ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่าสูง

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่าสูง
ก.ย. 302012
 

ผลไม้ไทย อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ                  ผมอยากให้ทุกคนหันมาทานผลไม้ครับ เพราะมีผลไม้มากมายที่พวกเราควรรับประทานให้มากและบ่อย ขอย้ำอีกครั้งว่ามากและบ่อย สาเหตุเพราะป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุหลายๆชนิดซึ่ งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ที่จะทำให้มีสุขภาพทีดี เช่น ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายและนำสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย และที่สำคัญผลไม้เหล่านี้มักจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนติออกซิแด้ท์ (antioxidant)  ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายเราอย่างมาก  ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเองช่วย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆอีกมาก

เพิ่มเติมข้อมูลอีกนิด   สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือ เป็นสารที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้พวกอนุมูลอิสระก่อตัวขึ้น โดยจะทำการยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ และหยุดการก่อตัวใหม่ของอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากตัวอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งช่วยกำจัดและแทนที่โมเลกุลที่ถูกทำลาย

ปัจจุบันนักวิจัยให้หันมาศึกษาวิจัยผลไม้ไทยที่เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มสมุนไพรไทยเป็อย่างมาก โดยนำไปวิจัยโดยกระบวนการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น (ตรงนี้พูดรวมไปถึงสมุนไพรไทยต่างๆด้วย)ทำให้คนไทยได้ตะหนักถึงคุณประโยชน์ของผลไม้ไทย และใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงย่างเข้าสู่การเริ่มต้นเปลี่ยนฤดูกาล ถ้าไม่รู้จักดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงเข้าไว้   การเจ็บไข้ได้ป่วยมาเยือนทันที แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย ที่เกิดมาในดินแดนที่มีภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์ มีผลไม้ได้รับประทานกันทั้งปี พูดมาซะยาววันนี้ผมเลยจะมาแนะนำ 6 ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยสารอนุมูลอิสระ


1. ฝรั่ง ผมเคยพูดถึงผรั่งไปแล้วในแง่ของสมุนไพรไทย ไปตามอ่านกันได้ที่ตอน ฝรั่ง ผลไม้หาทานง่าย ได้ประโยชน์

ฝรั่ง

อะไรที่พูดแล้วจะไม่พูดซ้ำ แต่จะพูดถึงในแง่ของสารต้านอนุมูลอิสระแล้วกันนะครับ    ฝรั่งนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี   สูงมากจนน่าทึ่ง  (141- 156 มิลลิกรัม/100 กรัม) มากกว่าส้มถึง 5 เท่า  และฝรั่งยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งทั้งวิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ต่างก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันอันตรายต่อเซลล์ และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน พร้อมทั้งโพแทสเซียมที่ทำให้ความดันเลือดเป็นปรกติ นอกจากคุณค่าที่มากแล้วข้อดีของฝรั่งอีกอย่างคือ ราคาถูกนั้นเองครับ

2.มันเทศ (บ้านผมเรียกมันแกว)  พูดถึงมันเทศนั้น ยอดมันเทศมีสารต่างๆที่เป็นประโยชน์อยู่มากเช่น

– ฟีลอลิค Phenolic 429.19 มก.   สารประกอบฟีนอลิกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวหนึ่งสามารถมีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด และมะเร็ง

– แทนนิน 90.23 มก.  แทนนิน มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย และเชื้อราได้ ใช้เป็นยา แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย

โดยรวมมันเทศมี ดรรชนีแอนติออกซิแด้นท์ที่  2.32

3.มะกอก (ที่ไม่ใช่มะเหงก) มะกอกเป็นพืชสมุนไพรตัวหนึ่งที่คนไทยนิยมปลูก ให้ผลดก สามรถทำเป็นน้ำมันนมะกอกได้ อย่างน้อยคนที่เคยทานส้มตำปูปราร้า ต้องเคยใส่มะกอกบ้างแหละ มะกอกมีสารต่างที่มีคุณค่าดังนี้

– ฟีลอลิค Phenolic 712.85 มก.

– แทนนิน 123.18  มก.

และมีวิตามินซี 17.62 มก. มีค่าดรรชนีต้านแอนติออกซแดนท์ที่ 2.12


4.มะขาม พืชสมุนไพรไทย ตัวนี้ไม่ขอแยะยำมากเพราะ เคยเขียนเรื่องของมะขามในแง่สมุนไพรไว้

แล้ว ลองตามอ่านที่ มะขาม ผลไม้สมุนไพรมากคุณค่า  แต่จะขอสรุปสารต่างๆที่มะขามมีดังนี้

– ฟีลอลิค Phenolic 120.90 มก.

– แทนนิน 77.03  มก.

มีค่าดรรชนีต้านแอนติออกซแดนท์ที่ 1.26

5.มะตูม แต่ก่อนนั้นยอดมะตูมถือเป็นผักร่วมสำหรับอาหาร แต่เดี๋ยวนี้คงพบเห็นได้น้อยแล้ว แต่ที่เราคุ้นเคยจะเป็นในรูปของ น้ำมะตูม หรือชามะตูมมากกว่า ไม้งั้นก็ผลิตภัณฑ์จากมะตูมที่แปลรูปแล้ว (ตามร้าน OTOP)

แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปไหนมะตูมก็มีคุณค่าในตัวมันเอง โดยที่มะตูมมีค่าของดัชนีต้านดรรชนีอนมูลอิสระ หรือดรรชนีแอนติออกซิแด้นท์ (antioxidant Index)  ถึง 6.10

6.ฟักทองเป็นทั้งผัก และผลไม้ที่เรารู้จักกันดี ขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ผมก็กำลังทานสังขยาฟักทองไปด้วย

สำหรับคุณค่ามนการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของฟักทองนั้นตัวหลักเลยคือวิตามินซี มีสูงถึง 24.78 มก.

-มีค่าดรรชนีต้านแอนติออกซแดนท์ที่ 1.00

ทั้งหมดนี้คือ ผลไม้สมุนไพรไทย 6 อย่าง ที่ผมนำมาฝาก จริงๆแล้วพวกผักหลายตัวก็มีสาร แอนติออกซิแดนท์เหมือนกันนะครับ ไว้จะเล่าให้ฟังวันหลัง  อย่าลืมทานผลไม้เยอะๆนะครับ  อุดหนุนเกษตรกรไทยด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ Herb&Healthly Vol4. และ สารานุกรมอาหาร www.foodworksolution.com