ม.ค. 072013
 

ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าสำนวนที่บอก “ไม่เป็นสับปะรด”มันมีที่มาที่ไปยังไง ทำไมมันไปหมายถึงอะไรที่ไม่เข้าท่าไปได้ แต่อย่างไรก็ตามสมุนไพรไทยที่นำเสนอวันนี้ผมรับรองว่าเป็นสับปะรดแน่นอน เพราะมันคือสัปปะรด งงไหม? ก่อนที่เราจะไปดูกันต่อว่าสับปะรดมีดียังไงเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามและลักษณะของสับปะรดกันก่อน

สับปะรดชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสัปปะรด :   Ananas comosus  (L.) Merr.

ชื่อโดยทั่วไป:  สับปะรด หรือ Pineapple (หลายคนอาจงงว่ามันเกี่ยวกับแอบเปิ้ลยังไง จริงๆคำนี้มันก็ตามตัวนะครับคือฝรั่งจะมีขนมอย่างหนึ่งที่ใช้ผลไม้เป็นองค์กระกอบ ซึ่งก็คือพายผลไม้นั่นเอง คราวนี้มันมีพายอันหนึ่งคือพายทำจากแอปเปิ้ล ลักษณะจะออกสีเหลืองๆ ซึ่งลักษณะมีเนื้อคล้ายๆของเนื้อสับปะรด เมื่อฝรั่งได้เห็นสับปะรดเป็นครั้งแรกจึงตั้งชื่อผลไม้ที้ว่า พาย-แอปเปิ้ลนั่นเอง

ชื่อวงศ์ :   Bromeliaceae

ชื่ออื่น :  หมากนัด (ภาคอีสาน) แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ลิงทอง (เพชรบูรณ์) จะเห็นว่าชื่อตามท้องถิ่นมีเยอะมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้หลายที่นั่นเอง

ลักษณะของสับปะรด : เป็นผลไม้สมุนไพร ที่เป้นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวีสลับซ้อนกัน ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำมีตาอยู่รอบผลที่เป้นลักษณะเฉพาะของสับปะรด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย : สับประรดเรียกได้ว่าทุกส่วนมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยแทบทั้งสิ้นสุดแต่เราจะเลือกใช้

  • ราก –  ใช้บรรเทานิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด – เป็นยาระบาย ฆ่าและถ่ายพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ – ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก – ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด – แก้ขัดเบา (ฉะนั้นทางสับปะรดก็อย่าทิ้งแกนกลางมันนะครับ)
  • เปลือก – ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก – ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง – แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

เคล็ดลับในการรับประทานผลสับประรด ให้ได้รสชาติดีและปลอดภัย

ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงๆ เป็นแถว เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น (ลองสังเกตตอนที่แม่ค้าหั่นดูก็ได้)แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และ เอ็มไซม์ บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หลังรับประทาน

มาทานสับประรดกันนะครับนอกจากเป็นผลไม้ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรไทยอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ สมุนไพรก้นครัวกินแล้วไม่ป่วย ,ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

พ.ย. 222012
 

หัวข้อของเนื้อหาในตอนนี้อาจยาวไปนิดนึง แต่ยืนยันได้ว่าพืชสมุนไพรไทย อย่างชะอมนั้นสามารถ นำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเมนูเด็ดอย่างไข่เจียวกับชะอม ที่ไว้ทานคู่กับน้ำพริกกะปิ เมนูนี้อร่อยอย่าบอกใคร สำหรับชะอมนั้นเป็นพืชที่พบเห็นได้ทั่วไป(ตามตลาด) ซึ่งตัวของชะอมนั้นมีคุณค่าดีๆด้านสมุนไพรอยู่มาก รวมถึงคุณค่าทางด้านโภชนาการที่หลากหลาย ลองมารู้จักกับชะอมไปพร้อมๆกันนะครับ

ชะอมชื่อทางวิทยาศาสตร์   Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen

ชื่อวงศ์           Fabaceae

ชื่อทั่วไป        ชะอม หรือ Acacia pennata

ชื่ออื่นๆของชะอม   ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา

ลักษณะของต้นชะอม

  •  ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม
ชะอมเแป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จัดว่าไม่เบาเลยทีเดียว โดยยอดชะอม 100 กรัม ให้สารอาหารต่างๆดังนี้

  • ให้พลังงานกับร่างกาย   57 กิโลแคลอรี่
  • มีเส้นใย ซึ่งมีส่วนช่วยระบบขับถ่ายอยู่ 5.7 กรัม
  • มีแคลแซียมซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันอยู่ 58 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัสซึ่งช่วยให้วิตามินบีต่างๆทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งมีอยู่ถึง 80 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด บำรุงโลหิต    4.1 มิลลิกรัม
  • มีวิตามินต่างๆดังนี้  วิตามินเอ(บำรุงสายตา) 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางด้านสมุนไพรไทย

ใบชะอม (เน้นที่ใบหรือยอดอ่อน)   สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้

รากชะอม   หากนำมาต้มรับประทาน  จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรด จุกเสียดแน่นท้องและขับลมในกระเพาะอาหาร

ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆในการรับประทานชะอม

ผักชะอมในช่วงหน้าฝน จะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนมาก บางครั้งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ปวดท้องและสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนแนะนำว่าไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้งได้

พ.ย. 172012
 

ถ้าหลายคนติดตามเว็บนี้มาเป็นประจำคงจำกันได้นะครับ ว่าผมเคยเขียนเรื่องกระเจี๊ยบไว้ในตอน “กระเจี๊ยบ สมุนไพรสีสดใส รสชาติถูกใจ“แต่กระเจี๊ยบที่ผมพูดถึงในตอนนั้นคือกระเจี๊ยบแดง ซึ่งส่วนใหญ่คนมักจะนำไปเป็นเครื่องดื่ม แต่ยังมีกระเจี๊ยบอีกชนิดหนึ่งที่ผมยังไม่ได้พูดถึงนั่นคือกระเจี๊ยบเขียว นั่นเอง สำหรับกระเจี๊ยบเขียวในบ้านเราจะนิยมนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก เชื่อว่าหลายคนก็คงก็เคยทาน ตามตลาดร้านที่ขายน้ำพริกผักลวกก็มีให้เห็นบ่อยๆ ยังไงก็ลองหาทานกันดูนะครับ เพราะนอกจากรสชาติจะดีแล้ว ยังมีสรรพคุณด้านสมุนไพรอีกมากเลยทีเดียว ก่อนที่จะบอกว่ากระเจี๊ยบเขียวมีสรรพคุณอะไร ขอแนะนำชื่อเสียงเรียงนามและลักษณะของพืชชนิดนี้ก่อนนะครับกระเจี๊ยบเขียว

ชื่อทั่วไป  กระเจี๊ยบเขียว หรือ  Lady ‘ s Finger (แปลตรงตัวคือเล็บมือนางนั่นเอง แต่ต้นเล็บมือนางของไทยเป็นอีกต้นหนึ่งนะครับ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus Moench.

ชื่อวงศ์   MALVACEAE

ชื่ออื่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว

 ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

  • ลำต้น  มีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2  เมตร
  • ใบ       ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ
  • ดอก   มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด
  • ฝัก      คล้ายนิ้วมือผู้หญิง (ดังชื่อในภาษาอังกฤษ) ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

การนำกระเจี๊ยบเขียวไปประกอบอาหาร

กระเจี๊ยบเขียวนอกจากใช้ลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก ยังใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด  เช่น  แกงส้ม  แกงใส่ปลาย่าง  สุดแต่จะนำไปประยุกต์ สำหรับคนไม่เคย รับประทาน กระเจี๊ยบเขียว อาจจะรับประทานได้ยากกันสักหน่อย  เพราะ ฝักของมัน ข้างในจะมี ยางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ แต่ทานบ่อยๆจะชินเอง คนสมัยก่อนนิยมเอาไป ต้ม หรือ ต้มราดกะทิสด (การราดกระทิสดบนผักเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งในการดึงวิตามินที่ละลายในไขมันได้ให้ออกมาจากผักให้ร่างกายดูดซึมให้ใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น) กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมากๆ ลองทานดูได้นะครับ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสรรพคุณด้านสมุนไพรในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้  รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย15วัน(แต่ข้อนี้ผมแนะนำให้ใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่า)

นอกจากนั้นยังมีสูตรการทานกระเจี๊ยบเขียวเป็นยาสมุนไพรต่างๆดังนี้

รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
รับประทาน 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
รับประทาน 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
รับประทาน 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
รับประทาน 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง

คุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบเขียว    

กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย  มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรภ์

 

 

ต.ค. 082012
 

วันนี้เพิ่มอีกหนึ่งเรื่อง คราวนี้ขอพูดถึงเรื่องผักบ้าง แถมเป็นผักที่พบเห็นได้ง่ายๆ ชนิดว่าคงไม่มีใครไม่เคยทาน เอาง่ายๆเดินไปซื้อลูกชิ้น เชื่อไหม 6ใน10 ร้านต้องมีผักชนิดนี้แถมให้ (ไม่ได้วิจัยจริงๆจังๆนะครับแค่จากประสบการณ์ บางทีอาจมี แตงกวา บ้างก็ว่ากันไป)นั่นก็คือกะหล่ำปลีนั่นเอง เขียนให้ถูกนะครับ”กะหล่ำปลี” ไม่ใช่ “กะหล่ำปี ” กะหล่ำที่พบตามท้องตลาด โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่สองสี คือแดงกับเหลือง เอ๊ยเขียวกับม่วงในบทความนี้จะเน้นที่กะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวก่อน ไว้มีโอกาศจะเล่าถึงกะหล่ำปลีสีม่วง หรือกะหล่ำปลีม่วงถ้าโอกาศเอื้ออำนวย

คุณค่าของกะหล่ำปลี 

กะหล่ำปลี ลักษณะใบของกะหล่ำปลี หรือที่คนชอบเรียก ดอกกะหล่ำนอกจากนำมากินเป็นผักสด หรือประกอบอาหารแล้ว ในคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยของมันยังมีอีกเพียบ ขอแยกเป็นข้อๆปล้องๆดังนี้

1.มีวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่า กะหล่ำปลีสีเขียว จะสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้สูงถึงร้อยละหกสิบหก ( 66 เปอร์เซ็นต์)อีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินซียังสามรถป้องกันโรค เลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหารและล้างสารพิษ

2.มีใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง จะช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร กระตุ้นลำไส้ใหญ่ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

3.มีกรดทาร์ทาริก *ช่วยยับยั้งไม่ให้แป้งและน้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เปลี่ยนกลายเป็นไขมันส่วนเกิน สะสมอยู่ตามร่างกาย จึงเหมาะมากๆกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

*เพิ่มเติมข้อมุลนิดนึงนะครับ กรดตาร์ตาริก (tartaric acid) คือ กรดอินทรีย์ (organic acid) พบตามธรรมชาติในผักผลไม้ และเป็นกรดที่พบในไวน์  มีสูตรทางเคมีคือ  C4H6O6  อยู่ในรูป L-Tartaric acid อาจเรียกว่า L-2-3-Dihydroxysuecinic acid หรือ L-2,3-Dihydroxybutanedioic (ข้อมูลจากจากสารานุกรมอาหาร)

4.อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ทีส่วนสำคัญในเรื่องของการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งยิ่งแก่ตัวไป หรือเด็กๆ ยิ่งจำเป็นมากๆ

5.กะหล่ำมีสารซัลเฟอร์ สารตัวนี้จะช่วยระงับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้นอนหลับดีขึ้นนั่นเอง

6.กะหล่ำปลีมีสารต้านการอักเสบ ของแผลในกระเพาะ และลำไส้ ช่วยกระตุ้นให้เซซล์ที่ทำหน้าที่บุเยื่อกระเพาะสร้างสารคัดหลั่งเพื่อช่วยเคลือบผิวทางเดินอาหาร จึงป้องกันโรคกระเพาะและลำไส้ได้ ไม่แปลกเลยที่ส้มตำเผ็ดๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดคนโบราณจึงให้นิยมทานกับกะหล่ำ

7.สำหรับสาวๆกะหล่ำปลี สามารถบรรเทาอาการปวดคัดตึงเต้านมได้อีกด้วย โดยใช้กะหล่ำปลีมาประคบเต้านมข้างละใบ (คิดว่าคงพอเพียงกับขนาดหญิงไทยมาตรฐาน) และใช้ผ้าพันไว้ 20 โดยไม่ต้องนวดคลึงอาคารปวดบวมคัดตึงจะหายไปเอง

การนำไปใช้

จริงๆในหัวข้อนี้ผมคงไม่ต้องลงรายละเอียดมากเพราะกะหล่ำเองนำไปบริโภคได้ทุกส่วนอยู่แล้ว ตั้งแต่ใบ กาบใบ สามรถเอามาทำอาหารหลายชนิด ขอยกตัวอย่างเช่น กะหลำปลีผัดกับหมู ต้มจืด บะช่อหมูสับ กะหล่ำยัดไส้ (น้ำยายไหล) หรือถ้าไม่ประกอบอาหารจะทานสดๆก็ไม่พรบ.หรือรัฐธรรมนูญมาตราใด เช่นนำมากินแกล้มกับลาบ ส้มตำ ลูกชิ้นปิ้งได้หมด หรือจะนึ่งจิ้มน้ำพริก ทานกับปลานึ่งอันนี้ก็แจ๋ว

ข้อควรระวังในการใช้กะหล่ำปลี

เวลาที่เราซื้อกะหล่ำมาจากตลาด แน่นอนผักออแกนิค(ปลอดสารพิษ) มันไม่ได้ขายกันทุกตลาดฉะนั้นทางที่ดีที่สุด ล้างให้สะอาดก่อนเพราะลักษณะของกะหล่ำปลีอาจจะทำให้เก็บยาฆ่าแมลงไว้ได้มาก อาจใช้น้ำผสมเกลือหรือน้ำช้มสายชูล้าง จะทำให้ชำระล้างสารพิษได้มาก

ทานกะหล่ำปลีให้อร่อยนะครับทานเผื่อผมด้วย ไว้คราวหลังจะนำเรื่องพืชผักสมุนไพรไทยดีๆมาฝากอีก

ขอบคุณหนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง สำหรับข้อมูล

 

 

ต.ค. 072012
 

ยอ ในที่นี้ไม่ได้ถึงการยกย่อง ชมเชย หรือแม้กระทั่งประจบประแจง แต่อย่างใด แต่มันเป็นชื่อสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง พูดชื่อคงนึกออกนะครับว่าหมายถึงอะไร

วันนี้เรามารู้จักกับยอกันดีกว่าครับ

ชื่อโดยทั่วไป : Great Morinda,Indian Mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Molinda Critiforia Linn

ชื่ออื่นอื่นของยอ :ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-ทางแม่ฮ่องสอน)

มารู้จักลักษณะของยอกัน

ยอ ลักษณะผลของยอ หรือลูกยอลำต้น ยอเป็นไม้ยืนต้น แต่ค่อนข้างมีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 3-8 เมตร (จริงๆก็ไม่เล็กมากแต่นี่เทียบกับต้นไม้อื่นๆ)

ใบ  ไม่ผลัดใบ ใบใหญ่หนาสีเขียวสด มีดอกเป็นช่อสีขาว

ผลยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุนมาก

สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของยอ

ผลดิบ ใช้ขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งของหญิงมีครรภ์ ผสมยาแก้สะอ๊ก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน

ผลสุก  ช่วยขับลมในลำไส้

ราก  ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก

ใบ  มีวิตามินเอ ใช้บำรุงสายตา หัวใจ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้เกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ด แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค

สูตรยาเด็ดๆจากยอ  พอมารู้จักยอกันแล้วผมเองมีสูตรเด็ดจากยอมาฝากกันครับ

สูตรที่ 1  แก้คลื่นไส้อาเจียน ใช้ลูกยอดิบเผาหรือปิ้งโดยใช้ไฟอ่อน เผาผิวนอกให้ดำเป็นถ่าน ข้างในให้เหลือง ถ้าเผาไม่ถึงที่ยาจะมีรสขม ให้หั่นลูกยอเป็นแว่นบางๆคั่วทั้งสดๆ โดยใช้ไฟอ่อนคั่วจนเหลืองจากนั้นนำมาชงน้ำร้อน กินเป็นชาหรือต้มก็ได้

สูตรที่ 2 แก้คลื่อนไส้อาเจียน (เป็นอีกหนึ่งสูตรสำหรับคนที่ไม่ถนัดปิ้งหรือย่าง)  ต้มให้เดือดนาน 2-3 นาที ถ้าชงน้ำร้อนใช้ยอหนึ่งลูกต่อน้ำหนึ่งแก้ว แล้วชงทิ้งไว้สัก 5 นาที ควรเติมเกลือลงไปพอให้มีรสเค็มปะแล่มเพื่อชดเชย เกลือแร่ที่เสียไปจากการอาเจียน หรือจะใช้ยาหอมผสมลงไปด้วยจะยิ่งดีใหญ่ เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์จะช่วยให้หายอาเจียนเร็วขึ้น  ข้อแนะนำ ควรกินน้ำยอขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่

สูตรที่ 3 ยาแก้ท้องผูก  นำรนากยอที่โตขนานนิ้วชี้ ยาวประมาณ 6 นิ้ว สับเป็นชิ้นๆ ใส่น้ำ 2 แก้ว ต้ม 10-15 นาที กิน 1 แก้วก่อนเข้านอน ตอนเช้าท้องไส้จะระบายดี เหมาะกับคนเป็นโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร

สูตรที่ 4  ยาลดไข้  ใช้เปลือกยอต้ม 10-15 นาที  กินวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ไข้ลดลง

เป็นงครับกับ 4 สูตรเด็ดที่นำมาฝาก ขอแถมท้ายด้วยเมนูสมุนไพรสุตรฮิต นั่นก็คือ

เมนูน้ำสมุนไพรลูกยอ

ส่วนประกอบที่ใช้  

  • ลูกยอสุกผลใหญ่                   1-2         ผล
  • น้ำสะอาด                             1 1/2      ถ้วย
  • ใช้น้ำผึ้ง                               1/2         ถ้วย
  • น้ำตาลทราย                          1/4       ถ้วย
  • เกลือป่น                               1/2       ช้อนชา

 

วิธีทำง่ายมากครับ

 น้ำลูกยอ เป็นน้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี1.  นำลูกยอสุกมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำสะอาดให้เปื่อยจนเม็ดหลุดออก

2. กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำตั้งไฟ

3.เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และเกลือป่นคนให้เข้ากัน

4.เสร็จแล้วครับ จะทานร้อนๆ หรือทิ้งไว้เย็นเติมน้ำแข็งก็ได้เหมือนกัน

 

ต.ค. 022012
 

มะละกอ จริงๆแล้วจะว่ามะละกอเป็นพืช สมุนไพรไทย คงจะไม่ค่อยถูกนัก เพราะอะไร เพราะมะละกอเดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา (มาไกลแฮะ) ตอนมาก็หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาปัจจุบัน ออกลูกออกหลาน ขยายพันธ์เต็มบ้านเต็มเมืองเราได้ เริ่มต้นนั้นชาวยุโรปนำเข้ามาผ่านเรือสินค้าปัจจุบันก็กระจายกันไปจนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะบ้านเรามะละกอขึ้นชื่อมาก จนบางทีหลายคนคิดว่าถิ่นกำเนิดมาจากบ้านเรา อ้อฝรั้งนั้นรู้จักชื่อเสียงของมะละกอบ้านเราดี ในแง่ของการนำไปทำส้มตำหรือ papaya pok pok          (ปาปาย่า ป็อก ป็อก )    ไม่เชื่อ seach google ดูโดยใช้คำว่า papaya pok pok มีแต่เว็บฝรั่งทั้งนั้น)

ชื่อเรียกโดยทั่วไป papaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.
วงศ์  CARICAEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น  ในข้อมูลไม่บอกไว้ด้วย รู้แต่ว่า ภาคกลางเรียก มะละกอ ภาคอิสานเรียก บักหุ่ง (ใครพอรู้ของภาคอื่นๆ post ไว้ที่ comment หน่อยนะครับ)

ลักษณะทั่วไปของมะละกอ

ลักษณะของ ต้นมะละกอลำต้น เป็นพรรณไม่เนื้ออ่อน ไม่เหมาะแก่การนำมาสร้างบ้าน (แหงล่ะ) บางต้นสูงได้ถึง 8 เมตร ทีเดียว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นตรง ก้านใบแตกออกมาลำต้นโดยตรง
ใบ เป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆ คล้ายขนนก ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร
ดอก มะละกอก็มีดอกนะครับถ้าไม่สังเกตจะไม่ค่อยเห็น ดอกตัวผู้มีสีเหลืองออกเขียว กลีบดอกบางยาว 2 ซม.ดอกตัวเมียไม่มีก้านดอก ยาว 7 เซนติเมตร เป็นดอกเดี่ยวและกระจุก กลีบดอกสีขาวเหลือง
ผล กลมยาวรี ผลดิบภายนอกมีสีเขียวเนื้อในสีขขาว เมื่อสุงอมจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อหนานุ่ม น่ารับประทาน รสหวานฉ่ำ มีเมล็ดสีดำผิวขรุขระอยู่ด้านใน

สรรพคุณทาง สมุนไพรไทย
– นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี(ช่วยในการย่อยไขมัน) ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แบบไม่ต้องง้อยาริดสีดวงทวารตรา ปลามังกรคู่
– ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่ดีมากๆ เป็นยาระบายชั้นดี
– นำเนื้อสุกมาปั่นพอกหน้าเพิ่มความชุ่มชื้น ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เรื่อง “รวมสูตรสมุนไพร เพื่อการบำรุงผิวหน้าง่ายๆที่บ้าน

มะละกับการประกอบอาหาร และคุณค่าทางอาหาร
– มะละกอเอามาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ถ้ามะละกอดิบ แน่นอนส้มตำส้มตำ หรือ papaya pok pok
– อย่าคิดว่ามะละกอดิบจะทำส้มตำได้อย่างเดียว หั่นเป้นแว่นๆพอคำ ใส่แกงส้มปลาช่อน ที่ไม่ใช่แกงส้มAF ได้
-มะละกอสุก นำมาปอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด หั่นเป้นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่นผสมน้ำตาล หรือน้ำเชื่อม และใส่เกลือเล็กน้อย คลายร้อนได้อย่างดี
-มะละกออุดมไปด้วย

> แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

> วิตามินซี เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ (คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้) และช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน

> วิตามินเอ บำรุงสายตาและระบบประสาท
นี่แหละครับคือคุณค่าของมะละกอที่ผมเอามาฝาก อ่านบทความจบแล้วจะไปหามะละกอสักลูกมาทานก็ไม่ว่ากันครับ ทานเผื่อผมด้วย

ข้อมูลอ้างอิง herb&healthy  ,thai wiki

หากท่านใดต้องการเอาบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อผมไม่หวงครับ แต่ขอความกรณาลง link ที่มา จาก web                                                                                                                    http://ไทยสมุนไพร.net  ให้ด้วยนะครับ

 

 

ก.ย. 242012
 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้่ที่หาทานได้ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่สรรพคุณไม่กล้วยเหมือนชื่อของมันเลยกล้วยน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไปกล้วยน้ำว้า สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทย์ Musa sapientum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MUSACEAE
ชื่ออื่น -ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกัน จะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 25 เมตร
ใบ มีสีเขียว เป็นแผ่นยาว เส้นของใบจะขนานกัน แกนใบจะเห็นชัดเจน
ดอก มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. เป็นช่อซึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อ
มีสีแดงปนม่วง เป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซ.ม ส่วนทีเป็นฐานดอกจะมีเกสรตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้
ช่อดอกจะเจริญกลายไปเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้จะร่วงไป
ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้ว ผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว
เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียว แล้วตายไป
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ หรือแยกเหง้า
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย

สรรพคุณ
ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการเบาหวาน)

 

ก.ย. 232012
 

น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทยกระเจี๋ยบแดง

ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาว
ประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะ
เป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่
หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดี
ส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด
เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง
สรรพคุณ
ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย
ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำ
ให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย
วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกิน
ใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร

 ขับปัสสาวะ, บำรุงเส้นผม, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน อัญชัน ดอกไม้สมุนไพร
ก.ย. 202012
 

อัญชันหลายคนคงเคยเห็น แบบที่ขึ้นเองตามข้างถนนบ้าง หรือปลูกบ้างก็มี ใครจะรู้ว่าสีม่วงสดใสของอัญชันจะแฝงด้วยคุณค่าหลายอย่างอัญชัน สมุนไพรไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitore ternatea Linn. วงศ์ Papilionaceae

ชื่ออังกฤษ Butterfly pea, Blue pea, Asian pigeon-wings

ชื่อท้องถิ่น แดงชัน เอื้องชัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

อัญชันเป็นไม้เลื้อยซึ่งปลูกเป็นไม้ประดับรั้วหรือซุ้มทั่ว ๆ ไป ลำต้น มีขนนุ่ม ใบ เป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ อัญชันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดดอกขาว และชนิดดอกสีน้ำเงิน (ขาบ) แต่ละชนิดมีทั้งดอกเป็นชั้นเดียวและดอกซ้อน ชนิดพันธุ์ทางมีดอกสีม่วงเกิดจากการผสมระหว่างดอกสีขาวและสีน้ำเงิน

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ผมดกดำ นุ่มสลวย

ดอกอัญชันใช้ทำแชมพูสระผม ช่วยให้ผมดกดำ นุ่มสลวย

แต่งสีอาหาร

ดอกอัญชันสีน้ำเงินใช้แต่งสีอาหารได้ ใช้เป็นสีผสมอาหารในขนหลายชนิด เพื่อนให้ขนมนั้น ๆ มีสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วง เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ วิธีสกัดสีจากดอกอัญชัน ทำได้โดยนำกลีบดอกอัญชันมาบดในน้ำเล็กน้อย กรองผ่านผ้าขาวบาง บีบน้ำออกได้สีน้ำเงิน ถ้าต้องการสีม่วงให้เติมมะนาวลงไปเล็กน้อย

เมล็ด

ใช้เป็นยาระบาย แต่มักจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

ราก

 

มีรสขม ใช้เป็นยาขับปัสวะและใช้เป็นยาระบาย

 สารสำคัญ

 

ชนิดที่กลีบดอกสีน้ำเงิน จะมีสารพวก Anthocyanin ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวบ่งชี้ทางสารเคมี (indicator) เช่นเดียวกับลิตมัส (litmus) ในสภาวะที่เป็นกรดจะมีสีออกไปทางสีแดง ในด่างจะออกสีน้ำเงิน

 

มะเขือเทศ มากกว่าผิวสวย

 บำรุงผิว, ยาระบาย  ปิดความเห็น บน มะเขือเทศ มากกว่าผิวสวย
ก.ย. 202012
 

มะเขือเทศถ้าพูดว่าเพื่อผิวสวยหลายคนอาจเคยได้ยินแต่คุณค่ามันมากกว่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของสารอาหารต่างๆ เราไปรู้จักกับพืชสมุนไพรชนิดนี้กันนะครับ

มะเขือเทศ สมุนไพรชื่อวิทยาศาสตร์ Lycopersicon esculentum Mill วงศ์ Solanaceae

ชื่ออังกฤษ tomato , lova apple

ชื่อท้องถิ่น ตรอบ (สรินทร์) ตีรอบ (เขมร) มะเขือส้ม(ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุก สูง 1-2 เมตรลำต้นและใบมีขน

ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ออกสลับกันยาว 10-14 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อง่ามใบ ช่อหนึ่งมี 3-7 ดอก กลีบดอกสีเหลืองติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ ผล รูปร่างและขนาดมีได้ต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่กลม กลมรีหรือกลมแบน มะเขือเทศเป็นพืชอบอุ่นและแสงแดด ผลเมื่อยังดิบมีสีเขียว แต่เมื่อสุกเต็มที่แล้วมีสีแดงอมส้มถึงแดง ผิวนอกเรียบเป็นมัน มีเนื้อฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่มสดใส

ใสสตรีนิยมใช้น้ำมะเขือเทศสดพอพอกหน้าหรือใช้มะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะลงบนใบหน้า เนื่องจากวิตามินหลายชนิดในมะเขือเทศจะช่วยบำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่ม สดชื่น นอกจากนี้น้ำจากผลมะเขือเทศสุกที่คั้นใหม่ ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้เนียนนุ่ม โดยนำผลมะเขือเทศมาบดให้ละเอียด เติมน้ำมะนาว 2-3 หยด ขั้นตอนการใช้เริ่มจากการล้างหน้าให้สะอาด ทาครีมสำหรับใบหน้า วางชั้นสำลีแห้งบาง ๆ แล้วปิดด้วยสำลีที่ชุ่มน้ำมะเขือเทศที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที เอาสำรีออกแล้วทาครีมอีกครั้ง และเช็ดออกให้สะอาด ด้วยสำลี ชุบน้ำมะเขือเทศ

            ผลมะเขือเทศนิยมใช้เป็นผักสด ผลไม้ ประกอบอาหารหรือทำซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่ม

การรับประทานผลสดที่มีไลโคปีน ซึ่งคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) ลดการเกิดมะเร็ง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ยาระบายอ่อน ๆ เจริญอาหาร

ใช้ผลสดต้มน้ำแกงหรือกินสด

ต้น

ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืช มีฤทธ์ไล่แมลงและเพิ่มความต้านทานต่อแมลง

สารสำคัญ

ผล มะเขือเทศมีวิตามินหลายชนิดเช่น thiamine, nicotic, acid, riboflavin, ascorbic acid, pantothenic acid, biotin, วิตามินเค นับว่าเป็นผักหรือสมุนไพรที่มีวิตามินเกือบครบ สารจำพวก carotennoid ที่พบในมะเขือเทศมี B-carotene และ lycopene ในมะเขือเทศที่สุกมี lycopene เพิ่มขึ้น

ใบ ส่วนเหนือดินและผลดิบ ใบมะเขือเทศมีสารพวก สเตียรอยดัลอัลคาลอยด์ (steroidal alkaloids) ได้แก่ อัลฟาโทมาทีน

ข้อควรระวัง

สารอัลฟาโทมาทีน มีลักษณะคล้ายซาโปนิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุอย่างแรง ถ้ารับประทานในขนาดที่ทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง มีฤทธ์กระตุ้มระบบประสาทส่วนกลางอาจเป็นอัมพาตได้

การใช้มะเขือเทศพอกหน้า บำรุงผิวหน้าให้อ่อนนุ่มสดชื่น ผลที่ใช้ต้องสด ดูสภาพดี ไม่ควรใช้ผลที่เหี่ยวแห้งแล้วภาชนะที่ใส่ผลไม้ไม่ควรทำด้วยโลหะที่เป็นสนิม ควรใช้แก้วหรือกระเบื้อง การพอกอย่าพอกที่ตา ปากและรูจมูก

 

ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา