เม.ย. 192015
 

เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง

แคนา  จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า)   ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา  ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ   ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามีดังนี้ครับ ขอบคุณคณะเภสัชาสตร์ ม.อุบล สำหรับข้อมูลอ้างอิง

 

ชื่อสมุนไพร แคนา
ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า)  แคขาว (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ)   แคเค็ตถวา  (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่)      แคทราย(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ดอกแคนา 

  • ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
  • เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม  โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7  เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี   ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร
  •  ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร
  •  ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ   พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ  โดยออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย    

  •   ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
  •   เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด
  •   ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก
  •    ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม
  •    เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท(ตำราน่าจะหมายถึงอาการปวดต่างๆนะครับ) แก้โรคชัก

ประโยชน์อื่นๆ   แน่นอนครับสำหรับแคนา ประโยชน์หลักๆคือดอก ใช้ในการลวกจิ้ม หรือประกอบอาหารต่างๆ รสชาติขมนิดๆ ช่วยเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นต้นแคนาเองก็มีการนำไปเป็นไม้ให้ร่มเงา ตามบ้าน รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายๆแห่งนำไปใช้ปลูกตามถนนเข้าโครงการก็มี จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ทีเดียว

 

ก.ค. 012014
 

หลังจากที่ไม่ได้ update เนื้อหาใน web มานานพอควร ได้ฤกษ์งามยามดีขออนุญาตนำบทความดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากเช่นเคยครับ ซึ่งบทความนี้เผอิญไปอ่านเจอใน pantip  โดยคุณ Dear Nostalgia เป็นผู้รวบรวมมาเห็น่าสนใจดีเลยนำมาฝากทุกท่าน (โดยขออนุญาตเรียบเรียงใหม่และตัดทอน รวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนให้ง่ายต่อการอ่านนะครับ

พูดถึงสะระแหน่หลายคนคงคิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยแท้แต่ดังเดิม ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จากคำบอกเล่า ศจ.อินทรี จันทรสถิต ผ่านทาง ด็อกเตอร์ ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า จริงๆแล้วสะระแหน่ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วง ร.3 โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่อของ สะระแหน่นั่นเอง

ข้อมูลจำเพาะของสะระแหน่

  • ชื่อ  สะระแหน่  (Kitchen Mint )
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mentha aruensis Linn   วงศ์   Labiatae  สกุล  Mint
  • ชื่อในแต่ละท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) ,หอมด่วน (ภาคเหนือและอิสาน) ,สะแน่(ภาคใต้)

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม ไม่มีขน (ต่างจากพวก mint ของฝรั่งที่มีขนยาวกว่า)ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว สะระแหน่เป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง จึงทำให้มีรสเย็นสดชื่อนั่นเอง

สะระแหน่ในฐานะสมุนไพรไทย

แพทย์แผนไทย นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณคือ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม  นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยถ้าจะสรุปตามการประยุกต์ใช้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตามตำราสมุนไพรไทยดังนี้

  •   รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย  วันละ  2 ครั้ง
  •  รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
  •  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
  •  ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  •  รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  •  รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ประโยชน์ด้านอื่นๆนอกจากด้านสมุนไพรของสะแหน่

สะระแหน่เป็นสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อยกว่ามินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

 

ธ.ค. 032013
 

วันนี้ผมเรื่องราวของมะพร้าวมาฝาก  ผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้จักมะพร้าวแน่ๆ เพราะขนมไทยเกือบทุกชนิด จะมีการนำพืชชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ ไม่ใส่ลงไปตรงๆ เช่นขูดเป็นฝอย ก็ใส่ลงไปทางอ้อมผ่านทางน้ำกระทิ  แต่ใครจะรู้ว่ามะพร้าว ก็จัดเป็นสมุนไพรไทย ที่มีคุณค่าเช่นกันเดียว มารู้จักมะพร้าวกันนะครับ

ต้นมะพร้าว

  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว  : Cocos nucifera L. var. nucifera
  • ชื่อในภาษาอังกฤษ : Coconut  (ส่วนน้ำกระทิ เรียก coconut milk นะครับ)
  • ชื่อวงศ์ : Palmae (หรือง่ายๆคือเป็นพืชตระกูลปาล์มนั่นเอง)
  • ชื่อตามภูมิภาคต่างๆของไทย  : เนื่องจากมะพร้าวขึ้นอยู่ทุกภูมิภาค จึงมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

 

ลักษณะของต้นมะพร้าว                                                                                                                                          

  • ลำต้น  :   ไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร(สูงที่สุดในพืชตระกูลปาล์ม) ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ
  • ใบ       :    เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอก   :  ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ
  • ผล     : ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

  • เปลือกผล – รสฝาดขม สุขุม (ตามตำราโบราณเขาเรียกแบบนี้จริงๆครับ คงประมาณฝาดลึกๆ) ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา  – แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
  • ถ่านจากกะลา – รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ (ปัจจุบันมีถ่านแบบใช้ทานดูสารพิษ แก้ท้องเสียจ่ายให้ผู้ป่วยใน รพ. แล้วนะครับ ข้อนี้อาจไม่จำเป็นต้องทำตามก็ได้)
  • น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา – ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว – รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
  • น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว – ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้
  • น้ำมะพร้าว – รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในอดีตยามจำเป็น  น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน เคยใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้ (ไม่แนะนำนะครับ ปัจจุบันนี้ให้รักษากับแพทย์แผนปัจจุบันดีกว่า)
  • ราก – รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
  • เปลือกต้น – เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
  • สารสีน้ำตาล – ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

การประยุกต์ใช้อื่นๆ  

มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวมะพร้าว,น้ำมะพร้าว

อ้างอิงจากงานเขียนของคุณพนิตตา  สวัสดี  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  วช. นะครับ(ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ) ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ของน้ำมะพร้าวอีกหลายประการคือ

  1. การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้  โดยผลงานวิจัยของ ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโตร-เจน (Estrogen) สูง ซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง
  2. การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวัน   ยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ  และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย
  3. น้ำมะพร้าวช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่   ภายนอกเพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่   ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน  ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้
  4. น้ำมะพร้าวสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี
  5. น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ  ขับของเสีย หรือสารพิษออกจากร่างกาย  (คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์ )  จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง  ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของมะพร้าว ลองหามาทานกันดูนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพนิตตา  สวัสดี  ภารกิจข้อมูลวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  วช. และฐานข้อมูลสมุนไพรไทย 200 ชนิด เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ

 

ต.ค. 092012
 

เมื่อตอนที่แล้วได้พูดถึงกะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวไป  เพื่อไม่ให้พืชอีกพันธ์ที่คล้ายกันต้องน้อยใจ ผมเลยต้องขอพูดถึงกระหล่ำปลีม่วงบ้าง เพราะนอกจากสีที่ต่างกันแล้ว ยังมีรายละเอียดในด้านคุณค่าบางส่วนที่แตกต่างกัน จะขอพูดถึงสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย แยกย่อยเป็นข้อๆดังนี้

คุณค่าของกะหล่ำปลีม่วง

กะหล่ำม่วง หรือกระหล่ำปลีม่วง1. กะหล่ำปลีม่วงจะอุดมไปด้วยสาร อินไทบิน(intybin) ทีมีส่วนสำคัญมากในระบบเผาผลาญอาหารของคนเรา เพราะช่วยกระตุ้นเลือดไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี และกระเพาะอาหารที่ดีขึ้น  เมื่อเลือดไปเลี้ยงดีแล้วระบบพวกนี้จึงมีความสมบูรณ์

2. กะหล่ำปลีม่วงจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก จึงช่วยเสริม ฮีโมโกลบิน ที่เป็นสารที่ทำหน้าที่จับและพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อไปเลื้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หากเราขาดสารนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งสารฮีโมโกลบินนี้นอกจากพบในพืชแล้วยังพบในพวกเครื่องในสัตว์เช่นตับสัตว์ แต่ตับสัตว์มีคอเรสเตอรอลค่อนข้างสูง กะหล่ำปลีม่วง จึงป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

3. กะหล่ำปลีม่วงมีสาร เอส มีไทล์เมทิโอนีน (S-methylmethionine) หรือที่เรียกกันคือวิตามินยู ชื่อไม่คุ้นเลยว่าไหมครับ แต่ทางการแพทย์มีการใช้ สารเอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือวิตามินยู ในการช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและช่วยบรรเทาอาการปวดท้องที่มีสาเหตุจากแผลในกระเพาะและช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ  นอกจากนั้นสารเอส มีไทล์เมทิโอนีน หรือวิตามินยู ยังช่วยต้านมะเร็งคือสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้ได้ แถมยังช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย

4.สามารถใช้ประคบเต้าคม เพื่อบรรเทาอาการปวดตีงคัดเต้านมเช่นเดียวกับกะหล่ำปลีเขียว

5.ในกะหล่ำปลีม่วง มีวิตามินซีสูงกว่า กะหล่ำปปลีสีเขียวถึงสองเท่า (เรียกว่าเกทับกันเห็นๆ) คุณค่าของวิตามินซีเราคงไม่ขอพูดถึงมากเพราะพูดกันในหลายๆบทความแล้ว

6.กะหล่ำปลีม่วงจะช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลได้ และนอกจากกนี้ยังมีสารซัลเฟอร์ในการช่วยระบบประสาทให้นอนหลับดี โดยอาศัยกลไกเดียวกับกะหล่ำปลีเขียว

 

การบริโภคกะหล่ำปลีม่วง

สำหรับการบริโภคกะหล่ำปลีม่วงจะต่างกับกะหล่ำปลีเขียวหน่อยตรงที่ว่า กะหล่ำปลีม่วงนิยมทานสดมากกว่า เช่นสลัดก็มีการหันฝอยเพื่อเพิ่มสีสัน ข้อแนะนำอย่างหนึ่งคือ การนำมากะหล่ำปลีม่วงมาประกอบอาหารระวังอย่าให้ผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าวิตามิน

 

ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลีดิบครั้งละมากๆ เพราะมันมีสาร Goitrogen ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อทไทรอยด์นำไอโอดีนที่อยู่ในเลือดไปใช้ได้น้อย ทำให้เกิดภาวะขาดไอโอดีน ฉะนัน้ทานอะไรก็ควรทานแต่พอดี สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับพืชอื่นๆบ้างจะช่วยให้ได้คุณค่าอย่างครบถ้วน

ไพล สมุนไพรโบราณ คู่ตำหรับยาไทย

 บำรุงผิว, แก้ปวดเมื่อย  ปิดความเห็น บน ไพล สมุนไพรโบราณ คู่ตำหรับยาไทย
ก.ย. 182012
 

ไพล หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อ เพราะเป็นสมุนไพรไทย ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน จะเห็นจากตำหรับยาไทยต่างๆ จะมีไพล เป็นส่วนประกอบเสมอ วันนี้เรามารู้จัก สมุนไพร ตัวนี้ให้มากขึ้นกันนะครับ

ไพล สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum Rosc วงศ์ Zingiberaceae

ชื่ออังกฤษ Thai ginger,Bengal ginger

ชื่อท้องถิ่น ปูลอย ปูเลย ( เหนือ) ว่านไฟ ( กลาง) มิ้นสะล่าง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชล้มลุกสูง 70 –150 เซนติเมตรมีเหง้าใต้ดินเปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะแทงหน่อสีลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนขึ้นซ้อนกันใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนานคล้ายใบหอกกว้าง 3.5-5.5เซนติเมตรดอกช่อแทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวลใบประดับสีม่วงผลเป็นผลแห้งรูปกลม

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ไพลเป็นพืชที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล นิยมปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชวงศ์เดียวกับ ขิง ข่า ตามตำหรับโบราณ ไพลเป็นส่วยผสมของยาอบสมุนไพร ช่วยสมานผิวและทำให้ผิวเต่งตึงสดใสจากการวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ ขัด ยอกและปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้ผลดี

วิธีใช้

 

ใช้เหง้าสด 1เหง้าตำให้แหลกเอาน้ำคั้นทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือใช้เหง้าสดตำพวกบริเวณที่ปวดบวม น้ำคั้นจากเหง้าไพลมีฤทธิ์ทำให้ปลายประสาทชาจึงช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้

สารสำคัญ

เหง้าไพลประกอบด้วยน้ามันหอมระเหยประมาณ 6 %มีสารกลุ่มเซสควิเทอร์ เช่น camphene,zingibereneมีฤทธิ์ขยายหลอดลมซึ่งได้ลองใช้กับผู้ป่วยสรุปว่าได้ผลดี