บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ

 พืชสมุนไพร, รักษาเบาหวาน, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ
ต.ค. 052012
 

บุกมาแล้ว ! บุกมาแล้ว !  รีบหนีเร็ว  เอ๊ะยังไงนี่ เรากำลังดูหนังสงครามอยู่เหรอ เปล่าครับ บุกในที่นี้ไม่ได้ถึงข้าศึกบุก แต่หมายถึงหัวบุก สมุนไพรไทยบ้านเรา ต่างหาก และที่ต้องหนี ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นโรคฮอตฮิตในปัจจุบันอย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน ต่างหากที่ต้องหนีไป

บุก ส่วนที่เห็นคือ หัวบุก ทีแรกเรื่องของบุกในเมืองไทย มันก็ไม่ได้แพร่หลายหรือเป็นที่ได้รับความนิยมเหมือนทุกวันนี้เพราะจริงๆ ทีแรกมันก็เป็นพืชพื้นบ้านอยู่ดี  คนในท้องถิ่นก็นำบุกมาประกอบอาหาร เหมือนเผือก เหมือนมันทั่วไป     พอเริ่มมีคนมาวิจัย   สรรพคุณต่างๆของมัน เลยกลายเป็นพืชสมุนไพรไทยยอดนิยม มีการแปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สารสกัด บุกผง วุ้นบุก และอื่นๆอีกมาก วันนี้เองก็คงจะไม่ช้าเกินไปที่จะนำทุกท่านมารู้จัก พืชสมุนไพรไทย ที่เรียกว่าบุกกันแบบถึงกึ๋น

 

มารู้จักบุกกัน  

ชื่อไทย   บุก 

ชื่อสามัญ  Konjac ,  devil’s tongue  (ลิ้นปิศาจ  น่ากลัวนะครับชื่อนี้ คาดว่ามาจากลักษณะของดอกบุก )   , shade palm, umbrella arum

ชื่อวิทยาศาสตร์      Amorphophallus rivieri Durieu cv. Konjac

ชื่อวงศ์    ARACEAE

ชื่อตามท้องถิ่น  :  บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง)  หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)  กระบุก (อิสาน)

 

เราพบบุกได้ที่ไหน

บุกเป็นพืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยขึ้นอยู่ตาม ชายป่า และบางทีก็พบตามพื้นที่ ทำนา เช่นที่ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นต้น บุกขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีให้หัวขนาด ใหญ่ได้ในดินร่วนซุย น้ำไม่ขังและดินที่มีฮิวมัส หรืออินทรียวัตถุสูง

 

ลักษณะของต้นบุก

ลักษณะของต้น บุก แสดงให้เห็นส่วนประกอบคือใบบุก และหัวบุกลำต้นใต้ดิน  บุกมีลำต้นใต้ดินหรือที่เราเรียกแบบง่ายๆก็คือ หัวบุก  แบบเดียวกับเรียกหัวเผือก หัวมัน ขนาดอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร (บางพันธ์อาจเล็กกว่านี้ )ทรงกลมแป้นลักษณะทรงเดียวกับลูกฟักทอง แต่บางสายพันธ์มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป  ซึ่งส่วนนี้เอง เป็นใช้ที่สะสมอาหารของบุก

 ใบ  ลักษณะเหมือนใบมะละกอ มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย    บางชนิดมีหนามอ่อนๆ  หรือบางทีบุกบางชนิดก็มีใบมีจุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน  จะเห็นว่าใบบุกมีใบลักษณะที่หลากหลายมาก  แต่ที่เด่นๆสังเกตง่ายว่าเป็บุกคือ จะมีก้านตรงจากกลางของหัว เมื่อโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทาง มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่บาง พันธุ์จะแปลกตรงที่กลับขึ้นด้านบนเหมือนหงายร่ม ดังนั้นลักษณะของใบบุก มีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของบุก

ดอกของบุก     ลักษณะดอกดอกคล้ายต้นหน้าวัว แต่ละชนิดมีขนาด สี และรูป ทรงต่างกัน บางชนิดมีดอกใหญ่มาก โดยเฉพาะบุกคางคก ดอกบุกมีกลิ่น เหม็นเหมือนเนื้อสัตว์เน่า บุกชนิดอื่นๆ มีดอกเล็กก้านดอกจะโผล่ขึ้นตรง จากกลางหัวบุก เช่นเดียวกับก้านใบ บุกมักจะมีดอกในช่วงปลายฤดูแล้ง แต่บุกสามารถออกดอกได้ในช่วง เวลาต่างๆ กัน ระยะเวลาในการแก่เต็มที่ ของดอกที่จะติดผลก็ต่างกัน

 ผลบุก (อย่าสับสนกับหัวบุกนะ ) หลังจากดอก ผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล ผลอ่อนของบุก มีสีขาวอมเหลือง พออายุ ได้ 1-2 เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่ปลายคล้ายผลกล้วย ผล ของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว  บุกบางชนิดก็มีเมล็ดในกลม   ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือแดงส้ม

