เม.ย. 192015
 

เมื่อไม่กี่วันมานี้เป็นวันหยุดยาว ผมเองก็ได้มีโอกาศกลับบ้าน หลีกหนีชีวิตจำเจในเมือง ไปหาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ ช่างเป้นช่วงที่เรียบง่ายและมีความสุขจริงๆ อาหารการกินก้เป้นแบบง่ายๆ ลวกผักจิ้มน้ำพริก ที่พอหาได้ตามท้องถิ่น แต่พืชผักหลายชนิดที่นำมาทานกันนั้น บางชนิดจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่หาทานยากทีเดียว ซึ่งสมุนไพรในวันนี้ที่ผมจะแนะนำให้ท่านรู้จักเป้นสมุนไพรที่ผมมีโอกาศได้ลองไปเก็บสดๆจากต้น นั่นก็คือแคร์นา นั่นเอง

แคนา  จากรูปที่ทุกท่านเห็นนี้ฝีมือในการถ่ายของผมอาจจะไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ แต่ดูปุ๊บก็พอจะรู้ว่าเป็นต้นแคนา (ตามชื่อเลยครับ อยู่กลางนาก็เลยมีชื่อว่าแคนา บางทีเขาก็เรียกแคป่า)   ที่เห็นหล่นขาวๆที่พื้นนั้นแหละครับคือดอกแคนา ยอดสมุนไพรไทยของเรา  ดอกแคนาจะต่างจากแคร์บ้านชัดเจน ผมเคยเห็นเขาขายกันที่ตลาดกำละ 5 บาท นับดอกได้ 10ดอกได้ แต่ที่นี่ถ้าใครอยากได้มีให้เก็บให้กินแบบบุปเฟ่ครับ   ตามปรกติของเว็บนี้ข้อมูลสมุนไพรจะเสนอเป็นระบบ มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ชัดเจน สำหรับหลายๆท่านนำไปอ้างอิง สำหรับครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้อมูลของแคร์นามีดังนี้ครับ ขอบคุณคณะเภสัชาสตร์ ม.อุบล สำหรับข้อมูลอ้างอิง

 

ชื่อสมุนไพร แคนา
ชื่ออื่นๆ แคป่า (น่าจะมาจากการที่พบในป่า)  แคขาว (ชื่อนี้มาจากลักษณะดอกสีขาวครับ)   แคเค็ตถวา  (ชื่อถิ่น จ.เชียงใหม่)      แคทราย(ชื่อถิ่น จ. นครราชสีมาหรือภาคอีสานบางพื้นที่) แคแน แคฝอย(ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone serrulata (DC.) Seem.
ชื่อพ้อง Stereospermum serrulatua DC.
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   ดอกแคนา 

  • ลำต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ
  • เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ ผิวเรียบ หรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ลำต้นตรง มักแตกกิ่งต่ำ
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ ออกตรงข้าม 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม  โคนใบเบี้ยว กว้าง 2.5-7  เซนติเมตร ยาว 6-16 เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบซี่ฟันตื้นๆ ผิวใบด้านล่างมี   ขนสั้นประปรายบนก้านใบ ก้านใบย่อยยาว 7-10 มิลลิเมตร
  •  ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกใหญ่ รูปแตร สีขาว ออกตามปลายกิ่ง ยาว 2-3 ซม. ก้านดอกยาว 1.8-4 เซนติเมตร
  •  ผลเป็นฝัก ช่อละ 3-4 ฝัก แบน รูปขอบขนาน โค้ง บิดเป็นเกลียว ยาว 40-60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ   พบตามป่า ทุ่ง ไร่ นา ป่าเบญจพรรณ  โดยออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงมิถุนายน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย    

  •   ราก มีรสหวานเย็น แก้เสมหะและลม บำรุงโลหิต
  •   เปลือกต้น มีรสหวานเย็น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้กับสตรีหลังคลอด
  •   ใบ มีรสเย็น ใช้ตำพอกแผล หรือต้มน้ำบ้วนปาก
  •    ดอกมีรสหวานเย็น ใช้ขับเสมหะ โลหิต และลม
  •    เมล็ด รสหวานเย็น แก้อาการปวดประสาท(ตำราน่าจะหมายถึงอาการปวดต่างๆนะครับ) แก้โรคชัก

ประโยชน์อื่นๆ   แน่นอนครับสำหรับแคนา ประโยชน์หลักๆคือดอก ใช้ในการลวกจิ้ม หรือประกอบอาหารต่างๆ รสชาติขมนิดๆ ช่วยเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นต้นแคนาเองก็มีการนำไปเป็นไม้ให้ร่มเงา ตามบ้าน รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายๆแห่งนำไปใช้ปลูกตามถนนเข้าโครงการก็มี จัดว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ทีเดียว

 

ก.ค. 012014
 

หลังจากที่ไม่ได้ update เนื้อหาใน web มานานพอควร ได้ฤกษ์งามยามดีขออนุญาตนำบทความดีๆเกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากเช่นเคยครับ ซึ่งบทความนี้เผอิญไปอ่านเจอใน pantip  โดยคุณ Dear Nostalgia เป็นผู้รวบรวมมาเห็น่าสนใจดีเลยนำมาฝากทุกท่าน (โดยขออนุญาตเรียบเรียงใหม่และตัดทอน รวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนให้ง่ายต่อการอ่านนะครับ

พูดถึงสะระแหน่หลายคนคงคิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยแท้แต่ดังเดิม ความจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว จากคำบอกเล่า ศจ.อินทรี จันทรสถิต ผ่านทาง ด็อกเตอร์ ณรงค์ โฉมเฉลา บอกว่า จริงๆแล้วสะระแหน่ถูกนำเข้ามาในไทยในช่วง ร.3 โดยชาวอิตาเลียนชื่อนายสะระนี ซึ่งก็กลายมาเป็นชื่อของ สะระแหน่นั่นเอง

ข้อมูลจำเพาะของสะระแหน่

  • ชื่อ  สะระแหน่  (Kitchen Mint )
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Mentha aruensis Linn   วงศ์   Labiatae  สกุล  Mint
  • ชื่อในแต่ละท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) ,หอมด่วน (ภาคเหนือและอิสาน) ,สะแน่(ภาคใต้)

ลักษณะของสะระแหน่

สะระแหน่สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยไปบนดินหรือใต้ดินขยายกิ่งก้านสาขาออกไปโดยใช้ไหลหรือลำต้นใต้ดิน ใบรูปกลม ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม ไม่มีขน (ต่างจากพวก mint ของฝรั่งที่มีขนยาวกว่า)ดอกเกิดบนช่อดอก กลีบดอกสีขาว สะระแหน่เป็นพืชที่แพร่หลายในเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) อยู่สูง จึงทำให้มีรสเย็นสดชื่อนั่นเอง

