ม.ค. 072013
 

ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าสำนวนที่บอก “ไม่เป็นสับปะรด”มันมีที่มาที่ไปยังไง ทำไมมันไปหมายถึงอะไรที่ไม่เข้าท่าไปได้ แต่อย่างไรก็ตามสมุนไพรไทยที่นำเสนอวันนี้ผมรับรองว่าเป็นสับปะรดแน่นอน เพราะมันคือสัปปะรด งงไหม? ก่อนที่เราจะไปดูกันต่อว่าสับปะรดมีดียังไงเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามและลักษณะของสับปะรดกันก่อน

สับปะรดชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสัปปะรด :   Ananas comosus  (L.) Merr.

ชื่อโดยทั่วไป:  สับปะรด หรือ Pineapple (หลายคนอาจงงว่ามันเกี่ยวกับแอบเปิ้ลยังไง จริงๆคำนี้มันก็ตามตัวนะครับคือฝรั่งจะมีขนมอย่างหนึ่งที่ใช้ผลไม้เป็นองค์กระกอบ ซึ่งก็คือพายผลไม้นั่นเอง คราวนี้มันมีพายอันหนึ่งคือพายทำจากแอปเปิ้ล ลักษณะจะออกสีเหลืองๆ ซึ่งลักษณะมีเนื้อคล้ายๆของเนื้อสับปะรด เมื่อฝรั่งได้เห็นสับปะรดเป็นครั้งแรกจึงตั้งชื่อผลไม้ที้ว่า พาย-แอปเปิ้ลนั่นเอง

ชื่อวงศ์ :   Bromeliaceae

ชื่ออื่น :  หมากนัด (ภาคอีสาน) แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ลิงทอง (เพชรบูรณ์) จะเห็นว่าชื่อตามท้องถิ่นมีเยอะมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้หลายที่นั่นเอง

ลักษณะของสับปะรด : เป็นผลไม้สมุนไพร ที่เป้นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวีสลับซ้อนกัน ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำมีตาอยู่รอบผลที่เป้นลักษณะเฉพาะของสับปะรด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย : สับประรดเรียกได้ว่าทุกส่วนมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยแทบทั้งสิ้นสุดแต่เราจะเลือกใช้

  • ราก –  ใช้บรรเทานิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด – เป็นยาระบาย ฆ่าและถ่ายพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ – ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก – ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด – แก้ขัดเบา (ฉะนั้นทางสับปะรดก็อย่าทิ้งแกนกลางมันนะครับ)
  • เปลือก – ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก – ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง – แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

เคล็ดลับในการรับประทานผลสับประรด ให้ได้รสชาติดีและปลอดภัย

ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงๆ เป็นแถว เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น (ลองสังเกตตอนที่แม่ค้าหั่นดูก็ได้)แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และ เอ็มไซม์ บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หลังรับประทาน

มาทานสับประรดกันนะครับนอกจากเป็นผลไม้ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรไทยอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ สมุนไพรก้นครัวกินแล้วไม่ป่วย ,ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

ธ.ค. 262012
 

ผมเองคิดอยู่ตั้งนานว่าจะเขียนถึงสมุนไพรตัวนี้ดีไหม เพราะปัจจุบันมีคนเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับมะรุมเอาไว้มากเหลือเกิน รวมถึงมีการทำเป็นยาสารพัดชนิด สรรพคุณก็ว่ากันไปต่างๆนานา ตั้งแต่รักษามะเร็งไปจนถึงเอดส์เลยก็มี ซึ่งบางทีผมว่ามันก็อาจดูเกินจริงไปหน่อย แน่นอนมะรุมเป็นพืชที่ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามันมีการพูดกันจนโอเว่อร์เกินไป ผมก็ว่าแทนที่จะทำให้คนรู้จักสมุนไพรตัวนี้ กลับทำให้สมุนไพรตัวนี้ขาดความน่าเชื่อถือ ผมจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับมะรุม ในแบบที่ควรจะเป็นจริงๆ

มารู้จักมะรุมกันก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.

มะรุมชื่อโดยทั่ไป :  มะรุม หรือ Horse radish tree, Drumstick  (คำนี้แปลว่าไม้กลอง สังเกตุต้นมะรุมดู)

ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของมะรุม

  •  ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม
  • ใบ  ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร
  • ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก

เมื่อรู้จักกับมะรุมแล้ว ขออนุญาตพูดถึงมะรุมต่อ ดังที่บอกไปในตอนต้น ปัจจุบันมีคนพูดถึงมากเหลือเกินโดยเฉพาะบรรดาบริษัทผลิตอาหารเสริมต่างๆที่มีการนำมะรุมมาแปรรูปเป็นแคปซูลสกัด ในกรณีที่ทำเป็นแคปซูลโดยบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรณีนี้ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าเป็นกรณีที่บอกว่าใช้เป็นยารักษาสารพัดโรคล่ะก็ อันนี้ต้องคุยกันยาว เพื่อตอบข้อสงสัยผมขอเขียนลักษณะถามตอบเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการจับประเด็นก็แล้วกันครับ

มะรุมเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงจริงหรือ ?

ข้อนี้ตอบว่าจริงครับ อันนี้ยอมรับเลยมะรุมมีแร่ธาตุและสารอาหารหลายชนิด โดยที่ฝักมะรุม  100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

มะรุมรักษาโรคเอดส์ได้จริงหรือไม่ ? ตอบว่ายังไม่มีการศึกษาในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ  สรรพคุณของมะรุมมีแต่เพียงว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น ดังนั้นสำหรับผู้ป่วย HIV ยาต้านไวรัสที่คุณหมอจัดให้ ยังคงจำเป็นอยู่

มะรุมรักษาเบาหวานได้หรือไม่ ? ไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่รักษาเบาหวานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มะรุมสามรถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับพืชสมุนไพรหลายชนิดเช่นมะระ แต่หากมีอาการเบาหวานจริงๆ การรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันยังคงดีที่สุด

สรรพคุณของมะรุมจริงๆแล้วคืออะไร

หากท่านได้ลองค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจจะพบมีการอ้างประโยชน์ของมะรุมมากกว่านี้ แต่ผมจะนำเสนอเฉพาะประเด้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามะรุมมีสรรพคุณในข้อนั้นจริง ๆ ส่วนประเด็นที่ยังเป้ข้อสงสัยและถกเถียงผมจะขออนุญาตไม่นำเสนอ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ (มีการทดลองใช้ในประเทศแถบแอฟริกาที่มีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการ )

2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงดังที่กล่วไป แต่ต้องความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย

3. สามรถลดความดันโลหิตได้

4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

5. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง (เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด)

6. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น

7. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

8.บำรุงสายตา (เนื่องจากวิตามินเอในมะรุม)

สุดท้ายอยากจะฝากนิดนึงนะครับ ว่ามะรุมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณค่าในตัวมันอยู่แล้ว แต่ผมอยากให้มองว่ามะรุมเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ดีกว่าการมองมะรุมเป็นยาที่มีความพิเศษหรืออัศจรรย์ หรือหากจะมองเป็นยาจริง ก็ขอให้มองเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อสุขภาพที่ใช้ควบคู่กับการรักษาในกระแสหลักจะเป็นการดีที่สุด

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ต.ค. 102012
 

หากพูดถึงผลไม้ที่เนื้อในเป็นสีเหลือง หลายคนคงบอกว่ามีเยอะ ถ้าถ้าบอกว่า พืชที่เป็นทั้งผักและผลไม้ และมีสีเหลืองหล่ะ แน่นอนคำตอบคือหัวข้อของเราในวันนี้ ฟักทองนั่นเองครับ สำหรับฟักทองนั้นเราสามารถใช้เป็นผักได้เช่นเอามาแกง อย่างนี้เขาเรียกฟังทองเป็นผัก แต่ถ้าเอามานึ่งทานทำขนม อันนี้จะกลายเป็นผลไม้ทันที แต่ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ ฟักทองนั้นเป้นพืชที่มีคุณค่าสูงตัวหนึ่งที่เราควรทำความรู้จัก ทั้งในแง่ของสารอาหารและในแง่ของพืช สมุนไพรไทย

มารู้จักกับฟักทองกัน

ฟักทองชื่อโดยทั่วไป  ฟักทอง , Pumpkin

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cucurbita maxima Duchesne.

ชื่อวงศ์   CUCURBITACEAE

ชื่อตามภูมิภาคหรือตามท้องถิ่น

หมากอึ (ภาคอิสาน) มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว (เลย) น้ำเต้า (ภาคใต้) หมักอื้อ (เลย-ปราจีนบุรี) หมากฟักเหลือง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า

ลักษณะของฟักทอง

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก(สู้ไม่ถอยอีกแล้ว)  ที่มีลำต้นเป็น เถาอาศัยเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือหลักยึดต่างๆเช่นริมรั่ว หรือค้างที่คนทำไว้ให้  ตามเถาจะมีมือเอาไว้เกาะยึดสิ่งต่างๆ เพื่อความมั่นคงของต้น เถามีขนาดยาว ใหญ่ และมีขน ปกคลุม อยู่ มีสีเขียว

ใบ ออกใบเดี่ยว ตามลำเถา ใบของฝัก ทองเป็นแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ มือ ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ

ดอก ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ ส่วนยอดของเถา ลักษณะของดอกเป็นรูปกระดิ่ง หรือระฆังสีเหลือง ในดอกตัวเมียเมื่อบานเต็มที่แล้ว จะมองเห็นผลเล็กๆ เป็นกระเปาะติดอยู่ใต้ดอก

ผล มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นพูกลมจะมี ส่วยใหญ่เป็นทรงแบน และมีทรงสูงอยู่บ้าง เปลือกของผลจะแข็ง ผิวลักษณะขรุขระ มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงก็ตามแต่พันธ์ของฟักทอง เนื้อในผลสีเหลือง มีเมล็ดสีขาว  นึกไม่ออกนึกถึงเมล็ดฟักทองตามือ (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่าน ขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)

คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของฟักทอง

เนื่องจากประโยชน์ของฟักทองมีมากมายจริงๆ จึงขอแยกย่อยเป็นข้อๆและคัดมาเฉพาะส่วนสำคัญให้ได้อ่านกัน

1.ฟักทองนั้นเป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำ อาจขัดกับความคิดของหลายๆคน แต่จากการวิจัยเทียบกับพืชชนิดอื่นถือว่าต่ให้พลังงานต่ำ มีไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก (ทานฟักทองเป็นมื้อหลักช่วยควบคุมน้ำหนักได้ แต่ทานฟักทองเป็นของหวาน หลังจากทานข้าวขาหมูเสร็จ ฟักทองไม่ช่วยอะไรนะครับ) อีกทั้งฟักทองยังมีกากไยมากสามรถช่วยระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

2.คาร์โบไฮเดรตในฟักทอง ช่วยรักษาและบรรเทาอาการ แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ในส่วนบนได้ด้วย คนที่เป็นโรคกระเพาะแนะนำเลยครับ ทานฟักทองนึ่งไปไม่ผิดหวัง อาการปวดท้องของท่านจะบรรเทาเบาบาง แบบไม่ต้องพึ่งแอนตาซิล (เชยเนาะสมัยนี้เขาต้อง กราวิสคอนแล้ว) แต่ถ้าเป็นมากๆแนะนำให้หาหมอนะครับ

3.จากการวิจัยพบว่า สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบในผู้สูงอายุได้

4.หากรับประทานฟักทองทั้งเปลือกจะสามรถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย หากขาดสารตัวนี้ หรือการหลั่งอินซูลินผิดปรกติ จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้การรับประทานทั้งเปลือกยัง สามรถควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพได้อีกด้วย

5.ในฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส (แต่ไม่ถึงขั้นขาววิ้งนะครับ)

6.สตรีหลังคลอดบุตรหากทางฟักทอง ซึ่งตามตำราสมุนไพรไทยเขาเรียก”มีฤทธิ์อุ่น” จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง และลดการอักเสบ แก้ปวดได้ดีมากๆ

นี่แหละครับประโยชน์ของผลฟักทอง แต่ยัง ยังไม่หมดนอกจากผลแแล้วส่วนอื่นๆของฟักทองก็มีประโยชน์ไม่น้อย ลองมาดูกัน

  • ใบอ่อนของฟักทอง (ใบแก่ไม่พูดถึงนะครับเพราะทานลำบาก) เชื่อหรือไม่ว่าในใบอ่อนมีวิตามินซีสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง นอกจากนั้นยังมีฟอสฟอรัส สูงกว่าในเนื้อฟักทองเสียอีก
  • ดอกของฟักทอง ในดอกมีวิตามิน A แคงเซียม และฟอสฟอรัส แถมยังมีวิตามินซีด้วยเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน และที่สำคัญยังมีสารที่ชื่อ คิวเคอร์บิตาซิน ( Cucurbitacin ) สารตัวนี้สามรถกำจัดพยาธิจำพวกพยาธิตัวตืดได้อีกด้วย และเมล็ดฟักทองยังมีสรรพคุณขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว และป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้เป็นอย่างดี
  • น้ำมันจากเมล็ดดอกฟังทอง ช่วยบำรุงประสาทได้ดี อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนบางชนิด ที่ป้องกันต่อมลูกหมาก ของท่านชายขยายใหญ่ขึ่น ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากอัณฑะให้อยู่ในระดับปรกติ
  • รากฟักทอง นำมาต้มใช้ดื่มแก้ไอได้ และยังช่วยบำรุงร่างกาย
  • เยื่อที่อยู่กลางผล ก็ส่วนที่เราคว้านทิ้งเวลาเอาฟักทองมาทำอาหารนี่แหละ ซึ่งเยื่อตัวนี้สามรถนำมาพอกแผลได้ แก้อาการฟกช้ำปวดอักเสบได้อย่างดี

การนำฟักทองไปใช้

หัวข้อนี้คงไม่ขอพูดอะไรมาก แต่ขอยกตัวอย่างเมนูบางส่วนจากฟักทองก็แล้วกัน เมนูที่แนะนำคือ แกงเผ็ดเนื้อใส่ฟักทอง  แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนของหวานก็มี สังขยาฟักทอง (อันนี้ชอบมากเป็นการส่วนตัว) ขนมฟักทอง บวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองเชื่อม และอื่นๆที่ไม่ได้กล่าว

คำแนะนำเพิ่มเติม

– การเลือกฟักทองควรเลือกพันธ์ที่มีรสหวาน เนื้อละเอียด จะมีสรรพคุณทางยามาก (เรื่องรสหวานเนื้อละเอียดถามคนขายดูได้ถ้าเขาไม่โกหก โดยส่วนใหญ่พันธ์ผสมจะเป็นที่นิยม)

– การทานฟักทองมากเกินไปจะทำให้ผิวเหลือง แน่นท้อง ผู้รู้เขาแนะนำว่าการใส่กระเทียมเจียวกับเต้าเจี๊ยวในผัดฟักทอง จะชาวยลดการแน่นท้องลงได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก กรมแพทย์ทางเลือก และหนังสือ อาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

 

ต.ค. 022012
 

มะละกอ จริงๆแล้วจะว่ามะละกอเป็นพืช สมุนไพรไทย คงจะไม่ค่อยถูกนัก เพราะอะไร เพราะมะละกอเดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา (มาไกลแฮะ) ตอนมาก็หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาปัจจุบัน ออกลูกออกหลาน ขยายพันธ์เต็มบ้านเต็มเมืองเราได้ เริ่มต้นนั้นชาวยุโรปนำเข้ามาผ่านเรือสินค้าปัจจุบันก็กระจายกันไปจนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะบ้านเรามะละกอขึ้นชื่อมาก จนบางทีหลายคนคิดว่าถิ่นกำเนิดมาจากบ้านเรา อ้อฝรั้งนั้นรู้จักชื่อเสียงของมะละกอบ้านเราดี ในแง่ของการนำไปทำส้มตำหรือ papaya pok pok          (ปาปาย่า ป็อก ป็อก )    ไม่เชื่อ seach google ดูโดยใช้คำว่า papaya pok pok มีแต่เว็บฝรั่งทั้งนั้น)

ชื่อเรียกโดยทั่วไป papaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.
วงศ์  CARICAEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น  ในข้อมูลไม่บอกไว้ด้วย รู้แต่ว่า ภาคกลางเรียก มะละกอ ภาคอิสานเรียก บักหุ่ง (ใครพอรู้ของภาคอื่นๆ post ไว้ที่ comment หน่อยนะครับ)

ลักษณะทั่วไปของมะละกอ

ลักษณะของ ต้นมะละกอลำต้น เป็นพรรณไม่เนื้ออ่อน ไม่เหมาะแก่การนำมาสร้างบ้าน (แหงล่ะ) บางต้นสูงได้ถึง 8 เมตร ทีเดียว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นตรง ก้านใบแตกออกมาลำต้นโดยตรง
ใบ เป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆ คล้ายขนนก ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร
ดอก มะละกอก็มีดอกนะครับถ้าไม่สังเกตจะไม่ค่อยเห็น ดอกตัวผู้มีสีเหลืองออกเขียว กลีบดอกบางยาว 2 ซม.ดอกตัวเมียไม่มีก้านดอก ยาว 7 เซนติเมตร เป็นดอกเดี่ยวและกระจุก กลีบดอกสีขาวเหลือง
ผล กลมยาวรี ผลดิบภายนอกมีสีเขียวเนื้อในสีขขาว เมื่อสุงอมจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อหนานุ่ม น่ารับประทาน รสหวานฉ่ำ มีเมล็ดสีดำผิวขรุขระอยู่ด้านใน

สรรพคุณทาง สมุนไพรไทย
– นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี(ช่วยในการย่อยไขมัน) ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แบบไม่ต้องง้อยาริดสีดวงทวารตรา ปลามังกรคู่
– ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่ดีมากๆ เป็นยาระบายชั้นดี
– นำเนื้อสุกมาปั่นพอกหน้าเพิ่มความชุ่มชื้น ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เรื่อง “รวมสูตรสมุนไพร เพื่อการบำรุงผิวหน้าง่ายๆที่บ้าน

มะละกับการประกอบอาหาร และคุณค่าทางอาหาร
– มะละกอเอามาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ถ้ามะละกอดิบ แน่นอนส้มตำส้มตำ หรือ papaya pok pok
– อย่าคิดว่ามะละกอดิบจะทำส้มตำได้อย่างเดียว หั่นเป้นแว่นๆพอคำ ใส่แกงส้มปลาช่อน ที่ไม่ใช่แกงส้มAF ได้
-มะละกอสุก นำมาปอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด หั่นเป้นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่นผสมน้ำตาล หรือน้ำเชื่อม และใส่เกลือเล็กน้อย คลายร้อนได้อย่างดี
-มะละกออุดมไปด้วย

> แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

> วิตามินซี เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ (คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้) และช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน

> วิตามินเอ บำรุงสายตาและระบบประสาท
นี่แหละครับคือคุณค่าของมะละกอที่ผมเอามาฝาก อ่านบทความจบแล้วจะไปหามะละกอสักลูกมาทานก็ไม่ว่ากันครับ ทานเผื่อผมด้วย

ข้อมูลอ้างอิง herb&healthy  ,thai wiki

หากท่านใดต้องการเอาบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อผมไม่หวงครับ แต่ขอความกรณาลง link ที่มา จาก web                                                                                                                    http://ไทยสมุนไพร.net  ให้ด้วยนะครับ

 

 

ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี
ก.ย. 182012
 

ใครจะรู้ว่า มะขาม จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง แถมยังเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่ามากคุณค่าอีกด้วย

มะขาม สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์ Tamardus lndica Linn วงศ์ Caesalpiniaceae

ชื่ออังกฤษ Tamarind , sampalok

ชื่อท้องถิ่น ขาม ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล(แม่ฮ่องสอน) หมากแกงอำเบียล

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะขามเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกมีใบย่อย10-15 คู่กลีบดอกมีสีเหลือง ประด้วยจุดแดงดอกรวมกันเป็นช่อ

ผิวของผล

ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

สารสำคัญ

ในน้ำมะกรูด มีกรดอินทรีย์

น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย citronellal และ citronellal acetate

ข้อควรระวัง

ในการบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหยมีข้อห้าม คือ

1.ห้ามรับประทาน

2.ห้ามสูดดมหรือสัมผัสผัวหนังโดยตรงเว้นแต่ได้ทำให้เจือจางแล้ว

ผล เป็นฝัก เปลือกของฝักเมื่อแก่ ค่อนข้างแข็งแต่บาง เมล็ด แก่สีน้ำตาล

เป็นมันแข็ง

ารใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

บำรุงผิว

ใบสดใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอดหรือผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ เพื่อต้มอาบ อบ สมุนไพร ใบสดมีกรดหลายชนิดที่ช่วยทำให้ผิวพรรณสะอาดขึ้น และช่วยต้านทานโรค เนื่องจากผิวหนังของคนมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ น้ำต้มใบมะขามมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่นกัน จึงช่วยเสริมฤทธิ์ของกรดบริเวณผิวหนัง นอกจากนี้น้ำต้มใบมะขามยังใช้บ้างแผลเรื้อรังได้อีกด้วย

ช่วยให้ผิวพรรณสดใสไม่หมองคล้ำ

เนื้อหุ้มเมล็ด ที่เรียกว่ามะขามเปียก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือลดความคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใสขึ้น ตำราไทยใช้มะขามเปียกเป็นยาระบายอย่างอ่อน แก้ไอ ขับเสมหะ

ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย

เมื้อในเมล็ด ใช้สำหรับถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย วิธีใช้เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วให้เนื้อในเหลือง กะเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี่ยว เช่นถั่ว ขนาดใช้ 20-25 เมล็ด

ยาฝาดสมาน

เปลือกต้มใช้เป็นยาฝาดสมาน เนื่องจากมีสารพวกแทนนินสูง

ยาระบาย

โดยใช้มะขามเปียกประมาณ 15-20 กรัมหรือขนาดเท่าหัวแม่มือ ประมาณ 5-6 ก้อน จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ

ขับน้ำนม

ใช้แก่นต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยระหว่างอยู่ไฟ

สาระสำคัญ

เมล็ด albuminoid 14-20%, fat carbohydrated 59-65%, semidrying fixed oil 3.8-20% , reducing suger 2.8%, mucilaginous matartaric acid,  citric acid, potassium bitarate, invert suger นอกจากนี้ยังมี gum และ pectin เมื่อเอามะขามเปียกขยำน้ำจะเป็นเมือกเล็กน้อยเพราะมี pectin

ข้อควรระวัง

ควรเลือกผลที่ปราศจากแมลงและเชื้อรา

ก.ย. 082012
 

 แตงกวา สมุนไพรไทย

หากพูดถึงแตงกวาน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หลายคนคิดว่ามันเป็นผักธรรมดาที่วางอยู่บนจานข้าวผัด แต่แท้จริงแล้วมันเป็น สมุนไพรไทย อย่างหนึงที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก่อนที่เราจะรู้จักประโยชน์และสรรพคุณของมัน เรามาทำความรู้จักกับ พืชสมุนไพรชนิดนี้กันก่อนนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucumis sativus Linn วงศ์ Cucurbitaceae

ชื่ออังกฤษ Cucumber

ชื่อท้องถิ่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยาง (แม่ฮ่องสอน) แตงเห็น แตงอ้ม (เชียงใหม่) ตาเสาะ (เขมร) อึ่งกวย (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แตงกวา สมุนไพรไทย

 แตงกวาเป็นไม้เถามีอายุปีเดียว ต้นมีขนหยาบสีขาว ใบออกสลับกันตรงสามเหลี่ยมมนใหญ่ กว้าง 12 –18 เซนติเมตรมีแฉกใหญ่ 3 – 5 แฉก ตัวใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเป็นตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองส่วยปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมล็ดลีแบนผิวเรียนสีขาว ผล รูปทรงกระบอกมีลายเขียวแก่มีพื้นสีเขียวอมขาวมีขนาดต่างๆกัน ในทางพฤษกศาสตร์แตงกวาและแตงร้านมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันพืชนี้มีถินกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นพืชที่รู้จักกันดี ในบางพันธุ์ผลที่ยังอ่อนจะมีตุ่มยื่นออกมา

การใช้เครื่องสำอางและสรรพคุณยา

ฤทธิ์ฝาดสมาน

น้ำคั้นจากผลสดมีฤทธิ์ฝาดสมาน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าเรียบตึง ในผลมีเอ็นไซม์ อีเรบซิน( erepsin ) ช่วยย่อยโปรตีนซึ่งจะช่วยย่อยผิวชั้นนอกที่หยาบกร้านออกไปทำให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม เนื่องจากในผลแตงกวามีปริมาณกรดอะมิโนสูงจึงนิยมใช้น้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่นครีมล้างหน้า ครีมทาตัว แว่นแตงกวานำมาวางแนบผิวหน้าให้ความนุ่มเย็นบำรังผิว น้ำและเนื้อแตงกวาให้ความสดชื่นได้ดี

ยาเย็น

ผลเป็นยาเย็นขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ คอเจ็บ ตาแดง ไฟลวกและผดผื่นคัน กินเป็นผักจิ้มหรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

แก้ท้องเสียบิด

ใบมีรสขม มีพิษเล็กน้อยใช้แก้ท้องเสีย บิด

ยาถ่ายพยาธิ

เนื้อในเมล็ด ( kernel ) จากเมล็ดแก่กินเป็นอาหารและใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนัง

เถา รสขม มีพิษเล็กน้อย ขับปัสสาวะ แก้บิด หนองใน โรคผิวหนังเป็นฝีเล็กๆ มีหนองและลดความดันโลหิต

สารสำคัญ

ผลแตงกวาเมื่อนำมาวิเคราะห์จะมีส่วนประกอบดังนี้ ความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % แร่ธาตุเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามิน B และวิตามิน C ผลแตงกวามีเอนไซม์อยู่หลายชนิดคือ เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ascorbic acid oxidase , succinic malic dehydroginase เถ้า (ash) จากเมล็ดมีปริมาณของฟอสฟอรัสสูง

ข้อควรระวัง

ในกรณีที่กระเพาะอาหารเป็นแผลกินแล้วจะทำให้ปวดท้องท้องเสียง่าย