จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก
ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias cytherea Sonn.
ชื่อสามัญ : Jew’s plum, Otatheite apple
วงศ์ : Anacardiaceae
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น : มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ) กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)
รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) :
ลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง
ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ : ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :
- เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน
- น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
- ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
- เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
- เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ
ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้
ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก
ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด
ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน) สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น
คุณค่าทางอาหารของมะกอก
– ยอดอ่อนของมะกอก 100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา
– เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม
– แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม
– เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม
– เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม
– วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล
– วิตามินบีหนึ่ง 0.96 มิลลิกรัม
– วิตามินบีสอง 0.22 มิลลิกรัม
– ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม
– วิตามินซี 53 มิลลิกรัม
น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง
ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ) วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้
นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร
อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)
อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้
1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว
2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย
3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว
4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)
5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี
6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ
7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ
8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)
9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง
10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้
นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก
ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ
รบกวนใส่ลิ้งค์ http://ไทยสมุนไพร.net เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ
ข้อมูลอ้างอิง สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th) ,หนังสือ herb & health ,thai wikipedia