สะระแหน่ในฐานะสมุนไพรไทย

แพทย์แผนไทย นำเอาสะระแหน่มาปรุงเป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน โดยระบุสรรพคุณว่า กลิ่นฉุนหอมร้อน สรรพคุณคือ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม  นอกจากนี้ยังใช้เป็นกระสายแทรกแก้โรคเด็ก เช่น ทรางชัก และช่วยให้ผายลมได้ดี ลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ โดยถ้าจะสรุปตามการประยุกต์ใช้สามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตามตำราสมุนไพรไทยดังนี้

  •   รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย  วันละ  2 ครั้ง
  •  รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
  •  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
  •  ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  •  รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
  •  รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด

ประโยชน์ด้านอื่นๆนอกจากด้านสมุนไพรของสะแหน่

สะระแหน่เป็นสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นหอม เพราะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก สามารถสกัดออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น เนื่องจากสะระแหน่เป็นพืชในสกุลมินต์ จึงมีกลิ่นคล้ายเมนทอล อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของลูกอมประเภทรสเย็นทั้งหลาย แม้สะระแหน่ไทยจะมีส่วนประกอบของเมนทอลอยู่ในน้ำมันหอมระเหยน้อยกว่ามินต์ชนิดอื่นๆ แต่สะระแหน่ก็มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเด่นไม่แพ้มินต์ชนิดใด อนาคตคงมีการพัฒนานำเอากลิ่นสะระแหน่ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

 

ธ.ค. 262012
 

ผมเองคิดอยู่ตั้งนานว่าจะเขียนถึงสมุนไพรตัวนี้ดีไหม เพราะปัจจุบันมีคนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับมะรุมเอาไว้มากเหลือเกิน รวมถึงมีการทำเป็นยาสารพัดชนิด สรรพคุณก็ว่ากันไปต่างๆนานา ตั้งแต่รักษามะเร็งไปจนถึงเอดส์เลยก็มี ซึ่งบางทีผมว่ามันก็อาจดูเกินจริงไปหน่อย แน่นอนมะรุมเป็นพืชที่ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามันมีการพูดกันจนโอเว่อร์เกินไป ผมก็ว่าแทนที่จะทำให้คนรู้จักสมุนไพรตัวนี้ กลับทำให้สมุนไพรตัวนี้ขาดความน่าเชื่อถือ ผมจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับมะรุม ในแบบที่ควรจะเป็นจริงๆ

มารู้จักมะรุมกันก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

มะรุมชื่อโดยทั่ไป :  มะรุม หรือ Horse radish tree, Drumstick  (คำนี้แปลว่าไม้กลอง สังเกตุต้นมะรุมดู)

ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของมะรุม

  •  ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม
  • ใบ  ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร
  • ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก

เมื่อรู้จักกับมะรุมแล้ว ขออนุญาตพูดถึงมะรุมต่อ ดังที่บอกไปในตอนต้น ปัจจุบันมีคนพูดถึงมากเหลือเกินโดยเฉพาะบรรดาบริษัทผลิตอาหารเสริมต่างๆที่มีการนำมะรุมมาแปรรูปเป็นแคปซูลสกัด ในกรณีที่ทำเป็นแคปซูลโดยบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรณีนี้ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าเป็นกรณีที่บอกว่าใช้เป็นยารักษาสารพัดโรคล่ะก็ อันนี้ต้องคุยกันยาว เพื่อตอบข้อสงสัยผมขอเขียนลักษณะถามตอบเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการจับประเด็นก็แล้วกันครับ

มะรุมเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงจริงหรือ ?

ข้อนี้ตอบว่าจริงครับ อันนี้ยอมรับเลยมะรุมมีแร่ธาตุและสารอาหารหลายชนิด โดยที่ฝักมะรุม  100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

มะรุมรักษาโรคเอดส์ได้จริงหรือไม่ ? ตอบว่ายังไม่มีการศึกษาในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ  สรรพคุณของมะรุมมีแต่เพียงว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น ดังนั้นสำหรับผู้ป่วย HIV ยาต้านไวรัสที่คุณหมอจัดให้ ยังคงจำเป็นอยู่

มะรุมรักษาเบาหวานได้หรือไม่ ? ไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่รักษาเบาหวานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มะรุมสามรถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับพืชสมุนไพรหลายชนิดเช่นมะระ แต่หากมีอาการเบาหวานจริงๆ การรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันยังคงดีที่สุด

สรรพคุณของมะรุมจริงๆแล้วคืออะไร

หากท่านได้ลองค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจจะพบมีการอ้างประโยชน์ของมะรุมมากกว่านี้ แต่ผมจะนำเสนอเฉพาะประเด้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามะรุมมีสรรพคุณในข้อนั้นจริง ๆ ส่วนประเด็นที่ยังเป้ข้อสงสัยและถกเถียงผมจะขออนุญาตไม่นำเสนอ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ (มีการทดลองใช้ในประเทศแถบแอฟริกาที่มีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการ )

2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงดังที่กล่วไป แต่ต้องความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

3. สามรถลดความดันโลหิตได้

4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

5. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง (เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด)

6. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

7. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

8.บำรุงสายตา (เนื่องจากวิตามินเอในมะรุม)

สุดท้ายอยากจะฝากนิดนึงนะครับ ว่ามะรุมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณค่าในตัวมันอยู่แล้ว แต่ผมอยากให้มองว่ามะรุมเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ดีกว่าการมองมะรุมเป็นยาที่มีความพิเศษหรืออัศจรรย์ หรือหากจะมองเป็นยาจริง ก็ขอให้มองเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อสุขภาพที่ใช้ควบคู่กับการรักษาในกระแสหลักจะเป็นการดีที่สุด

พ.ย. 222012
 

หัวข้อของเนื้อหาในตอนนี้อาจยาวไปนิดนึง แต่ยืนยันได้ว่าพืชสมุนไพรไทย อย่างชะอมนั้นสามารถ นำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเมนูเด็ดอย่างไข่เจียวกับชะอม ที่ไว้ทานคู่กับน้ำพริกกะปิ เมนูนี้อร่อยอย่าบอกใคร สำหรับชะอมนั้นเป็นพืชที่พบเห็นได้ทั่วไป(ตามตลาด) ซึ่งตัวของชะอมนั้นมีคุณค่าดีๆด้านสมุนไพรอยู่มาก รวมถึงคุณค่าทางด้านโภชนาการที่หลากหลาย ลองมารู้จักกับชะอมไปพร้อมๆกันนะครับ

ชะอมชื่อทางวิทยาศาสตร์   Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen

ชื่อวงศ์           Fabaceae

ชื่อทั่วไป        ชะอม หรือ Acacia pennata

ชื่ออื่นๆของชะอม   ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา

ลักษณะของต้นชะอม

  •  ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม
ชะอมเแป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จัดว่าไม่เบาเลยทีเดียว โดยยอดชะอม 100 กรัม ให้สารอาหารต่างๆดังนี้

  • ให้พลังงานกับร่างกาย   57 กิโลแคลอรี่
  • มีเส้นใย ซึ่งมีส่วนช่วยระบบขับถ่ายอยู่ 5.7 กรัม
  • มีแคลแซียมซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันอยู่ 58 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัสซึ่งช่วยให้วิตามินบีต่างๆทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งมีอยู่ถึง 80 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด บำรุงโลหิต    4.1 มิลลิกรัม
  • มีวิตามินต่างๆดังนี้  วิตามินเอ(บำรุงสายตา) 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางด้านสมุนไพรไทย

ใบชะอม (เน้นที่ใบหรือยอดอ่อน)   สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้

รากชะอม   หากนำมาต้มรับประทาน  จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรด จุกเสียดแน่นท้องและขับลมในกระเพาะอาหาร

ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆในการรับประทานชะอม

ผักชะอมในช่วงหน้าฝน จะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนมาก บางครั้งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ปวดท้องและสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนแนะนำว่าไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้งได้

พ.ย. 112012
 

เวลาสั่งอาหารตามสั่ง หนึ่งในเมนูที่ผมชอบคือ หมูผัดพริกไทยอ่อน เวลาทานข้ามต้ม ก็อดไม่ได้ที่จะเหยาะพริกไทยลงไป จริงๆรสชาติของพริกไทยป็นรสชาติที่ถูกปากผม และผมก็เชื่อว่าหลายๆคนก็ชอบรสชาตินี้ นอกจากรสชาติของพริกไทยที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้แก่อาหารแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยคือ สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของพริกไทย วันนี้ผมเองก็มีเรื่องราวดีๆของพริกไทยมาฝากทุกท่าน

มารู้จักชื่อเสียงเรียงนามของพริกไทยกันก่อน

พริกไทยชื่อโดยทั่วไป พริกไทย หรือ   Pepper
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Piper nigrum Linn.
ชื่อวงศ์ Piperraceae
ชื่อตามภูมิภาค   พริกน้อย (ภาคเหนือ) พริก (ภาคใต้) พริกไทยดำ พริกไทยล่อน  พริกขี้นก (ภาคกลาง)

ลักษณะของต้นพริกไทย

เมื่อเรารู้จักกับชื่อต่างๆของพริกไทยแล้วคราวนี้ก็มาถึงลักษณะของต้นพริกไทยกันบ้าง  เชื่อนะครับว่าทุกคนเคยเห็นพริกไทยเม็ด พริกไทยออ่น แต่ถ้าต้นพริกไทยผมว่าน้อยคนนักจะได้เห็น เรามาดูลักษณะของต้นพริกไทยกันเลยครับ

  • ลำต้น  เป็นไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ พริกไทยถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน
  • ราก    รากของต้นพริกไทยมักเกิดบริเวณข้อ ตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ โดยจะใช้ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณสามถึงหกราก และรากฝอยแตกออก
  • ใบ      ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ
  • ดอก  ของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง
  • เมล็ด จะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง ดังที่เราเห็นในพริกไทยอ่อนบนจานผัดเผ็ด

คุณค่าทางด้านโภชนาการของพริกไทย   ในพริกไทยนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการหลายประการ อาทิเช่น

  1. พริกไทยนั้นมีแคลเซียมในปริมาณที่สูงมาก โดยเฉพาะในพริกไทยอ่อน ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงอยู่เสมอ และแคลซียม ยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้อีกด้วย
  2. พริกไทยมี ฟอสฟอรัส, วิตามินซี  ซึ่งวิตามินซีนั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชลอกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
  3. มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการมองเห็น
  4. มีสารที่ชื่อว่า ไปเปอรีน และ ฟินอลิกส์  ซึ่งทั้งคู่เป็นสารต้านอนุูมูลอิสระ มีสรรพคุณในการป้องกันมะเร็ง

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

นอกจากคุณค่าทางด้านโภชนาการแล้ว พริกไทยยังมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยอีกหลายประการ โดยพอจะแยกเป็นสรรพคุณของแต่ละส่วนดังต่อไปนี้

  • ดอก  มีการระบุในตำราสมุนไพรไทยว่ามีสรรพคุณ แก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ด มีสรรพคุณในการใช้เป้นยาช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษตกค้าง ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบ ในใบพริกไทยมีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง
  • เถา ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วงอย่างรุนแรง และท้องเดินหลายๆครั้ง
  • ราก ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง วิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร และเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย
  • น้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยนั้น สามรถช่วยแก้หวัด ทำให้จมูกโล่ง นอกจจากนี้ยังใช้ลดน้ำหนัก นำมาทานวดตามร่างกายในส่วนที่ต้องการลดได้ และนอกจากนี้พริกไทย ยังมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด จึงนิยมนำมาถนอมอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่นไส้กรอก กุนเชียง หมอยอ ซึ่งจะมีพริกไทยเป็นส่วนผสม

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของพืชสมุนไพรไทยที่ชื่อพริกไทย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของเครื่องเทศสมุนไพร

ขอบคุณข้อมูลจาก thai wiki และหนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

 

พ.ย. 102012
 

จริงๆแล้วเมืองไทยนั้นอุดมไปด้วยพืชผักผลไม้ มากมาย บางอย่างเดินไปตลาดก็ซื้อหาจับจ่ายมาทานกันได้แล้ว แต่บางอย่างแทบไม่ต้องไปตลาดเลย แค่เดินไปริมรั้วก็สามารถเด็ดมาทานได้ง่ายๆ และพืชผักสมุนไพรไทย ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก็อยู่ในประเภทที่ว่าเดินไปริมรั้ว ก็สามารถเด็ดทานได้ พืชชนิดนั้นก็คือ ผักตำลึงนั่นเองครับ

สำหรับตำลึงนั้นเป็นพืชที่แพร่พันธ์ได้ง่าย มีอยู่ทุกภูมิภาคของเมืองไทย เรียกว่าไปที่ไหนก็มีให้เห็น สามรถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย ยกตัวอย่างก็ได้ตั้งแต่ใส่ต้มจืด ผัดหมูสับใส่ตำลึง แม้แต่กระทั่งเวลาลวกมาม่าตอนสิ้นเดือน ที่กระเป๋าเริ่มแบน ก็ได้เจ้าตำลึงนี่แหละที่เพิ่มคุณค่าทางอาหาร แต่นอกจากประโยชน์ในด้านการประกอบอาหารแล้ว ตำลึงยังมีสรรพคุณทางด้านสมุนไทยอีกมากที่เราอาจยังไม่รู้ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าตำลึงกันนะครับ

ตำลึง ผักตำลึงชื่อทั่วไป    ตำลึง หรือ Lvy Gourd, Coccinia

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cocconia grandis (L.) Voigt

ชื่ออื่น ๆ   ผักแคบ (ทางภาคเหนือ), แคเด๊าะ (เผ่ากะเหรี่ยงและในแม่ฮองสอน), สี่บาท (ภาคกลาง ยังจำที่ครูให้ท่องกันได้ไหม หนึ่งตำลึงเท่ากับสี่บาท), ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ลักษณะทั่วไปของตำลึง

  • ลำต้น ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มีมือจับเพื่อเอาไว้ยึดเกาะหลักเช่นแนวรั้ว อย่างที่เราเห็น หรือยึดเกาะต้นไม้ต่างๆ เถาตำลึงจะเป็นสีเขียว
  • ใบ ส่วนใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา ลักษณะใบจะเป็น เป็น 3 แฉก หรือบางที  5 แฉก ขนาดประมาณ 4-8 ซม. โคนใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอก ลักษณะดอกของตำลึง เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว มีทั้งออกดอกเดี่ยวๆ และออกเป็นกลุ่มสองถึงสามดอกก็มี
  • ผล  มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่าผลแตงกวา ในขณะที่เป็นผลอ่อนจะเป็นผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

ในใบสีเขียวของตำลึง อุดมไปด้วยวิตามินวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น มีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มี fiber หรือกากใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย นอกจากนี้ในตำลึง ยังมีแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

จากตำรายาด้านสมุนไพร มีการระบุถึงสรรพคุณของตำลึงโดยแยกเป็นส่วนต่างๆ ของตำลึงไว้ดังนี้

  • ใบ ใช้เป็นยาเขียว ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (อันนี้เป็นสำนวนของคนโบราณหมายถึงบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน)  เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย(หรือพืชอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการคัน แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด  แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  • ดอก สรรพคุณใช้บรรเทาอาการคันผิวหนังได้
  • เมล็ด ใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิดได้ (หิดเป็นโรคที่เกิดจากปรสิตที่เรียกว่าตัวหิด หรือ Scabies miteไชเข้าผิวหนังทำให้เกิดตุ่มคัน)
  • ราก ลดไข้ อาเจียน ลดความอ้วน ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย(อันนี้ถ้าโดนแนะนำให้หาหมอนะครับ)
  • เถา ใช้ชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ เป็นยาทาพอกแก้โรคผิวหนัง มีสรรพคุณลดไข้เช่นเดียวกับใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทั้งต้น (ราก ใบ เถา) นำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

สูตรยาสมุนไพรไทยจากตำลึง

1. สูตรยาถอนพิษ (จากพืช ที่ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน) ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ทาบรเวณที่ถูกพิษ ปวดแสบปวดร้อน จะสามารถบรรเทาอาการลงได้

อาหารที่ทำจากผักตำลึง2. สูตรยาช่วยย่อยอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต  ใช้ยอดอ่อน และใบ ปรุงเป็นอาหาร จะสามรถช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นได้

3.สูตรยารักษา อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใบสดหนึ่งกำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียด โดยผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำจนกว่าอาการจะบรรเทา

ทั้งหมดนี้คือประโยชน์จากตำลึง พืชสมุนไพรข้างรั้วที่บางครั้งเราอาจมองข้ามมันไป

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ต.ค. 112012
 

ชะพลู คิดว่าคนที่เคยทานเมี่ยง แหนมคลุก คงรู้จักสมุนไพรไทยชนิดนี้กันดี ด้วยความหอมและรสชาติที่โดดเด่น เหมือนถูกดีไซน์มาไว้ทานกับอาหารพวกนี้โดยเฉพาะ ผมเองก็เป็นคงหนึ่งที่ชอบมาก (คิดแล้วน้ำลายไหล) แต่นอกจากรสชาติและความเข้ากันกับอาหารจำพวกเมี่ยงนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่คู่กันคือคุณค่าของชะพลู สมุนไพรไทยชนิดนี้มีดีตรงไหนบ้างเราลองมาดูกัน

ลักษณะของชะพลู

ชะพลูชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อวงศ์   Piperaceae

ชื่ออื่นๆ   ปูนก,ปูลิง (ทางภาคเหนือ)  ,ช้าพลู (ภาคกลาง) ,นมวา(ภาคใต้) และผักอีเลิศ (ทางอิสาน)

จะเห็นได้ว่าชะพลูมีชื่อเฉพาะ หรือชื่อท้องถิ่นอยู่แทบทุกภาค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชะพลู เป็นสมุนไพรไทยที่มีแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ  ชะพลูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นเถาไม้รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อ ที่พิเศษคือตามข้อจะมีราก ไว้ช่วยลำต้นยึดเกาะ

คุณค่าทางอาหารของชะพลู

ชะพลูนอกจากทานได้อร่อยแล้วนั้นยังมีคุณค่าทางอาหารอีกเพียบ เช่นแคลเซียมที่ช่วยบำรุงระบบกระดูก วิตามินเอที่สูงมากเป็นพิเศษ จึงบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี และยังมีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด  เส้นใยที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และยังมีสารครอโรฟิล*

*บางคนอาจบอกว่า ครอโรฟิลมีประโยชน์ยังไง เราไม่ใช่ต้นไม้สักหน่อย ไม่ต้องใช้สังเคราะห์แสง …จริงๆมันมีประโยชน์หลายอย่างนะครับ จากการศึกษาจะพบว่าสามารถช่วยลดการดูดซึมสารก่อมะเร็งของร่างกาย ทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลงได้ รวมถึงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ไว้มีโอกาศจะเขียนเรื่องครอโรฟิล แบบเจาะลึกนะครับ

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของชะพลู

ตามตำราสมุนไพรไทย บอกเอาไว้ว่าชะพลูมีสรรพคุณในการบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ขับลมในลำไส้ ลดความดันโลหิต และด้วยการที่ชะพลูมีรสเผ็ดร้อนจึงช่วยขับเสมหะได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู

จริงๆแล้ว มันก็จากประโยชน์ของมันนั่นแหละ ก็ด้วยการที่ชะพลูมีแคลเซียมสูง หากเราทานจำนวนมาก และติดต่อกันนานนาน จะทำให้แคลเซียมสะสม กลายเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งอาจทำให้เป็นนิ่วในไตได้ แต่หากเราทานพอดีพอดี เช่นอาทิตย์นึงทานครั้ง หรือทานบ่อย ๆแต่ทานครั้งละไม่กี่ใบ และทานร่วมกับอาหารอื่นจะทำให้เราได้ใช้แคลเซียมจากชะพลูได้อย่างเต็มที่ และไม่เป็นโทษต่อร่างกาย (ทุกอย่างต้องอยู่บนเส้นทางของความพอดี)

 

ต.ค. 092012
 

พืชที่เราบริโภคลำต้นใต้ดิน หรือเรียกกันแบบบ้านๆว่าหัว นั้นมีอยู่หลายชนิด ที่ได้รับความนิยมหน่อยก็พวก กระชาย หรือข่า ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่เราได้เคยพูดกันมาแล้ว (ตามอ่านได้) แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงพืชชนิดหนึ่งกัน ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครตรงที่เมื่อนำหัวมาฝนจะให้สีเหลืองที่สวยงาม นึกออกแล้วใช่ไหมครับว่าผมพูดถึงอะไร สมุนไพรไทยชนิดนั้นก็คือขมิ้นชัน หรือขมิ้นนั่นเอง

 มาทำความรู้จักกับขมิ้นกัน

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชันชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น  : Curcuma longa Linn

ชื่อในภาษาอังกฤษ  : Turmaric

ชื่ออื่นๆ   :  ขมิ้น ขมิ้นแกง  ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง   ขมิ้นดี  ตายอ

ลักษณะของขมิ้น  : เป็นพืชที่ไม่ท้อถอย (พืชล้มแล้วลุก)  สูงไม่มากประมาณ  30-90 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้องข้างในสีเหลืองเข้ม (ใช้คำว่าเหลืองอ๋อย คงจะเหมาะ)   มีกลิ่นที่หอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้า  ดอกออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ผลรูปกลมมีสามพู

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านสมุนไพรไทย  เหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตามธรรมชาติ ลดการอักเสบ และยังช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีสรรพคุIในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง อาการแพ้และอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านโภชนาการ 

ในขมิ้นชันมีวิตามิน AEC (หรือประชาคมเศรษกิจอาเซียน ไม่ใช่แล้ว) คือเจ้า วิตามิน A,C,E ทั้งสามตัวจะเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆกันจึงมีผลมากมาย เฉพาะในเรื่องของมะเร็งก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งตับ และกำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้ว เตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง    ส่วนในเรื่องอื่นๆที่เขาวิจัยก็มี เรื่องการช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ  นับว่าสรรพคุณค่อนข้างดีมากๆ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติม เช่นป้องกันการแข้งตัวของเลือด การเป็นสารต้านมะเร็งเนื้องอกต่างๆ รวมถึงยังมีการใช้เป็ยาต้านเชื้อในผู้ป่วย HIV ย้ำนะครับว่าอยู่ในขั้นการทดลอง และขมิ้นชันเองมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเหมาะมาก กับคนที่เป็นหวัด หรือแพ้อากาศบ่อยๆ

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขมิ้นชัน

1.สูตรยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำและคั้นแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

2.สูตรยาภายนอก ทาแก้ผื่นคันโรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น ให้ใช้เหง้าแก่แห้ง ไม่จำกัดจำนวน ป่นเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน โดยในเด็กใช้กันมาก

ข้อควรระวังในการใช้  เมื่อมีประโยชน์ ย่อมต้องมีสิ่งที่ต้องระวังบ้างเป็นธรรมดา ลองมาดูกันเลย

  •  การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  • บางคนอาจมีการแพ้ขมิ้นโดยอาการคือ คลื่นไว้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาทันที บางคนอาจทานอาหารใต้ไม่ได้ ทานแล้วท้องเสียไม่แน่อาจเกิดจากสาเหตุการแพ้ขมิ้นในอาหารก็เป็นได้
  • ไม่ควรซื้อผวขมิ้นชันตามตลาดควรทำเอง เพราะตามตลาดเขาใช้ขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีมักผ่านความร้อน ทำให้สูญเสียน้ำมันหอมระเหยไป

 

ต.ค. 082012
 

อาการปวดฟันนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกทรมานมาก ใตรที่เคยปวดย่อมรู้ดี เว็บสมุนไพรไทยเองขอแนะนำสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่ง ที่จะสามารถช่วยบรรเทาเบาบาง อาการปวดฟันได้ (ก่อนที่จะไปหาหมอฟันเพื่อจัดการกับต้นเหตุต่อไป ) สมุนไพรที่เราจะมาแนะนำในวันนี้คือ กานพลู

มารู้จักกับกานพลูกันก่อน

กานพลู รูปดอกกานพลู สมุนไพรไทย ที่สามารถระงับอาการปวดฟันได้ชื่อโดยทั่วไป : กานพลู หรือ clove tree

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :SyZagium aromaticum

ชื่ออื่นๆ :  จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะ โดยทั่วไปของกานพลู

ลำต้น เป้นไม้ยืนต้น ทรงพุม มีกิ่งก้านสาขามาก สูง 9-20 เมตร ลำต้นตั้งตรง

ใบ   มีใบเดียว เรียงตรงข้าม แตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน

ดอกและผล    ช่อดอกออกที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกกานพลูมีน้ำมัน ซึ่งมีกลิ่นหอมและรสค่อนข้างเผ็ดร้อน เมื่อมีผลจะออกเป็นรูปกรวยยาว

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของกานพลู

ดอกกลานพลู  นอกจากเรื่องของบรรเทาอาการปวดฟันดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น กานพลูเองยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นดอกของกานพลู หากยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออกจะมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก มีรสเผ็ด สรรพคุณคือ แก้รำมะนาด และยังสามารถแก้ปัญหากลิ่นปากได้อย่างชะงัด  ใครดื่มสุรามาสามรถใช้ดับกลิ่นได้ (ป้องกันคุณแม่บ้านจับได้เป้นอย่างดี  แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเนียนของแต่ละคนด้วย ) และสำคัญที่สุดคือ บรรเทาอาการปวดฟัน    เรียกได้ว่าสรรพคุณในด้านเหงือกและฟันค่อนค้างครบวงจรเลยทีเดียว  นอกจากนั้นด้านอื่นยังมีในเรื่องของ  บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และขัมลม แก้ไอ แก้โรคเหน็บชา ขับเสมหะได้ สามรถแก้ท้องเสียในเด็ก

ผลกานพลู  ผลการพลู  ใช้เป็นเครื่องเทศได้เป้นอย่างดี ช่วยเพิ่มความหอมให้กับอาหารได้

น้ำมันหอมระเหยจากการพลู หากสะกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออกมา เฉพาะตัวน้ำมันหอมระเหย จะมีสรรพคุณ ในการเป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรมได้ เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา ใช้ป็นยาขับลม และ แก้ปวดท้อง

สูตรยาสมุนไพรไทยจากกานพลู 

ได้อ่านสรรพคุณกันไปแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำยาจากกานพลูกันบ้างว่ามีวิธีการทำอย่างไร

 สูตรยาช่วยระงับอาการปวดฟัน  ใช้ไม้พันสำลี หรือ คัตเติลบัต ชุบน้ำมันกานพลูนำไปหยด 4 -5 หยด ในรูฟันที่ปวด หรือใช้ชุบสำลี เคียวไว้ในปากบริเวณที่ปวด

สูตรยากำจัดกลิ่นปาก ให้อมดอกกานพลูไว้ 2-3 ดอกสัก 1-2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง

สูตรยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม  สำหรับผู้ใหญ่ใช้ดอกกานพลู 5-8 ดอก นำมาต้มหรือบดให้เป็นผงรับประทาน ในกรณีที่เป็นเด็ก ใช้ดอกกานพลู 3 ดอก ทุบให้แตกแช่ในน้ำเดือด ชงนมผสมประมาณ 750 cc ให้เด็กดื่ม

ทั้งหมดนี้เป็นสุตรยาสมุนไพรไทยจากการพลู ลองเอาไปทำดูได้นะครับ สุดท้ายยังไม่หมด เรามีสูตรชาสมุนไพรจากดอกกานพลูมาฝากทุกท่านครับ

เมนูน้ำสมุนไพร ชากานพลู

ส่วนผสม

  • ดอกกานพลู                             4-5    ก้าน
  • น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรวด              1   ช้อนชา

วิธีการทำ

1. ใส่กานหลูในถ้วยชา ใส่น้ำร้อนเกือยเต้มทิ้งไว้ 5 นาที

2. ใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรดลงไปคนเข้ากัน

ควรดื่มอุ่นๆ จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยย่อย ได้เป็นอย่างดี

ต.ค. 072012
 

ยอ ในที่นี้ไม่ได้ถึงการยกย่อง ชมเชย หรือแม้กระทั่งประจบประแจง แต่อย่างใด แต่มันเป็นชื่อสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง พูดชื่อคงนึกออกนะครับว่าหมายถึงอะไร

วันนี้เรามารู้จักกับยอกันดีกว่าครับ

ชื่อโดยทั่วไป : Great Morinda,Indian Mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Molinda Critiforia Linn

ชื่ออื่นอื่นของยอ :ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-ทางแม่ฮ่องสอน)

มารู้จักลักษณะของยอกัน

ยอ ลักษณะผลของยอ หรือลูกยอลำต้น ยอเป็นไม้ยืนต้น แต่ค่อนข้างมีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 3-8 เมตร (จริงๆก็ไม่เล็กมากแต่นี่เทียบกับต้นไม้อื่นๆ)

ใบ  ไม่ผลัดใบ ใบใหญ่หนาสีเขียวสด มีดอกเป็นช่อสีขาว

ผลยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุนมาก

สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของยอ

ผลดิบ ใช้ขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งของหญิงมีครรภ์ ผสมยาแก้สะอ๊ก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน

ผลสุก  ช่วยขับลมในลำไส้

ราก  ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก

ใบ  มีวิตามินเอ ใช้บำรุงสายตา หัวใจ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้เกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ด แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค

สูตรยาเด็ดๆจากยอ  พอมารู้จักยอกันแล้วผมเองมีสูตรเด็ดจากยอมาฝากกันครับ

สูตรที่ 1  แก้คลื่นไส้อาเจียน ใช้ลูกยอดิบเผาหรือปิ้งโดยใช้ไฟอ่อน เผาผิวนอกให้ดำเป็นถ่าน ข้างในให้เหลือง ถ้าเผาไม่ถึงที่ยาจะมีรสขม ให้หั่นลูกยอเป็นแว่นบางๆคั่วทั้งสดๆ โดยใช้ไฟอ่อนคั่วจนเหลืองจากนั้นนำมาชงน้ำร้อน กินเป็นชาหรือต้มก็ได้

สูตรที่ 2 แก้คลื่อนไส้อาเจียน (เป็นอีกหนึ่งสูตรสำหรับคนที่ไม่ถนัดปิ้งหรือย่าง)  ต้มให้เดือดนาน 2-3 นาที ถ้าชงน้ำร้อนใช้ยอหนึ่งลูกต่อน้ำหนึ่งแก้ว แล้วชงทิ้งไว้สัก 5 นาที ควรเติมเกลือลงไปพอให้มีรสเค็มปะแล่มเพื่อชดเชย เกลือแร่ที่เสียไปจากการอาเจียน หรือจะใช้ยาหอมผสมลงไปด้วยจะยิ่งดีใหญ่ เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์จะช่วยให้หายอาเจียนเร็วขึ้น  ข้อแนะนำ ควรกินน้ำยอขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่

สูตรที่ 3 ยาแก้ท้องผูก  นำรนากยอที่โตขนานนิ้วชี้ ยาวประมาณ 6 นิ้ว สับเป็นชิ้นๆ ใส่น้ำ 2 แก้ว ต้ม 10-15 นาที กิน 1 แก้วก่อนเข้านอน ตอนเช้าท้องไส้จะระบายดี เหมาะกับคนเป็นโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร

สูตรที่ 4  ยาลดไข้  ใช้เปลือกยอต้ม 10-15 นาที  กินวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ไข้ลดลง

เป็นงครับกับ 4 สูตรเด็ดที่นำมาฝาก ขอแถมท้ายด้วยเมนูสมุนไพรสุตรฮิต นั่นก็คือ

เมนูน้ำสมุนไพรลูกยอ

ส่วนประกอบที่ใช้  

  • ลูกยอสุกผลใหญ่                   1-2         ผล
  • น้ำสะอาด                             1 1/2      ถ้วย
  • ใช้น้ำผึ้ง                               1/2         ถ้วย
  • น้ำตาลทราย                          1/4       ถ้วย
  • เกลือป่น                               1/2       ช้อนชา

 

วิธีทำง่ายมากครับ

 น้ำลูกยอ เป็นน้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี1.  นำลูกยอสุกมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำสะอาดให้เปื่อยจนเม็ดหลุดออก

2. กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำตั้งไฟ

3.เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และเกลือป่นคนให้เข้ากัน

4.เสร็จแล้วครับ จะทานร้อนๆ หรือทิ้งไว้เย็นเติมน้ำแข็งก็ได้เหมือนกัน

 

ต.ค. 042012
 

ครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องตะไคร้กัน พอพูดถึงตะไคร้ แล้วคุณนึกถึงอะไร  บางคนอาจนึกถึง ยำปลาทูใส่ตะไคร้ พูดแล้วน้ำลายไหล บางคนอาจจะนึกไปไก ลถึงเรื่องเล่าที่ว่าที่ว่า

