณะโดยทั่่วไป
ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนของลำต้น เนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม
ใบ ใบสีเขียว เรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนโดย เฉพาะส่วนที่เป็นยอด
ของมันจะมีมากกว่าส่วน อื่น ๆ ใบมีกลิ่นหอม
กิ่ง กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของ มันจะอ่อน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง
เมล็ด เมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด หรือลำต้น ใน การขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นดีในดินร่วนซุยน้ำ น้อย
ส่วนที่ใช้ ใบ, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ
ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย

ก.ย. 202012
 

กระเทียม สมุนไพรไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีภาพวาดหัวกระเทียมปรากฏบนโลงศพมัมมี่อียิปต์ ประมาณ 3,200 ปีก่อนพระคริสต์ มีการขุดค้นพบกระเทียมฝังเป็นแนวรอบมหาราชวัง knosos  ในกรีซ และในปอมเปอี

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าใช้กระเทียมเพื่อรักษา

  • · อาการปวดศีรษะ เจ็บคอ บำรุงร่างกายที่อ่อนแอ
    • · กระเทียมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
    • · ตำราจีนและญี่ปุ่น ใช้กระเทียมช่วยลดความดัน
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กระเทียมได้รับการยอมรับในการรักษาโรคไทฟัสและโรคบิด
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แพทย์ชาวอังกฤษ รักษาแผลสด  เป็นยาฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ตามตำรายาไทยหลายเล่มยังได้ระบุสรรพคุณและประโยชน์ทางยาของกระเทียมได้หลายอย่าง

  • · ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
  • · ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • · ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ

กระเทียม allium sativum linn.

สารสำคัญ

ในหัวกระเทียมสดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-0.4 % มีสารสำคัญ ที่มีกำมะถันหลายชนิดเช่น alliin, allicin, diallyl disulfide, methyl n-propyl disulfide นอกจากนี้แล้วยังมีกรดกำมะถัน เช่น d-glutamyl-s-methylcysteine ส่วนกลิ่นของกระเทียมเกิดจาการย่อย allylcystein sulfoxide หรือ alliin ซึ่งไม่มีกลิ่นให้เป็นสาร allylthiosulfinote หรือ allicin ด้วยเอนไซม์  allinase

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่ากระเทียมสามารถลดปริมาณของ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้

ส่วนการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม กับคนปกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับ Cholesterol สูง ในขนาดที่ได้ 0.25 mg /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 เดือน พบว่าระดับ Cholesterol ในเลือดลดลง และเมื่อใช้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขาด 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1ใน 3 ของคนไข้ที่มีระดับ Cholesterol สูง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีก 2 ใน 3 ลดลงปกติ สารที่มีฤทธิ์ในการลด Cholesterol คือ allicin กระเทียมกับการลดความดันโลหิต

พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95 % จากหัวกระเทียมสามารถลดความดันในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงได้

กระเทียมกับการลดน้ำตาลในเลือด

จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยการให้สารสกัดกระเทียมด้วย แอลกอฮอล์ให้กับกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอ ๆ กับ tolbutamide

กระเทียมยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

น้ำคั้นกระเทียมและกระเทียมผงมีผลต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ mycobaerium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของโรควัณโรค สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว คือ สารจำพวกซัลไฟด์ (sulfide) ซึ่งได้แก่ allicin, scordinin และ scordinin A

กระเทียมกับ HIV

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งไม่พบในกระเทียมสด แต่จะพบในกระเทียมที่หมักในน้ำมัน สาร ajoene สามารถป้องกัน CD4  Cell จากการติดเชื้อ HIV และยังช่วยลดการสร้างไวรัสตัวใหม่ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

ใช้กระเทียมอย่างไร  ในชีวิตเราจะใช้กระเทียมในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกกะปิ ผัดผัก ผักแกล้มหมูทอดกระเทียม ส้มตำ ฯลฯ แม้แต่เรากินข้าวขาหมูยังมีกระเทียมเป็นผักแกล้ม ถ้าจะอธิบายเป็นแบบสมัยใหม่น่าจะอธิบายได้ว่า เพราะข้าวขาหมูมีไขมันสูง ถ้าเรากินกับกระเทียม เข้าใจว่าจะช่วยลดไขมันที่เรากินไปได้ เราจะกินกระเทียมให้ได้คุณค่าของกระเทียมสูงควรจะใช้

“กระเทียมสด ดีที่สุด”

“กระเทียมไทย ให้ผลสูงสุด”

ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักต่อหนึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 10-15 กลีบต่อวัน)

นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง 5-10 วัน อาการจะดีขึ้นและทาต่อจนกว่าจะหาย

หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า

 ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า
ก.ย. 202012
 

หอมหลายครั้งมักถูกนำมาเป็นเครื่องเคียง หรือ โรยประดับ สิ่งที่เห้นอยู่บ่อยๆคือคนมักเขี่ยหอมทิ้ง แต่ไอ้สิ่งที่เราเขี่ยทิ้งเนี่ยหลายคนจะรู้บ้างไหมว่ามันมีคุณค่าขนาดไหน

หอม สมุนไพรไทยหอมใหญ่  allium cepa linn.

หอมแดง allium ascalonicum linn.

สรรพคุณหรือประโยชน์ทางยา ตามตำรายาไทยช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

การศึกษาวิจัยพบว่า หัวหอมมีประโยชน์ดังนี้

                มีผลต่อการเพิ่ม high density lipoprotein (HDL) cholesterol หรือคอเรสเตอรอล ตัวดี

                มีผลต่อ low density lipoprotein (LDL) ลดลง หรือคอเรสเตอรอล ตัวร้าย

ลดปริมาณ cholesterol ในกระแสเลือด และยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ สารสำคัญที่สามารถละลายลิ่มเลือดที่จับตัวขัดขวางทางเดินโลหิตได้ คือ สารไซโคลอัลลิอิน

ขนาดและวิธีใช้

1. หอมหัวใหญ่ ใช้ครึ่งหัว

2. หอมแดง ใช้ 5-6 หัว

รับประทานทุกวัน อย่างน้อย สองเดือน จะรับประทานร่วมกับอาหารอื่นก็ได้ และที่สำคัญถ้าจะให้ผลดีต้องรับประทานสด เช่น เมี่ยงคำ ยำ น้ำพริก ผักแกล้ม เป็นต้น หลังจากที่ได้ทราบคุณค่าทางยาของหัวหอมแล้ว หวังว่าท่านคงจะไม่เขี่ยหอมออกนอกจานต่อไป

ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา