เม.ย. 192015
 

เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง

แคนา  จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า)   ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา  ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ   ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามีดังนี้ครับ ขอบคุณคณะเภสัชาสตร์ ม.อุบล สำหรับข้อมูลอ้างอิง

 

ชื่อสมุนไพร แคนา
ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า)  แคขาว (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ)   แคเค็ตถวา  (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่)      แคทราย(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ดอกแคนา 

  • ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
  • เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม  โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7  เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี   ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร
  •  ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร
  •  ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ   พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ  โดยออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย    

  •   ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
  •   เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด
  •   ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก
  •    ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม
  •    เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท(ตำราน่าจะหมายถึงอาการปวดต่างๆนะครับ) แก้โรคชัก

ประโยชน์อื่นๆ   แน่นอนครับสำหรับแคนา ประโยชน์หลักๆคือดอก ใช้ในการลวกจิ้ม หรือประกอบอาหารต่างๆ รสชาติขมนิดๆ ช่วยเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นต้นแคนาเองก็มีการนำไปเป็นไม้ให้ร่มเงา ตามบ้าน รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายๆแห่งนำไปใช้ปลูกตามถนนเข้าโครงการก็มี จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ทีเดียว

 

ก.ย. 082013
 

ตอนเด็กๆ ระหว่างทางเดินกลับบ้านจะมีวัชพืชชนิดหนึ่งที่ผมมักจะเล่นด้วยประจำ นั่นคือเวลาที่เราจับใบของมันใบของมันจะหุบอัตโนมัติ จากต้นเขียวๆจะกลายเป้นต้นแดงๆเหมือนมันเหี่ยวภายในพริบตา  แปลกดีเหมือนกัน พืชชนิดนี้มีชื่อว่าไมยราบนั่นเอง หลายคนมักมองว่าไมยราบเป็นเพียงวัชพืชที่ไม่มีค่าอะไร แต่จริงๆแล้วไมยราบจัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามากทีเดียว มารู้จักพืชสมุนไพรชนิดนี้กันเถอะครับ.

ไมยราบ

ชื่อโดยทั่วไป  ไมยราบ หรือ Sensitive plant (ชื่อบอกลักษณะได้อย่างไร ว่าเป็นพืชที่อ่อนไหว แค่มีอะไรมากระทบก็หุบใบได้เอง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pucida L.   วงศ์ : Fabaceae (Leguminosae-Mimosoideae)
ชื่อตามอื่นๆภูมิภาค : เนื่องจากไมยราบเป็นสมุนไพร ที่พบได้ทุกภูมิภาคของไทย จึงมีชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่          กระทืบยอด  หนามหญ้าราบ (จันทนบุรี)  กะหงับ (ภาคใต้)  ก้านของ (นครศรีธรรมราช)  ระงับ (ภาคกลาง)  หงับพระพาย (ชุมพร)  หญ้าจิยอบ  หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ)
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้ แต่ประเทศไทยนำเข้าโดยกรมทางหลวงเพื่อช่วยคลุมหน้าดิน นับว่ามีประโยชนืมากทีเดียว

ลักษณะต้นไมยราบ : ไมยราบเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งพบว่าสูงถึง 1 ม. มีขนหยาบปกคลุมลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ และช่อดอก  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1-2 ใบ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม.  ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-4 ซม.  ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 0.1 มม. กลีบดอกรูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้มี 4 อัน รังไข่ยาวประมาณ 0.5 มม. เกลี้ยง  ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปขอบขนาน ตรง ยาว 1.5-1.8 ซม. มีขนแข็งตามขอบ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ราก      แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลา                 มีประจำเดือน ถ้าไข้ขนาดสูงมากๆ จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ริดสีดวงทวารรสขมเล็กน้อย ฝาด ปวดข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง

ต้น        ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว ขับโลหิต
ใบ         แก้เริม งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามป่า
ทั้งต้น  ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็น                               ตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี

จะเห็นว่าไมยราบมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยมากมายจริงๆ จะลองเอามาปลูกดูก็ไม่เสียหลายนะครับ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล  : คุณนพพล เกตุประสาท  หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม เผยแพร่ใน ใน web ของ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ต.ค. 182012
 

วันนี้เราพูดถึงพืชชนิดหนึ่งกัน เป็นพืชทั่วๆไป ที่พบได้ง่าย(ตาม concept ของเว็บเรา )แต่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณของสมุนไพรไทย พืชชนิดนั้นก็คือมะเฟืองนั่นเองครับ  คิดว่าหลายท่านคงเคยทานกันมาแล้วบ้าง วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงมะเฟืองกัน มาดูกันว่า มะเฟืองที่แสนธรรมดา แฝงคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยอะไรให้เราบ้าง ซึ่งตามธรรมเนียมนิยมอยากรู้จักใคร หรืออยากรู้จักอะไรต้องรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันก่อน งั้นเริ่มที่ชื่อต่างๆ ของมะเฟืองแล้วกันนะครับ

มะเฟืองชื่อโดยทั่วไป       มะเฟือง   Star fruit   (star = ดาว ตรงตัวดีไหมครับ ถ้ามองทั้งลูกไม่ออกว่ามะเฟืองเหมือนดาวยังไง แนะนำให้ผ่าตามขวางดูแล้วจะรู้)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะเฟือง    acerrhoa carambola L.

ชื่อวงศ์   AVERRHOACEAE

ลักษณะโดยทั่วไปของต้นมะเฟือง

  • ลำต้น มะเฟืองจัดเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ไม่สูงไม่เตี้ย ประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นเปราะแตกง่าย
  • ใบมะเฟือง  มะเฟืองมีใบประกอบขนนก มองไปมองมาก็ดูคล้ายใบของต้นมะยม
  • ดอก มะเฟืองมีดอกสี ม่วงขาว ออกไปทางชมพู ดอกจะออกเป็นพวง
  • ผลของมะเฟือง  เมื่อเริ่มออกผลจะเป้นสีเขียว แต่พอเริ่มสุขจะค่อยๆเป็นสีเหลือง(แต่ขอบของผลโดยมากจะยังเป็นสีเขียว) มะเฟืองมีผลฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว อมหวาน

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของมะเฟือง

มะเฟืองมีสรรพคุณอยู่หลายด้าน อาทิเช่น แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเหลีย ลดความร้อนในร่างกาย ขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ทำให้ร่างกายผ่อนคลายและช่วยให้นอนหลับ บรรเทานิ่วในทางเดินปัสสาวะ   เป็นไงหละครับเยอะดีไหม

ในการบรรเทาอาการที่ได้กล่าวมา ผู้รู้ได้ให้ข้อแนะนำเพิ่มดังนี้

– การรับประทานมะเฟืองสด เวลาเกิดอาการ เช่นทานเพื่อบรระเทาอาการปัสสาวะขัด ควรทานมะเฟืองหรือน้ำมะเฟืองติดต่อกันประมาณ 15 วันเป็นอย่างน้อย หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

– การดื่มมะเฟืองเพื่อผ่อนคลาย หรือช่วยให้หลับสบายนั้น แนะนำให้ดื่มวันละ 1 แก้วหลังอาหารเย็น ในมะเฟืองมีสารที่ทำให้นอนหลับสนิทจะช่วยตรงนี่ได้

– มะเฟืองสามผล จะคั้นน้ำได้มากถึง 1 แก้ว ก่อนทานแนะนำให้เติมเกลือเล็กน้อย จะทำให้ทานง่ายขึ้น

ทั้งหมดนี้แหละครับคือสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของมะเฟือง ยังไงลองหามาทานกันดูนะครับ

ต.ค. 172012
 

พูดถึงมะขามป้อมเชื่อว่าทุกคน คงรู้จักแน่ ส่วนคำว่า “ชุ่มคอ ชื่นใจ” ในหัวข้อของเรื่องนี้หล่ะ หลายคนอาจจะจะนึกไม่ถึงว่ามะขามป้อมนี่นะ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจได้ ไม่ใช่หมากหอมเยาวราชซะหน่อย แต่มันก็ป็นเรื่องจริงครับ สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของมะขามป้อมทำให้เราชุ่มคอ ชื่นใจได้จริงๆ เรามารู้จักมะขามป้อมกันเถอะ

มะขามป้อมชื่อโดยทั่วไป Emblic myrablan , Ma-lacca tree.

ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม Phyllanthus emblica L.

เป็นพืชวงศ์   EUPHORBIACEAE

ลักษณะของมะขามป้อม

มะขามป้อมนั้นเป็นไม้ทนแล้ง (น้ำน้อยก็ปลูกได้ มะขามป้อมเอาอยู่ แต่ถ้าน้ำมากเหมือนที่ กทม.ตอนปี 54 ไม่รู้จะเอาอยู่หรือเปล่า) ต้นมะขามป้อมสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบเรียงเดี่ยว เรียวสลับกัน ออกดอกเป็นช่อ ผลอ่อนมีสีเหลืองเขียว พอเริ่มแก่ผลจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะขามป้อม

เมื่อเรารู้จักกับลักษณะของต้นมะขามป้อมแล้ว คราวนี้ก็ถึงที ที่เราจะรู้จักกับสรรพคุณของมะขามป้อมบ้าง มาดูกันเลยนะครับว่ามะขามป้อมมีดียังไง

ผลสด รับประทานวันละ 1-2 ลูก ทำให้ชุ่มคอ คิดว่าถ้าเคยทานคงจำความรู้สึกได้ ตอนกินจะรู้สึกเปรี้ยวๆฝาดๆ แต่พอทานน้ำตามเท่านั้นแหละ จะรู้สึกหวานและชุ่มคอมาก ตามตำราสมุนไพรไทย มีสูตรอยู่ว่า ให้นำมะขามป้อมผลสดจำนวน 10 ผล มาบดและคั้นน้ำผสมน้ำผึ้ง เติมเกลือนิดหน่อย ดื่มวันละครั้ง จะเป็นยา แก้ไอ ขับเสมหะชั้นเลิศ นอกจากนั้นยังทำให้ร่างกายสดชื่น ต้านอนุมูลอิสระ (ตำรายาสมุนไพรไทยไม่ได้บอกถึงการต้านอนุมูลอิสระเอาไว้นะครับ เรื่องต้านอนมูลอิสระเป็นข้อมูลจากงานวิจัยสมัยใหม่ )

ผลมะขามป้อมตากแห้ง แม้จะตากแห้ง แต่ยังคงฤทธิ์ของสมุนไพรไทยเอาไว้อยู่ การตากแห้งเป้นวิธีถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เพื่อนำมาใช้เป็นยา เวลาใช้ให้นำมาผลตากแห้งมาประมาณ 3 ผล แช่น้ำร้อนประมาณ 1 แก้วแล้วชงดื่ม โดยอาจผสมน้ำผึ้ง เติมเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ โดยให้ดื่มตอนท้องว่างหรือก่อนอาหารเช้า จะทำให้ละลายเสมหะ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ

ผลสดหรือผลตากแห้ง อันนี้เป็นอีกสูตรไม่จำกัดว่าเป็นผลสด หรือผลตากแห้ง โดยสูตรนี้จะใช้ผลมะขามป้อมประมาณ 15 ลูก ต้มน้ำหนึ่งกา โดยดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงธาตุ (คำว่าธาตุในทางแพทย์แผนโบราณ หมายถึงระบบย่อยอาหาร และลำไส้นะครับ) ขับปัสสาวะ แก้หวัดคัดจมูก และบรรเทาอาการเจ็บคอ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมะขามป้อม

นอกจากมะขามป้อมจะมีสรรพคุณทางสมุนไพรแล้ว ปัจจุบันก็มีการวิจัยถึงสรรพคุณของมะขามป้อมในเชิงลึกมากขึ้น เช่น

  1. มีสารต้านเชื้อไวรัส มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์    HIV – 1 Reverse Trascriptase (เหมือนในยาต้านไวรัสเอดส์)
  2. ผลของมะขามป้อม ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร จะไปลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ที่จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  3. ผลของมะขามป้อมมีสารบางตัวที่ ยับยั้งการเกิดความเป็นพิษ ในตับ และไต  ที่เกิดเนื่องมาจาก โลหะหนัก เช่นตะกั่ว  แดดเมียม (คนที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงต่อโลหะหนัก) ซึ่งวัดโดยการทดลองในหนูทดลอง
  4. มะขามป้อม มีสารที่ ลดการกลายพันธุ์ ลดการเกิดเกิด โครโมโซมที่ผิดปกติ ทำให้อัตราการกลายพันธ์ลดลง (การกลายกลายพันธ์นี้พูดถึงเรื่องความสมบูรณ์ของบุตร และการเกิดโรคทางพันธุกรรมต่างๆ)

นี่แหละครับเป็นสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย รวมไปถึงงานวิจัยต่างๆ ของมะขามป้อม อ่านจบคงพอจะรู้แล้วว่านะครับว่า มะขามป้อมทำให้ ชุ่มคอชื่นใจ  ได้อย่างไร ปัจจุบันนี้มะขามป้อมก็ไม่ได้หายากอะไร เพราะมีการนำมาแปรรูป ตากแห้งแพ๊คใส่ถุงสวยงาม ติดฉลากบรรยายสรรพคุณเสร็จสรรพ ยังไงก็ลองหามาทานดูนะครับตามงาน OTOP หรือถ้าบ้านใครมีเป็นต้นเลย ยิ่งดีใหญ่ ลองเด็ดมาชิมดูบ้างก็คงไม่เสียหลาย

 

 

 

ต.ค. 162012
 

พูดถึงมะยม แค่พูดชื่อก็เปรี้ยวจี๊ดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้จี๊ดแค่ชื่อ สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยยังจัดว่าจ๊๊ดอีกด้วย (จี๊ด เป็นศัพท์วัยรุ่นนะครับ สำหรับท่านที่ไม่ทันเช่นผม จี๊ดมีความหมายประมาณว่าสุดๆไปเลย อะไรทำนองนี้) และด้วยความที่มะยมเป็นของหาง่าย ปลูกง่าย มะยมจึงจัดว่าเป็นพืชยอดนิยมเหมือนชื่อของมัน วันนี้เองผมจึงอยากแนะนำให้รู้ทุกท่านได้รู้จักมะยมกัน อย่างชนิดที่เรียกว่าหมดเปลือก(จริงๆมะยมก็ไม่มีเปลือก) มาดูว่าสรรพคุณของมันมีมากน้อยเพียงใด จี๊ด ดังที่ผมกล่าวไว้ในตอนแรกหรือเปล่า

ชื่อต่าง ๆ ของมะยม

มะยมชื่อโดยทั่วไป  มะยม  Star gooseberry  สังเกตุชื่อในภาษาอังกฤษตรงคำว่าเบอร์รี่ (berry)  ฝรั่งนี่ก็แปลกเห็นอะไรลูกเล็กๆ เล่นเรียก เบอร์รี่ ไปหมดทุกลูก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Phyllanthus acidus Skeels

ชื่ออื่นๆตามท้องถิ่น    หมากยม (ภาคอิสาน)    ยม  (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไปของต้นมะยม

  • ลำต้น มะยมเป็นไม้ยืนต้น แบบต้นเตี๊ยหน่อย ก้สักสามเมตร แบบสูงสุดเท่าที่เคยเห็น ก็เกือบสิบเมตรได้ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงปลายยอด กิ่งมะยมค่อนข้างเปราะ และแตกง่าย เปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบมะยม ใบของมะยมเป็นใบย่อย ออกเรียงแบบสลับกันเป็นสองแถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ขอบใบเรียบ (ยังจำก้านมะยมได้ไหม ตอนเด็กๆใครเคยโดนมั่ง)
  • ดอก ดอกมะยมออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยจะมีสีเหลืองอมน้้าตาล
  • ผลมะยม หรือลูกมะยม จะออกเป็นช่อตามกิ่ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือขาวแกมเหลือง หลุดจากช่อได้ง่าย

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะยม

  • รากของมะยม  ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ซับน้ำเหลืองจากแผลให้แห้ง ดับพิษเสมหะ แก้ประดง*

* เพิ่มเติมข้อมูล โรคประดง คือ โรคผื่นคันตามผิวหนังหรือที่เรียกกันติดปากว่า “โรคประดง” ลักษณะของผื่น มีหลายแบบ เช่นอาจขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ คล้ายยุงกัดทั่วตัว หรือเป็นผื่นแดงเล็กๆ หรือขึ้นเป็นทางตามตัว  ผื่นเม็ดเล็กสีค่อนข้างขาว   หรือผื่นขึ้นคล้ายลมพิษ   (ข้อมูลจาก http://www.numsai.com)

  • เปลือกของลำต้น  ใช้แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ (สองอาการนี้น่าจะต่างกันที่ลำดับก่อนหลัง ของรอบเดือน และอาการไข้)และ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบ  ใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท โดยต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย และใบมะเฟือง อาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคตา ชำระล้างดวงตา (สูตรนี้ไม่แนะนำนะครับ เรื่องของดวงตา อยากให้รักษาด้วยแผนปัจจุบันมากกว่า แต่ลงพอให้ทราบว่าว่าตำรายาสมุนไพรไทยสมัยก่อน เขามีสูตรนี้)
  • ผล ใช้กัดเสมหะ (ขับเสมหะ )แก้ไอ บำรุงโลหิต และเป็นยาระบาย

สูตรยาสมุนไพรไทยจากมะยม

  1. สูตรยาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ใช้ราก 1000 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร โดยต้มให้เดือด 5-10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นใช้แช่อาบ (จะแช่ในกะละมัง หรืออ่างจากุ๊ดชี่ก็ตามสะดวก) ทำควบคู่ไปกับใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาวันละ 2-3 ครั้ง
  2. สูตรยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ ใช้ผลแก่ดองในน้ำเชื่อม (น้ำ 1ส่วนน้ำตาล 3 ส่วน) ดองจนครบสามวัน ทะยอยทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. สูตรยาลดความดันโลหิต ใช้ใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วม เติมน้ำตาลเล็กน้อยพอดับเฝื่อน ต้มให้เดือนาน 5 นาที แล้วดื่มควบคู่กับการวัดความดันไปด้วย เมื่อความดันเป็นปรกติ ต้องหยุดทาน  (เรื่องความดันโลหิตเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ผมอยากให้สูตรนี้เป็นทางเลือกในการรักษามากกว่า หากท่านใดกำลังรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ควรหยุดยาที่แพทย์จ่าย)

ข้อควรระวัง

น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมมีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปอาจมีอาการปวดท้อง ปวดศรีษะ และง่วงซึม ต้องระวังเรื่องยางจากเปลือกรากให้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก   thai Wikipedia ,หนังสือ สมุนไพรก้นครัว กินแล้วไม่ป่วย ภาพประกอบจาก biogang

ต.ค. 152012
 

วันนี้เราจะพามารู้จักพืชผักสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งกัน นั่นก็คือผักโขม หรือผักขมนั่นเองครับ ผักโขมนั้นมีหลายชนิด พอที่จะแยกได้ดังนี้

  •    ผักโขมบ้าน เป็นผักโขมชนิดที่ใบกลมเล็ก มีลำต้นขนาดเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบมีสีเขียวเหลือบแดง
  •    ผักโขมหนาม มีลำต้นสูง ใบใหญ่ จะมีหนามที่ช่อของดอก จึงเป้นที่มาของชื่อ ผักโขมหนาม ใช้เฉพาะส่วนยอดอ่อนมาประกอบอาหาร
  •    ผักโขมสวน ใบมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกแล้ว จะมีสีแดงอมม่วง
  •    ผักโขมจีน เป็นผักโขมที่มีต้นใหญ่ ใบเป็นสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ใบสดมีรสเผ็ด และมีกลิ่นฉุน


แต่ถ้าจะบอกว่าชนิดไหนเป็นที่นิยม ก็คงจะเป็น ผักโขมสวน เพราะมีใบที่โต และอ่อนนุ่ม รสชาติดี และมีคุณค่าทางอาหารทีสูงเอาเรื่อง เพราะในผักโขม อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด กรดโฟเลต วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และโปรตีน นี่แค่ย่อยๆ ที่เด็ดกว่านั้นล่ะ เรามาดูกัน

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

  1. ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
  2. ผักโขมมีสาร ซาโปนิน(Saponin)ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล ในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
  3. วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็น และช่วยบำรุงสายตา
  4. วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
  5. ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

นอกจากผักโขมจะมีคุณค่าในด้านสารอาหารต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผักโขมยังมีคุณค่าในด้านสมุนไพรไทยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งตำราประมวลสรรพคุณยาไทย ของ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ได้กล่าวถึงประโยชน์ด้านสมุนไพรไทยของผักโขมเอาไว้ดังนี้

ผักโขมหัด(น่าจะเป็นผัโขมบ้าน) ใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนใน แก้ไข้ต่างๆ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี

ผักโขมหนาม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

การนำผักโขมไปใช้ ประกอบอาหาร  

แกงเลียงผักโขมถ้าจะให้พูดคงหลายเมนู ยกตัวอย่างที่เด็ดๆแล้วกันนะครับเช่น ผักโขมผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักโขมหมูบะช่อ สลักผักโขม ซุปผักโขม ยำผักโขม นำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆก็อร่อย นี่แค่อาหารไทย ถ้าใครไปทานในร้านพิซซ่า ก็จะเจอเมนูผักโขมอบชีส อันนี้ผมเคยลองแล้ว อร่อยไม่เบา อ้อลืมบอกในสมัยก่อน(จนถึงปัจจุบัน) นิยมทำแกงเลียงผักโขมให้แม่ที่พึงคลอดรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าช่วยบำรุงเลือดและ เรียกน้ำนม ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะในผักโขมอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงสามารถช่วยตรงนี้ได้

 

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ต.ค. 112012
 

ชะพลู คิดว่าคนที่เคยทานเมี่ยง แหนมคลุก คงรู้จักสมุนไพรไทยชนิดนี้กันดี ด้วยความหอมและรสชาติที่โดดเด่น เหมือนถูกดีไซน์มาไว้ทานกับอาหารพวกนี้โดยเฉพาะ ผมเองก็เป็นคงหนึ่งที่ชอบมาก (คิดแล้วน้ำลายไหล) แต่นอกจากรสชาติและความเข้ากันกับอาหารจำพวกเมี่ยงนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่คู่กันคือคุณค่าของชะพลู สมุนไพรไทยชนิดนี้มีดีตรงไหนบ้างเราลองมาดูกัน

ลักษณะของชะพลู

ชะพลูชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อวงศ์   Piperaceae

ชื่ออื่นๆ   ปูนก,ปูลิง (ทางภาคเหนือ)  ,ช้าพลู (ภาคกลาง) ,นมวา(ภาคใต้) และผักอีเลิศ (ทางอิสาน)

จะเห็นได้ว่าชะพลูมีชื่อเฉพาะ หรือชื่อท้องถิ่นอยู่แทบทุกภาค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชะพลู เป็นสมุนไพรไทยที่มีแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ  ชะพลูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นเถาไม้รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อ ที่พิเศษคือตามข้อจะมีราก ไว้ช่วยลำต้นยึดเกาะ

คุณค่าทางอาหารของชะพลู

ชะพลูนอกจากทานได้อร่อยแล้วนั้นยังมีคุณค่าทางอาหารอีกเพียบ เช่นแคลเซียมที่ช่วยบำรุงระบบกระดูก วิตามินเอที่สูงมากเป็นพิเศษ จึงบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี และยังมีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด  เส้นใยที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และยังมีสารครอโรฟิล*

*บางคนอาจบอกว่า ครอโรฟิลมีประโยชน์ยังไง เราไม่ใช่ต้นไม้สักหน่อย ไม่ต้องใช้สังเคราะห์แสง …จริงๆมันมีประโยชน์หลายอย่างนะครับ จากการศึกษาจะพบว่าสามารถช่วยลดการดูดซึมสารก่อมะเร็งของร่างกาย ทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลงได้ รวมถึงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ไว้มีโอกาศจะเขียนเรื่องครอโรฟิล แบบเจาะลึกนะครับ

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของชะพลู

ตามตำราสมุนไพรไทย บอกเอาไว้ว่าชะพลูมีสรรพคุณในการบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ขับลมในลำไส้ ลดความดันโลหิต และด้วยการที่ชะพลูมีรสเผ็ดร้อนจึงช่วยขับเสมหะได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู

จริงๆแล้ว มันก็จากประโยชน์ของมันนั่นแหละ ก็ด้วยการที่ชะพลูมีแคลเซียมสูง หากเราทานจำนวนมาก และติดต่อกันนานนาน จะทำให้แคลเซียมสะสม กลายเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งอาจทำให้เป็นนิ่วในไตได้ แต่หากเราทานพอดีพอดี เช่นอาทิตย์นึงทานครั้ง หรือทานบ่อย ๆแต่ทานครั้งละไม่กี่ใบ และทานร่วมกับอาหารอื่นจะทำให้เราได้ใช้แคลเซียมจากชะพลูได้อย่างเต็มที่ และไม่เป็นโทษต่อร่างกาย (ทุกอย่างต้องอยู่บนเส้นทางของความพอดี)

 

ต.ค. 032012
 

หากจะพูดถึงจังหวัดนครปฐม ของดีขึ้นชื่อของที่นั่นอยู่ในคำขวัญจังหวัดอยู่แล้ว แต่มันมีหลายอย่าง แน่นอนเข้าเว็บ ไทยสมุนไพร..net จะให้นึกถึงอะไรเป็นอย่างแรกเสียไม่ได้ ถ้าไม่ใช่….. ลูกสาวสวย   …..เอ๊ยส้มโอหวานต่างหากล่ะ (เกือบหลุดแล้ว)  ส้มโอนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน ซี  และแคลเซียมสูง ผลจะนำมาทานเมื่อสุกแล้ว ใครกินส้มโอดิบคงพิลึก นอกจากทานสดสดแล้วนั้น ยังเอามาทำอาหารได้อีก ที่นิยมก็คือยำส้มโอ ไว้วันหลังมีโอกาศจะเอาสูตรเด็ด ยำส้มโอมาลง  เปลือกส้มโอมีรสขมนิยมนำไปแช่อิ่ม  นอกจากนี้ที่ประเทศจีนนิยมทำเป็นยาแก้ไอ และผสมยาหอมรับประทาน

มาพูดถึงรูปร่างลักษณะของส้มโอกันบ้าง

ผลส้มโอ หรือ ลูกส้มโอ ลักษณะของ ส้มโอลำต้นของส้มโอ ลักษณะของส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-9 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล

ใบส้มโอ   มีใบเดี่ยว รูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น  เล็กน้อย ปลายใบมนเช่นเดียวกับโคนใบ

ดอก   ออกดอกเดี่ยว  หรือเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ มีสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ 

ผล  ทุกท่านคงจะเคยผ่านตามาบ้าง รูปร่างกลมโต เปลือกหนา มีต่อมน้ำมันมาก ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลแก่หรือผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน และมีสีชมพู มีรสหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดอยู่ภายใน

 

และแล้วก็มาถึงไฮไลท์นั่นคือ สรรพคุณทางด้าน สมุนไพรไทย ของส้มโอ

ผลส้มโอ มีสรรพคุณขับลมในลำไส้  แก้เมาเหล้า (อันนี้ชอบ)

 เปลือกของผลส้มโด จะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก ตามตำราโบราณบางตำราบอกว่า  บรรเทาไส้เลื่อนได้ด้วย ซึ่งยังไม่มีหลักฐานรับรองตรงนี้ ซึ่งอาจจะมีสรรพคุณตรงนี้ตามที่ตำราโบราณเขียนไว้ก็ได้ เพราะคนโบราณเขาศึกษาจากการสังเกต แน่นอนต้องรองานวิจัยอื่นๆต่อไป

ใบส้มโอ นำมาต้มพอกศรีษะ บรรเทาอาการปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้ออีกด้วย

ดอกส้มโอ  แก้อาการจุกสียดในกระบังลม กระเพาะอาหาร

เมล็ดส้มโอ มีประโยชน์ในเรื่องของ แก้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงเรื่องของการแก้ไส้เลือน ซึ่งอันนี้เป็นกรณีที่ต้องค้นคว้าต่อเหมือนเปลือกของส้มโอ

 

นอกจากนั้นแล้วส้มโอยังมี วิตามินซี อันนี้คงพอทราบกันในเรื่อป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงในส้มโอยังมีแคลเซียม ซึ่งเสริมสร้างและบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี

 

ทั้งหมดนี้คือที่ผมนำมาฝาก ไปตลาดเห็นส้มโอ ก็อุดหนุนแม่ค้าสักคนละสูกสองลูกนะครับ

ปอลอ ช่วงนี้เขียนเรื่องผลไม้เยอะหน่อยอย่าว่ากันนะครับ  วันต่อๆมาอาจจะมีผักสมุนไพร และพืชสมุนไพรอื่นทยอยมาเพิ่ม อยากให้เขียนเรื่องไหน สมุนไพรอะไร ก็ comment มาบอกกันได้นะครับ

 

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้

 ช่วยสมานแผล, พืชสมุนไพร, ลดไข้, แก้ไอ ขับเสมหะ  ปิดความเห็น บน ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้
ก.ย. 292012
 

หากใครจำเหตุกรณ์ เมื่อตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดได้จะพบว่าตอนนั้นมีพืชชนิดหนึ่ง ที่ได้รับกระแสความนิยม นั่นคือสมุนไพรไทยที่ชื่อฟ้าทะลายโจร ถึงขนาดกระทรวงสาธารณะสุขออกมาส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและใช้
และมีการทำยาลักษณะแคปซูลออกมาขายมากมาย วันนี้เรามารู้จักพืชชนิดนี้กันนะครับ

สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall. ex Ness.
สกุล  ACANTHACEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (ชลบุรี) หญ้ากันงู (สงขลา) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) เขยตายยายคลุม (อ.โพธาราม) เมฆทะลาย (ยะลา) เรียกได้ว่ามีชื่อเรียกหลากหลายทีเดียว

ลักษณะของพืชชนิดนี้

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม จะแตกกิ่งก้านออก เฉพาะด้านข้างเท่านั้น กิ่งก้านมีสีเขียว และ จะสูงประมาณ 30-60 ซม.
ใบ ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบ ตรงปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมันมีสี เขียว
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ปลาย ดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรืออมม่วง อ่อนๆ ดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก ที่ปากบน แยกออกเป็น 3 กลีบ ล่าง 2 กลีบ มีกลีบ เลี้ยง 5 กลีบ
ผล คล้ายกับผลของต้นต้อยติ่ง แต่มี ขนาดเล็กและสั้นกว่า ผลนี้จะตั้งมุมก้านดอก เมื่อผลแก่เต็มที่ก็แตกออกเป็นสองซีกทำให้ มองเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบนๆ มีอยู่จำนวนมาก

การขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ ในดินทุกชนิด และจะปลูกได้ทุกฤดูกาลด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น (สด- แห้ง) และใบ

สรรพคุณ

ใบ รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยการนำมาบดผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาตรง บริเวณที่เป็นแผล

ใบและทั้งต้น แก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดิน อาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ทอนซิล แก้ปอด อักเสบ เรียกได้ว่าเรื่องของหวัดไข้ แก้ได้อย่างครบวงจรเลยทีเดียว แก้อาการท้องเดิน โดยใช้ต้น แห้งประมาณ 1 – 3 กำมือเอามาหั่น แล้วต้ม กับน้ำดื่ม ส่วนเป็นยาแก้ไข้นั้นให้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือก่อน อาหารเช้าเย็นและถ้าเป็นโรคภายนอก

วิธีการทำยาเค็ปซูล นำใบมาตากแห้ง บดให้ละเอียด และนำมาบรรจุในแคปซูลเปล่าเพื่อรับประทาน(แคบซูลเปล่าหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป)

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของฟ้าทลายโจร สมุนไพรไทยที่เรานำมาฝากกัน

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

ก.ย. 232012
 

จะสั่งข้าวที เวลานึกอะไรไม่ออกเรามักจะสั่ง กระเพราไข่ดาวจานนึง บางคนอาจจะบอกเราสิ้นคิด แต่ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย ใครจะว่าก็ไม่เป็นไร หนำซ้ำกระเพรายังมีคุณค่าของ สมุนไพรไทย มากมายอีกด้วย

กระเพรา สมุนไพรไทยกระเพรา
ชื่อวิทย์ Ocimum sanctum, Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE

ชื่ออื่น
กระเพราแดง, กระเพราขาว (ภาคกลาง)
ก่ำก้อขาว , ก่ำก้อดำ, กอมก้อขาว, กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาเหนือ)
ห่อตูปลา, ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน

ลักษณะโดยทั่่วไป
ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนของลำต้น เนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม
ใบ ใบสีเขียว เรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนโดย เฉพาะส่วนที่เป็นยอด
ของมันจะมีมากกว่าส่วน อื่น ๆ ใบมีกลิ่นหอม
กิ่ง กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของ มันจะอ่อน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง
เมล็ด เมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด หรือลำต้น ใน การขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นดีในดินร่วนซุยน้ำ น้อย
ส่วนที่ใช้ ใบ, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ
ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย

ก.ย. 202012
 
คนที่ชอบทานอาหารรสจัดหน่อยก็คงชอบ ภายในรสเผ็ดร้อนของมันนั้น มีคุณค่าของสมุนไพรไทย แฝงอยู่ถึงหกประการด้วยกัน

พริก สมุนไพรไทยพริกขี้หนู (cayenne pepper)

พริกชี้ฟ้า (chili Spur pepper)

พริกหยวก (red-pepper หรือ sweet pepper)

พริกเป็นอาหารสมุนไพรที่ใช้กับทุกครัวเรือน ท่านทราบหรือไม่ว่าพริกนั้นมีคุณค่าทางอาหารและคุณค่าทางยาที่วิเศษชนิดหนึ่ง พริกที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารจะใช้ทั้ง พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า และพริกหยวก

ในพริกมีสาร capsaicin ซึ่งมีมากในไส้พริก เป็นสารที่มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมีสาร carotenoid วิตามินซี วิตามินเอ ไขมัน  และ โปรตีน

สรรพคุณ

1. พริกช่วยขับเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง สารแคปไซซินช่วยลดความไวของปอด ต่อการเกิดอาการต่างๆ  เช่น การบวมของเซลล์หลอดลมใหญ่และเล็ก ลดการหดเกร็งเนื้อรอบหลอดลม พริกเผ็ดจึงเป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นหอบหืด เมื่อเราลองกินพริกที่รสเผ็ดๆ น้ำตา น้ำมูกไหล ซึ่งอธิบายได้ว่า พริกช่วยให้เสมหะที่ข้นเหนียว เจือจางลง ร่างกายจะขับเสมหะออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น

2.  ช่วยสลายลิ่มเลือด  มีรายงานการวิจัย   นายแพทย์สุคนธ์   วิสุทธิพันธ์และคณะ จากศิริราชพยาบาล ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือคนที่ได้รับพริก และไม่ได้รับพริกในอาหาร ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับพริกจะมีการทำงานของร่างกายเพื่อสลายลิ่มเลือดได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับพริก แต่หลังจากกินพริกแล้วครึ่งชั่วโมง ความสามารถในการสลายลิ่มเลือดจะกลับคืนสู่ปกติ และยังมีการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ของชาวอินเดีย เปรียบเทียบชาวไทยกับชาวอเมริกันที่อาศัยในไทยแต่ไม่รับประทานพริก พบว่าคนอเมริกันมี fribrinogen ในเลือดสูง และเลือดมีโอกาสจะจับตัวเป็นลิ่ม และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้ง่ายกว่า ดังนั้นผลดีที่คนไทยใช้พริกประกอบอาหาร โอกาสจะเกิดโรคหัวใจจึงมีน้อยกว่า

3. บรรเทาอาการปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน สารแคปไซซิน  ออกฤทธิ์ต่อเซลประสาทโดยชะลอการหลั่งของ neurotransmitter ที่ปลายประสาท substance P ส่งผลให้สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง

4. พริกช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอ็นดอร์พิน (endorphins) ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เมื่อรับประทานพริกจะเกิดความสุขและเป็นส่วนหนึ่งทำให้อยากเพิ่มขนาดพริกในอาหารขึ้นเรื่อยๆ สารเอ็นดอร์พินมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือ การออกฤทธิ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้อยากหลับ (opiates) ซึ่งนั้นก็ให้เกิดความสุขแก่ตัวเราและทำให้ความดันโลหิตลดลง

5. พริกจะช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร

6.พริกช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในพริกมีทั้งวิตามิน เอ ซี และโปรตีน

ข้อควรระวัง

แม้ว่าพริกจะมีสรรพคุณนานัปการอย่างที่กล่าวแล้ว แต่ท่านต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานรสเผ็ดจัด และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ไม่ควรรับประทานพริกมาก เพราะอาการเจ็บป่วยของท่านอาจเป็นมากขึ้น ไม่ควรทานเผ็ดในช่วงท้องว่าง ควรปรุงเป็นอาหาร ไม่ควรเคี้ยวพริกสด ๆ  เพราะอาจจะเกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร อาจจะทำให้ท่านเป็นแผลเรื้อรังและกลายเป็นมะเร็งได้

ก.ย. 182012
 

มะกรูด สมุนไพรไทยชนิดนี้ พบเห็นได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้งใบ และ ผล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

มะกรูด สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC วงศ์ Rutaceae

ชื่ออังกฤษ Leech lime

ชื่อท้องถิ่น มะขุน มะกรูด ส้มกรูด

ลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีหนามตามลำต้นและกิ่งก้านใบสีเขียวแก่ ตรงกลางใบจะแคบทำให้มองดูเหมือนเป็น 2 ใบ ภายในมีต่อมน้ำมัน มีกลิ่นหอมดอกมีสีขาว ผลมีสีเขียวผลขรุขระเวลาสุกจะมีสีเหลือง

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

รักษา ชันนะตุ รักษารังแค

น้ำคั้นจากผลใช้รักษาชันนะตุ รักษารังแค่ทำให้ผมสะอาดชุ่มชื่นเป็นเงางาม ดกดำผมลื่นโดยใช้มะกรูดแก่แต่ไม่สุกผ่าครึ่งออกเป็น 2 ชิ้นแกะเมล็ดออกเมื่อสระผมเสร็จแล้วให้เอามะกรูดสระซ้ำจะทำให้ผมสะอาดเป็นมัน

สุวคนธบำบัด

น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลสดใช้แต่งกลิ่นสบู่และแชมพูลดอาการซึมเศร้า รักษากระเพาะปัสสะวะอักเสบ( ผสมในอ่างน้ำ)

ยาบำรุงหัวใจ

ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ ฝานผิวมะกรูดสุกเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้องแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือชงด้วยน้ำเดือดแช่ทิ้งไว้ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 – 2 ครั้ง ถ้ายังไม่ทุเลาจะรับประทานติดต่อกัน2-3วันก้อได้