ธ.ค. 242013
 

ชาเป็นเครื่องดื่มที่คุ้นเคยกันทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราเอง  นอกจากใบชาตรงๆแล้วนั้นมีการนำสมุนไพรหลายชนิด ทั้งสมุนไพรไทย และ สมุนไพรจีนมาชงในลักษณะของชา  ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือเป็นชาที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน ส่วนคุณประโยชน์ก็หลากหลายตามชนิดและประเภทของชา วันนี้ทางเว็บไทยสมุนไพร.net จึงขอนำเสนอ 10 สุดยอดชาสมุนไพรมาท่านทุกท่านได้รู้จักกัน

ชาใบเตย1.ชาใบเตย  สำหรับสรรพคุณของชาใบเตย  ได้แก่บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ  ชาใบเตย ทำจากใบเตยหอม อบแห้ง บดเป็นผง มี สีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจใบเตยมีคุณสมบัติหลักๆ ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้กลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดี เป็น Aroma therapy อีกรูปแบบหนึ่ง

2.ชามะตูม สรรพคุณตามตำราคือ บางตำราบอกเพิ่มสมรถภาพทางเพศ  บำรุงสุขภาพ ทำจากผลมะตูมแก่ บดเป็นผง ให้น้ำชาสีแดงออกน้ำตาล มีกลิ่นหอมหวานชวนดื่ม ส่วนใหญ่จะแต่งรสด้วยน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น มะตูมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ร้อนใน เป็นยาอายุวัฒนะชาขิง

3.ชาขิง จริงๆจะเรียกว่าน้ำขิงก็ไม่ผิดอะไรนัก แก้หวัด และช่วยย่อย  ทำจากเหง้าขิงแก่ ที่มีน้ำมันหอมระเหย  มีสรรพคุณทางร้อน ช่วยบรรเทาหวัด แก้คลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด

4.ชาใบฝรั่ง คุณสมบัติหลักคือดับกลิ่น ฆ่าเชื้อ ทำจากใบฝรั่งไทยอบให้แห้ง บดเป็นผง มีกลิ่นหอมชวนดื่ม มีคุณสมบัติดับกลิ่นปาก ฆ่าเชื้อในปากและคอ เหมาะที่จะรับประทานหลังอาหาร สามารถที่จะใช้ชาใบฝรั่งระงับอาการท้องเสีย (ในรายที่ไม่มีไข้) แต่ต้องชงอย่างเข้มข้นกว่าปกติ

5.ชาหญ้าหนวดแมว สรพพคุณหลักคือขับปัสสาวะ  ตอนนี้คนรู้จักพืชชนิดนี้มากขึ้น  สำหรับชานี้ทำจากหญ้าหนวดแมวอบแห้งบด มีรสคล้าย ๆ ใบชา มีคุณสมบัติขับปัสสาวะ ขับนิ่วก้อนเล็ก ๆ มีคุณสมบัติขับกรดยูริค เหมาะกับคนที่เป็นต่อมลูกหมากโต คนที่เป็นนิ่วก้อนเล็ก ๆ ชวยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน มีโปรแตสเสียมสูง ระวังการใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ

6.ชาตะไคร้ สามารถช่วยขับลม ช่วยย่อย  ทำจากต้นและใบตะไคร้อบให้แห้งแล้วบด ตะไคร้จะมีกลิ่นหอม ช่วยย่อยชาตะไคร้อาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและมีรายงานการทดลองพบว่า ตะไคร้นั้นมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้อีกด้วย

7.ชาชุมเห็ดเทศ มีคุณสมบัติเป็นยาระบายท้อง ได้จากใบชุมเห็ดเทศคั่วให้แห้ง  แล้วบดเป็นผง ให้น้ำชาเป็นสีน้ำตาลมีกลิ่นหอมของใบไม้คั่ว มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แต่หากดื่มเป็นประจำร่างกายก็อาจดื้อยาได้ ควรหาวิธีอืนในการสร้างนิสัยการถ่ายให้เป็นประจำโดยวิธีอื่นด้วย

ชาดดอกคำฝอย8.ชาดอกคำฝอย ลดไขมันในเลือด  สามรถหาซื้อได้ทั่วไป โดยทำจากดอกคำฝอย ลักษณะสีของชา มีสีแดงชวนดื่ม กลิ่นหอมชื่นใจ มีคุณสมบัติลดไขมันในเส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงเลือดสตรี ขับระดู ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนไม่ปกติ

9.ชารางจืด สามรถกำจัดพิษ และล้างสารพิษ  ทำจากใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้ง หอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ ที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ชารางจืดไม่มีพิษดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน

10.ชากระเจี๊ยบ สามารถช่วยขับปัสสาวะไขมันในเลือด ได้มาจากดอกของกระเจี๊ยบแดง มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ชากระเจี๊ยบมีสีแดง รสเปรี้ยวมักเติมน้ำตาลเพื่อแต่งรส

ขอบคุณข้อมุลจาก เว็บไซต์นิสิตมหาลัยนเรศวร

ก.ย. 152013
 

ใบหม่อน เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณนึกถึงอะไร แน่นอนเมื่อสมัยก่อนคนอาจนึกถึงใบของพืชชนิดชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหม แล้วสมัยนี้ล่ะเขานึกถึงอะไรกัน แน่นอนคันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ชาใบหม่อนชาสมุนไพรไทยนั่นเองนั่นเอง ก่อนที่จะพูดถึงชา เรามาพูดถึงต้นหม่อนกันก่อน

ชื่อสมุนไพร          หม่อน  หรือ mulberry (สังเกตฝรั่งเห็นอะไรเป็นลูกๆเป็นพวงๆ เขาเล่นเรียก berry หมด)
ชื่ออื่นๆ                 มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)   ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn.  ชื่อวงศ์  Moraceae
ใบหม่อนลักษณะของต้นหม่อน

  • ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
  • ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์   ผิวใบสาก  ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
  • ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
  • ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน  นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว เรายังสามารถ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร (นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากหลีกเลี่ยงผงชูรส )หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ  และยังพบอีกว่าหากนำใบหม่อนให้วัวและควายกินสามรถทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน

หลักๆเลยในใบหม่อนนั้นจะมีสารตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยที่ แตกต่างกัน คือ

1.  สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา  (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก  ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง  ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6.สารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (ลองอ่านดูเรื่องเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่ลิงค์นี้นะครับ สารต้านอนุมูลอิสระ

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า

ชาใบหม่อน

จริงก็ไม่มีอะไรมากครับ  โดยที่ให้เราชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส (กะเอาได้ครับคือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่)   จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้ นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

เป็นไงบ้างครับ สำหรับเรื่องดีๆที่นำมาอ่านกันอย่าลื่มลองหาชาใบหม่อน ชาสมุนไพร แบบไทยๆมาทานกันดูบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พ.ย. 022012
 

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว ไทยสมุนไพร.net วันนี้ก็เข้าสู่เดือนพฤศจิกายนแล้ว รู้สึกอากาศก็เริ่มจะเย็นลง(นิดหน่อย) เพราะใกล้เข้าสู่หน้าหนาว พอพูดถึงหน้าหนาว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยคลายหนาวลงได้นอกจากผ้าห่มและคนรู้ใจ หลายคนก็คงนึกไปถึง เครื่องดื่มร้อนๆสักถ้วย ที่จะพอแก้หนาว เพิ่มความรู้สึกสดชื่น อาจจะเป็นชา หรือกาแฟก็ตามสะดวกนะครับ แต่วันนี้เว็บของเราเองก็มีทางเลือกดีๆทางเลือกหนึ่งมาฝากทุกท่านเช่นกัน เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ให้อารมณ์เหมือนดื่มชา แต่แตกต่างตรงที่ชาที่ผมจะแนะนำ นั้นไร้ซึ่งคาเฟอีน แถมมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทย อีกต่างหาก ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนั้นคือชาจาก ดอกคำฝอย นั่นเองครับ   ก่อนจะพูดถึงสรรพคุณ แน่นอนต้องมารู้จักชื่อเสียงเรียงนามรูปร่างหน้าตาของพืชชนิดนี้กันก่อน

ดอกคำฝอยชื่อวิทยาศาสตร์  Carthamus tinetorius L.

ชื่อวงศ์   Compositae

ชื่อโดยทั่วไป   คำฝอย หรือ Safflower,False Saffron ,Saffron Thistle (จะสังเกตว่าชื่อในภาษาอังกฤษมักมีคำว่า Saffron ซึ่งคำว่า Saffron นี้แปลว่า สีเหลืองอมส้ม  ซึ่งบอกถึงลักษณะสีของดอกคำฝอยได้เป้นอย่างดี)

ชื่ออื่นๆตามแต่ละภูมิภาค  ดอกคำ (ภาคเหนือ) ,คำยอง (ลำปาง) ภาคอื่นๆจะไม่มีชื่อเฉพาะนะครับ

ลักษณะของต้นคำฝอย

เป็นไม้ที่สู้ไม่ถอย (ไม้ล้มลุก) สูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็ลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ปลายจะแหลม ปลูกง่าย ชอบอากาศเย็น มักขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ดอก มีรสหวาน สรรพคุณบำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท ขับประจำเดือน และที่สำคัญที่ทำให่ดอกคำฝอยเป็นที่นิยมคือสรรพคุณในการ ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน    นอกจากนั้นในดอกแก่ยังใช้ทำเป็นสีในการปรุงแต่งอาหาร โดยวิธีการจะนำดอกที่แก่มาชงกับน้ำร้อน แล้วกรองจะได้สีเหลืองเข้ม นำไปผสมอาหารเช่นขนม โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสม นับว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เกสร  บำรุงโลหิต  ช่วยในเรื่องประจำเดือนของสตรี

เมล็ด  มีสรรพคุณด้านสมุนไพรในการขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หรือนำมาบด ทาแก้บวม

สูตรชาจากดอกคำฝอย

นำดอกคำฝอยไปตากให้แห้ง นำไปชงกับน้ำร้อนในอัตราส่วน ดอกคำฝอยสองช้อนโต๊ะ ต่อน้ำหนึ่งแก้ว จะได้ชาดอกคำฝอยกลิ่นหอมน่ารับประทาน  แต่ถ้าใครเห็นว่าชาดอกคำฝอยเป็นเรื่องยุ่งยาก (หรือไม่รู้จะหาต้นคำฝอยได้ที่ไหน) เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องไม่ยากเลยครับ เพราะดอกคำฝอยเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คนนิยมนำมาแปรรูปขาย สามรถซื้อดอกคำฝอยที่ตากแห้งพร้อมชง ได้ตามร้าน OTOP ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้าก็มีให้เห็นบ่อยๆ แม้กระทั่งในเซเว่น(บางสาขา) ยังมีให้เห็นด้วยซ้ำ ยังไงก็ลองหามาทานดูได้  สุดท้ายช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน (รูปภาพจาก blog Lovesbody)

ต.ค. 242012
 

เมื่อไม่กี่วันผ่านมาผมได้มีโอกาศไปทาน อาหารญี่ปุ่นกับคุณแฟน ที่ร้าน S.(ขอไม่เอ่ยชื่อเต็มนะครับ) ซึ่งจะเป็นแบบบุปเฟ่ อาหาร+เครื่องดื่ม ก็ไม่มีอะไรทานตามปรกติสุข แต่พอจะไปกดเครื่องดื่มมาดื่ม ก็สะดุดตากับเครื่องดื่มสีส้มสดใส ตอนแรกคิดว่าน้ำส้ม แต่พออ่านป้ายจึงรู้ว่าเป็น น้ำเสาวรสนี่เอง ก็เลยลองมาหาข้อมูลของพืชชนิดนี้ดู พบว่าสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ของพืชชนิดนี้มีมาก เลยลองมาแบ่งปันให้เพื่อนๆชาว ไทยสมุนไพร.net ได้ลองอ่านกันดู

          พูดถึงเสาวรส  ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าพืชชนิดนี้ไม่ได้เป็นพืชของไทยเรามาแต่เดิมนะครับ เพราะพืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา แต่มาแพร่พันธ์ในไทย ก่อนรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักชื่อเสียงเรียงนามของพืชชนิดนี้กันนะครับ

เสาวรสชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis

ชื่อโดยทั่วไป   :  เสาวรส  หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Passionfruit

ชื่ออื่นๆ  : กระทกรก  สุคนธรส

ลักษณะของเสาวรส

เป็นไม้เลื้อย ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ที่พิเศษคือเมื่อสุกจะมีหลายสี แล้วแต่ว่าพันธ์อะไร  ที่พบจะมีทั้งทั้งสีม่วง สีเหลือง สีส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก(เป็นทีมาของกระทกรก) เมล็ดมีสีดำ อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสเปรี้ยวอมหวาน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ยอด รับประทานเป็นผักสด จิ้มน้ำพริกมีรสขมเล็กน้อย หรือจะนำไปแกงก็ได้

เนื้อไม้  ตามตำราสมุนไพรบอกว่าเป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมทุกขนิด ใช้รักษาบาดแผล

ราก ใช้ต้มน้ำเพื่อแก้ไข้  รักษาผดผื่นคัน กามโรค

ใบ ใช้ตำให้ละเอียด แล้วคั้นน้ำดื่มเป้นยาขับพยาธิได้

คอก ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ

ผล รับประทานเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ด คั้นเป็นน้้ำดื่มเพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของน้ำเสาวรสน้ำเสาวรส

ดังที่บอกไปว่าเสาวรสมีประโยชน์ในทุกส่วน แต่ส่วนที่คนนิยมใช้จริงๆ คือผลของเสาวรส  ที่คนมักนิยมนำมาคั้นทำเป็นน้ำเสาวรส ลองมาดูประโยชน์ของมันกันครับ

  • น้ำเสาวรสมีวิตามินเอสูง ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ
  • น้ำเสารสมีวิตามินซีสูง จึงสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน อีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอกระบานการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถลดไขมันในเลือดได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานเสาวรส

  •   ผู้ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงควรดื่มพอประมาณ
  •   ไม่ควรรับประทานสดแบบทั้งต้น เพราะมีสารพิษอาจเป็นอันตรายได้

ขอบคุณข้อมูลจาก Thai wiki pedia ,หนังสือ สมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน  /ภาพประกอบจาก internet

ต.ค. 152012
 

วันนี้เราจะพามารู้จักพืชผักสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่งกัน นั่นก็คือผักโขม หรือผักขมนั่นเองครับ ผักโขมนั้นมีหลายชนิด พอที่จะแยกได้ดังนี้

  •    ผักโขมบ้าน เป็นผักโขมชนิดที่ใบกลมเล็ก มีลำต้นขนาดเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบมีสีเขียวเหลือบแดง
  •    ผักโขมหนาม มีลำต้นสูง ใบใหญ่ จะมีหนามที่ช่อของดอก จึงเป้นที่มาของชื่อ ผักโขมหนาม ใช้เฉพาะส่วนยอดอ่อนมาประกอบอาหาร
  •    ผักโขมสวน ใบมีสีเขียว บริเวณเส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกแล้ว จะมีสีแดงอมม่วง
  •    ผักโขมจีน เป็นผักโขมที่มีต้นใหญ่ ใบเป็นสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ใบสดมีรสเผ็ด และมีกลิ่นฉุน


แต่ถ้าจะบอกว่าชนิดไหนเป็นที่นิยม ก็คงจะเป็น ผักโขมสวน เพราะมีใบที่โต และอ่อนนุ่ม รสชาติดี และมีคุณค่าทางอาหารทีสูงเอาเรื่อง เพราะในผักโขม อุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิด กรดโฟเลต วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และโปรตีน นี่แค่ย่อยๆ ที่เด็ดกว่านั้นล่ะ เรามาดูกัน

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

  1. ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
  2. ผักโขมมีสาร ซาโปนิน(Saponin)ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล ในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
  3. วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็น และช่วยบำรุงสายตา
  4. วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
  5. ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

นอกจากผักโขมจะมีคุณค่าในด้านสารอาหารต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผักโขมยังมีคุณค่าในด้านสมุนไพรไทยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งตำราประมวลสรรพคุณยาไทย ของ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ได้กล่าวถึงประโยชน์ด้านสมุนไพรไทยของผักโขมเอาไว้ดังนี้

ผักโขมหัด(น่าจะเป็นผัโขมบ้าน) ใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนใน แก้ไข้ต่างๆ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี

ผักโขมหนาม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

การนำผักโขมไปใช้ ประกอบอาหาร  

แกงเลียงผักโขมถ้าจะให้พูดคงหลายเมนู ยกตัวอย่างที่เด็ดๆแล้วกันนะครับเช่น ผักโขมผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักโขมหมูบะช่อ สลักผักโขม ซุปผักโขม ยำผักโขม นำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆก็อร่อย นี่แค่อาหารไทย ถ้าใครไปทานในร้านพิซซ่า ก็จะเจอเมนูผักโขมอบชีส อันนี้ผมเคยลองแล้ว อร่อยไม่เบา อ้อลืมบอกในสมัยก่อน(จนถึงปัจจุบัน) นิยมทำแกงเลียงผักโขมให้แม่ที่พึงคลอดรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าช่วยบำรุงเลือดและ เรียกน้ำนม ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะในผักโขมอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงสามารถช่วยตรงนี้ได้

 

ต.ค. 142012
 

ขิง เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันกระแสของการดูแลสุขภาพมาแรง เราจึงเห็นขิงโดยเฉพาะ ขิงผง อยู่ในอันดับต้นๆของ list ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จะว่าไปแล้วนั้นขิงเองก็จัดเป็นพืชที่ค่อนข้างอินเตอร์ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากไทยแล้วขิงยังเป็นพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในสูตรยาของแพทย์ท้องถิ่นในหลายๆประเทศ เช่นที่อินเดีย ในจีน บางภูมิภาคของญี่ปุ่น เลยไปจนถึงกรีก (ไปไกลถึงยุโรปเลย)

ก่อนที่จะรู้จักสรรพคุณเรามารู้จักขิงกันก่อนนะครับว่ามันมีลักษณะเป็นอย่างไร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : zingiber offcinale Roscoe

ชื่อโดยทั่วไป:  ขิง หรือ Ginger (ยกตัวอย่างเช่น Ginger bread = ขนมปังขิง)

วงศ์:  Zingiber

ชื่อท้องถิ่นตามแต่ละภูมิภาค  ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า  ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)

ลักษณะของขิง

 ขึงนั้นปลูกง่าย และขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย

ขิงลำต้นของขิง ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า  จะมีลักษณะคล้ายมือ   เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชจำพวกเดียวกันกับข่า ขมิ้น จะเห็นได้จากสำนวนไทยที่ว่า ขิงก็รา ข่าก็แรงของมันมาคู่กันจริงๆครับ ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน(ขิงแก่จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ใช้เรียกคนที่มีอายุแต่ยิ่งเก่งยิ่งมากด้วยประสบการณ์) ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร

ใบของขิง  ใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม

ดอกของขิง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง

ขิงนั้นนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร จัดเป็นเครื่องเทศชั้นดีเพื่อตัดกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหาร และที่สำคัญยังใช้เป็นยายาสมุนไพร ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นขิงผงบรรจุซอง ง่ายต่อการรับประทาน ตาม concept อาหารสมัยนี้คือฉีกซองเติมน้ำร้อน

สรรพคุณทางสมุนไพรไทย

ขิงตามตำราสมุนไพรไทยนั้น  มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด และทำให้ร่างกายอบอุ่นในทางยานิยมใช้ขิงแก่ และในขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขิง

  • แก้อาเจียน นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือน้ำเหง้าสดหมกไฟ รับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • ขับลมในกระเพาะ โดยนำขิงมาทุบชงกับน้ำร้อน หรือ นำขิงมา 1 แง่ง ใช้ต้มกับน้ำ 1  ใช้ดื่ม หรือถ้าจะให้เติมน้ำตาลทรายเพื่อเพิ่มรสชาติได้
  • รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้(อุณภูมิของร่างกาย )เนื่องจากหวัด
  • รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณ 1/2 ถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย โดยจิบบ่อยๆ
  • รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ เพื่อดื่มบ่อยๆ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง
  • รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของแผล
  • รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณที่ปวด (แต่สุตรนี้แนะนำให้จัดการกับต้นเหตุโดยพบทันแพทย์จะดีกว่านะครับ)

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของขิงแล้วนั้น ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับขิง ทางเภสัชวิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีดังนี้

1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายขับออกทางระบบขับถ่าย

2. ป้องกันฟันผุ

3. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

4. บรรเทาอาการไอได้

5. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากปัจจุบันพบโรคนี้ได้มากในคนทำงาน

6. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหารเมื่อลดการหลั่งจึงช่วยบรรเทาในเรื่องโรคกระเพาะอาหาร

7. ช่วยลดความอยากของอาการติดยาเสพติดได้ ซึ่งว่าจะลองมาใช้กับอาการติด facebook ดู

8. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ

9. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

นี่แหละครับคือทั้งหมดของ สิ่ง(พืช)เล็กๆที่เรียกว่า ขิง อ่านจบลองเดินไป 7-11 หรือร้านใกล้บ้าน หาขิงผงมาทานดูสักห่อก็ดีนะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

หนังสือสมุนไพรใกล้ตัว ตู้ยาข้างบ้าน   ,ขิง สมุนไพรสารพัดประโยชน์ กองบก.ใกล้หมอ   ,สมุนไพร 200 ชนิด สมเด็จพระเทพฯ

 

 

ต.ค. 092012
 

พืชที่เราบริโภคลำต้นใต้ดิน หรือเรียกกันแบบบ้านๆว่าหัว นั้นมีอยู่หลายชนิด ที่ได้รับความนิยมหน่อยก็พวก กระชาย หรือข่า ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่เราได้เคยพูดกันมาแล้ว (ตามอ่านได้) แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงพืชชนิดหนึ่งกัน ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครตรงที่เมื่อนำหัวมาฝนจะให้สีเหลืองที่สวยงาม นึกออกแล้วใช่ไหมครับว่าผมพูดถึงอะไร สมุนไพรไทยชนิดนั้นก็คือขมิ้นชัน หรือขมิ้นนั่นเอง

 มาทำความรู้จักกับขมิ้นกัน

ขมิ้น หรือ ขมิ้นชันชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น  : Curcuma longa Linn

ชื่อในภาษาอังกฤษ  : Turmaric

ชื่ออื่นๆ   :  ขมิ้น ขมิ้นแกง  ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง   ขมิ้นดี  ตายอ

ลักษณะของขมิ้น  : เป็นพืชที่ไม่ท้อถอย (พืชล้มแล้วลุก)  สูงไม่มากประมาณ  30-90 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้องข้างในสีเหลืองเข้ม (ใช้คำว่าเหลืองอ๋อย คงจะเหมาะ)   มีกลิ่นที่หอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยวแทงออกมาจากเหง้า  ดอกออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ผลรูปกลมมีสามพู

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านสมุนไพรไทย  เหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ตามธรรมชาติ ลดการอักเสบ และยังช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีสรรพคุIในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง อาการแพ้และอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย

สรรพคุณของขมิ้นชันทางด้านโภชนาการ 

ในขมิ้นชันมีวิตามิน AEC (หรือประชาคมเศรษกิจอาเซียน ไม่ใช่แล้ว) คือเจ้า วิตามิน A,C,E ทั้งสามตัวจะเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆกันจึงมีผลมากมาย เฉพาะในเรื่องของมะเร็งก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งตับ และกำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้ว เตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง    ส่วนในเรื่องอื่นๆที่เขาวิจัยก็มี เรื่องการช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ  นับว่าสรรพคุณค่อนข้างดีมากๆ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติม เช่นป้องกันการแข้งตัวของเลือด การเป็นสารต้านมะเร็งเนื้องอกต่างๆ รวมถึงยังมีการใช้เป็ยาต้านเชื้อในผู้ป่วย HIV ย้ำนะครับว่าอยู่ในขั้นการทดลอง และขมิ้นชันเองมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเหมาะมาก กับคนที่เป็นหวัด หรือแพ้อากาศบ่อยๆ

สูตรยาสมุนไพรไทยจากขมิ้นชัน

1.สูตรยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำและคั้นแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

2.สูตรยาภายนอก ทาแก้ผื่นคันโรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น ให้ใช้เหง้าแก่แห้ง ไม่จำกัดจำนวน ป่นเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน โดยในเด็กใช้กันมาก

ข้อควรระวังในการใช้  เมื่อมีประโยชน์ ย่อมต้องมีสิ่งที่ต้องระวังบ้างเป็นธรรมดา ลองมาดูกันเลย

  •  การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้
  • บางคนอาจมีการแพ้ขมิ้นโดยอาการคือ คลื่นไว้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยาทันที บางคนอาจทานอาหารใต้ไม่ได้ ทานแล้วท้องเสียไม่แน่อาจเกิดจากสาเหตุการแพ้ขมิ้นในอาหารก็เป็นได้
  • ไม่ควรซื้อผวขมิ้นชันตามตลาดควรทำเอง เพราะตามตลาดเขาใช้ขมิ้นอ้อย และกรรมวิธีมักผ่านความร้อน ทำให้สูญเสียน้ำมันหอมระเหยไป

 

ต.ค. 082012
 

วันนี้เพิ่มอีกหนึ่งเรื่อง คราวนี้ขอพูดถึงเรื่องผักบ้าง แถมเป็นผักที่พบเห็นได้ง่ายๆ ชนิดว่าคงไม่มีใครไม่เคยทาน เอาง่ายๆเดินไปซื้อลูกชิ้น เชื่อไหม 6ใน10 ร้านต้องมีผักชนิดนี้แถมให้ (ไม่ได้วิจัยจริงๆจังๆนะครับแค่จากประสบการณ์ บางทีอาจมี แตงกวา บ้างก็ว่ากันไป)นั่นก็คือกะหล่ำปลีนั่นเอง เขียนให้ถูกนะครับ”กะหล่ำปลี” ไม่ใช่ “กะหล่ำปี ” กะหล่ำที่พบตามท้องตลาด โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่สองสี คือแดงกับเหลือง เอ๊ยเขียวกับม่วงในบทความนี้จะเน้นที่กะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวก่อน ไว้มีโอกาศจะเล่าถึงกะหล่ำปลีสีม่วง หรือกะหล่ำปลีม่วงถ้าโอกาศเอื้ออำนวย

คุณค่าของกะหล่ำปลี 

กะหล่ำปลี ลักษณะใบของกะหล่ำปลี หรือที่คนชอบเรียก ดอกกะหล่ำนอกจากนำมากินเป็นผักสด หรือประกอบอาหารแล้ว ในคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยของมันยังมีอีกเพียบ ขอแยกเป็นข้อๆปล้องๆดังนี้

1.มีวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่า กะหล่ำปลีสีเขียว จะสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้สูงถึงร้อยละหกสิบหก ( 66 เปอร์เซ็นต์)อีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินซียังสามรถป้องกันโรค เลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหารและล้างสารพิษ

2.มีใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง จะช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร กระตุ้นลำไส้ใหญ่ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

3.มีกรดทาร์ทาริก *ช่วยยับยั้งไม่ให้แป้งและน้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เปลี่ยนกลายเป็นไขมันส่วนเกิน สะสมอยู่ตามร่างกาย จึงเหมาะมากๆกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

*เพิ่มเติมข้อมุลนิดนึงนะครับ กรดตาร์ตาริก (tartaric acid) คือ กรดอินทรีย์ (organic acid) พบตามธรรมชาติในผักผลไม้ และเป็นกรดที่พบในไวน์  มีสูตรทางเคมีคือ  C4H6O6  อยู่ในรูป L-Tartaric acid อาจเรียกว่า L-2-3-Dihydroxysuecinic acid หรือ L-2,3-Dihydroxybutanedioic (ข้อมูลจากจากสารานุกรมอาหาร)

4.อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ทีส่วนสำคัญในเรื่องของการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งยิ่งแก่ตัวไป หรือเด็กๆ ยิ่งจำเป็นมากๆ

5.กะหล่ำมีสารซัลเฟอร์ สารตัวนี้จะช่วยระงับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้นอนหลับดีขึ้นนั่นเอง

6.กะหล่ำปลีมีสารต้านการอักเสบ ของแผลในกระเพาะ และลำไส้ ช่วยกระตุ้นให้เซซล์ที่ทำหน้าที่บุเยื่อกระเพาะสร้างสารคัดหลั่งเพื่อช่วยเคลือบผิวทางเดินอาหาร จึงป้องกันโรคกระเพาะและลำไส้ได้ ไม่แปลกเลยที่ส้มตำเผ็ดๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดคนโบราณจึงให้นิยมทานกับกะหล่ำ

7.สำหรับสาวๆกะหล่ำปลี สามารถบรรเทาอาการปวดคัดตึงเต้านมได้อีกด้วย โดยใช้กะหล่ำปลีมาประคบเต้านมข้างละใบ (คิดว่าคงพอเพียงกับขนาดหญิงไทยมาตรฐาน) และใช้ผ้าพันไว้ 20 โดยไม่ต้องนวดคลึงอาคารปวดบวมคัดตึงจะหายไปเอง

การนำไปใช้

จริงๆในหัวข้อนี้ผมคงไม่ต้องลงรายละเอียดมากเพราะกะหล่ำเองนำไปบริโภคได้ทุกส่วนอยู่แล้ว ตั้งแต่ใบ กาบใบ สามรถเอามาทำอาหารหลายชนิด ขอยกตัวอย่างเช่น กะหลำปลีผัดกับหมู ต้มจืด บะช่อหมูสับ กะหล่ำยัดไส้ (น้ำยายไหล) หรือถ้าไม่ประกอบอาหารจะทานสดๆก็ไม่พรบ.หรือรัฐธรรมนูญมาตราใด เช่นนำมากินแกล้มกับลาบ ส้มตำ ลูกชิ้นปิ้งได้หมด หรือจะนึ่งจิ้มน้ำพริก ทานกับปลานึ่งอันนี้ก็แจ๋ว

ข้อควรระวังในการใช้กะหล่ำปลี

เวลาที่เราซื้อกะหล่ำมาจากตลาด แน่นอนผักออแกนิค(ปลอดสารพิษ) มันไม่ได้ขายกันทุกตลาดฉะนั้นทางที่ดีที่สุด ล้างให้สะอาดก่อนเพราะลักษณะของกะหล่ำปลีอาจจะทำให้เก็บยาฆ่าแมลงไว้ได้มาก อาจใช้น้ำผสมเกลือหรือน้ำช้มสายชูล้าง จะทำให้ชำระล้างสารพิษได้มาก

ทานกะหล่ำปลีให้อร่อยนะครับทานเผื่อผมด้วย ไว้คราวหลังจะนำเรื่องพืชผักสมุนไพรไทยดีๆมาฝากอีก

ขอบคุณหนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง สำหรับข้อมูล

 

 

บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ

 พืชสมุนไพร, รักษาเบาหวาน, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ
ต.ค. 052012
 

บุกมาแล้ว ! บุกมาแล้ว !  รีบหนีเร็ว  เอ๊ะยังไงนี่ เรากำลังดูหนังสงครามอยู่เหรอ เปล่าครับ บุกในที่นี้ไม่ได้ถึงข้าศึกบุก แต่หมายถึงหัวบุก สมุนไพรไทยบ้านเรา ต่างหาก และที่ต้องหนี ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นโรคฮอตฮิตในปัจจุบันอย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน ต่างหากที่ต้องหนีไป

บุก ส่วนที่เห็นคือ หัวบุก ทีแรกเรื่องของบุกในเมืองไทย มันก็ไม่ได้แพร่หลายหรือเป็นที่ได้รับความนิยมเหมือนทุกวันนี้เพราะจริงๆ ทีแรกมันก็เป็นพืชพื้นบ้านอยู่ดี  คนในท้องถิ่นก็นำบุกมาประกอบอาหาร เหมือนเผือก เหมือนมันทั่วไป     พอเริ่มมีคนมาวิจัย   สรรพคุณต่างๆของมัน เลยกลายเป็นพืชสมุนไพรไทยยอดนิยม มีการแปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สารสกัด บุกผง วุ้นบุก และอื่นๆอีกมาก วันนี้เองก็คงจะไม่ช้าเกินไปที่จะนำทุกท่านมารู้จัก พืชสมุนไพรไทย ที่เรียกว่าบุกกันแบบถึงกึ๋น

 

มารู้จักบุกกัน  

ชื่อไทย   บุก 

ชื่อสามัญ  Konjac ,  devil’s tongue  (ลิ้นปิศาจ  น่ากลัวนะครับชื่อนี้ คาดว่ามาจากลักษณะของดอกบุก )   , shade palm, umbrella arum

ชื่อวิทยาศาสตร์      Amorphophallus rivieri Durieu cv. Konjac

ชื่อวงศ์    ARACEAE

ชื่อตามท้องถิ่น  :  บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง)  หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)  กระบุก (อิสาน)

 

เราพบบุกได้ที่ไหน

บุกเป็นพืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยขึ้นอยู่ตาม ชายป่า และบางทีก็พบตามพื้นที่ ทำนา เช่นที่ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นต้น บุกขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีให้หัวขนาด ใหญ่ได้ในดินร่วนซุย น้ำไม่ขังและดินที่มีฮิวมัส หรืออินทรียวัตถุสูง

 

ลักษณะของต้นบุก

ลักษณะของต้น บุก แสดงให้เห็นส่วนประกอบคือใบบุก และหัวบุกลำต้นใต้ดิน  บุกมีลำต้นใต้ดินหรือที่เราเรียกแบบง่ายๆก็คือ หัวบุก  แบบเดียวกับเรียกหัวเผือก หัวมัน ขนาดอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร (บางพันธ์อาจเล็กกว่านี้ )ทรงกลมแป้นลักษณะทรงเดียวกับลูกฟักทอง แต่บางสายพันธ์มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป  ซึ่งส่วนนี้เอง เป็นใช้ที่สะสมอาหารของบุก

 ใบ  ลักษณะเหมือนใบมะละกอ มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย    บางชนิดมีหนามอ่อนๆ  หรือบางทีบุกบางชนิดก็มีใบมีจุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน  จะเห็นว่าใบบุกมีใบลักษณะที่หลากหลายมาก  แต่ที่เด่นๆสังเกตง่ายว่าเป็บุกคือ จะมีก้านตรงจากกลางของหัว เมื่อโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทาง มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่บาง พันธุ์จะแปลกตรงที่กลับขึ้นด้านบนเหมือนหงายร่ม ดังนั้นลักษณะของใบบุก มีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของบุก

ดอกของบุก     ลักษณะดอกดอกคล้ายต้นหน้าวัว แต่ละชนิดมีขนาด สี และรูป ทรงต่างกัน บางชนิดมีดอกใหญ่มาก โดยเฉพาะบุกคางคก ดอกบุกมีกลิ่น เหม็นเหมือนเนื้อสัตว์เน่า บุกชนิดอื่นๆ มีดอกเล็กก้านดอกจะโผล่ขึ้นตรง จากกลางหัวบุก เช่นเดียวกับก้านใบ บุกมักจะมีดอกในช่วงปลายฤดูแล้ง แต่บุกสามารถออกดอกได้ในช่วง เวลาต่างๆ กัน ระยะเวลาในการแก่เต็มที่ ของดอกที่จะติดผลก็ต่างกัน

 ผลบุก (อย่าสับสนกับหัวบุกนะ ) หลังจากดอก ผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล ผลอ่อนของบุก มีสีขาวอมเหลือง พออายุ ได้ 1-2 เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่ปลายคล้ายผลกล้วย ผล ของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว  บุกบางชนิดก็มีเมล็ดในกลม   ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือแดงส้ม

 

 

บุกกับการนำมาประกอบอาหาร

เป็นพืชอาหารพื้นบ้านซึ่งคนไทยนำเอาก้านใบมาแกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก     ส่วนหัวบุกมีการนำไปดัดแปลงตามแต่ละภูมิภาค เช่นทางภาคอีสาน มีการทำขนมที่เรียกว่าขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน (แกงลาว)   ภาคตะวันออกจะมีการฝาน หัวบุกเป็นแผ่น บางบาง แล้วนำมานึ่งกินกับข้าว ทางภาคเหนือโดยเฉพาะชาวเขา มักนำมา ปิ้งรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน

*บุกมีหลายชนิดหลายพันธุ์ อาจขมและมีพิษ ทุกชนิดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ทั้งที่ก้านใบและหัว ซึ่งอาจทำให้คัน ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มเสียก่อน ไม่งั้นกินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง

อาหารที่แปรรูปมาจากบุก

ปัจจุบันมีการนำบุกมาแปรรูป ทั้งในลักษณะของเส้นบุก ซึ่งคือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส่วนหัวบุก มีแบบเส้นใส สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้ ผมว่าใครเคยไปกินเนื้อย่างคงเคยเจอบ้าง   นอกจากเส้นบุกแล้วมีการนำมาผสมเครื่องดื่มต่างๆ เอาแบบฮิตๆสมัยก่อน คือ เจเล่ ผสมผงบุก ถ้าจำไม่ผิดอันนี้เขามาทำเป็นรายแรก (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่านขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)
สรรพคุณของบุก

จากการศึกษาพบว่า  แป้งบุกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พวกกลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร (dietary fiber)  ซึ่งดูดน้ำได้มาก แต่ร่างกายย่อยสลายได้ยาก ดูดซึมได้ช้า จึงให้พลังงานและสารอาหารน้อย เหลือกากมาก ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดี ผู้ที่ต้องการลดความอ้วนนิยมกินอาหารจากแป้งบุก เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก เพราะกินอิ่มได้ ระบายท้อง แต่ไม่ทำให้อ้วน

นอกจากนี้เองเจ้า สารกลูโคแมนแนนนี้ สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำตาลได้ดีมาก ปัจจุบันจึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง

นี่แหละครับคือประโยชน์จากบุก ลองหามาทานกันนะครับ มีประโยชน์ขนาดนี้ สมัยนี้ไม่หายากแล้วเดินไปห้าง ก็ได้บุกเส้นแล้ว แนะนำมามายำแบบยำวุ้นเส้นนะครับ รับรองอร่อยแท้ๆ

 

 

ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ก.ย. 262012
 

ช่วงนี้กระแสเห็ดฟีเวอร์ มีการนำเห็ดมาสกัดผสมกับซุปไก่ยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่ง ตอนโฆษณาเขาใช้คำว่าเห็ด ซิทาเกะ ฟังดูออกญี่ปุ่นมาก แต่จริงแล้วเห็ดชนิดนี้คนไทยเราคุ้นเคยมานาน ซึ่งมันก็คือเห็ดหอมนั้นเองครับ แม้เห็ดหอม ไม่ได้เป็น สมุนไพรไทย แต่คนไทยเราก็รู้จักกันดี โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง ทางเว็บเราจึงขอตามกระแสหน่อยด้วยการนำข้อมูลของเห็ดหอมมานำเสนอ

เห็ดหอม หรือ shiitake mushroom ภาพที่เห็นคือ เห็ดหอมแห้ง ที่ผ่านการตาก หรือ อบชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.

ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ

ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ

ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม

ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว

แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร

การกิน  : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น

สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก ป้องกัน และต้านมะเร็ง

ก.ย. 202012
 
คนที่ชอบทานอาหารรสจัดหน่อยก็คงชอบ ภายในรสเผ็ดร้อนของมันนั้น มีคุณค่าของสมุนไพรไทย แฝงอยู่ถึงหกประการด้วยกัน

พริก สมุนไพรไทยพริกขี้หนู (cayenne pepper)

พริกชี้ฟ้า (chili Spur pepper)

พริกหยวก (red-pepper หรือ sweet pepper)

พริกเป็นอาหารสมุนไพรที่ใช้กับทุกครัวเรือน ท่านทราบหรือไม่ว่าพริกนั้นมีคุณค่าทางอาหารและคุณค่าทางยาที่วิเศษชนิดหนึ่ง พริกที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารจะใช้ทั้ง พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า และพริกหยวก

ในพริกมีสาร capsaicin ซึ่งมีมากในไส้พริก เป็นสารที่มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมีสาร carotenoid วิตามินซี วิตามินเอ ไขมัน  และ โปรตีน

สรรพคุณ

1. พริกช่วยขับเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง สารแคปไซซินช่วยลดความไวของปอด ต่อการเกิดอาการต่างๆ  เช่น การบวมของเซลล์หลอดลมใหญ่และเล็ก ลดการหดเกร็งเนื้อรอบหลอดลม พริกเผ็ดจึงเป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นหอบหืด เมื่อเราลองกินพริกที่รสเผ็ดๆ น้ำตา น้ำมูกไหล ซึ่งอธิบายได้ว่า พริกช่วยให้เสมหะที่ข้นเหนียว เจือจางลง ร่างกายจะขับเสมหะออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น

2.  ช่วยสลายลิ่มเลือด  มีรายงานการวิจัย   นายแพทย์สุคนธ์   วิสุทธิพันธ์และคณะ จากศิริราชพยาบาล ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือคนที่ได้รับพริก และไม่ได้รับพริกในอาหาร ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับพริกจะมีการทำงานของร่างกายเพื่อสลายลิ่มเลือดได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับพริก แต่หลังจากกินพริกแล้วครึ่งชั่วโมง ความสามารถในการสลายลิ่มเลือดจะกลับคืนสู่ปกติ และยังมีการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ของชาวอินเดีย เปรียบเทียบชาวไทยกับชาวอเมริกันที่อาศัยในไทยแต่ไม่รับประทานพริก พบว่าคนอเมริกันมี fribrinogen ในเลือดสูง และเลือดมีโอกาสจะจับตัวเป็นลิ่ม และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้ง่ายกว่า ดังนั้นผลดีที่คนไทยใช้พริกประกอบอาหาร โอกาสจะเกิดโรคหัวใจจึงมีน้อยกว่า

3. บรรเทาอาการปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน สารแคปไซซิน  ออกฤทธิ์ต่อเซลประสาทโดยชะลอการหลั่งของ neurotransmitter ที่ปลายประสาท substance P ส่งผลให้สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง

4. พริกช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอ็นดอร์พิน (endorphins) ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เมื่อรับประทานพริกจะเกิดความสุขและเป็นส่วนหนึ่งทำให้อยากเพิ่มขนาดพริกในอาหารขึ้นเรื่อยๆ สารเอ็นดอร์พินมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือ การออกฤทธิ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้อยากหลับ (opiates) ซึ่งนั้นก็ให้เกิดความสุขแก่ตัวเราและทำให้ความดันโลหิตลดลง

5. พริกจะช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร

6.พริกช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากในพริกมีทั้งวิตามิน เอ ซี และโปรตีน

ข้อควรระวัง

แม้ว่าพริกจะมีสรรพคุณนานัปการอย่างที่กล่าวแล้ว แต่ท่านต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานรสเผ็ดจัด และในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร ไม่ควรรับประทานพริกมาก เพราะอาการเจ็บป่วยของท่านอาจเป็นมากขึ้น ไม่ควรทานเผ็ดในช่วงท้องว่าง ควรปรุงเป็นอาหาร ไม่ควรเคี้ยวพริกสด ๆ  เพราะอาจจะเกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร อาจจะทำให้ท่านเป็นแผลเรื้อรังและกลายเป็นมะเร็งได้

ก.ย. 202012
 

กระเทียม สมุนไพรไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีภาพวาดหัวกระเทียมปรากฏบนโลงศพมัมมี่อียิปต์ ประมาณ 3,200 ปีก่อนพระคริสต์ มีการขุดค้นพบกระเทียมฝังเป็นแนวรอบมหาราชวัง knosos  ในกรีซ และในปอมเปอี

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าใช้กระเทียมเพื่อรักษา

  • · อาการปวดศีรษะ เจ็บคอ บำรุงร่างกายที่อ่อนแอ
    • · กระเทียมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
    • · ตำราจีนและญี่ปุ่น ใช้กระเทียมช่วยลดความดัน
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กระเทียมได้รับการยอมรับในการรักษาโรคไทฟัสและโรคบิด
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แพทย์ชาวอังกฤษ รักษาแผลสด  เป็นยาฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ตามตำรายาไทยหลายเล่มยังได้ระบุสรรพคุณและประโยชน์ทางยาของกระเทียมได้หลายอย่าง

  • · ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
  • · ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • · ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ

กระเทียม allium sativum linn.

สารสำคัญ

ในหัวกระเทียมสดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-0.4 % มีสารสำคัญ ที่มีกำมะถันหลายชนิดเช่น alliin, allicin, diallyl disulfide, methyl n-propyl disulfide นอกจากนี้แล้วยังมีกรดกำมะถัน เช่น d-glutamyl-s-methylcysteine ส่วนกลิ่นของกระเทียมเกิดจาการย่อย allylcystein sulfoxide หรือ alliin ซึ่งไม่มีกลิ่นให้เป็นสาร allylthiosulfinote หรือ allicin ด้วยเอนไซม์  allinase

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่ากระเทียมสามารถลดปริมาณของ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้

ส่วนการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม กับคนปกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับ Cholesterol สูง ในขนาดที่ได้ 0.25 mg /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 เดือน พบว่าระดับ Cholesterol ในเลือดลดลง และเมื่อใช้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขาด 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1ใน 3 ของคนไข้ที่มีระดับ Cholesterol สูง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีก 2 ใน 3 ลดลงปกติ สารที่มีฤทธิ์ในการลด Cholesterol คือ allicin กระเทียมกับการลดความดันโลหิต

พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95 % จากหัวกระเทียมสามารถลดความดันในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงได้

กระเทียมกับการลดน้ำตาลในเลือด

จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยการให้สารสกัดกระเทียมด้วย แอลกอฮอล์ให้กับกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอ ๆ กับ tolbutamide

กระเทียมยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

น้ำคั้นกระเทียมและกระเทียมผงมีผลต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ mycobaerium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของโรควัณโรค สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว คือ สารจำพวกซัลไฟด์ (sulfide) ซึ่งได้แก่ allicin, scordinin และ scordinin A

กระเทียมกับ HIV

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งไม่พบในกระเทียมสด แต่จะพบในกระเทียมที่หมักในน้ำมัน สาร ajoene สามารถป้องกัน CD4  Cell จากการติดเชื้อ HIV และยังช่วยลดการสร้างไวรัสตัวใหม่ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

ใช้กระเทียมอย่างไร  ในชีวิตเราจะใช้กระเทียมในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกกะปิ ผัดผัก ผักแกล้มหมูทอดกระเทียม ส้มตำ ฯลฯ แม้แต่เรากินข้าวขาหมูยังมีกระเทียมเป็นผักแกล้ม ถ้าจะอธิบายเป็นแบบสมัยใหม่น่าจะอธิบายได้ว่า เพราะข้าวขาหมูมีไขมันสูง ถ้าเรากินกับกระเทียม เข้าใจว่าจะช่วยลดไขมันที่เรากินไปได้ เราจะกินกระเทียมให้ได้คุณค่าของกระเทียมสูงควรจะใช้

“กระเทียมสด ดีที่สุด”

“กระเทียมไทย ให้ผลสูงสุด”

ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักต่อหนึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 10-15 กลีบต่อวัน)

นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง 5-10 วัน อาการจะดีขึ้นและทาต่อจนกว่าจะหาย

หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า

 ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน หอม สมุนไพรไทยที่ไม่ใช่แค่โรยหน้า
ก.ย. 202012
 

หอมหลายครั้งมักถูกนำมาเป็นเครื่องเคียง หรือ โรยประดับ สิ่งที่เห้นอยู่บ่อยๆคือคนมักเขี่ยหอมทิ้ง แต่ไอ้สิ่งที่เราเขี่ยทิ้งเนี่ยหลายคนจะรู้บ้างไหมว่ามันมีคุณค่าขนาดไหน

หอม สมุนไพรไทยหอมใหญ่  allium cepa linn.

หอมแดง allium ascalonicum linn.

สรรพคุณหรือประโยชน์ทางยา ตามตำรายาไทยช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

การศึกษาวิจัยพบว่า หัวหอมมีประโยชน์ดังนี้

                มีผลต่อการเพิ่ม high density lipoprotein (HDL) cholesterol หรือคอเรสเตอรอล ตัวดี

                มีผลต่อ low density lipoprotein (LDL) ลดลง หรือคอเรสเตอรอล ตัวร้าย

ลดปริมาณ cholesterol ในกระแสเลือด และยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ สารสำคัญที่สามารถละลายลิ่มเลือดที่จับตัวขัดขวางทางเดินโลหิตได้ คือ สารไซโคลอัลลิอิน

ขนาดและวิธีใช้

1. หอมหัวใหญ่ ใช้ครึ่งหัว

2. หอมแดง ใช้ 5-6 หัว

รับประทานทุกวัน อย่างน้อย สองเดือน จะรับประทานร่วมกับอาหารอื่นก็ได้ และที่สำคัญถ้าจะให้ผลดีต้องรับประทานสด เช่น เมี่ยงคำ ยำ น้ำพริก ผักแกล้ม เป็นต้น หลังจากที่ได้ทราบคุณค่าทางยาของหัวหอมแล้ว หวังว่าท่านคงจะไม่เขี่ยหอมออกนอกจานต่อไป