 

 

บุกกับการนำมาประกอบอาหาร

เป็นพืชอาหารพื้นบ้านซึ่งคนไทยนำเอาก้านใบมาแกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก     ส่วนหัวบุกมีการนำไปดัดแปลงตามแต่ละภูมิภาค เช่นทางภาคอีสาน มีการทำขนมที่เรียกว่าขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน (แกงลาว)   ภาคตะวันออกจะมีการฝาน หัวบุกเป็นแผ่น บางบาง แล้วนำมานึ่งกินกับข้าว ทางภาคเหนือโดยเฉพาะชาวเขา มักนำมา ปิ้งรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน

*บุกมีหลายชนิดหลายพันธุ์ อาจขมและมีพิษ ทุกชนิดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ทั้งที่ก้านใบและหัว ซึ่งอาจทำให้คัน ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มเสียก่อน ไม่งั้นกินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง

อาหารที่แปรรูปมาจากบุก

ปัจจุบันมีการนำบุกมาแปรรูป ทั้งในลักษณะของเส้นบุก ซึ่งคือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส่วนหัวบุก มีแบบเส้นใส สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้ ผมว่าใครเคยไปกินเนื้อย่างคงเคยเจอบ้าง   นอกจากเส้นบุกแล้วมีการนำมาผสมเครื่องดื่มต่างๆ เอาแบบฮิตๆสมัยก่อน คือ เจเล่ ผสมผงบุก ถ้าจำไม่ผิดอันนี้เขามาทำเป็นรายแรก (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่านขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)
สรรพคุณของบุก

จากการศึกษาพบว่า  แป้งบุกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พวกกลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร (dietary fiber)  ซึ่งดูดน้ำได้มาก แต่ร่างกายย่อยสลายได้ยาก ดูดซึมได้ช้า จึงให้พลังงานและสารอาหารน้อย เหลือกากมาก ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดี ผู้ที่ต้องการลดความอ้วนนิยมกินอาหารจากแป้งบุก เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก เพราะกินอิ่มได้ ระบายท้อง แต่ไม่ทำให้อ้วน

นอกจากนี้เองเจ้า สารกลูโคแมนแนนนี้ สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำตาลได้ดีมาก ปัจจุบันจึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง

นี่แหละครับคือประโยชน์จากบุก ลองหามาทานกันนะครับ มีประโยชน์ขนาดนี้ สมัยนี้ไม่หายากแล้วเดินไปห้าง ก็ได้บุกเส้นแล้ว แนะนำมามายำแบบยำวุ้นเส้นนะครับ รับรองอร่อยแท้ๆ

 

 

ก.ย. 262012
 

ช่วงนี้กระแสเห็ดฟีเวอร์ มีการนำเห็ดมาสกัดผสมกับซุปไก่ยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่ง ตอนโฆษณาเขาใช้คำว่าเห็ด ซิทาเกะ ฟังดูออกญี่ปุ่นมาก แต่จริงแล้วเห็ดชนิดนี้คนไทยเราคุ้นเคยมานาน ซึ่งมันก็คือเห็ดหอมนั้นเองครับ แม้เห็ดหอม ไม่ได้เป็น สมุนไพรไทย แต่คนไทยเราก็รู้จักกันดี โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง ทางเว็บเราจึงขอตามกระแสหน่อยด้วยการนำข้อมูลของเห็ดหอมมานำเสนอ

เห็ดหอม หรือ shiitake mushroom ภาพที่เห็นคือ เห็ดหอมแห้ง ที่ผ่านการตาก หรือ อบชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.

ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ

ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ

ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม

ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว

แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร

การกิน  : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น

สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก ป้องกัน และต้านมะเร็ง

ก.ย. 202012
 

กระเทียม สมุนไพรไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีภาพวาดหัวกระเทียมปรากฏบนโลงศพมัมมี่อียิปต์ ประมาณ 3,200 ปีก่อนพระคริสต์ มีการขุดค้นพบกระเทียมฝังเป็นแนวรอบมหาราชวัง knosos  ในกรีซ และในปอมเปอี

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าใช้กระเทียมเพื่อรักษา

  • · อาการปวดศีรษะ เจ็บคอ บำรุงร่างกายที่อ่อนแอ
    • · กระเทียมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
    • · ตำราจีนและญี่ปุ่น ใช้กระเทียมช่วยลดความดัน
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กระเทียมได้รับการยอมรับในการรักษาโรคไทฟัสและโรคบิด
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แพทย์ชาวอังกฤษ รักษาแผลสด  เป็นยาฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ตามตำรายาไทยหลายเล่มยังได้ระบุสรรพคุณและประโยชน์ทางยาของกระเทียมได้หลายอย่าง

  • · ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
  • · ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • · ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ

กระเทียม allium sativum linn.

สารสำคัญ

ในหัวกระเทียมสดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-0.4 % มีสารสำคัญ ที่มีกำมะถันหลายชนิดเช่น alliin, allicin, diallyl disulfide, methyl n-propyl disulfide นอกจากนี้แล้วยังมีกรดกำมะถัน เช่น d-glutamyl-s-methylcysteine ส่วนกลิ่นของกระเทียมเกิดจาการย่อย allylcystein sulfoxide หรือ alliin ซึ่งไม่มีกลิ่นให้เป็นสาร allylthiosulfinote หรือ allicin ด้วยเอนไซม์  allinase

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่ากระเทียมสามารถลดปริมาณของ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้

ส่วนการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม กับคนปกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับ Cholesterol สูง ในขนาดที่ได้ 0.25 mg /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 เดือน พบว่าระดับ Cholesterol ในเลือดลดลง และเมื่อใช้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขาด 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1ใน 3 ของคนไข้ที่มีระดับ Cholesterol สูง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีก 2 ใน 3 ลดลงปกติ สารที่มีฤทธิ์ในการลด Cholesterol คือ allicin กระเทียมกับการลดความดันโลหิต

พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95 % จากหัวกระเทียมสามารถลดความดันในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงได้

กระเทียมกับการลดน้ำตาลในเลือด

จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยการให้สารสกัดกระเทียมด้วย แอลกอฮอล์ให้กับกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอ ๆ กับ tolbutamide

กระเทียมยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

น้ำคั้นกระเทียมและกระเทียมผงมีผลต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ mycobaerium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของโรควัณโรค สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว คือ สารจำพวกซัลไฟด์ (sulfide) ซึ่งได้แก่ allicin, scordinin และ scordinin A

กระเทียมกับ HIV

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งไม่พบในกระเทียมสด แต่จะพบในกระเทียมที่หมักในน้ำมัน สาร ajoene สามารถป้องกัน CD4  Cell จากการติดเชื้อ HIV และยังช่วยลดการสร้างไวรัสตัวใหม่ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

ใช้กระเทียมอย่างไร  ในชีวิตเราจะใช้กระเทียมในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกกะปิ ผัดผัก ผักแกล้มหมูทอดกระเทียม ส้มตำ ฯลฯ แม้แต่เรากินข้าวขาหมูยังมีกระเทียมเป็นผักแกล้ม ถ้าจะอธิบายเป็นแบบสมัยใหม่น่าจะอธิบายได้ว่า เพราะข้าวขาหมูมีไขมันสูง ถ้าเรากินกับกระเทียม เข้าใจว่าจะช่วยลดไขมันที่เรากินไปได้ เราจะกินกระเทียมให้ได้คุณค่าของกระเทียมสูงควรจะใช้

“กระเทียมสด ดีที่สุด”

“กระเทียมไทย ให้ผลสูงสุด”

ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักต่อหนึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 10-15 กลีบต่อวัน)

นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง 5-10 วัน อาการจะดีขึ้นและทาต่อจนกว่าจะหาย

หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า

 ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า
ก.ย. 202012
 

หอมหลายครั้งมักถูกนำมาเป็นเครื่องเคียง หรือ โรยประดับ สิ่งที่เห้นอยู่บ่อยๆคือคนมักเขี่ยหอมทิ้ง แต่ไอ้สิ่งที่เราเขี่ยทิ้งเนี่ยหลายคนจะรู้บ้างไหมว่ามันมีคุณค่าขนาดไหน

หอม สมุนไพรไทยหอมใหญ่  allium cepa linn.

หอมแดง allium ascalonicum linn.

สรรพคุณหรือประโยชน์ทางยา ตามตำรายาไทยช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

การศึกษาวิจัยพบว่า หัวหอมมีประโยชน์ดังนี้

                มีผลต่อการเพิ่ม high density lipoprotein (HDL) cholesterol หรือคอเรสเตอรอล ตัวดี

                มีผลต่อ low density lipoprotein (LDL) ลดลง หรือคอเรสเตอรอล ตัวร้าย

ลดปริมาณ cholesterol ในกระแสเลือด และยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ สารสำคัญที่สามารถละลายลิ่มเลือดที่จับตัวขัดขวางทางเดินโลหิตได้ คือ สารไซโคลอัลลิอิน

ขนาดและวิธีใช้

1. หอมหัวใหญ่ ใช้ครึ่งหัว

2. หอมแดง ใช้ 5-6 หัว

รับประทานทุกวัน อย่างน้อย สองเดือน จะรับประทานร่วมกับอาหารอื่นก็ได้ และที่สำคัญถ้าจะให้ผลดีต้องรับประทานสด เช่น เมี่ยงคำ ยำ น้ำพริก ผักแกล้ม เป็นต้น หลังจากที่ได้ทราบคุณค่าทางยาของหัวหอมแล้ว หวังว่าท่านคงจะไม่เขี่ยหอมออกนอกจานต่อไป