มี.ค. 092016
 

ข่าวเรือติดเครื่องยนต์แก๊ส เกิดระเบิดขึ้นที่คลองแสนแสบ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องเกรียวกราดในหน้าข่าวของสื่อทุกแขนง เหตุเพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ที่น่าตกใจ จากเหตุการณ์ระเบิดนี้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 50 ราย และในจำนวนนี้มี 2 รายที่อาการหนัก อีกทั้งเรือก็เป็นหนึ่งในยานพาหนะสาธารณะที่มีผู้คนใน กทม. นิยมใช้บริการจำนวนไม่น้อย มันไปสะกิดความรู้สึกพรั่นพรึงของคนจำนวนมากที่ต้องโดยสารเรือให้เกิดความหวาดกลัว เกรงว่าจะเกิดเหตุแบบเดียวกันนี้ขึ้นกับตัวเอง

อย่างไรก็ตามสาเหตุของการระเบิดยังอยู่ในระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งก็มีอยู่หลายประเด็นที่ถูกตั้งขึ้นมาในการสอบสวน รวมถึงประเด็นสาเหตุที่มีการเล่าลือกันออกไปต่างๆ นานา… ซึ่งเรื่องนี้เราก็ควรรอข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานและเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนก่อน แต่เราจะมาเล่าในวันนี้ไม่ใช่เรื่องสาเหตุหรือสมมุติฐานของการระเบิดที่เกิดขึ้น แต่เราอยากจะมาชวนให้นึกถึงวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากแผลไฟไหม้ เพราะมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งกว่า เป็นเรื่องพบเจอกันเป็นประจำในชีวิตประจำวันทั้งนอกบ้านและในบ้าน…

เมื่อเกิดแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก เราสามารถใช้สมุนไพรใกล้ตัวช่วยได้ในการรักษา ซึ่งสมุนไพรที่นิยมใช้กันในการแก้ไขอาการแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ได้แก่

  1. ว่านหางจระเข้ ให้เลือกเอาใบที่อยู่โคนด้านล่างสุดมาใช้ก่อน วิธีการก็คือนำเอาใบว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกออก แล้วเอาไปล้างน้ำชะล้างยางสีเหลืองออกไปให้เหลือแต่วุ้นใสๆ เอามาแปะทับที่แผล วุ้นจากว่านหางจระเข้สามารถช่วยรักษาได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนที่แผล และลดขนาดแผลเป็นได้อีกด้วย
  2. ใบบัวบก เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีฤทธิ์เย็นจัด นอกจากสามารถนำมารับประทานบรรเทาอาการช้ำในขับเลือดเสียได้แล้ว ยังสามารถเอามาตำพอกบริเวณที่เป็นแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกได้อีกด้วย
  3. ใบชา นอกจากนำมาชงดื่มได้แล้ว กากของชาที่ชงยังสามารถเอามาใช้พอกที่แผลไฟไหม้ได้ สารแทนนินในใบชาสามารถรักษาอาการปวดแสบปวดร้อน ป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้นได้อีกด้วย
สมุนไพร ลดรอย น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

สมุนไพร ลดรอย น้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

ในการใช้สมุนไพรรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นอกจากจะต้องรีบทำโดยเร่งด่วนแล้ว เรายังต้องใส่ใจในเรื่องความสะอาดของสมุนไพร ซึ่งโดยทั่วไปเราสามารถใช้ได้ทั้งสมุนไพรสด และสมุนไพรแห้งนำมาบดพอก ควรมีการทำความสะอาดให้แน่ใจเสียก่อน ทั้งตัวสมุนไพรที่จะนำมาใช้และปากแผลที่ควรมีการทำความสะอาดเพื่อลดปัญหาเรื่องการติดเชื้อที่ทำให้แผลอักเสบลุกลาม…

ก.ย. 152013
 

ใบหม่อน เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณนึกถึงอะไร แน่นอนเมื่อสมัยก่อนคนอาจนึกถึงใบของพืชชนิดชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหม แล้วสมัยนี้ล่ะเขานึกถึงอะไรกัน แน่นอนคันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ชาใบหม่อนชาสมุนไพรไทยนั่นเองนั่นเอง ก่อนที่จะพูดถึงชา เรามาพูดถึงต้นหม่อนกันก่อน

ชื่อสมุนไพร          หม่อน  หรือ mulberry (สังเกตฝรั่งเห็นอะไรเป็นลูกๆเป็นพวงๆ เขาเล่นเรียก berry หมด)
ชื่ออื่นๆ                 มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)   ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn.  ชื่อวงศ์  Moraceae
ใบหม่อนลักษณะของต้นหม่อน

  • ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
  • ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์   ผิวใบสาก  ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
  • ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
  • ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน  นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว เรายังสามารถ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร (นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากหลีกเลี่ยงผงชูรส )หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ  และยังพบอีกว่าหากนำใบหม่อนให้วัวและควายกินสามรถทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน

หลักๆเลยในใบหม่อนนั้นจะมีสารตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยที่ แตกต่างกัน คือ

1.  สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา  (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก  ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง  ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6.สารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (ลองอ่านดูเรื่องเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่ลิงค์นี้นะครับ สารต้านอนุมูลอิสระ

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า

ชาใบหม่อน

จริงก็ไม่มีอะไรมากครับ  โดยที่ให้เราชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส (กะเอาได้ครับคือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่)   จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้ นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

เป็นไงบ้างครับ สำหรับเรื่องดีๆที่นำมาอ่านกันอย่าลื่มลองหาชาใบหม่อน ชาสมุนไพร แบบไทยๆมาทานกันดูบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ก.ย. 082013
 

ตอนเด็กๆ ระหว่างทางเดินกลับบ้านจะมีวัชพืชชนิดหนึ่งที่ผมมักจะเล่นด้วยประจำ นั่นคือเวลาที่เราจับใบของมันใบของมันจะหุบอัตโนมัติ จากต้นเขียวๆจะกลายเป้นต้นแดงๆเหมือนมันเหี่ยวภายในพริบตา  แปลกดีเหมือนกัน พืชชนิดนี้มีชื่อว่าไมยราบนั่นเอง หลายคนมักมองว่าไมยราบเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่มีค่าอะไร แต่จริงๆแล้วไมยราบจัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามากทีเดียว มารู้จักพืชสมุนไพรชนิดนี้กันเถอะครับ.

ไมยราบ

ชื่อโดยทั่วไป  ไมยราบ หรือ Sensitive plant (ชื่อบอกลักษณะได้อย่างไร ว่าเป็นพืชที่อ่อนไหว แค่มีอะไรมากระทบก็หุบใบได้เอง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pucida L.   วงศ์ : Fabaceae (Leguminosae-Mimosoideae)
ชื่อตามอื่นๆภูมิภาค : เนื่องจากไมยราบเป็นสมุนไพร ที่พบได้ทุกภูมิภาคของไทย จึงมีชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่          กระทืบยอด  หนามหญ้าราบ (จันทนบุรี)  กะหงับ (ภาคใต้)  ก้านของ (นครศรีธรรมราช)  ระงับ (ภาคกลาง)  หงับพระพาย (ชุมพร)  หญ้าจิยอบ  หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ)
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้ แต่ประเทศไทยนำเข้าโดยกรมทางหลวงเพื่อช่วยคลุมหน้าดิน นับว่ามีประโยชนืมากทีเดียว

ลักษณะต้นไมยราบ : ไมยราบเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งพบว่าสูงถึง 1 ม. มีขนหยาบปกคลุมลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ และช่อดอก  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1-2 ใบ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม.  ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-4 ซม.  ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 0.1 มม. กลีบดอกรูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้มี 4 อัน รังไข่ยาวประมาณ 0.5 มม. เกลี้ยง  ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปขอบขนาน ตรง ยาว 1.5-1.8 ซม. มีขนแข็งตามขอบ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ราก      แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลา                 มีประจำเดือน ถ้าไข้ขนาดสูงมากๆ จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ริดสีดวงทวารรสขมเล็กน้อย ฝาด ปวดข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

ต้น        ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว ขับโลหิต
ใบ         แก้เริม งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามป่า
ทั้งต้น  ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็น                               ตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี

จะเห็นว่าไมยราบมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยมากมายจริงๆ จะลองเอามาปลูกดูก็ไม่เสียหลายนะครับ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล  : คุณนพพล เกตุประสาท  หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม เผยแพร่ใน ใน web ของ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

กวาวเครือขาว เพิ่มหน้าอกได้จริงหรือ?

 บำรุงผิว, พืชสมุนไพร, เสริมความงาม  ปิดความเห็น บน กวาวเครือขาว เพิ่มหน้าอกได้จริงหรือ?
มิ.ย. 232013
 

หากพูดถึงกวาวเครือขาว สมุนไพรไทยชนิดนี้มักถูกพูดถึงบ่อยๆ ในเรืองของการ ช่วยเพิ่มหน้าอก หรือช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ตามแแผงสมุนไพรเสริมความงามต่างๆก็มีแทบทุกร้าน แต่วันนี้เราจะมารู้กันว่าประโยชน์มันดีอย่างที่ว่าจริงหรือ และโทษหรือผลข้างเคียงของมันล่ะมีอะไรบ้างเรามารู้กัน

กวาวเครือ,กวาวเครือขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ของกวาวเครือขาว   Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab.

วงศ์ Leguminosae    หรือเป็นพืชในตระกูลถัวนั่นเอง

แหล่งที่พบ  ขึ้นในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250-800 เมตรในป่าสูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ขนาดกลาง เถายาวประมาณ 5 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกนอกของลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มและค่อนข้างแข็ง มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร

รูปร่างลักษณะ  ค่อนข้างกลม และคอดยาวเป็นตอนๆต่อเนื่องกัน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ก้านช่อดอก และกลีบเลี้ยงมีขนสั้นๆ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 10-38 ซม. ใบย่อยใบกลางรูปไข่กว้าง 9-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายมนถึงเรียวแหลม โคนสอบถึงมน กวาวเครือแดง คาดว่าคือ Butea superba Roxb. ในวงศ์ Leguminosae เช่นเดียวกัน

นอกจากกวาวเครือขาวยังมีกวาวเครือชนิดอื่นอีกหรือไม่ ?  ตอบว่ามีครับคือ

กวาวเครือแดง เมื่อถูกสะกิดที่เปลือกหัวจะมียางสีแดงคล้ายเลือดไหลออกมาเมื่อใช้ทำเป็นยา ชนิดแดงแรงกว่าชนิดขาว

กวาวเครือดำ ลำต้นและเถาเหมือนกวาวเครือแดง แต่ใบและหัวมีขนาดเล็กกว่า มียางสีดำ ใช้ทำเป็นยามีฤทธิ์แรงมาก ขนาดที่ใช้น้อยมาก

กวาวเครือมอ ทุกส่วน ต้น เถา ใบ หัว เหมือนกับชนิดดำ แต่เนื้อในหัวและยางสีมอๆค่อนข้างจะหายาก เช่นเดียวกับชนิดดำ มีหัวเล็กขนาดมันเทศ

เพราะอะไรกวาวเครือขาวจึงทำให้หน้าอกขยายตัวได้ ?

ในกราวเครือขาวจะมีสารออกฤทธิ์สำคัญที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง (Phytoestrogens) ซึ่งได้แก่miroestrol และ deoxymiroestrol ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลักษณะความเป็นผู้หญิงออกมา เช่น หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นในระยะเวลา 2-3 เดือน ประมาณ 0.5 – 1 นิ้ว ซึ่งกระบวน การเหล่านี้จะทำให้หน้าอกขยายขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่งเมื่อหน้าอกกระชับแล้วกระบวนการเหล่านี้ก็จะสิ้นสุดลง และสาร miroestrol ยังช่วยให้เพิ่มความเปล่งปลั่งสดใสให้ผิวพรรณได้อีกด้วย ซึ่งการออกฤทธิ์ดังกล่าวนี้หากใช้ในปริมาณน้อย จะช่วยออกฤทธิ์กระตุ้นในเชิงบวก แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งเสียเอง โดยฤทธิ์ของกราวเครือขาวนั้นไม่ถาวร ถ้าหยุดรับประทานฤทธิ์ของกราวเครือก็จะค่อยๆหมดไปภายใน 2-3 สัปดาห์ (และการเก็บรักษาที่นานเกินไป 5-10 ปี จะทำให้ฤทธิ์ก็จะค่อยๆเสื่อมลงเช่นกัน)

 

สมุนไพรตัวนี้ต้องทานมากน้อยขนาดไหนจึงจะพอดี ?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดขนาดในการรับประทานว่าห้ามเกินวันละ 100 mg. และที่สำคัญห้ามรับประทานร่วมกับการใช้ยาคุมกำเนิด

 

กวาวเครือขาวมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ?

  1. ตำรายาแผนโบราณระบุไว้ว่า คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน (ในที่นี้คงจะหมายถึงผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี)
  2. ห้ามใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะตัวยาอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศและระบบประจำเดือนได้ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  3. เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทาน
  4. สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
  5. ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โต ไม่ควรรับประทาน
  6. ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
  7. ผู้ที่ดื่มสุรา และมีประวัติเป็นโรคตับเป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบบีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูง ก็ไม่ควรรับประทาน
  8. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปหรือติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
  9. ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำ หรือไม่เกินวันละ 100 mg.
  10. ห้ามรับประทานของหมักดองเปรี้ยว ดองเค็ม (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
  11. ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
  12. ห้ามไม่ให้ตากอากาศเย็นเกินไป (ตำราแผนโบราณกล่าวไว้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์)
  13. ฮอร์โมนเหล่านี้หากได้รับมากจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  14. อาจจะทำให้เยื่อหุ้มอัณฑะหนาตัวและอาจเป็นมะเร็งอัณฑะในเพศชายได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  15. ในเพศหญิงอาจมีผลทำให้เต้านมแข็งเป็นก้อนหรืออาจทำให้เกิดเนื้องอกจนเป็นมะเร็งเต้านมได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  16. กราวเครือนั้นมีพิษทำให้เมาเบื่อตัวเองการรับประทานมาเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ด้วยเหตุนี้ควรรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องอืดร่วมด้วย เช่น พริกไทย เป็นต้น
  17. หากรับประทานกราวเครือขาวแล้วอาจจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ จนบางท่านรู้สึกกังวล แต่การที่ประจำเดือนมามากนี้ก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสียทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงไม่ต้องเป็นกังวล
  18. สามารถใช้ครีมบำรุงทรวงอก (Breast Cream) ร่วมกับกราวเครือขาวได้ในการเพิ่มขนาดทรวงอกได้
  19. กวาวเครือขาว ผลข้างเคียงและอาการอื่นๆที่พบได้ทั่วไป เช่น เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าผลข้างเคียงค่อนข้างมากเหมือนกันฉะนั้นจะใช้ก็ให้พิจารณาและใช้ความระมัดระวังนะครับจริงๆ  อีกอย่างแต่เดิมตำราสมุนไพรไทย กราวเครือขาวจะถูกนำมาใช้กับผู้สูงอายุมากกว่า หากจะใช้จริงๆ ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เวลาเลือกซื้อก็ควรเลือกแบบ น่าไว้ใจ (มี อ.ย. )ไม่ผสมนั่นผสมนี่เข้าไปจนเกินจำเป็น

 ข้อมูลอ้างอิง

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090413175228AAg94kg
http://www.greenerald.com/