สมุนไพรไทย กับ อาหารไทยๆ

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน สมุนไพรไทย กับ อาหารไทยๆ
ธ.ค. 062014
 

สวัสดีครับ ช่วงนี้เดือนนี้มีหลายๆวันที่เป็นวันหยุด หลายๆคนมีโอกาศได้อยู่พร้อมตากันครั้งครอบครัว ได้มีโอกาศพบประสังสรรค์และหนึ่งในกิจกกรมที่ขาดไม่ได้ก็คือการทำอาหารทานร่วมกัน จะว่าไปแล้วพอพูดถึงอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทยๆ เราใช้อะไรเป็นส่วนประกอบกันบ้าง ผมคิดว่าคงจะหนีไม่พ้น หอมแดง หอมหัวใหญ่ พริกชี้ฟ้า สะระแหน่ ใบมะกรูด ตะไคร้ อันนี้ยกมาเป็นตัวอย่างนะครับ เชื่อหรือไม่ในอาหาร 1 จาน หรือแกง 1 หม้อเช่นต้มยำง่าย ๆที่มีส่วนประกอบเหล่านี้ต่างอุดมไปด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยมากมายวันนี้ผมจะมาชำแหละ ส่วนประกอบและคุณค่าด้านสมุนไพรของส่วนผสมในอาหารเหล่านี้ทีละตัวกัน

สมุนไพรในอาหาร

1.หอมแดง โดยมากหากไม่เอามาโขลกทำน้ำพริก ก็หั่นฝอยโรยหน้าเป็นส่วนผสหอมแดงสามารถต้านเชื้อหวัด ทำให้หายใจได้โล่ง สังเกตุง่ายเวลาทานหอมแดงลงไป จมูกจะโล่ง นอกจากนั้นหอมแดงยังมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยกำจัดไขมันเลว (LDL) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหัวใจวายและอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังรักษาระดับไขมันชนิดดี (HDL) ได้อีกด้วย และยังมีคุรสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดได้รู้สรรพคุณอย่างนี้อย่าเขี่ยทิ้งนะครับ

2.หอมหัวใหญ่ อาหารหลายๆชนิดเช่นพวกยำนิยมใส่เช่นกัน หอมหัวใหญ่เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม แมกนีเซียมฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้มเนื้อ  มีฤทธิ์มากในการขับสารพิษทั้งที่เป็นโลหะหนักและ พยาธิ เควอเซทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากและ ยังสามารถลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือดสูง ได้อีกด้วยนับว่าสรรพคุณไม่ธรรมดาจริงๆ

3.พริกชี้ฟ้าแดง แน่นอนอาหารไทยมีรสเผ็ด พริกจึงขาดไม่ได้ พริกเป็นสมุนไพรไทยที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ มีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งคือกรดวิตามินซีซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 – 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า – แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง

4.ตะไคร้ ส่วนใหญ่ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิดให้กลิ่นหอมมีสรรพคุณทางสมุนไพรไทย ในหลายๆตำราคือ บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหารแก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง

5.สะระแหน่ สามารถแก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ หรือจะรับประทานสดๆ เพื่อดับกลิ่นปาก น้ำมันหอมระเหย ของสะระแหน่ ยังเป็นยาที่ช่วยยับยั้งเชื้อโรค และลดอาการเกร็งของลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกันไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรงในใบ สะระแหน่มีเบต้า-แคโรทีน มากถึง 538.35RE แคลเซียม 40 กรัม วิตามินซีถึง 88 มิลลิกรัม เมื่อทาน 100 กรัม

6.ใบมะกรูด เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหาร หลายๆอย่างมีประโยชน์ทางสมุนไพรเช่น ขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี นอกจากทานแล้ว น้ำมันหอมระเหยในมะกรูดทำให้ผ่อนคลายได้เหมือนกัน และทำให้กลิ่นของหารน่าทานขึ้นมาก

เห็นไหมครับอาหารไทยๆ หนึ่งจานมีคุณค่าขนาดไหนดังนั้นถ้าเราอยากจะได้คุณค่าของสมุนไพรไทย ไม่ต้องหาไกลเลยแค่ทานอาหารไทยก็ได้คุณค่ามากมายแล้ว

(ขอบคุณมาพและข้อมูลจาก web กรมประมงครับ และภาพสวยๆจาก shesweet.bloggang.com ลองเข้าไปดูได้ครับ blog นั้นมีสูตรอาหารดีมากมาย)

ก.ค. 012014
 

หลังจากที่ไม่ได้ update เนื้อหาใน web มานานพอควร ได้ฤกษ์งามยามดีขออนุญาตนำบทความดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากเช่นเคยครับ ซึ่งบทความนี้เผอิญไปอ่านเจอใน pantip  โดยคุณ Dear Nostalgia เป็นผู้รวบรวมมาเห็น่าสนใจดีเลยนำมาฝากทุกท่าน (โดยขออนุญาตเรียบเรียงใหม่และตัดทอน รวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนให้ง่ายต่อการอ่านนะครับ

พูดถึงสะระแหน่หลายคนคงคิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยแท้แต่ดังเดิม ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จากคำบอกเล่า ศจ.อินทรี จันทรสถิต ผ่านทาง ด็อกเตอร์ ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า จริงๆแล้วสะระแหน่ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วง ร.3 โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่อของ สะระแหน่นั่นเอง

ข้อมูลจำเพาะของสะระแหน่

  • ชื่อ  สะระแหน่  (Kitchen Mint )
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mentha aruensis Linn   วงศ์   Labiatae  สกุล  Mint
  • ชื่อในแต่ละท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) ,หอมด่วน (ภาคเหนือและอิสาน) ,สะแน่(ภาคใต้)

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม ไม่มีขน (ต่างจากพวก mint ของฝรั่งที่มีขนยาวกว่า)ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว สะระแหน่เป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง จึงทำให้มีรสเย็นสดชื่อนั่นเอง

สะระแหน่ในฐานะสมุนไพรไทย

แพทย์แผนไทย นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณคือ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม  นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยถ้าจะสรุปตามการประยุกต์ใช้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตามตำราสมุนไพรไทยดังนี้

  •   รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย  วันละ  2 ครั้ง
  •  รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
  •  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
  •  ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  •  รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  •  รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ประโยชน์ด้านอื่นๆนอกจากด้านสมุนไพรของสะแหน่

สะระแหน่เป็นสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อยกว่ามินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น