ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา

ก.ย. 082012
 

 แตงกวา สมุนไพรไทย

หากพูดถึงแตงกวาน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หลายคนคิดว่ามันเป็นผักธรรมดาที่วางอยู่บนจานข้าวผัด แต่แท้จริงแล้วมันเป็น สมุนไพรไทย อย่างหนึงที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก่อนที่เราจะรู้จักประโยชน์และสรรพคุณของมัน เรามาทำความรู้จักกับ พืชสมุนไพรชนิดนี้กันก่อนนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucumis sativus Linn วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ Cucumber

ชื่อท้องถิ่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยาง (แม่ฮ่องสอน) แตงเห็น แตงอ้ม (เชียงใหม่) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวา สมุนไพรไทย

 แตงกวาเป็นไม้เถามีอายุปีเดียว ต้นมีขนหยาบสีขาว ใบออกสลับกันตรงสามเหลี่ยมมนใหญ่ กว้าง 12 –18 เซนติเมตรมีแฉกใหญ่ 3 – 5 แฉก ตัวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเป็นตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองส่วยปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมล็ดลีแบนผิวเรียนสีขาว ผล รูปทรงกระบอกมีลายเขียวแก่มีพื้นสีเขียวอมขาวมีขนาดต่างๆกัน ในทางพฤษกศาสตร์แตงกวาและแตงร้านมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันพืชนี้มีถินกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพืชที่รู้จักกันดี ในบางพันธุ์ผลที่ยังอ่อนจะมีตุ่มยื่นออกมา

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์ฝาดสมาน

น้ำคั้นจากผลสดมีฤทธิ์ฝาดสมาน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าเรียบตึง ในผลมีเอ็นไซม์ อีเรบซิน( erepsin ) ช่วยย่อยโปรตีนซึ่งจะช่วยย่อยผิวชั้นนอกที่หยาบกร้านออกไปทำให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม เนื่องจากในผลแตงกวามีปริมาณกรดอะมิโนสูงจึงนิยมใช้น้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่นครีมล้างหน้า ครีมทาตัว แว่นแตงกวานำมาวางแนบผิวหน้าให้ความนุ่มเย็นบำรังผิว น้ำและเนื้อแตงกวาให้ความสดชื่นได้ดี

ยาเย็น

ผลเป็นยาเย็นขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ คอเจ็บ ตาแดง ไฟลวกและผดผื่นคัน กินเป็นผักจิ้มหรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

แก้ท้องเสียบิด

ใบมีรสขม มีพิษเล็กน้อยใช้แก้ท้องเสีย บิด

ยาถ่ายพยาธิ

เนื้อในเมล็ด ( kernel ) จากเมล็ดแก่กินเป็นอาหารและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนัง

เถา รสขม มีพิษเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนองและลดความดันโลหิต

สารสำคัญ

ผลแตงกวาเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบดังนี้ ความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % แร่ธาตุเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามิน B และวิตามิน C ผลแตงกวามีเอนไซม์อยู่หลายชนิดคือ เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ascorbic acid oxidase , succinic malic dehydroginase เถ้า (ash) จากเมล็ดมีปริมาณของฟอสฟอรัสสูง

ข้อควรระวัง

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเป็นแผลกินแล้วจะทำให้ปวดท้องท้องเสียง่าย