ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 242012
 

สำหรับ สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าได้เห็นรูปของสมุนไพรชนิดนี้อาจจะร้องอ๋อ ต้นแบบนี้นี่เอง สำหรับกระทือเป็นพืชตระกูลเดีวกับพวกขิง ข่า ลักษณะดอกสวยงาม

ข้อมูลทั่วไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   ingiber zerumbet Smith.
ชื่อวงศ์ Family  : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ)  เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง
ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้า ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้ม ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ลำต้น    ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร เจริญอาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ(ผมเองก็งงกับศัพท์คำนี้อยู่น่าจะหมายถึงขับประจำเดือน)  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอาน้ำดื่มกิน
ดอก      เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า     ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษและบำรุงน้ำนม วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม) ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว แล้วใช้น้ำดื่ม

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี