มะเขือเทศ มากกว่าผิวสวย

 บำรุงผิว, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน มะเขือเทศ มากกว่าผิวสวย
ก.ย. 202012
 

มะเขือเทศถ้าพูดว่าเพื่อผิวสวยหลายคนอาจเคยได้ยินแต่คุณค่ามันมากกว่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของสารอาหารต่างๆ เราไปรู้จักกับพืชสมุนไพรชนิดนี้กันนะครับ

มะเขือเทศ สมุนไพรชื่อวิทยาศาสตร์ Lycopersicon esculentum Mill วงศ์ Solanaceae

ชื่ออังกฤษ tomato , lova apple

ชื่อท้องถิ่น ตรอบ (สรินทร์) ตีรอบ (เขมร) มะเขือส้ม(ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุก สูง 1-2 เมตรลำต้นและใบมีขน

ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ออกสลับกันยาว 10-14 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อง่ามใบ ช่อหนึ่งมี 3-7 ดอก กลีบดอกสีเหลืองติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ ผล รูปร่างและขนาดมีได้ต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่กลม กลมรีหรือกลมแบน มะเขือเทศเป็นพืชอบอุ่นและแสงแดด ผลเมื่อยังดิบมีสีเขียว แต่เมื่อสุกเต็มที่แล้วมีสีแดงอมส้มถึงแดง ผิวนอกเรียบเป็นมัน มีเนื้อฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่มสดใส

ใสสตรีนิยมใช้น้ำมะเขือเทศสดพอพอกหน้าหรือใช้มะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะลงบนใบหน้า เนื่องจากวิตามินหลายชนิดในมะเขือเทศจะช่วยบำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่ม สดชื่น นอกจากนี้น้ำจากผลมะเขือเทศสุกที่คั้นใหม่ ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้เนียนนุ่ม โดยนำผลมะเขือเทศมาบดให้ละเอียด เติมน้ำมะนาว 2-3 หยด ขั้นตอนการใช้เริ่มจากการล้างหน้าให้สะอาด ทาครีมสำหรับใบหน้า วางชั้นสำลีแห้งบาง ๆ แล้วปิดด้วยสำลีที่ชุ่มน้ำมะเขือเทศที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที เอาสำรีออกแล้วทาครีมอีกครั้ง และเช็ดออกให้สะอาด ด้วยสำลี ชุบน้ำมะเขือเทศ

            ผลมะเขือเทศนิยมใช้เป็นผักสด ผลไม้ ประกอบอาหารหรือทำซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่ม

การรับประทานผลสดที่มีไลโคปีน ซึ่งคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) ลดการเกิดมะเร็ง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ยาระบายอ่อน ๆ เจริญอาหาร

ใช้ผลสดต้มน้ำแกงหรือกินสด

ต้น

ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืช มีฤทธ์ไล่แมลงและเพิ่มความต้านทานต่อแมลง

สารสำคัญ

ผล มะเขือเทศมีวิตามินหลายชนิดเช่น thiamine, nicotic, acid, riboflavin, ascorbic acid, pantothenic acid, biotin, วิตามินเค นับว่าเป็นผักหรือสมุนไพรที่มีวิตามินเกือบครบ สารจำพวก carotennoid ที่พบในมะเขือเทศมี B-carotene และ lycopene ในมะเขือเทศที่สุกมี lycopene เพิ่มขึ้น

ใบ ส่วนเหนือดินและผลดิบ ใบมะเขือเทศมีสารพวก สเตียรอยดัลอัลคาลอยด์ (steroidal alkaloids) ได้แก่ อัลฟาโทมาทีน

ข้อควรระวัง

สารอัลฟาโทมาทีน มีลักษณะคล้ายซาโปนิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุอย่างแรง ถ้ารับประทานในขนาดที่ทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง มีฤทธ์กระตุ้มระบบประสาทส่วนกลางอาจเป็นอัมพาตได้

การใช้มะเขือเทศพอกหน้า บำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่มสดชื่น ผลที่ใช้ต้องสด ดูสภาพดี ไม่ควรใช้ผลที่เหี่ยวแห้งแล้วภาชนะที่ใส่ผลไม้ไม่ควรทำด้วยโลหะที่เป็นสนิม ควรใช้แก้วหรือกระเบื้อง การพอกอย่าพอกที่ตา ปากและรูจมูก

 

ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา

ก.ย. 182012
 

มะกรูด สมุนไพรไทยชนิดนี้ พบเห็นได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้งใบ และ ผล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

มะกรูด สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC วงศ์ Rutaceae

ชื่ออังกฤษ Leech lime

ชื่อท้องถิ่น มะขุน มะกรูด ส้มกรูด

ลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีหนามตามลำต้นและกิ่งก้านใบสีเขียวแก่ ตรงกลางใบจะแคบทำให้มองดูเหมือนเป็น 2 ใบ ภายในมีต่อมน้ำมัน มีกลิ่นหอมดอกมีสีขาว ผลมีสีเขียวผลขรุขระเวลาสุกจะมีสีเหลือง

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

รักษา ชันนะตุ รักษารังแค

น้ำคั้นจากผลใช้รักษาชันนะตุ รักษารังแค่ทำให้ผมสะอาดชุ่มชื่นเป็นเงางาม ดกดำผมลื่นโดยใช้มะกรูดแก่แต่ไม่สุกผ่าครึ่งออกเป็น 2 ชิ้นแกะเมล็ดออกเมื่อสระผมเสร็จแล้วให้เอามะกรูดสระซ้ำจะทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

สุวคนธบำบัด

น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลสดใช้แต่งกลิ่นสบู่และแชมพูลดอาการซึมเศร้า รักษากระเพาะปัสสะวะอักเสบ( ผสมในอ่างน้ำ)

ยาบำรุงหัวใจ

ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ ฝานผิวมะกรูดสุกเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้องแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือชงด้วยน้ำเดือดแช่ทิ้งไว้ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 – 2 ครั้ง ถ้ายังไม่ทุเลาจะรับประทานติดต่อกัน2-3วันก้อได้

ไพล สมุนไพรโบราณ คู่ตำหรับยาไทย

 บำรุงผิว, แก้ปวดเมื่อย  ปิดความเห็น บน ไพล สมุนไพรโบราณ คู่ตำหรับยาไทย
ก.ย. 182012
 

ไพล หลายๆคนอาจเคยได้ยินชื่อ เพราะเป็นสมุนไพรไทย ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน จะเห็นจากตำหรับยาไทยต่างๆ จะมีไพล เป็นส่วนประกอบเสมอ วันนี้เรามารู้จัก สมุนไพร ตัวนี้ให้มากขึ้นกันนะครับ

ไพล สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum Rosc วงศ์ Zingiberaceae

ชื่ออังกฤษ Thai ginger,Bengal ginger

ชื่อท้องถิ่น ปูลอย ปูเลย ( เหนือ) ว่านไฟ ( กลาง) มิ้นสะล่าง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชล้มลุกสูง 70 –150 เซนติเมตรมีเหง้าใต้ดินเปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะแทงหน่อสีลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนขึ้นซ้อนกันใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนานคล้ายใบหอกกว้าง 3.5-5.5เซนติเมตรดอกช่อแทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวลใบประดับสีม่วงผลเป็นผลแห้งรูปกลม

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ไพลเป็นพืชที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล นิยมปลูกไว้ในบ้าน เป็นพืชวงศ์เดียวกับ ขิง ข่า ตามตำหรับโบราณ ไพลเป็นส่วยผสมของยาอบสมุนไพร ช่วยสมานผิวและทำให้ผิวเต่งตึงสดใสจากการวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ ขัด ยอกและปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้ผลดี

วิธีใช้

 

ใช้เหง้าสด 1เหง้าตำให้แหลกเอาน้ำคั้นทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือใช้เหง้าสดตำพวกบริเวณที่ปวดบวม น้ำคั้นจากเหง้าไพลมีฤทธิ์ทำให้ปลายประสาทชาจึงช่วยลดอาการปวดเมื่อยได้

สารสำคัญ

เหง้าไพลประกอบด้วยน้ามันหอมระเหยประมาณ 6 %มีสารกลุ่มเซสควิเทอร์ เช่น camphene,zingibereneมีฤทธิ์ขยายหลอดลมซึ่งได้ลองใช้กับผู้ป่วยสรุปว่าได้ผลดี

ก.ย. 182012
 

ฝรั่ง เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องเคยทานผลไม้ชนิดนี้ ซึ่งจริงๆแล้วฝรั่งเอง ก็จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งเหมือนกัน สำหรับสรรพคุณของมันนั้นมีมากมายทีเดียว เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปทำความรู้จักกับผลไม้ชนิดนี้กันเลยนะครับฝรั่ง สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ psidium guajawa L. วงศ์ Myrtaceae

ชื่ออังกฤษ Guava

ชื่อท้องถิ่น จุ่มโป (สุราษฏร์ธานี) มะแกว (แพร่) มะกา (แม่ฮ่องสอน) มะมั่น (ลำปาง)มะปุ่น (สุโขทัย) มะก้วย (เชียงใหม่) สีดา (นครพนม) ชมพู่ (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลางสูง 3 –8 เมตรเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือออกสลับกันมีขนเล็กน้อย ใบรูปร่างวงรี ขอบขนาน กว้าง4-6 เซนติเมตรยาว 7-12 เซนติเมตรดอกออกเป็นกระจุก 2- 4 ดอกบางครั้งออกเป็นดอกเดี่ยวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียวแข็งรสฝาดเมื่อแก่จัดสีขาวจะอมเขียวสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ดับกลิ่นปาก

ใบฝรั่งมีน้ำหอมระเหย ช่วยกลบกลิ่นอาหารที่อยู่ในปากใบฝรั่งยังช่วยบำรุงรักษาเหงือกและฟันให้แข็งแรงด้วยดับกลิ่นปากให้เคี้ยวใบฝรั่ง 3 ใบ หรือ 3 ยอดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆหรือเมื่อต้องการกลบกลิ่นปาก เคี้ยวให้ละเอียด อมไว้นานๆแล้วค่อยบ้วนทิ้ง

 แก้ท้องเสีย

 

เนื่องจากมีสารแทนนินอยู่มาก ซึ่งสารนี้นอกจากจะช่วยยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรคแล้วยังช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องเสียให้เคี้ยวยอดอ่อนทีละน้อยเพราะถ้ากินมากๆจะรู้สึกขม ถ้าเคี้ยวพร้อมเกลือเล็กน้อยจะช่วยให้กินง่ายขึ้นให้กินทั้งหมด 7 ยอด (1 ยอดมีใบอ่อน 4 ใบ)

สารสำคัญ

ใบฝรั่งมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย nerolidol, limonene,caryophyllene cineol

และมีแทนนิน 8-10% เปลือกต้นเปลือกรากมีแทนนิน12-30%ผลดิบมีวิตามินซีมากจึงใช้กินแก้โรคลักปิดลักเปิดผลสุกมีสารเพกตินอยู่มากจึงใช้เป็นยาระบาย

ข้อควรระวัง

1.รับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก

2ก่อนรับประทานควรล้างให้สะอาดจากยาฆ่าแมลง

ประคำดีควาย อยากรังแคหายขาด ต้องลองใช้

 บำรุงเส้นผม  ปิดความเห็น บน ประคำดีควาย อยากรังแคหายขาด ต้องลองใช้
ก.ย. 182012
 

สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะน่ากลัวนิดนึง แต่ถ้าลองได้รู้จัก และลองใช้ดูแล้ว จำรู้ว่ามันมีประโยชน์มาก ชนิดที่ท่านอาจลืม แชมพูขจัดรังแคที่ใช้อยู่เป้นประจำเลยก็เป็นได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sapindus rarak A.DC.วงศ์ Sapindaceae

ชื่ออังกฤษ Soap nut tree, soap berry

ชื่อท้องถิ่น มะคำดีควาย (กลาง ใต้ ) มะซัก ส้มป่อยเทศ (เหนือ) ชะแซ ซะเหล่เด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ประคำดีควายเป็นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตรเปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียนหรือแตกเป็นร่องไปตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบรวมแบบขนนก ใบย่อยเป็นรูปไข่ดาว ออกสลับกัน ดอกสีนวลออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบผลฉ่ำน้ำค่อนข้างกลมโตสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในมีเมล็ดกลมสีดำมีเปลือกหุ้ม 1 เมล็ด

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

แก้รังแคและรักษาหนังศีรษะ

ผลของประคำดีควายมีสารกลุ่มซาโปนินกลัยโคไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้เกิดฟองเมื่อเขย่ากับน้ำ เป็นสารลดแรงตึงผิวใช้ประโยชน์ในการชำระล้างร่างกาย เป็นสารลดแรงตึงผิว ใช้สระผม แก้รังแค และรักษาหนังศีรษะ เช่นชันนะตุบนหัวเด็ก ใช้เป็นสารชะล้าง ใช้ซักผ้าโดยใช้ผลแห้ง 5 ผลทุบพอแตกต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วยใช้ทาที่หนังศีรษะบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้งจนกว่าจะหาย

 

สารสำคัญ

เนื้อผลมี saponin, emarginatoside, quercetin, quercetin-3-

น้ำมันที่บีบจากเมล็ดมี palmitic acid และ stearic asid

ข้อระวัง

ความเป็นพิษถ้ารับประทานทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ผง saponin เข้าทางจมูกทำให้เกิดความระคายเคือง ทำให้จามถ้าฉีดเข้ากระแสโลหิต ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกเป็นพิษมากแก่สัตว์เลือดเย็นและถ้าใช้สระผมต้องระวังไม่ให้น้ำยาเข้าตาเพราะจะทำให้แสบตาและตาอักเสบ

ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก

 ช่วยสมานแผล  ปิดความเห็น บน ใบบัวบก สมุนไพรไทย หาง่ายใช้สะดวก
ก.ย. 082012
 

ใบบัวบก พืชสมุนไพรไทย ชนิดนี้น่าจะคุยเคยกับคนไทยเป็ยอย่างดี แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับบัวบก หรือใบบัวบก อย่างถึงกึ๋นกัน

ใบบัวบก สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ centella asiatica urban วงศ์ Umbelliferae Hydrocotyle  asiatica Linn

ชื่ออังกฤษ Asiatic pennywort, goto gola , tiger, Hydrocotyle lndian hydrocotyle

ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก (กลาง) ผักแว่น (เหนือ ตะวันออก ) จำปาเครือ กระบังนอก (ลำปาง) ผักแว่น ผักหมอกช้าง (จันทบุรี ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินชอบที่ชื้นแฉะมีรากฝังลงในดินและงอกปลายยอดใหม่ชูขึ้น ใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกตรงข้อจำนวน 2- 6 ใบแผ่นใบรูปไตขอบใบหยักใบกว้าง 2-5 เซนติเมตรดอก ช่อเป็นกระจุกสีแดงอมเขียวออกระหว่างช่อก้านใบกับลำต้นที่แผ่ติดดินผลขนาดเล็กเป็นลูกค่อนข้างกลมแตกได้

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์สมานบาดแผล

จากงานวิจัยพบว่าบัวบกสามารถทำให้แผลอักเสบต่างๆหายโดยทำให้แผลอ่อนตัวลง เพิ่มการสร้างเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณบาดแผลและมีฤทธิ์สมานบาดแผลจากคุณสมบัติเหล่านี้ปัจจุบันได้มีผู้นำสารสกัดบัวบกไปทำครีมทาช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้นและนำสารสกัดบัวบกไปผสมในเครื่องสำอาง

ลดอาการหน้ามัน

ใช้น้ำคั้นใบสดมาล้างหน้า

แก้ช้ำใน( พลัดตกหกล้ม )

ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่ม 1 ครั้งกินไปเรื่อยๆจนกว่าอาการจะหายสนิทหรืออาจใช้ตำฟอกบริเวณฟกช้ำ

สารสำคัญ

ต้นใบบัวบกประกอบด้วยสารกลุ่ม triterpenes คือ asiaticosind, madecassoside,  asiatic

สารกลุ่ม alkaloid คือ hydrocotylene

ข้อระวัง

1.ในต่างประเทศพบว่าถ้ารับประทานใบบัวบกมากเกินไปจะไปกดประสาททำให้ง่วงเหงามึนงง

2.การรับประทานน้ำคั้นบัวบก ห้ามรับประทานติดต่อกันนาน

เทียนกิ่ง เปลี่ยนสีผมด้วย สมุนไพรไทย

 บำรุงเส้นผม  ปิดความเห็น บน เทียนกิ่ง เปลี่ยนสีผมด้วย สมุนไพรไทย
ก.ย. 082012
 

หลายคนเช่น ผมเอง เป็นคนที่ต้องย้อมผมอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่ด้วยเหตุผลของเรื่องแฟชั่น แต่มันเพราะได้เจ้าผมหงอกมันดันขึ้นมาไม่หยุดไม่หย่อน แต่การย้อมผมแต่ละทีแทบจะต้องพะอืดพะอมกับกลิ่นของน้ำยาย้อมผม บทความนี้เองจะเสนออีกหนึ่งวิธี ที่เราจะเปลี่ยนสีผม ด้วยสมุนไพรไทยกันครับ

เทียนกิ่ง สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Lawsonia inermis Linn วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ henna tree , sinnamomo,Egyptian private

ชื่อท้องถิ่น เทียนย้อม เทียนไม้ (ไทย) เทียนป้อม เทียนต้น (กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นสูง 30-50 เซนติเมตรแตกกิ่งก้านมากใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรีกว่าง 1-2 เซนติเมตรยาว 3-4 เซนติเมตรเนื้อใบค่อนข้างแข็ง ดอก ช่อออกที่ปลายกิ่ง มีดอกทั้งปี ดอกย่อยขนาดเล็ก มีสองพันธุ์คือพันธุ์ดอกขาวและพันธุ์ดอกแดง ผล ผลเป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลมสีเขียวแกจัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

เทียนกิ่งหรือเฮนน่า เป็นสมุนไพรที่ย้อมผมกันมานานชาติที่นำมาย้อมผมเป็นชาติแรกคือ อียิปต์ เทียนกิ่งเมื่อใช้ย้อมผมจะทำให้ได้ผมสีไปทางสีแดงหรือสีแดงปนส้มนอกจากย้อมผมแล้วยังใช้ย้อมเล็บ ฝ่ามือ และฝ่าเท้านางระบำด้วยนอกจากนี้ยังพบว่าในเทียนกิ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด สารสกัดเอทานอล 95 % มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดใบเทียนกิ่งด้วยน้ำมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว ได้มีผู้ทดสอบความเป็นพิษของใบเทียนกิ่งในคนพบเมื่อให้รับประทานคนละ30 กรัมไม่พบว่าเป็นพิษแต่ถ้าให้ไปนานๆจะมีอาการเบื่ออาหาร และมีอาการเคลื่อนไหวของลำไส้มาก และเมื่อทดสอบในสุนัขก็ไม่ปรากฏอาการพิษจะเห็นว่าการการใช้ใบเทียนกิ่งย้อมผมจึงค่อนข้างปลอดภัย

ย้อมผม

ใช้ใบเทียนกิ่งตากแห้ง 8-12 หมักในน้ำชาจีน 1 คืน ตอนเช้าเติมกาแฟ 1 ช้อนชา ไข่แดง 1 ฟอง คนให้เข้ากันชโลมให้ทั่วเส้นผมทิ้งไว้ 2- 3 ชั่วโมงจึงล้างออกทำซ้ำๆกันหลายๆครั้งจะได้ผมสีดำหรือน้าตาลอมแดง

