หญ้าคาสุดยอดวัชพืชสมุนไพรไทย ที่ไม่ไร้คุณค่า

 ขับปัสสาวะ, พืชสมุนไพร, ลดความดันโลหิต  ปิดความเห็น บน หญ้าคาสุดยอดวัชพืชสมุนไพรไทย ที่ไม่ไร้คุณค่า
ก.ย. 092014
 

สวัสดีเพื่อนๆเว็บ ไทยสมุนไพร.net ทุกท่านครับ  ช่วงนี้ฝนตกค่อนข้างบ่อย ถึงแม้จะไปไหนมาไหนลำบาก แต่ก็มีข้อดีคือช่วยลดอุณภูมิภายนอกให้เย็นสดชื่นได้ พืชพันธ์ต่างๆ ก็พากันเขียวชอุ่ม โดยเฉพาะพวกวัชพืชต่างๆก็ได้อานิสงค์ไปกับเขาfด้วยเช่นพวกหญ้าคา  ซึ่งทำให้อาจต้องเปลืองแรงถอนกันอีก แต่หลายๆท่านเองอาจคิดว่าหญ้าคา เป็นเพียงวัชพื้ชที่ไร้คุณค่า  โดยมีคนเคยให้ข้อมูลว่า หญ้าคาติดอันดับ1 ใน 10 ของวัชพืชที่แย่ที่สุดของโลกเลยทีเดียว  อะไรจะขนาดนั้น     แต่ความเป็นจริงแล้ว หญ้าคานั้นถือเป็นสมุนไพรไทย ที่ทรงคุณค่ามากมายทีเดียว  มารู้จักหญ้าคากันครับ

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา      Imperata cylindrica (L.) P.Beauv
  • ชื่อวงศ์                                        Poaceae หรือ Gramineae
  • ชืออื่นๆตามภูมิภาค                     คาหลวง , คา (ภาคกลาง) ลาแล , ลาลาง มลายู และ เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

หญ้าคา

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของหญ้าคา

มีเหง้าสีขาวแข็งอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงถึง15 – 20 เซนติเมตร มีกาบใบโอบหุ้มอยู่และริมกาบใบจะมีขน ตัวใบจะเรียวยาวประมาณ 1 – 2 เมตร กว้างประมาณ 4 – 18 มิลลิเมตร มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง เป็นช่อยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากการศึกษาทางวิสยาศาสตร์

เนื่องจากหญ้าคามีสารสำคัญอยู่หลายประการโดยเฉพาะในราก มีสารประกอบฟินอลิก (phenolic compounds),โครโมน (chrmones), ไตรเตอร์ปินอยด์ (triterpenoid), เซสควิทเตอร์ปินอยด์ (sesquiterpenoids), โพลีแซคคาไรด์โดยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติสำคัญดังนี้

  1. ต้านอักเสบ  สารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า ไซลินดอลเอ (cylindol A) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส                        (5-lipoxygenase) ซึ่งจะลดการสลายกรดไขมันอะแรกชิโดนิก (arachidonic acid) ที่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารก่ออักเสบ
  2. ต้านเลือดเหนียว  สารประกอบฟินอลิกที่มืชื่อว่า อิมพีรานีน (imperanene) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
  3. ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตสารประกอบฟินอลิกในกลุ่มลิกแนนที่มีชื่อว่า (graminone B) และเซสควิทเตอร์ปินอยด์ที่ชื่อว่าไซลินดรีน (cylindrene)  ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด (vasodilative activity) โดยพบว่าสามารถยับยั้งการหดรั้งของหลอดเลือดแดงในกระต่าย  ซึ่งคุณสมบัตินี้มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต ดั่งเช่นที่พบว่าสารสกัดจากหญ้าคาสามารถลดความดันโลหิตในหนูทดลองได้
  4. ปกป้องเซลล์สมองสารโครโมนที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากสารเคมีที่เป็นพิษ
  5.  เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันโพลีแซคคาไรด์ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  6.  ต้านจุลชีพ  มีการศึกษาสารสกัดจากใบและรากของหญ้าคาพบว่าสารที่สกัดได้ทั้งจากใบ และรากของหญ้าคามีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคได้ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย B. subtilis, P aeruginosa, E. coli, S. aureus และ ยีสต์ C. albicans(11)

ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณ

  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทยคือ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้น้ำดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  โดยใช้ 1 กำมือ (สด 40-50 กรัม หรือ แห้ง10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง  ก่อนอาหารครั้งละ 1ถ้วยชา(75 มล.)
  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีนคือ รสอมหวานเย็น มีฤทธิ์ห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ใช้รักษาอาการเลือดออกจากภาวะเลือดร้อน เช่น เลือดกำเดา   ไอ อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด และมีฤทธิ์ระบายความร้อน และขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะร้อนมีสีเข้ม  ใช้ 9-30 กรัม             ต้มเอาน้ำดื่ม

 

 

ธ.ค. 242013
 

ชาเป็นเครื่องดื่มที่คุ้นเคยกันทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราเอง  นอกจากใบชาตรงๆแล้วนั้นมีการนำสมุนไพรหลายชนิด ทั้งสมุนไพรไทย และ สมุนไพรจีนมาชงในลักษณะของชา  ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือเป็นชาที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน ส่วนคุณประโยชน์ก็หลากหลายตามชนิดและประเภทของชา วันนี้ทางเว็บไทยสมุนไพร.net จึงขอนำเสนอ 10 สุดยอดชาสมุนไพรมาท่านทุกท่านได้รู้จักกัน

ชาใบเตย1.ชาใบเตย  สำหรับสรรพคุณของชาใบเตย  ได้แก่บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ  ชาใบเตย ทำจากใบเตยหอม อบแห้ง บดเป็นผง มี สีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจใบเตยมีคุณสมบัติหลักๆ ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้กลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดี เป็น Aroma therapy อีกรูปแบบหนึ่ง

2.ชามะตูม สรรพคุณตามตำราคือ บางตำราบอกเพิ่มสมรถภาพทางเพศ  บำรุงสุขภาพ ทำจากผลมะตูมแก่ บดเป็นผง ให้น้ำชาสีแดงออกน้ำตาล มีกลิ่นหอมหวานชวนดื่ม ส่วนใหญ่จะแต่งรสด้วยน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น มะตูมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ร้อนใน เป็นยาอายุวัฒนะชาขิง

3.ชาขิง จริงๆจะเรียกว่าน้ำขิงก็ไม่ผิดอะไรนัก แก้หวัด และช่วยย่อย  ทำจากเหง้าขิงแก่ ที่มีน้ำมันหอมระเหย  มีสรรพคุณทางร้อน ช่วยบรรเทาหวัด แก้คลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด

4.ชาใบฝรั่ง คุณสมบัติหลักคือดับกลิ่น ฆ่าเชื้อ ทำจากใบฝรั่งไทยอบให้แห้ง บดเป็นผง มีกลิ่นหอมชวนดื่ม มีคุณสมบัติดับกลิ่นปาก ฆ่าเชื้อในปากและคอ เหมาะที่จะรับประทานหลังอาหาร สามารถที่จะใช้ชาใบฝรั่งระงับอาการท้องเสีย (ในรายที่ไม่มีไข้) แต่ต้องชงอย่างเข้มข้นกว่าปกติ

5.ชาหญ้าหนวดแมว สรพพคุณหลักคือขับปัสสาวะ  ตอนนี้คนรู้จักพืชชนิดนี้มากขึ้น  สำหรับชานี้ทำจากหญ้าหนวดแมวอบแห้งบด มีรสคล้าย ๆ ใบชา มีคุณสมบัติขับปัสสาวะ ขับนิ่วก้อนเล็ก ๆ มีคุณสมบัติขับกรดยูริค เหมาะกับคนที่เป็นต่อมลูกหมากโต คนที่เป็นนิ่วก้อนเล็ก ๆ ชวยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน มีโปรแตสเสียมสูง ระวังการใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ

6.ชาตะไคร้ สามารถช่วยขับลม ช่วยย่อย  ทำจากต้นและใบตะไคร้อบให้แห้งแล้วบด ตะไคร้จะมีกลิ่นหอม ช่วยย่อยชาตะไคร้อาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและมีรายงานการทดลองพบว่า ตะไคร้นั้นมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้อีกด้วย

7.ชาชุมเห็ดเทศ มีคุณสมบัติเป็นยาระบายท้อง ได้จากใบชุมเห็ดเทศคั่วให้แห้ง  แล้วบดเป็นผง ให้น้ำชาเป็นสีน้ำตาลมีกลิ่นหอมของใบไม้คั่ว มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แต่หากดื่มเป็นประจำร่างกายก็อาจดื้อยาได้ ควรหาวิธีอืนในการสร้างนิสัยการถ่ายให้เป็นประจำโดยวิธีอื่นด้วย

ชาดดอกคำฝอย8.ชาดอกคำฝอย ลดไขมันในเลือด  สามรถหาซื้อได้ทั่วไป โดยทำจากดอกคำฝอย ลักษณะสีของชา มีสีแดงชวนดื่ม กลิ่นหอมชื่นใจ มีคุณสมบัติลดไขมันในเส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงเลือดสตรี ขับระดู ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนไม่ปกติ

9.ชารางจืด สามรถกำจัดพิษ และล้างสารพิษ  ทำจากใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้ง หอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ ที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ชารางจืดไม่มีพิษดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน

10.ชากระเจี๊ยบ สามารถช่วยขับปัสสาวะไขมันในเลือด ได้มาจากดอกของกระเจี๊ยบแดง มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ชากระเจี๊ยบมีสีแดง รสเปรี้ยวมักเติมน้ำตาลเพื่อแต่งรส

