ก.ค. 012014
 

หลังจากที่ไม่ได้ update เนื้อหาใน web มานานพอควร ได้ฤกษ์งามยามดีขออนุญาตนำบทความดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากเช่นเคยครับ ซึ่งบทความนี้เผอิญไปอ่านเจอใน pantip  โดยคุณ Dear Nostalgia เป็นผู้รวบรวมมาเห็น่าสนใจดีเลยนำมาฝากทุกท่าน (โดยขออนุญาตเรียบเรียงใหม่และตัดทอน รวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนให้ง่ายต่อการอ่านนะครับ

พูดถึงสะระแหน่หลายคนคงคิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยแท้แต่ดังเดิม ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จากคำบอกเล่า ศจ.อินทรี จันทรสถิต ผ่านทาง ด็อกเตอร์ ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า จริงๆแล้วสะระแหน่ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วง ร.3 โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่อของ สะระแหน่นั่นเอง

ข้อมูลจำเพาะของสะระแหน่

  • ชื่อ  สะระแหน่  (Kitchen Mint )
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mentha aruensis Linn   วงศ์   Labiatae  สกุล  Mint
  • ชื่อในแต่ละท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) ,หอมด่วน (ภาคเหนือและอิสาน) ,สะแน่(ภาคใต้)

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม ไม่มีขน (ต่างจากพวก mint ของฝรั่งที่มีขนยาวกว่า)ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว สะระแหน่เป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง จึงทำให้มีรสเย็นสดชื่อนั่นเอง

สะระแหน่ในฐานะสมุนไพรไทย

แพทย์แผนไทย นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณคือ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม  นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยถ้าจะสรุปตามการประยุกต์ใช้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตามตำราสมุนไพรไทยดังนี้

  •   รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย  วันละ  2 ครั้ง
  •  รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
  •  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
  •  ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  •  รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  •  รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ประโยชน์ด้านอื่นๆนอกจากด้านสมุนไพรของสะแหน่

สะระแหน่เป็นสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อยกว่ามินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

 

พ.ย. 102012
 

จริงๆแล้วเมืองไทยนั้นอุดมไปด้วยพืชผักผลไม้ มากมาย บางอย่างเดินไปตลาดก็ซื้อหาจับจ่ายมาทานกันได้แล้ว แต่บางอย่างแทบไม่ต้องไปตลาดเลย แค่เดินไปริมรั้วก็สามารถเด็ดมาทานได้ง่ายๆ และพืชผักสมุนไพรไทย ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก็อยู่ในประเภทที่ว่าเดินไปริมรั้ว ก็สามารถเด็ดทานได้ พืชชนิดนั้นก็คือ ผักตำลึงนั่นเองครับ

สำหรับตำลึงนั้นเป็นพืชที่แพร่พันธ์ได้ง่าย มีอยู่ทุกภูมิภาคของเมืองไทย เรียกว่าไปที่ไหนก็มีให้เห็น สามรถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย ยกตัวอย่างก็ได้ตั้งแต่ใส่ต้มจืด ผัดหมูสับใส่ตำลึง แม้แต่กระทั่งเวลาลวกมาม่าตอนสิ้นเดือน ที่กระเป๋าเริ่มแบน ก็ได้เจ้าตำลึงนี่แหละที่เพิ่มคุณค่าทางอาหาร แต่นอกจากประโยชน์ในด้านการประกอบอาหารแล้ว ตำลึงยังมีสรรพคุณทางด้านสมุนไทยอีกมากที่เราอาจยังไม่รู้ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตำลึงกันนะครับ

ตำลึง ผักตำลึงชื่อทั่วไป    ตำลึง หรือ Lvy Gourd, Coccinia

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cocconia grandis (L.) Voigt

ชื่ออื่น ๆ   ผักแคบ (ทางภาคเหนือ), แคเด๊าะ (เผ่ากะเหรี่ยงและในแม่ฮองสอน), สี่บาท (ภาคกลาง ยังจำที่ครูให้ท่องกันได้ไหม หนึ่งตำลึงเท่ากับสี่บาท), ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะทั่วไปของตำลึง

  • ลำต้น ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มีมือจับเพื่อเอาไว้ยึดเกาะหลักเช่นแนวรั้ว อย่างที่เราเห็น หรือยึดเกาะต้นไม้ต่างๆ เถาตำลึงจะเป็นสีเขียว
  • ใบ ส่วนใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา ลักษณะใบจะเป็น เป็น 3 แฉก หรือบางที  5 แฉก ขนาดประมาณ 4-8 ซม. โคนใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอก ลักษณะดอกของตำลึง เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว มีทั้งออกดอกเดี่ยวๆ และออกเป็นกลุ่มสองถึงสามดอกก็มี
  • ผล  มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่าผลแตงกวา ในขณะที่เป็นผลอ่อนจะเป็นผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

ในใบสีเขียวของตำลึง อุดมไปด้วยวิตามินวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น มีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มี fiber หรือกากใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย นอกจากนี้ในตำลึง ยังมีแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

จากตำรายาด้านสมุนไพร มีการระบุถึงสรรพคุณของตำลึงโดยแยกเป็นส่วนต่างๆ ของตำลึงไว้ดังนี้

  • ใบ ใช้เป็นยาเขียว ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (อันนี้เป็นสำนวนของคนโบราณหมายถึงบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน)  เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย(หรือพืชอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการคัน แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด  แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  • ดอก สรรพคุณใช้บรรเทาอาการคันผิวหนังได้
  • เมล็ด ใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิดได้ (หิดเป็นโรคที่เกิดจากปรสิตที่เรียกว่าตัวหิด หรือ Scabies miteไชเข้าผิวหนังทำให้เกิดตุ่มคัน)
  • ราก ลดไข้ อาเจียน ลดความอ้วน ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย(อันนี้ถ้าโดนแนะนำให้หาหมอนะครับ)
  • เถา ใช้ชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ เป็นยาทาพอกแก้โรคผิวหนัง มีสรรพคุณลดไข้เช่นเดียวกับใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทั้งต้น (ราก ใบ เถา) นำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

สูตรยาสมุนไพรไทยจากตำลึง

1. สูตรยาถอนพิษ (จากพืช ที่ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน) ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ทาบรเวณที่ถูกพิษ ปวดแสบปวดร้อน จะสามารถบรรเทาอาการลงได้

อาหารที่ทำจากผักตำลึง2. สูตรยาช่วยย่อยอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต  ใช้ยอดอ่อน และใบ ปรุงเป็นอาหาร จะสามรถช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นได้

3.สูตรยารักษา อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใบสดหนึ่งกำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียด โดยผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำจนกว่าอาการจะบรรเทา

ทั้งหมดนี้คือประโยชน์จากตำลึง พืชสมุนไพรข้างรั้วที่บางครั้งเราอาจมองข้ามมันไป

ผักบุ้งทะเล แก้พิษได้ ใช้ยามฉุกเฉิน

 พืชสมุนไพร, แก้แมงสัตว์กัดต่อย  ปิดความเห็น บน ผักบุ้งทะเล แก้พิษได้ ใช้ยามฉุกเฉิน
ต.ค. 252012
 

เมื่อไม่นานนี้เอง ผมได้มีโอกาศไปเที่ยวทะเล เวลาไปเที่ยวทะเลนอกจากหาดทรายสวยๆ น้ำใสๆแล้ว ก็นึกขึ้นมาได้ ว่าการลงเล่นน้ำ เราอาจต้องเพิ่มความระมัดวังนึดนึงหากต้องไปทักทายกับสัตว์โลกผู้น่ารักอย่าง แมงกะพรุนไฟเข้า

แมงกะพรุนไฟ

สัตว์จำพวกแมงกะพรุนไฟนั้น มีพิษที่เหล็กใน ซึ่งอยู่ที่บริเวณหนวดเส้นเล็ก ๆ และซึ่งจะปล่อยออกมาแทงผิวหนังของคน  ทำให้ปวดแสบปวดร้อนไปนาน ผิวหนังบริเวณนั้นจะบวมเป็นผื่นแดง  อาการมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคน  ใครเจอเหตุการณ์แบบนี้กับตัว จะไปหายามาทาหรือพาไปหาหมอคงอาจต้องใช้เวลานานหน่อย แต่เราสามารถปฐมพยาบาลด้วย ตัวเองได้ ด้วยพืชสมุนไพรไทย ที่พบได้ง่ายบริเวณนั้น ใช่แล้วครับ พระเอกของเรื่องในวันนี้คือ ผักบุ้งทะเลนั่นเอง

มารู้จักกับผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเล เป็นพืชที่ขึ้นตามชายหาดชื่อทางวิทยาศาสตร์  lpomoea  pes-caprae (L.)R.br.

ชื่อโดยทั่วไป   ผักบุ้งทะเล หรือ Goat’s Foot Creeper ,  Beach Morning Glory

ชื่อวงศ์   convolvulaceae

ลักษณะของผักบุ้งทะเล

ส่วนลำต้น       เป็นไม้ล้มลุก เลื้อยไปตามพื้นทรายหรือพื้นดิน ชอบขึ้นพื้นที่ใกล้ทะเล หรือตามชายหาดต่างๆ ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว

ลักษณะใบ      เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบจะกว้าง โคนใบจะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก

ลักษณะดอก   ดอกจะออกเป็นช่อ 5 ถึง 6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันบานคล้ายปากแตร (ลักษณะคล้ายผักบุ้งนามาก) ดอกจะบานตอนเช้า บ่ายๆจะหุบและเหี่ยว

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของผักบุ้งทะเล

  • ใช้แก้พิษแมงกระพรุนไฟได้ โดยหากถูกแมงกระพรุนไฟหากมีต้นผักบุ้งทะเลขึ้นแถวนั้นให้ใช้วิธีการดังนี้
  1. เมื่อถูกแมงกะพรุนไฟในตอนแรก ให้ใช้ทรายที่หาดนั้นถูบนผิวหนังเบาๆ เพื่อขัดเอาน้ำเมือก ๆ จากตัวแมงกะพรุนไฟบนผิวหนังออกล้างด้วยน้ำทะเล ห้ามใช้น้ำจืด
  2. ให้ใช้ขยำต้นและใบผักบุ้งทะเลให้ได้วุ้นลื่นๆ (ขยี้เหมือนเราซักผ้านั่นแหละ) แล้วนำมาพอกแผล  เหตุที่ผักบุ้งทะเลมีฤทธิ์เป็นสมุนไพรในการรักษาพิษแมงกระพรุนไฟได้เนื่องจาก ในใบผักบุ้งทะเลมีสาร โวลาไทน์ เอสเตอร์ (Volatile Ester) สามรถลดอาการปวดอักเสบ ปวดแสบปวดร้อนจากพิษแมงกระพรุนได้ นอกจากนั้นยังมีสารแอินตี้ ฮิสตามีน(antihistamine) สามรถต้านอาการแพ้ได้อีกด้วย
  3. หากอาการยังไม่บรรเทา เช่นปวดมากควรทานยาแก้ปวด และควรนำส่งโรงพยาบาล
  • นอกจากแก้พิษของแมงกระพรุนไฟแล้วนั้น ผักบุ้งทะเลยังสามรถแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้อีกด้วย

ไปเที่ยวทะเลครั้งใด อย่าลืมนึกถึงผักบุ้งทะเลกันนะครับ