เม.ย. 192015
 

เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง

แคนา  จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า)   ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา  ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ   ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามีดังนี้ครับ ขอบคุณคณะเภสัชาสตร์ ม.อุบล สำหรับข้อมูลอ้างอิง

 

ชื่อสมุนไพร แคนา
ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า)  แคขาว (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ)   แคเค็ตถวา  (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่)      แคทราย(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ดอกแคนา 

  • ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
  • เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม  โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7  เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี   ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร
  •  ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร
  •  ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ   พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ  โดยออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย    

  •   ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
  •   เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด
  •   ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก
  •    ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม
  •    เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท(ตำราน่าจะหมายถึงอาการปวดต่างๆนะครับ) แก้โรคชัก

ประโยชน์อื่นๆ   แน่นอนครับสำหรับแคนา ประโยชน์หลักๆคือดอก ใช้ในการลวกจิ้ม หรือประกอบอาหารต่างๆ รสชาติขมนิดๆ ช่วยเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นต้นแคนาเองก็มีการนำไปเป็นไม้ให้ร่มเงา ตามบ้าน รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายๆแห่งนำไปใช้ปลูกตามถนนเข้าโครงการก็มี จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ทีเดียว

 

พ.ย. 222012
 

หัวข้อของเนื้อหาในตอนนี้อาจยาวไปนิดนึง แต่ยืนยันได้ว่าพืชสมุนไพรไทย อย่างชะอมนั้นสามารถ นำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเมนูเด็ดอย่างไข่เจียวกับชะอม ที่ไว้ทานคู่กับน้ำพริกกะปิ เมนูนี้อร่อยอย่าบอกใคร สำหรับชะอมนั้นเป็นพืชที่พบเห็นได้ทั่วไป(ตามตลาด) ซึ่งตัวของชะอมนั้นมีคุณค่าดีๆด้านสมุนไพรอยู่มาก รวมถึงคุณค่าทางด้านโภชนาการที่หลากหลาย ลองมารู้จักกับชะอมไปพร้อมๆกันนะครับ

ชะอมชื่อทางวิทยาศาสตร์   Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen

ชื่อวงศ์           Fabaceae

ชื่อทั่วไป        ชะอม หรือ Acacia pennata

ชื่ออื่นๆของชะอม   ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา

ลักษณะของต้นชะอม

  •  ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม
ชะอมเแป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จัดว่าไม่เบาเลยทีเดียว โดยยอดชะอม 100 กรัม ให้สารอาหารต่างๆดังนี้

  • ให้พลังงานกับร่างกาย   57 กิโลแคลอรี่
  • มีเส้นใย ซึ่งมีส่วนช่วยระบบขับถ่ายอยู่ 5.7 กรัม
  • มีแคลแซียมซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันอยู่ 58 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัสซึ่งช่วยให้วิตามินบีต่างๆทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งมีอยู่ถึง 80 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด บำรุงโลหิต    4.1 มิลลิกรัม
  • มีวิตามินต่างๆดังนี้  วิตามินเอ(บำรุงสายตา) 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางด้านสมุนไพรไทย

ใบชะอม (เน้นที่ใบหรือยอดอ่อน)   สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้

รากชะอม   หากนำมาต้มรับประทาน  จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรด จุกเสียดแน่นท้องและขับลมในกระเพาะอาหาร

ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆในการรับประทานชะอม

ผักชะอมในช่วงหน้าฝน จะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนมาก บางครั้งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ปวดท้องและสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนแนะนำว่าไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้งได้

พ.ย. 022012
 

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว ไทยสมุนไพร.net วันนี้ก็เข้าสู่เดือนพฤศจิกายนแล้ว รู้สึกอากาศก็เริ่มจะเย็นลง(นิดหน่อย) เพราะใกล้เข้าสู่หน้าหนาว พอพูดถึงหน้าหนาว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยคลายหนาวลงได้นอกจากผ้าห่มและคนรู้ใจ หลายคนก็คงนึกไปถึง เครื่องดื่มร้อนๆสักถ้วย ที่จะพอแก้หนาว เพิ่มความรู้สึกสดชื่น อาจจะเป็นชา หรือกาแฟก็ตามสะดวกนะครับ แต่วันนี้เว็บของเราเองก็มีทางเลือกดีๆทางเลือกหนึ่งมาฝากทุกท่านเช่นกัน เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ให้อารมณ์เหมือนดื่มชา แต่แตกต่างตรงที่ชาที่ผมจะแนะนำ นั้นไร้ซึ่งคาเฟอีน แถมมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย อีกต่างหาก ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนั้นคือชาจาก ดอกคำฝอย นั่นเองครับ   ก่อนจะพูดถึงสรรพคุณ แน่นอนต้องมารู้จักชื่อเสียงเรียงนามรูปร่างหน้าตาของพืชชนิดนี้กันก่อน

ดอกคำฝอยชื่อวิทยาศาสตร์  Carthamus tinetorius L.

ชื่อวงศ์   Compositae

ชื่อโดยทั่วไป   คำฝอย หรือ Safflower,False Saffron ,Saffron Thistle (จะสังเกตว่าชื่อในภาษาอังกฤษมักมีคำว่า Saffron ซึ่งคำว่า Saffron นี้แปลว่า สีเหลืองอมส้ม  ซึ่งบอกถึงลักษณะสีของดอกคำฝอยได้เป้นอย่างดี)

ชื่ออื่นๆตามแต่ละภูมิภาค  ดอกคำ (ภาคเหนือ) ,คำยอง (ลำปาง) ภาคอื่นๆจะไม่มีชื่อเฉพาะนะครับ

ลักษณะของต้นคำฝอย

เป็นไม้ที่สู้ไม่ถอย (ไม้ล้มลุก) สูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็ลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ปลายจะแหลม ปลูกง่าย ชอบอากาศเย็น มักขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ดอก มีรสหวาน สรรพคุณบำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท ขับประจำเดือน และที่สำคัญที่ทำให่ดอกคำฝอยเป็นที่นิยมคือสรรพคุณในการ ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน    นอกจากนั้นในดอกแก่ยังใช้ทำเป็นสีในการปรุงแต่งอาหาร โดยวิธีการจะนำดอกที่แก่มาชงกับน้ำร้อน แล้วกรองจะได้สีเหลืองเข้ม นำไปผสมอาหารเช่นขนม โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสม นับว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เกสร  บำรุงโลหิต  ช่วยในเรื่องประจำเดือนของสตรี

เมล็ด  มีสรรพคุณด้านสมุนไพรในการขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หรือนำมาบด ทาแก้บวม

สูตรชาจากดอกคำฝอย

นำดอกคำฝอยไปตากให้แห้ง นำไปชงกับน้ำร้อนในอัตราส่วน ดอกคำฝอยสองช้อนโต๊ะ ต่อน้ำหนึ่งแก้ว จะได้ชาดอกคำฝอยกลิ่นหอมน่ารับประทาน  แต่ถ้าใครเห็นว่าชาดอกคำฝอยเป็นเรื่องยุ่งยาก (หรือไม่รู้จะหาต้นคำฝอยได้ที่ไหน) เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องไม่ยากเลยครับ เพราะดอกคำฝอยเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คนนิยมนำมาแปรรูปขาย สามรถซื้อดอกคำฝอยที่ตากแห้งพร้อมชง ได้ตามร้าน OTOP ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้าก็มีให้เห็นบ่อยๆ แม้กระทั่งในเซเว่น(บางสาขา) ยังมีให้เห็นด้วยซ้ำ ยังไงก็ลองหามาทานดูได้  สุดท้ายช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน (รูปภาพจาก blog Lovesbody)

ต.ค. 092012
 

เมื่อตอนที่แล้วได้พูดถึงกะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวไป  เพื่อไม่ให้พืชอีกพันธ์ที่คล้ายกันต้องน้อยใจ ผมเลยต้องขอพูดถึงกระหล่ำปลีม่วงบ้าง เพราะนอกจากสีที่ต่างกันแล้ว ยังมีรายละเอียดในด้านคุณค่าบางส่วนที่แตกต่างกัน จะขอพูดถึงสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย แยกย่อยเป็นข้อๆดังนี้

คุณค่าของกะหล่ำปลีม่วง

กะหล่ำม่วง หรือกระหล่ำปลีม่วง1. กะหล่ำปลีม่วงจะอุดมไปด้วยสาร อินไทบิน(intybin) ทีมีส่วนสำคัญมากในระบบเผาผลาญอาหารของคนเรา เพราะช่วยกระตุ้นเลือดไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี และกระเพาะอาหารที่ดีขึ้น  เมื่อเลือดไปเลี้ยงดีแล้วระบบพวกนี้จึงมีความสมบูรณ์

2. กะหล่ำปลีม่วงจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก จึงช่วยเสริม ฮีโมโกลบิน ที่เป็นสารที่ทำหน้าที่จับและพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อไปเลื้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หากเราขาดสารนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งสารฮีโมโกลบินนี้นอกจากพบในพืชแล้วยังพบในพวกเครื่องในสัตว์เช่นตับสัตว์ แต่ตับสัตว์มีคอเรสเตอรอลค่อนข้างสูง กะหล่ำปลีม่วง จึงป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

3. กะหล่ำปลีม่วงมีสาร เอส มีไทล์เมทิโอนีน (S-methylmethionine) หรือที่เรียกกันคือวิตามินยู ชื่อไม่คุ้นเลยว่าไหมครับ แต่ทางการแพทย์มีการใช้ สารเอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือวิตามินยู ในการช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและช่วยบรรเทาอาการปวดท้องที่มีสาเหตุจากแผลในกระเพาะและช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ  นอกจากนั้นสารเอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือวิตามินยู ยังช่วยต้านมะเร็งคือสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้ได้ แถมยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย

4.สามารถใช้ประคบเต้าคม เพื่อบรรเทาอาการปวดตีงคัดเต้านมเช่นเดียวกับกะหล่ำปลีเขียว

5.ในกะหล่ำปลีม่วง มีวิตามินซีสูงกว่า กะหล่ำปปลีสีเขียวถึงสองเท่า (เรียกว่าเกทับกันเห็นๆ) คุณค่าของวิตามินซีเราคงไม่ขอพูดถึงมากเพราะพูดกันในหลายๆบทความแล้ว

6.กะหล่ำปลีม่วงจะช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลได้ และนอกจากกนี้ยังมีสารซัลเฟอร์ในการช่วยระบบประสาทให้นอนหลับดี โดยอาศัยกลไกเดียวกับกะหล่ำปลีเขียว

 

การบริโภคกะหล่ำปลีม่วง

สำหรับการบริโภคกะหล่ำปลีม่วงจะต่างกับกะหล่ำปลีเขียวหน่อยตรงที่ว่า กะหล่ำปลีม่วงนิยมทานสดมากกว่า เช่นสลัดก็มีการหันฝอยเพื่อเพิ่มสีสัน ข้อแนะนำอย่างหนึ่งคือ การนำมากะหล่ำปลีม่วงมาประกอบอาหารระวังอย่าให้ผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าวิตามิน

 

ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลีดิบครั้งละมากๆ เพราะมันมีสาร Goitrogen ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อทไทรอยด์นำไอโอดีนที่อยู่ในเลือดไปใช้ได้น้อย ทำให้เกิดภาวะขาดไอโอดีน ฉะนัน้ทานอะไรก็ควรทานแต่พอดี สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับพืชอื่นๆบ้างจะช่วยให้ได้คุณค่าอย่างครบถ้วน