ขอบคุณข้อมุลจาก เว็บไซต์นิสิตมหาลัยนเรศวร

ก.ย. 152013
 

ใบหม่อน เมื่อได้ยินครั้งแรกคุณนึกถึงอะไร แน่นอนเมื่อสมัยก่อนคนอาจนึกถึงใบของพืชชนิดชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้เลี้ยงดักแด้ของหนอนไหม แล้วสมัยนี้ล่ะเขานึกถึงอะไรกัน แน่นอนคันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ชาใบหม่อนชาสมุนไพรไทยนั่นเองนั่นเอง ก่อนที่จะพูดถึงชา เรามาพูดถึงต้นหม่อนกันก่อน

ชื่อสมุนไพร          หม่อน  หรือ mulberry (สังเกตฝรั่งเห็นอะไรเป็นลูกๆเป็นพวงๆ เขาเล่นเรียก berry หมด)
ชื่ออื่นๆ                 มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)   ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก ซิวเอียะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn.  ชื่อวงศ์  Moraceae
ใบหม่อนลักษณะของต้นหม่อน

  • ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
  • ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์   ผิวใบสาก  ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน
  • ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก
  • ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

หม่อน  นอกจากจะเป็นอาหารตามธรรมชาติ เพียงชนิดเดียวของหนอนไหมแล้ว เรายังสามารถ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรสเพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร (นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากหลีกเลี่ยงผงชูรส )หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ  และยังพบอีกว่าหากนำใบหม่อนให้วัวและควายกินสามรถทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้

คุณค่าทางด้านสมุนไพรของใบหม่อน

หลักๆเลยในใบหม่อนนั้นจะมีสารตามธรรมชาติอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยที่ แตกต่างกัน คือ

1.  สารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้เองมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

2. กาบา  (GABA) หรือชื่อเต็มๆคือ gamma amino butyric acid ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

3. สารฟายโตสเตอรอล  (Phytosterol) ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล

4. แร่ธาตุ และวิตามิน อื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก  สังกะสี  วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโนหลายชนิด

5. สารเควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol) ซึ่งเป็นสารกลุ่ม  ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก  ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี  และหลอดเลือดแข็งแรง  ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งเต้านม  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว

6.สารโพลีฟีนอลโดยรวม  (polyphenols) ซึ่งมีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย (ลองอ่านดูเรื่องเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่ลิงค์นี้นะครับ สารต้านอนุมูลอิสระ

การชงชาใบหม่อนให้ได้คุณค่า

ชาใบหม่อน

จริงก็ไม่มีอะไรมากครับ  โดยที่ให้เราชงด้วยน้ำร้อน 80 – 90 องศาเซลเซียส (กะเอาได้ครับคือหลังจากเดือดแล้วทิ้งไว้สักครู่)   จะรักษาปริมาณสารออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด แล้วทิ้งไว้ นานอย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม จะได้คุณค่าทางโภชนาการและเภสัชวิทยา

เป็นไงบ้างครับ สำหรับเรื่องดีๆที่นำมาอ่านกันอย่าลื่มลองหาชาใบหม่อน ชาสมุนไพร แบบไทยๆมาทานกันดูบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความจาก คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม และ ฐานข้อมูลสมุนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธ.ค. 182012
 

ส่วนใหญ่พืชที่เรานำมาทำสมุนไพร คนจะนึกถึงพืชล้มลุก ต้นเล็กๆ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่สมุนไพรไทยบางอย่างก็อาจเป็นต้นไม้ใหญ่ได้เช่นกัน อย่างเช่นในวันนี้สมุนไพรไทยที่เราจะพูดถึงกันก้จัดเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีชื่อว่า อินทนิล นั่นเอง

อินทนิลชื่อทางวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.

ชื่อโดยทั่วไป:   Queen’s crape myrtle , Pride of India (ชื่อนี้บอกถิ่นที่มาของพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี)

ชื่อวงศ์ :   LYTHRACEAE

ชื่อตามภูมิภาค :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)

ลักษณะของต้นอินทนิล: 

  • ลำต้น  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะค่อยๆตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น  ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือบางทีเป้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
  • ดอก ดอกของอินทนิลจะมีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต มีความสวยงามตามะรรมชาติ ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.  เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

  1. ใบอินทนิล มีรสจืด-ขมฝาดเย็น ใช้ต้มหรือชงกับน้ำร้อน ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการเบาหวาน ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
  2. เปลือก  มีรสฝาดขม ต้มกับน้ำรับประทานแก้ไข้และแก้ท้องเสีย
  3. เมล็ด    มีรสขม แก้ดรคเบาหวาน ช่วยให้นอนหลับสบาย
  4. แก่น     มีรสขมใช้ต้มดื่ม รักาาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
  5. ราก      มีรสขม ใช้รักาาโรคแผลในปาก

ขอบคุณข้อมูลจาก เว้บ สมุนไพร 200 ชนิด(สมเด็จพระเทพ),หนังสือสมุนไพรใกล้ตัวตู้ยาข้างบ้าน ภาพจากเว็บ skyscrapercity

พ.ย. 202012
 

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบทานน้ำพริกกะปิมาก ด้วยรสชาติที่อร่อย และสามารถทานกับอาหารได้หลายอย่าง อาทิเช่น ปลาทู ไข่เจียว หรือถ้าเป็นผักก็ทานได้หลายชนิด แต่มีผักอยู่ชนิดหนึ่งที่เรียกได้ว่าขาดกันไม่ได้เลย นั่นก็คือ มะเขือยาวพระเอกของเรื่องในวันนี้นั่นเอง (คงพอนึกภาพออกนะครับที่ก่อนทานเขาจะนำมะเขือยาวไปชุบกับไข่ทอดให้เหลืองฟู ไว้ทานกับน้ำพริกกะปิ ) สำหรับคุณค่าของมะเขือยาวนั้นนับว่ามีอยู่มากทีเดียวทั้งด้านโภชนาการและด้านสมุนไพร เรามารู้จักกับเจ้ามะเขือยาวไปพร้อมๆกันนะครับ

มะเขือยาวชื่อทางวิทยาศาสตร์    SO-LANUM MELONGENA LINN.

ชื่อวงศ์    SOLA-NACEAE

ลักษณะของมะเขือยาว

  • ลำต้น   มะเขือยาวจัดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ1 เมตร ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น กิ่งอ่อนมักมีขนละเอียดปกคลุมทั่วและมักมีหนามขนาดเล็ก
  • ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนนุ่ม ผิวใบสีเขียวสด
  • ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ 3-5 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแหลม ดอกเป็นสีม่วง กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อันอยู่ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรและอับเกสรเป็นสีเหลือง
  • ผล รูปกลมยาว มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ที่มาีผลเป็นสีเขียว กับ พันธุ์ที่ผลเป็นสีม่วง ผิวผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เวลาติดผลดกและผลยาวห้อยลงจะดูสวยงามทั้งสีเขียวและสีม่วง โดยมะเขือยาวเองจะติดผลตลอดปี เรียกว่าหากปลูกแล้วมีให้ทานตลอด

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

อย่างที่บอกไป ว่ามะเขือยาวมีคุรค่าทางโภชนาการหลายอย่าง เช่น คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย เส้นใยอาหาร ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  ฟอสฟอรัส ช่วยให้วิตามินบีต่าง ๆทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด  โพแทสเซียม ช่วยในเรื่องการควบคุมความดันโลหิต     นอกจากนั้นยังมี   วิตามินA วิตามิน B2 วิตามินC

ที่กล่าวไปข้างต้นเป้นแค่ส่วนหนึ่งนอกจากนั้น มะเขือยาวยังมีสารไกลโคอัลคาลอยด์ (Glycoalkaloid)  สารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า เทอร์ปิน (terpene) เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยรักษาหลอดเลือดหัวใจให้เป้นปรกติ ป้องกันโรคความดันโลหิตสุง ลดอาการบวม และช่วยขับปัสสาวะได้

สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของมะเขือยาว

ลำต้นและราก แก้บิดเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด* แผลอักเสบ

ใบ แก้ปัสสาวะขัด  พอกแผลบวมเป็นหนอง

ผลแห้ง ทำเป็นยาเม็ดกินแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้* ขับเสมหะ ผลสด ตำพอกแผลอักเสบมีหนอง

ขั้วผลแห้ง เผาเป็นเถ้าบดให้ละเอียดกินเป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้*

*สำหรับอาการอุจจาระมีเลือดปนมีสาเหตุการเกิดได้หลายสาเหตุ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ

ทั้งหมดนี้คือคุณค่าดีๆของพืชผักสมุนไพร ที่ชื่อว่ามะเขือยาว ที่เรานำมาฝากกัน ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.(สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) ,หนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

 

 

พ.ย. 172012
 

ถ้าหลายคนติดตามเว็บนี้มาเป็นประจำคงจำกันได้นะครับ ว่าผมเคยเขียนเรื่องกระเจี๊ยบไว้ในตอน “กระเจี๊ยบ สมุนไพรสีสดใส รสชาติถูกใจ“แต่กระเจี๊ยบที่ผมพูดถึงในตอนนั้นคือกระเจี๊ยบแดง ซึ่งส่วนใหญ่คนมักจะนำไปเป็นเครื่องดื่ม แต่ยังมีกระเจี๊ยบอีกชนิดหนึ่งที่ผมยังไม่ได้พูดถึงนั่นคือกระเจี๊ยบเขียว นั่นเอง สำหรับกระเจี๊ยบเขียวในบ้านเราจะนิยมนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก เชื่อว่าหลายคนก็คงก็เคยทาน ตามตลาดร้านที่ขายน้ำพริกผักลวกก็มีให้เห็นบ่อยๆ ยังไงก็ลองหาทานกันดูนะครับ เพราะนอกจากรสชาติจะดีแล้ว ยังมีสรรพคุณด้านสมุนไพรอีกมากเลยทีเดียว ก่อนที่จะบอกว่ากระเจี๊ยบเขียวมีสรรพคุณอะไร ขอแนะนำชื่อเสียงเรียงนามและลักษณะของพืชชนิดนี้ก่อนนะครับกระเจี๊ยบเขียว

ชื่อทั่วไป  กระเจี๊ยบเขียว หรือ  Lady ‘ s Finger (แปลตรงตัวคือเล็บมือนางนั่นเอง แต่ต้นเล็บมือนางของไทยเป็นอีกต้นหนึ่งนะครับ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus Moench.

ชื่อวงศ์   MALVACEAE

ชื่ออื่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว

 ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

  • ลำต้น  มีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2  เมตร
  • ใบ       ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ
  • ดอก   มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด
  • ฝัก      คล้ายนิ้วมือผู้หญิง (ดังชื่อในภาษาอังกฤษ) ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

การนำกระเจี๊ยบเขียวไปประกอบอาหาร

กระเจี๊ยบเขียวนอกจากใช้ลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก ยังใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด  เช่น  แกงส้ม  แกงใส่ปลาย่าง  สุดแต่จะนำไปประยุกต์ สำหรับคนไม่เคย รับประทาน กระเจี๊ยบเขียว อาจจะรับประทานได้ยากกันสักหน่อย  เพราะ ฝักของมัน ข้างในจะมี ยางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ แต่ทานบ่อยๆจะชินเอง คนสมัยก่อนนิยมเอาไป ต้ม หรือ ต้มราดกะทิสด (การราดกระทิสดบนผักเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งในการดึงวิตามินที่ละลายในไขมันได้ให้ออกมาจากผักให้ร่างกายดูดซึมให้ใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น) กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมากๆ ลองทานดูได้นะครับ

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสรรพคุณด้านสมุนไพรในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้  รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย15วัน(แต่ข้อนี้ผมแนะนำให้ใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่า)

นอกจากนั้นยังมีสูตรการทานกระเจี๊ยบเขียวเป็นยาสมุนไพรต่างๆดังนี้

รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
รับประทาน 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
รับประทาน 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
รับประทาน 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
รับประทาน 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง

คุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบเขียว    

กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย  มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรภ์

 

 

ต.ค. 162012
 

พูดถึงมะยม แค่พูดชื่อก็เปรี้ยวจี๊ดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้จี๊ดแค่ชื่อ สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยยังจัดว่าจ๊๊ดอีกด้วย (จี๊ด เป็นศัพท์วัยรุ่นนะครับ สำหรับท่านที่ไม่ทันเช่นผม จี๊ดมีความหมายประมาณว่าสุดๆไปเลย อะไรทำนองนี้) และด้วยความที่มะยมเป็นของหาง่าย ปลูกง่าย มะยมจึงจัดว่าเป็นพืชยอดนิยมเหมือนชื่อของมัน วันนี้เองผมจึงอยากแนะนำให้รู้ทุกท่านได้รู้จักมะยมกัน อย่างชนิดที่เรียกว่าหมดเปลือก(จริงๆมะยมก็ไม่มีเปลือก) มาดูว่าสรรพคุณของมันมีมากน้อยเพียงใด จี๊ด ดังที่ผมกล่าวไว้ในตอนแรกหรือเปล่า

ชื่อต่าง ๆ ของมะยม

มะยมชื่อโดยทั่วไป  มะยม  Star gooseberry  สังเกตุชื่อในภาษาอังกฤษตรงคำว่าเบอร์รี่ (berry)  ฝรั่งนี่ก็แปลกเห็นอะไรลูกเล็กๆ เล่นเรียก เบอร์รี่ ไปหมดทุกลูก

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Phyllanthus acidus Skeels

ชื่ออื่นๆตามท้องถิ่น    หมากยม (ภาคอิสาน)    ยม  (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไปของต้นมะยม

  • ลำต้น มะยมเป็นไม้ยืนต้น แบบต้นเตี๊ยหน่อย ก้สักสามเมตร แบบสูงสุดเท่าที่เคยเห็น ก็เกือบสิบเมตรได้ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงปลายยอด กิ่งมะยมค่อนข้างเปราะ และแตกง่าย เปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบมะยม ใบของมะยมเป็นใบย่อย ออกเรียงแบบสลับกันเป็นสองแถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ขอบใบเรียบ (ยังจำก้านมะยมได้ไหม ตอนเด็กๆใครเคยโดนมั่ง)
  • ดอก ดอกมะยมออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยจะมีสีเหลืองอมน้้าตาล
  • ผลมะยม หรือลูกมะยม จะออกเป็นช่อตามกิ่ง เมื่ออ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือขาวแกมเหลือง หลุดจากช่อได้ง่าย

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะยม

  • รากของมะยม  ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ซับน้ำเหลืองจากแผลให้แห้ง ดับพิษเสมหะ แก้ประดง*

* เพิ่มเติมข้อมูล โรคประดง คือ โรคผื่นคันตามผิวหนังหรือที่เรียกกันติดปากว่า “โรคประดง” ลักษณะของผื่น มีหลายแบบ เช่นอาจขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ คล้ายยุงกัดทั่วตัว หรือเป็นผื่นแดงเล็กๆ หรือขึ้นเป็นทางตามตัว  ผื่นเม็ดเล็กสีค่อนข้างขาว   หรือผื่นขึ้นคล้ายลมพิษ   (ข้อมูลจาก http://www.numsai.com)

  • เปลือกของลำต้น  ใช้แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ (สองอาการนี้น่าจะต่างกันที่ลำดับก่อนหลัง ของรอบเดือน และอาการไข้)และ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบ  ใช้ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท โดยต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย และใบมะเฟือง อาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคตา ชำระล้างดวงตา (สูตรนี้ไม่แนะนำนะครับ เรื่องของดวงตา อยากให้รักษาด้วยแผนปัจจุบันมากกว่า แต่ลงพอให้ทราบว่าว่าตำรายาสมุนไพรไทยสมัยก่อน เขามีสูตรนี้)
  • ผล ใช้กัดเสมหะ (ขับเสมหะ )แก้ไอ บำรุงโลหิต และเป็นยาระบาย

สูตรยาสมุนไพรไทยจากมะยม

  1. สูตรยาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ใช้ราก 1000 กรัม หรือ 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร โดยต้มให้เดือด 5-10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นใช้แช่อาบ (จะแช่ในกะละมัง หรืออ่างจากุ๊ดชี่ก็ตามสะดวก) ทำควบคู่ไปกับใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาวันละ 2-3 ครั้ง
  2. สูตรยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ ใช้ผลแก่ดองในน้ำเชื่อม (น้ำ 1ส่วนน้ำตาล 3 ส่วน) ดองจนครบสามวัน ทะยอยทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. สูตรยาลดความดันโลหิต ใช้ใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วม เติมน้ำตาลเล็กน้อยพอดับเฝื่อน ต้มให้เดือนาน 5 นาที แล้วดื่มควบคู่กับการวัดความดันไปด้วย เมื่อความดันเป็นปรกติ ต้องหยุดทาน  (เรื่องความดันโลหิตเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง ผมอยากให้สูตรนี้เป็นทางเลือกในการรักษามากกว่า หากท่านใดกำลังรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ควรหยุดยาที่แพทย์จ่าย)

ข้อควรระวัง

น้ำยางจากเปลือกของรากมะยมมีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปอาจมีอาการปวดท้อง ปวดศรีษะ และง่วงซึม ต้องระวังเรื่องยางจากเปลือกรากให้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก   thai Wikipedia ,หนังสือ สมุนไพรก้นครัว กินแล้วไม่ป่วย ภาพประกอบจาก biogang

ต.ค. 112012
 

ชะพลู คิดว่าคนที่เคยทานเมี่ยง แหนมคลุก คงรู้จักสมุนไพรไทยชนิดนี้กันดี ด้วยความหอมและรสชาติที่โดดเด่น เหมือนถูกดีไซน์มาไว้ทานกับอาหารพวกนี้โดยเฉพาะ ผมเองก็เป็นคงหนึ่งที่ชอบมาก (คิดแล้วน้ำลายไหล) แต่นอกจากรสชาติและความเข้ากันกับอาหารจำพวกเมี่ยงนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่คู่กันคือคุณค่าของชะพลู สมุนไพรไทยชนิดนี้มีดีตรงไหนบ้างเราลองมาดูกัน

ลักษณะของชะพลู

ชะพลูชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อวงศ์   Piperaceae

ชื่ออื่นๆ   ปูนก,ปูลิง (ทางภาคเหนือ)  ,ช้าพลู (ภาคกลาง) ,นมวา(ภาคใต้) และผักอีเลิศ (ทางอิสาน)

จะเห็นได้ว่าชะพลูมีชื่อเฉพาะ หรือชื่อท้องถิ่นอยู่แทบทุกภาค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชะพลู เป็นสมุนไพรไทยที่มีแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ  ชะพลูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก เป็นเถาไม้รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อ ที่พิเศษคือตามข้อจะมีราก ไว้ช่วยลำต้นยึดเกาะ

คุณค่าทางอาหารของชะพลู

ชะพลูนอกจากทานได้อร่อยแล้วนั้นยังมีคุณค่าทางอาหารอีกเพียบ เช่นแคลเซียมที่ช่วยบำรุงระบบกระดูก วิตามินเอที่สูงมากเป็นพิเศษ จึงบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี และยังมีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด  เส้นใยที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และยังมีสารครอโรฟิล*

*บางคนอาจบอกว่า ครอโรฟิลมีประโยชน์ยังไง เราไม่ใช่ต้นไม้สักหน่อย ไม่ต้องใช้สังเคราะห์แสง …จริงๆมันมีประโยชน์หลายอย่างนะครับ จากการศึกษาจะพบว่าสามารถช่วยลดการดูดซึมสารก่อมะเร็งของร่างกาย ทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลงได้ รวมถึงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ไว้มีโอกาศจะเขียนเรื่องครอโรฟิล แบบเจาะลึกนะครับ

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของชะพลู

ตามตำราสมุนไพรไทย บอกเอาไว้ว่าชะพลูมีสรรพคุณในการบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ขับลมในลำไส้ ลดความดันโลหิต และด้วยการที่ชะพลูมีรสเผ็ดร้อนจึงช่วยขับเสมหะได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู

จริงๆแล้ว มันก็จากประโยชน์ของมันนั่นแหละ ก็ด้วยการที่ชะพลูมีแคลเซียมสูง หากเราทานจำนวนมาก และติดต่อกันนานนาน จะทำให้แคลเซียมสะสม กลายเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งอาจทำให้เป็นนิ่วในไตได้ แต่หากเราทานพอดีพอดี เช่นอาทิตย์นึงทานครั้ง หรือทานบ่อย ๆแต่ทานครั้งละไม่กี่ใบ และทานร่วมกับอาหารอื่นจะทำให้เราได้ใช้แคลเซียมจากชะพลูได้อย่างเต็มที่ และไม่เป็นโทษต่อร่างกาย (ทุกอย่างต้องอยู่บนเส้นทางของความพอดี)

 

ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ก.ย. 202012
 

กระเทียม สมุนไพรไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีภาพวาดหัวกระเทียมปรากฏบนโลงศพมัมมี่อียิปต์ ประมาณ 3,200 ปีก่อนพระคริสต์ มีการขุดค้นพบกระเทียมฝังเป็นแนวรอบมหาราชวัง knosos  ในกรีซ และในปอมเปอี

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าใช้กระเทียมเพื่อรักษา

  • · อาการปวดศีรษะ เจ็บคอ บำรุงร่างกายที่อ่อนแอ
    • · กระเทียมช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
    • · ตำราจีนและญี่ปุ่น ใช้กระเทียมช่วยลดความดัน
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กระเทียมได้รับการยอมรับในการรักษาโรคไทฟัสและโรคบิด
    • · ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แพทย์ชาวอังกฤษ รักษาแผลสด  เป็นยาฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ตามตำรายาไทยหลายเล่มยังได้ระบุสรรพคุณและประโยชน์ทางยาของกระเทียมได้หลายอย่าง

  • · ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
  • · ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • · ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ

กระเทียม allium sativum linn.

สารสำคัญ

ในหัวกระเทียมสดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.1-0.4 % มีสารสำคัญ ที่มีกำมะถันหลายชนิดเช่น alliin, allicin, diallyl disulfide, methyl n-propyl disulfide นอกจากนี้แล้วยังมีกรดกำมะถัน เช่น d-glutamyl-s-methylcysteine ส่วนกลิ่นของกระเทียมเกิดจาการย่อย allylcystein sulfoxide หรือ alliin ซึ่งไม่มีกลิ่นให้เป็นสาร allylthiosulfinote หรือ allicin ด้วยเอนไซม์  allinase

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

จากการทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่ากระเทียมสามารถลดปริมาณของ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้

ส่วนการทดลองทางคลินิก พบว่า เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม กับคนปกติและคนไข้โรคหัวใจที่มีระดับ Cholesterol สูง ในขนาดที่ได้ 0.25 mg /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 เดือน พบว่าระดับ Cholesterol ในเลือดลดลง และเมื่อใช้กระเทียมสดกับคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขาด 25 กรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 25 วัน พบว่า 1ใน 3 ของคนไข้ที่มีระดับ Cholesterol สูง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีก 2 ใน 3 ลดลงปกติ สารที่มีฤทธิ์ในการลด Cholesterol คือ allicin กระเทียมกับการลดความดันโลหิต

พบว่าสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95 % จากหัวกระเทียมสามารถลดความดันในคนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงได้

กระเทียมกับการลดน้ำตาลในเลือด

จากผลการทดลองในสัตว์ทดลอง โดยการให้สารสกัดกระเทียมด้วย แอลกอฮอล์ให้กับกระต่ายที่ถูกทำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan โดยให้ในขนาด 0.25 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อเทียบกับยา tolbutamide ส่วนสาร allicin มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้พอ ๆ กับ tolbutamide

กระเทียมยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

น้ำคั้นกระเทียมและกระเทียมผงมีผลต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด รวมทั้งเชื้อ klebsiella pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม และเชื้อ mycobaerium tuberculosis อันเป็นสาเหตุของโรควัณโรค สารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อดังกล่าว คือ สารจำพวกซัลไฟด์ (sulfide) ซึ่งได้แก่ allicin, scordinin และ scordinin A

กระเทียมกับ HIV

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งไม่พบในกระเทียมสด แต่จะพบในกระเทียมที่หมักในน้ำมัน สาร ajoene สามารถป้องกัน CD4  Cell จากการติดเชื้อ HIV และยังช่วยลดการสร้างไวรัสตัวใหม่ในเซลล์ที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

ใช้กระเทียมอย่างไร  ในชีวิตเราจะใช้กระเทียมในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกกะปิ ผัดผัก ผักแกล้มหมูทอดกระเทียม ส้มตำ ฯลฯ แม้แต่เรากินข้าวขาหมูยังมีกระเทียมเป็นผักแกล้ม ถ้าจะอธิบายเป็นแบบสมัยใหม่น่าจะอธิบายได้ว่า เพราะข้าวขาหมูมีไขมันสูง ถ้าเรากินกับกระเทียม เข้าใจว่าจะช่วยลดไขมันที่เรากินไปได้ เราจะกินกระเทียมให้ได้คุณค่าของกระเทียมสูงควรจะใช้

“กระเทียมสด ดีที่สุด”

“กระเทียมไทย ให้ผลสูงสุด”

ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักต่อหนึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 10-15 กลีบต่อวัน)

นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้ โดยนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง 5-10 วัน อาการจะดีขึ้นและทาต่อจนกว่าจะหาย

ก.ย. 202012
 

หากจะพูดถึงสะเดา หลายคนคงจะนึกถึงรสชาติที่สุดแสนจะขมของมัน แต่ สรรพคุณทางสมุนไพร ของสะเดามีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

สะเดา สมุนไพรไทยชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. วงศ์ Lythraceae

ชื่ออังกฤษ Siamese neem tree.

ชื่อท้องถิ่น สะเดา (กลาง) สะเลียม (เหนือ) กะเดา (ใต้) จะตัง (ส่วย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตรใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปใบหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยฐานใบไม่เท่ากัน ใบย่อย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง จะออกดอกเมื่อใบแก่ร่วงไป กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสดรูปรี กลม ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

สะเดาเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง ทุกส่วนของสะเดามีรดขม ยอดใบสะเดาใช้เป็นผักจิ้มได้ เปลือกต้นใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ยาฝาดสมาน ใบใช้เป็นยารักษาไข้มาเลเรีย น้ำมันจากเมล็ดใช้รักษาโรคผิวหนัง ผสมเป็นยาทา แก้โรครูมาติซั่มและใช้เป็นยาขับพยาธิ กากเมล็ดนำไปแช่น้ำเป็นยาฆ่าแมลงได้

ทำให้ฟันแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

คนท้องถิ่นอินเดียใช้สะเดาสีฟันมานาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็จะเดนมาหักกิ่งสะเดาแล้วก็สีฟัน กิ่งสะเดานอกจากช่วยทำความสะอาดแล้วยังช่วยบำรุงรักษาฟันและเหงือกให้แข็งแรงด้วย กิ่งสะเดามีรสขม จึงควรเลือกกิ่งเล็ก ๆ กัดทีละนิดให้รสขม ออกมาทีละน้อย ใช้กิ่งยาวขนาดเท่าแปรง นำมาถูฟัน ถูไปถูมาจนขนแปรงหลุด แล้วขบใหม่ นอกจากกิ่งสะเดาแล้ว เปลือกต้นสะเดาก็ทำแปรงสีฟันได้ โดยใช้เปลือกสะเดายาว 2-3 นิ้วขูดเอาเปลือกนอกดำ ๆ ออก ทุบปลายให้แตก ใช้ส่วนปลายอ่อนถูฟัน ใช้แล้วฟันจะแข็งแรงขาวสะอาดเป็นเงางาม

สารสำคัญ

ใบ มี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ใน เมล็ด มี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% เปลือกต้น มีสาร nimbin และ desacetylnimbin

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้กับคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากสะเดาจะไปลดความดันให้ต่ำลงมาอีก ทำให้หน้ามืดเป็นลม
  2. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น บางคนอาจไม่ถูกกับบาเย็นทำให้ท้องอืดเกิดลมในกระเพาะ
  3. ห้ามใช้กับหญิงที่ให้นมบุตร เพราะจะทำให้น้ำนมไม่มี