ต.ค. 242012
 

เมื่อไม่กี่วันผ่านมาผมได้มีโอกาศไปทาน อาหารญี่ปุ่นกับคุณแฟน ที่ร้าน S.(ขอไม่เอ่ยชื่อเต็มนะครับ) ซึ่งจะเป็นแบบบุปเฟ่ อาหาร+เครื่องดื่ม ก็ไม่มีอะไรทานตามปรกติสุข แต่พอจะไปกดเครื่องดื่มมาดื่ม ก็สะดุดตากับเครื่องดื่มสีส้มสดใส ตอนแรกคิดว่าน้ำส้ม แต่พออ่านป้ายจึงรู้ว่าเป็น น้ำเสาวรสนี่เอง ก็เลยลองมาหาข้อมูลของพืชชนิดนี้ดู พบว่าสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ของพืชชนิดนี้มีมาก เลยลองมาแบ่งปันให้เพื่อนๆชาว ไทยสมุนไพร.net ได้ลองอ่านกันดู

          พูดถึงเสาวรส  ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าพืชชนิดนี้ไม่ได้เป็นพืชของไทยเรามาแต่เดิมนะครับ เพราะพืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา แต่มาแพร่พันธ์ในไทย ก่อนรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามของพืชชนิดนี้กันนะครับ

เสาวรสชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis

ชื่อโดยทั่วไป   :  เสาวรส  หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Passionfruit

ชื่ออื่นๆ  : กระทกรก  สุคนธรส

ลักษณะของเสาวรส

เป็นไม้เลื้อย ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ที่พิเศษคือเมื่อสุกจะมีหลายสี แล้วแต่ว่าพันธ์อะไร  ที่พบจะมีทั้งทั้งสีม่วง สีเหลือง สีส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก(เป็นทีมาของกระทกรก) เมล็ดมีสีดำ อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสเปรี้ยวอมหวาน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ยอด รับประทานเป็นผักสด จิ้มน้ำพริกมีรสขมเล็กน้อย หรือจะนำไปแกงก็ได้

เนื้อไม้  ตามตำราสมุนไพรบอกว่าเป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมทุกขนิด ใช้รักษาบาดแผล

ราก ใช้ต้มน้ำเพื่อแก้ไข้  รักษาผดผื่นคัน กามโรค

ใบ ใช้ตำให้ละเอียด แล้วคั้นน้ำดื่มเป้นยาขับพยาธิได้

คอก ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ

ผล รับประทานเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ด คั้นเป็นน้้ำดื่มเพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของน้ำเสาวรสน้ำเสาวรส

ดังที่บอกไปว่าเสาวรสมีประโยชน์ในทุกส่วน แต่ส่วนที่คนนิยมใช้จริงๆ คือผลของเสาวรส  ที่คนมักนิยมนำมาคั้นทำเป็นน้ำเสาวรส ลองมาดูประโยชน์ของมันกันครับ

  • น้ำเสาวรสมีวิตามินเอสูง ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ
  • น้ำเสารสมีวิตามินซีสูง จึงสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน อีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอกระบานการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถลดไขมันในเลือดได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานเสาวรส

  •   ผู้ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงควรดื่มพอประมาณ
  •   ไม่ควรรับประทานสดแบบทั้งต้น เพราะมีสารพิษอาจเป็นอันตรายได้

ขอบคุณข้อมูลจาก Thai wiki pedia ,หนังสือ สมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน  /ภาพประกอบจาก internet

ต.ค. 032012
 

หากจะพูดถึงจังหวัดนครปฐม ของดีขึ้นชื่อของที่นั่นอยู่ในคำขวัญจังหวัดอยู่แล้ว แต่มันมีหลายอย่าง แน่นอนเข้าเว็บ ไทยสมุนไพร..net จะให้นึกถึงอะไรเป็นอย่างแรกเสียไม่ได้ ถ้าไม่ใช่….. ลูกสาวสวย   …..เอ๊ยส้มโอหวานต่างหากล่ะ (เกือบหลุดแล้ว)  ส้มโอนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน ซี  และแคลเซียมสูง ผลจะนำมาทานเมื่อสุกแล้ว ใครกินส้มโอดิบคงพิลึก นอกจากทานสดสดแล้วนั้น ยังเอามาทำอาหารได้อีก ที่นิยมก็คือยำส้มโอ ไว้วันหลังมีโอกาศจะเอาสูตรเด็ด ยำส้มโอมาลง  เปลือกส้มโอมีรสขมนิยมนำไปแช่อิ่ม  นอกจากนี้ที่ประเทศจีนนิยมทำเป็นยาแก้ไอ และผสมยาหอมรับประทาน

มาพูดถึงรูปร่างลักษณะของส้มโอกันบ้าง

ผลส้มโอ หรือ ลูกส้มโอ ลักษณะของ ส้มโอลำต้นของส้มโอ ลักษณะของส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-9 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล

ใบส้มโอ   มีใบเดี่ยว รูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น  เล็กน้อย ปลายใบมนเช่นเดียวกับโคนใบ

ดอก   ออกดอกเดี่ยว  หรือเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ มีสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ 

ผล  ทุกท่านคงจะเคยผ่านตามาบ้าง รูปร่างกลมโต เปลือกหนา มีต่อมน้ำมันมาก ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลแก่หรือผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน และมีสีชมพู มีรสหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดอยู่ภายใน

 

และแล้วก็มาถึงไฮไลท์นั่นคือ สรรพคุณทางด้าน สมุนไพรไทย ของส้มโอ

ผลส้มโอ มีสรรพคุณขับลมในลำไส้  แก้เมาเหล้า (อันนี้ชอบ)

 เปลือกของผลส้มโด จะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก ตามตำราโบราณบางตำราบอกว่า  บรรเทาไส้เลื่อนได้ด้วย ซึ่งยังไม่มีหลักฐานรับรองตรงนี้ ซึ่งอาจจะมีสรรพคุณตรงนี้ตามที่ตำราโบราณเขียนไว้ก็ได้ เพราะคนโบราณเขาศึกษาจากการสังเกต แน่นอนต้องรองานวิจัยอื่นๆต่อไป

ใบส้มโอ นำมาต้มพอกศรีษะ บรรเทาอาการปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้ออีกด้วย

ดอกส้มโอ  แก้อาการจุกสียดในกระบังลม กระเพาะอาหาร

เมล็ดส้มโอ มีประโยชน์ในเรื่องของ แก้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงเรื่องของการแก้ไส้เลือน ซึ่งอันนี้เป็นกรณีที่ต้องค้นคว้าต่อเหมือนเปลือกของส้มโอ

 

นอกจากนั้นแล้วส้มโอยังมี วิตามินซี อันนี้คงพอทราบกันในเรื่อป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงในส้มโอยังมีแคลเซียม ซึ่งเสริมสร้างและบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี

 

ทั้งหมดนี้คือที่ผมนำมาฝาก ไปตลาดเห็นส้มโอ ก็อุดหนุนแม่ค้าสักคนละสูกสองลูกนะครับ

ปอลอ ช่วงนี้เขียนเรื่องผลไม้เยอะหน่อยอย่าว่ากันนะครับ  วันต่อๆมาอาจจะมีผักสมุนไพร และพืชสมุนไพรอื่นทยอยมาเพิ่ม อยากให้เขียนเรื่องไหน สมุนไพรอะไร ก็ comment มาบอกกันได้นะครับ

 

ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่าสูง

 ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย  ปิดความเห็น บน ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่าสูง
ก.ย. 302012
 

ผลไม้ไทย อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ                  ผมอยากให้ทุกคนหันมาทานผลไม้ครับ เพราะมีผลไม้มากมายที่พวกเราควรรับประทานให้มากและบ่อย ขอย้ำอีกครั้งว่ามากและบ่อย สาเหตุเพราะป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุหลายๆชนิดซึ่ งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ที่จะทำให้มีสุขภาพทีดี เช่น ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายและนำสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย และที่สำคัญผลไม้เหล่านี้มักจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนติออกซิแด้ท์ (antioxidant)  ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายเราอย่างมาก  ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเองช่วย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆอีกมาก

เพิ่มเติมข้อมูลอีกนิด   สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือ เป็นสารที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้พวกอนุมูลอิสระก่อตัวขึ้น โดยจะทำการยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ และหยุดการก่อตัวใหม่ของอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากตัวอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งช่วยกำจัดและแทนที่โมเลกุลที่ถูกทำลาย

ปัจจุบันนักวิจัยให้หันมาศึกษาวิจัยผลไม้ไทยที่เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มสมุนไพรไทยเป็อย่างมาก โดยนำไปวิจัยโดยกระบวนการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น (ตรงนี้พูดรวมไปถึงสมุนไพรไทยต่างๆด้วย)ทำให้คนไทยได้ตะหนักถึงคุณประโยชน์ของผลไม้ไทย และใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงย่างเข้าสู่การเริ่มต้นเปลี่ยนฤดูกาล ถ้าไม่รู้จักดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงเข้าไว้   การเจ็บไข้ได้ป่วยมาเยือนทันที แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย ที่เกิดมาในดินแดนที่มีภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์ มีผลไม้ได้รับประทานกันทั้งปี พูดมาซะยาววันนี้ผมเลยจะมาแนะนำ 6 ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยสารอนุมูลอิสระ


1. ฝรั่ง ผมเคยพูดถึงผรั่งไปแล้วในแง่ของสมุนไพรไทย ไปตามอ่านกันได้ที่ตอน ฝรั่ง ผลไม้หาทานง่าย ได้ประโยชน์

ฝรั่ง

อะไรที่พูดแล้วจะไม่พูดซ้ำ แต่จะพูดถึงในแง่ของสารต้านอนุมูลอิสระแล้วกันนะครับ    ฝรั่งนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี   สูงมากจนน่าทึ่ง  (141- 156 มิลลิกรัม/100 กรัม) มากกว่าส้มถึง 5 เท่า  และฝรั่งยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน ซึ่งทั้งวิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ต่างก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันอันตรายต่อเซลล์ และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน พร้อมทั้งโพแทสเซียมที่ทำให้ความดันเลือดเป็นปรกติ นอกจากคุณค่าที่มากแล้วข้อดีของฝรั่งอีกอย่างคือ ราคาถูกนั้นเองครับ

2.มันเทศ (บ้านผมเรียกมันแกว)  พูดถึงมันเทศนั้น ยอดมันเทศมีสารต่างๆที่เป็นประโยชน์อยู่มากเช่น

– ฟีลอลิค Phenolic 429.19 มก.   สารประกอบฟีนอลิกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวหนึ่งสามารถมีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด และมะเร็ง

– แทนนิน 90.23 มก.  แทนนิน มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย และเชื้อราได้ ใช้เป็นยา แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย

โดยรวมมันเทศมี ดรรชนีแอนติออกซิแด้นท์ที่  2.32

3.มะกอก (ที่ไม่ใช่มะเหงก) มะกอกเป็นพืชสมุนไพรตัวหนึ่งที่คนไทยนิยมปลูก ให้ผลดก สามรถทำเป็นน้ำมันนมะกอกได้ อย่างน้อยคนที่เคยทานส้มตำปูปราร้า ต้องเคยใส่มะกอกบ้างแหละ มะกอกมีสารต่างที่มีคุณค่าดังนี้

– ฟีลอลิค Phenolic 712.85 มก.

– แทนนิน 123.18  มก.

และมีวิตามินซี 17.62 มก. มีค่าดรรชนีต้านแอนติออกซแดนท์ที่ 2.12


4.มะขาม พืชสมุนไพรไทย ตัวนี้ไม่ขอแยะยำมากเพราะ เคยเขียนเรื่องของมะขามในแง่สมุนไพรไว้

แล้ว ลองตามอ่านที่ มะขาม ผลไม้สมุนไพรมากคุณค่า  แต่จะขอสรุปสารต่างๆที่มะขามมีดังนี้

– ฟีลอลิค Phenolic 120.90 มก.

– แทนนิน 77.03  มก.

มีค่าดรรชนีต้านแอนติออกซแดนท์ที่ 1.26

5.มะตูม แต่ก่อนนั้นยอดมะตูมถือเป็นผักร่วมสำหรับอาหาร แต่เดี๋ยวนี้คงพบเห็นได้น้อยแล้ว แต่ที่เราคุ้นเคยจะเป็นในรูปของ น้ำมะตูม หรือชามะตูมมากกว่า ไม้งั้นก็ผลิตภัณฑ์จากมะตูมที่แปลรูปแล้ว (ตามร้าน OTOP)

แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปไหนมะตูมก็มีคุณค่าในตัวมันเอง โดยที่มะตูมมีค่าของดัชนีต้านดรรชนีอนมูลอิสระ หรือดรรชนีแอนติออกซิแด้นท์ (antioxidant Index)  ถึง 6.10

6.ฟักทองเป็นทั้งผัก และผลไม้ที่เรารู้จักกันดี ขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ผมก็กำลังทานสังขยาฟักทองไปด้วย

สำหรับคุณค่ามนการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของฟักทองนั้นตัวหลักเลยคือวิตามินซี มีสูงถึง 24.78 มก.

-มีค่าดรรชนีต้านแอนติออกซแดนท์ที่ 1.00

ทั้งหมดนี้คือ ผลไม้สมุนไพรไทย 6 อย่าง ที่ผมนำมาฝาก จริงๆแล้วพวกผักหลายตัวก็มีสาร แอนติออกซิแดนท์เหมือนกันนะครับ ไว้จะเล่าให้ฟังวันหลัง  อย่าลืมทานผลไม้เยอะๆนะครับ  อุดหนุนเกษตรกรไทยด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ Herb&Healthly Vol4. และ สารานุกรมอาหาร www.foodworksolution.com