เครื่องสำอางพอกเล็บ

ใช้ใบเทียนกิ่งสดตำพอกเล็บทำให้เล็บมีสีน้ำตาลอมเหลือง

สารสำคัญ

สารเคมีที่สำคัญในการย้อมผมที่มีในใบคือ Lawsone หรือ 2- hydroxy-1, 4-napthoquinone นอกจากใช้ย้อมผมแล้ว  Lawsone ยังช่วยป้องกันผมจากแสงแดดและไม่มีฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์จากงานวิจัยพบว่า Lawsone ติดผมไม่แน่นเท่ากับสารสกัดจากเฮนน่าแสดงว่าการย้อมผมโดยใช้ผงใบเทียนกิ่งย้อมดีกว่าสารบริสุทธิ์ Lawsone

ก.ย. 082012
 

 แตงกวา สมุนไพรไทย

หากพูดถึงแตงกวาน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หลายคนคิดว่ามันเป็นผักธรรมดาที่วางอยู่บนจานข้าวผัด แต่แท้จริงแล้วมันเป็น สมุนไพรไทย อย่างหนึงที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก่อนที่เราจะรู้จักประโยชน์และสรรพคุณของมัน เรามาทำความรู้จักกับ พืชสมุนไพรชนิดนี้กันก่อนนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucumis sativus Linn วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ Cucumber

ชื่อท้องถิ่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยาง (แม่ฮ่องสอน) แตงเห็น แตงอ้ม (เชียงใหม่) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวา สมุนไพรไทย

 แตงกวาเป็นไม้เถามีอายุปีเดียว ต้นมีขนหยาบสีขาว ใบออกสลับกันตรงสามเหลี่ยมมนใหญ่ กว้าง 12 –18 เซนติเมตรมีแฉกใหญ่ 3 – 5 แฉก ตัวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเป็นตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองส่วยปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมล็ดลีแบนผิวเรียนสีขาว ผล รูปทรงกระบอกมีลายเขียวแก่มีพื้นสีเขียวอมขาวมีขนาดต่างๆกัน ในทางพฤษกศาสตร์แตงกวาและแตงร้านมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันพืชนี้มีถินกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพืชที่รู้จักกันดี ในบางพันธุ์ผลที่ยังอ่อนจะมีตุ่มยื่นออกมา

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์ฝาดสมาน

น้ำคั้นจากผลสดมีฤทธิ์ฝาดสมาน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าเรียบตึง ในผลมีเอ็นไซม์ อีเรบซิน( erepsin ) ช่วยย่อยโปรตีนซึ่งจะช่วยย่อยผิวชั้นนอกที่หยาบกร้านออกไปทำให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม เนื่องจากในผลแตงกวามีปริมาณกรดอะมิโนสูงจึงนิยมใช้น้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่นครีมล้างหน้า ครีมทาตัว แว่นแตงกวานำมาวางแนบผิวหน้าให้ความนุ่มเย็นบำรังผิว น้ำและเนื้อแตงกวาให้ความสดชื่นได้ดี

ยาเย็น

ผลเป็นยาเย็นขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ คอเจ็บ ตาแดง ไฟลวกและผดผื่นคัน กินเป็นผักจิ้มหรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

แก้ท้องเสียบิด

ใบมีรสขม มีพิษเล็กน้อยใช้แก้ท้องเสีย บิด

ยาถ่ายพยาธิ

เนื้อในเมล็ด ( kernel ) จากเมล็ดแก่กินเป็นอาหารและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนัง

เถา รสขม มีพิษเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนองและลดความดันโลหิต

สารสำคัญ

ผลแตงกวาเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบดังนี้ ความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % แร่ธาตุเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามิน B และวิตามิน C ผลแตงกวามีเอนไซม์อยู่หลายชนิดคือ เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ascorbic acid oxidase , succinic malic dehydroginase เถ้า (ash) จากเมล็ดมีปริมาณของฟอสฟอรัสสูง

ข้อควรระวัง

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเป็นแผลกินแล้วจะทำให้ปวดท้องท้องเสียง่าย