ตะไคร้ หรืือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า lemon grass

หากไม่ต้องการให้ฝนตก ให้เอาตะไคร้ มาปักกลับหัว !  ขำขำนะครับ ประเด็นนี้ ถ้ามันจะตกจริงผมว่า เอาตะไคร้มาทั้งกอก็เอาไม่อยู่   แต่ไม่ว่าคุณจะนึกถึงอะไร ไม่สำคัญ ตะไคร้ ก็ย่อมเป็นตะไคร้อยู่วันยังค่ำ มีคุณค่าในตัวของมันเอง
ซึ่งนอกจากการ ประกอบอาหาร ตะไคร้เอง ก็มีสรรพคุณในด้านการเป็น ” สมุนไพรไทย ” อยู่มากทีเดียว จากการหาข้อมูล ใครจะเชื่อว่าตะไคร้ จะถูกเอาไปทำเป็น สมุนไพรได้ถึง 5 สูตร น่าสนใจใช่ไหมล่ะครับ ก่อนที่เราจะพูดถึงสูตรเด็ดทั้งห้านั้น ตอนนี้เรามารู้จักกับ ตะไคร้ กันก่อน

 

ชื่อสามัญ   LEMON GRASS (LEMON = มะนาว  ,GRASS =หญ้า รวมกันเป็นหญ้ามะนาว เออฝรั่งเข้าใจตังชื่อดีนะครับ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้    Cymbopogon citratus Stapf

ชื่อวงศ์                                   Graminease

ชื่อแตละท้องถิ่น                    จะไคร (ทางภาคเหนือ)  ไคร (ภาคใต้)

ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุก (ขนาดพืชยังล้มแล้วลุก ทำไมคนเราล้มแล้วจึงไม่ลุก) อยู่รวมกันเป็นกอ มีข้อและปล้องสั้น ค่อนข้างเข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนจะมีใบเรียงซ้อนกันหลาชั้น ใบมีกาบใบเป็นแผ่นยาวโอบซ้อนกันจนแข็งจนคล้ายลำต้น ตัวใบเรียวยาว แหลม กว้างประมาณ 1-2 ซม.ยาวเต็มที่ได้ถึง 80 ซม. เนื้อใบหยาบมีขนอยู่ทั่วไป ขอบใบค่อนข้างคม เวลาจับใช้คามระมัดระวังด้วยนะครับ ผมเคยโดนบาดมาแล้ว  อ้ออีกอย่างตะไคร้มีดอกด้วยนะครับเวลาออกดอกเป็นช่อยาวมาก ซึ่งประกอบด้วยช่อย่อยที่มีดอกขนาดเล็กๆเป็นจำนนมาก มีขนที่ก้านดอก

เอาล่ะครับเมื่อรู้จักตระไคร้กันแล้ว เรามารู้จักสูตรเด็ด สมุนไพรไทยจากตะไคร้กันบ้าง

สุตรที่ 1 ใช้ตระไคร้เป็นสมุนไพรไทย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ  ท้องอืด ท้องเฟ้อใครไม่เคยเป็นยกมือขึ้น ไม่มีใครยกแสดงว่าเตยเป็นกันทุกคน แน่นอนครับอาการนี้ ไม่ว่าจะสาเหตุทานมากไป หรืออาหารไม่ยอมย่อย ก็ย่อมสร้างความอึดอัดแก่เราได้  บางคนอาจจะบอกว่าสมัยนี้ยามีเยอะแยะ เดินไปซื้ออีโนก็จบแล้ว อันนั้นผมไม่เถียง แต่ถ้าเรามีเลือกอื่น ที่เป็นทางเลือกจากธรรมชาติมากกว่าการใช้สารเคมี เราจะไม่ลองดูบ้างหรือ

น้ำตะไคร้ ใช้เป็นยาสมุนไพรไทยรักษา อาการท้องอืด ท้องเฟ้อวีธีใช้สมุนไพร   แค่คุณเอาตะไคร้มาทุบแหลกๆ ใช้ประมาณ  1 กำมือ เอาแบบตัวเลขแม่นๆก็ประมาณ 40-60 กรัม จากนั้นนำมาต้มกับน้ำประมาณ  2 แก้วโดยต้มสัก 4-5 นาที  จะทานร้อนๆ หรือเพื่อพิ่มรสชาติโดยการเติมน้ำตาลสักนิดแล้วตู้เย็นไว้ทานเย็นก็ได้ โดยแบ่งทานครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร

 

สุตรที่ 2 ใช้ตระไคร้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน   นอกจากการทานยาลดไข้เวลาเราไม่สบายแล้ว ตระไคร้ก็สามรถลดไข้ ลดอุณภูมิของร่างกายได้ (แต่ถ้าไข้สูง แนะนำให้พบแพทย์นะครับ)

 วิธีใช้สมุนไพร  ในสูตรนี้นอกจากตะไคร้แล้ว จะมีการใช้เหง้าขิงร่วมด้วย โดยที่ ใช้ขิงและตะไคร้ อย่างละ ¼ แก้ว และใช้น้ำ 3 แก้ว จากนั้นตั้งไฟเคี่ยวไปเรื่อยๆด้วยไฟอ่อนจนให้น้ำงวดลงจนเหลือ ประมาณ 2 ใน 3    เวลาทานก็ทานทีละ 1/3  แก้ว วันละ  3-4 ครั้ง

 

สุตรที่ 3  ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน   หลายคนอาจจะบอก่าผู้เขียนเป็นผู้ชาย จะมาเข้าใจอะไรในอาการนี้ขอผู้หญิง แน่นอนครับผมอาจจะไม่เคยปวดประจำเดือน  แต่ฟังจากคำบอกเล่า ของคุณแฟนแล้ว ก็พอเข้าใจครับว่ามันทรมานขนาดไหน

วิธีใช้สมุนไพร ใช้ต้นและรากตระไคร้สด 1 กำมือ  หั่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ชงเป็นชากับน้ำร้อนใช้ดื่มต่างน้ำ

 

สูตรที่ 4 บำรุงผมสวยด้วยตะไคร้  มาถึงสูตรนี้เป็นเรื่องความสวยความงามกันบ้าง  สำหรับสาวๆ (หนุ่มๆ) ท่านใดอยากมีผมสวยสุขภาพดี มาลองสูตรนี้ดูกัน

วิธีใช้สมุนไพร  ใช้ต้นบนดินสดๆ ตัดใบทิ้ง (แบบที่เขามัดรมกันขายในตลาดนั่นแหละครับ) ใช้ประมาณ 3-4 ต้น นำมาหั้นแล้วตำให้ละเอียด(หรือปั่นด้วยเครื่องปั่นก็ได้) จากนั้นเติมน้ำสัก 2 ถ้วยแก้ว คั้นเอาแต่น้ำ นำมาโชลมเส้นผมที่สระเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 10-15 นาทีสระออกให้หมด จะช่วยทั้งขจัดรังแค ทำให้เส้นผมดำเงางาม อีกทั้งสำคัญที่สุดคือแก้ในเรื่องผมแตกปลายได้อีกด้วย

 

สูตรที่ 5 รักษาอาการขัดเบา อาการขัดเบา หรือปัสสาวะขัดนั้น ในตำรายาสมุนไพรไทย ก็ได้เขียนเอาไว้จึงนำมาลองให้อ่านดู

วิธีใช้สมุนไพร  สำหรับรักษาอาการขัดเบา ใช้เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 40-60 กรัม ถ้าแห้งก็ 20-30 กรัม ทุบต้มกับน้ำพอควร แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือ จะหั่นตะไคร้คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร ข้อควรระวัง การใช้สมุนไพร ช่วยแก้อาการขัดเบานี้ ไม่ไช้กับคนไข้ที่มีอาการบวมน้ำ

 

เป็นไงครับกับ 5 สูตรที่ได้นำมาฝาก สนใจสูตรไหนก็ลองทำดูได้ไม่เสียหลายนะครับ

ฝากนิดนึงสำหรับคนที่จะนำบทความนี้ไปเผยแพราต่อ ทางเว็บเรายินดีครับ แต่อย่าลืมท้ายบทความช่วยลงลิงค์

http://ไทยสมุนไพร.net เพื่อเป็นเครดิตด้วยนะครับ จะได้มีกำลังใจเขียนบทความดีๆต่อไป

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือสมุนไพรไทยในวัด ,เว้บไซด์ สมุนไพรไทย 200 ชนิด:สมเด็จพระเทพ

 

ต.ค. 032012
 

หากจะพูดถึงจังหวัดนครปฐม ของดีขึ้นชื่อของที่นั่นอยู่ในคำขวัญจังหวัดอยู่แล้ว แต่มันมีหลายอย่าง แน่นอนเข้าเว็บ ไทยสมุนไพร..net จะให้นึกถึงอะไรเป็นอย่างแรกเสียไม่ได้ ถ้าไม่ใช่….. ลูกสาวสวย   …..เอ๊ยส้มโอหวานต่างหากล่ะ (เกือบหลุดแล้ว)  ส้มโอนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน ซี  และแคลเซียมสูง ผลจะนำมาทานเมื่อสุกแล้ว ใครกินส้มโอดิบคงพิลึก นอกจากทานสดสดแล้วนั้น ยังเอามาทำอาหารได้อีก ที่นิยมก็คือยำส้มโอ ไว้วันหลังมีโอกาศจะเอาสูตรเด็ด ยำส้มโอมาลง  เปลือกส้มโอมีรสขมนิยมนำไปแช่อิ่ม  นอกจากนี้ที่ประเทศจีนนิยมทำเป็นยาแก้ไอ และผสมยาหอมรับประทาน

มาพูดถึงรูปร่างลักษณะของส้มโอกันบ้าง

ผลส้มโอ หรือ ลูกส้มโอ ลักษณะของ ส้มโอลำต้นของส้มโอ ลักษณะของส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-9 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล

ใบส้มโอ   มีใบเดี่ยว รูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น  เล็กน้อย ปลายใบมนเช่นเดียวกับโคนใบ

ดอก   ออกดอกเดี่ยว  หรือเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ มีสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ 

ผล  ทุกท่านคงจะเคยผ่านตามาบ้าง รูปร่างกลมโต เปลือกหนา มีต่อมน้ำมันมาก ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลแก่หรือผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน และมีสีชมพู มีรสหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดอยู่ภายใน

 

และแล้วก็มาถึงไฮไลท์นั่นคือ สรรพคุณทางด้าน สมุนไพรไทย ของส้มโอ

ผลส้มโอ มีสรรพคุณขับลมในลำไส้  แก้เมาเหล้า (อันนี้ชอบ)

 เปลือกของผลส้มโด จะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก ตามตำราโบราณบางตำราบอกว่า  บรรเทาไส้เลื่อนได้ด้วย ซึ่งยังไม่มีหลักฐานรับรองตรงนี้ ซึ่งอาจจะมีสรรพคุณตรงนี้ตามที่ตำราโบราณเขียนไว้ก็ได้ เพราะคนโบราณเขาศึกษาจากการสังเกต แน่นอนต้องรองานวิจัยอื่นๆต่อไป

ใบส้มโอ นำมาต้มพอกศรีษะ บรรเทาอาการปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้ออีกด้วย

ดอกส้มโอ  แก้อาการจุกสียดในกระบังลม กระเพาะอาหาร

เมล็ดส้มโอ มีประโยชน์ในเรื่องของ แก้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงเรื่องของการแก้ไส้เลือน ซึ่งอันนี้เป็นกรณีที่ต้องค้นคว้าต่อเหมือนเปลือกของส้มโอ

 

นอกจากนั้นแล้วส้มโอยังมี วิตามินซี อันนี้คงพอทราบกันในเรื่อป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงในส้มโอยังมีแคลเซียม ซึ่งเสริมสร้างและบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี

 

ทั้งหมดนี้คือที่ผมนำมาฝาก ไปตลาดเห็นส้มโอ ก็อุดหนุนแม่ค้าสักคนละสูกสองลูกนะครับ

ปอลอ ช่วงนี้เขียนเรื่องผลไม้เยอะหน่อยอย่าว่ากันนะครับ  วันต่อๆมาอาจจะมีผักสมุนไพร และพืชสมุนไพรอื่นทยอยมาเพิ่ม อยากให้เขียนเรื่องไหน สมุนไพรอะไร ก็ comment มาบอกกันได้นะครับ

 

ก.ย. 292012
 

ทับทิม เป็นพืชสมุนไพรไทย หรือจะเรียกว่าเป็น ผลไม้สมุนไพรก็ได้ ด้วยรสชาติที่หอมหวานจึงมีคนนำทับทิมมาประยุกต์เป็นอาหารที่หลาหลาย เช่นนำมาใส่ของหวาน ทำทับทิมลอยแก้ว นอกจากนี้ในด้านการเป็นสมุนไพร ทับทิมยังมีสรรพคุณต่างๆอีกมากมาย

ทับทิม สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไปของทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์   Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE

ชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่น
มะแก๊ะ (เหนือ) มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน) หมากลิง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) พิลา (หนองคาย) เจียะลิ้ว (จีน)

ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น เป็นไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 – 6 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 – 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

การขยายพันธุ์ ทับทิมนั้นเป็นพืชที่โตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้ เมล็ด

ส่วนที่ใช้ เปลือกลำต้น , ใบ , ดอก, เปลือกผล , เมล็ด , และเปลือกราก

สรรพคุณ

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้าง แผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบ สดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้เป็น ต้น

เปลือกต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35 – 0.6 ฺ% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้ มีชื่อเรียกว่า Pelle tierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6 – 9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน หรือยาลูกกลอน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจาก โรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำ ให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น

เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6 – 12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรังเป็นต้น

ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3 – 6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือด กำเดาแข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก

เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5 – 4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรค บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น

 

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของทับทิม ว่าแล้วก็เด็ดมาทานสักลูกจากต้นข้างบ้านดีกว่า

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล