ต.ค. 082012
 

วันนี้เพิ่มอีกหนึ่งเรื่อง คราวนี้ขอพูดถึงเรื่องผักบ้าง แถมเป็นผักที่พบเห็นได้ง่ายๆ ชนิดว่าคงไม่มีใครไม่เคยทาน เอาง่ายๆเดินไปซื้อลูกชิ้น เชื่อไหม 6ใน10 ร้านต้องมีผักชนิดนี้แถมให้ (ไม่ได้วิจัยจริงๆจังๆนะครับแค่จากประสบการณ์ บางทีอาจมี แตงกวา บ้างก็ว่ากันไป)นั่นก็คือกะหล่ำปลีนั่นเอง เขียนให้ถูกนะครับ”กะหล่ำปลี” ไม่ใช่ “กะหล่ำปี ” กะหล่ำที่พบตามท้องตลาด โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่สองสี คือแดงกับเหลือง เอ๊ยเขียวกับม่วงในบทความนี้จะเน้นที่กะหล่ำปลีธรรมดา หรือกะหล่ำปลีสีเขียวก่อน ไว้มีโอกาศจะเล่าถึงกะหล่ำปลีสีม่วง หรือกะหล่ำปลีม่วงถ้าโอกาศเอื้ออำนวย

คุณค่าของกะหล่ำปลี 

กะหล่ำปลี ลักษณะใบของกะหล่ำปลี หรือที่คนชอบเรียก ดอกกะหล่ำนอกจากนำมากินเป็นผักสด หรือประกอบอาหารแล้ว ในคุณค่าความเป็นสมุนไพรไทยของมันยังมีอีกเพียบ ขอแยกเป็นข้อๆปล้องๆดังนี้

1.มีวิตามินซีสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่า กะหล่ำปลีสีเขียว จะสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้สูงถึงร้อยละหกสิบหก ( 66 เปอร์เซ็นต์)อีกด้วย และนอกจากนี้วิตามินซียังสามรถป้องกันโรค เลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหารและล้างสารพิษ

2.มีใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง จะช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร กระตุ้นลำไส้ใหญ่ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

3.มีกรดทาร์ทาริก *ช่วยยับยั้งไม่ให้แป้งและน้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เปลี่ยนกลายเป็นไขมันส่วนเกิน สะสมอยู่ตามร่างกาย จึงเหมาะมากๆกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

*เพิ่มเติมข้อมุลนิดนึงนะครับ กรดตาร์ตาริก (tartaric acid) คือ กรดอินทรีย์ (organic acid) พบตามธรรมชาติในผักผลไม้ และเป็นกรดที่พบในไวน์  มีสูตรทางเคมีคือ  C4H6O6  อยู่ในรูป L-Tartaric acid อาจเรียกว่า L-2-3-Dihydroxysuecinic acid หรือ L-2,3-Dihydroxybutanedioic (ข้อมูลจากจากสารานุกรมอาหาร)

4.อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่ทีส่วนสำคัญในเรื่องของการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งยิ่งแก่ตัวไป หรือเด็กๆ ยิ่งจำเป็นมากๆ

5.กะหล่ำมีสารซัลเฟอร์ สารตัวนี้จะช่วยระงับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้นอนหลับดีขึ้นนั่นเอง

6.กะหล่ำปลีมีสารต้านการอักเสบ ของแผลในกระเพาะ และลำไส้ ช่วยกระตุ้นให้เซซล์ที่ทำหน้าที่บุเยื่อกระเพาะสร้างสารคัดหลั่งเพื่อช่วยเคลือบผิวทางเดินอาหาร จึงป้องกันโรคกระเพาะและลำไส้ได้ ไม่แปลกเลยที่ส้มตำเผ็ดๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดคนโบราณจึงให้นิยมทานกับกะหล่ำ

7.สำหรับสาวๆกะหล่ำปลี สามารถบรรเทาอาการปวดคัดตึงเต้านมได้อีกด้วย โดยใช้กะหล่ำปลีมาประคบเต้านมข้างละใบ (คิดว่าคงพอเพียงกับขนาดหญิงไทยมาตรฐาน) และใช้ผ้าพันไว้ 20 โดยไม่ต้องนวดคลึงอาคารปวดบวมคัดตึงจะหายไปเอง

การนำไปใช้

จริงๆในหัวข้อนี้ผมคงไม่ต้องลงรายละเอียดมากเพราะกะหล่ำเองนำไปบริโภคได้ทุกส่วนอยู่แล้ว ตั้งแต่ใบ กาบใบ สามรถเอามาทำอาหารหลายชนิด ขอยกตัวอย่างเช่น กะหลำปลีผัดกับหมู ต้มจืด บะช่อหมูสับ กะหล่ำยัดไส้ (น้ำยายไหล) หรือถ้าไม่ประกอบอาหารจะทานสดๆก็ไม่พรบ.หรือรัฐธรรมนูญมาตราใด เช่นนำมากินแกล้มกับลาบ ส้มตำ ลูกชิ้นปิ้งได้หมด หรือจะนึ่งจิ้มน้ำพริก ทานกับปลานึ่งอันนี้ก็แจ๋ว

ข้อควรระวังในการใช้กะหล่ำปลี

เวลาที่เราซื้อกะหล่ำมาจากตลาด แน่นอนผักออแกนิค(ปลอดสารพิษ) มันไม่ได้ขายกันทุกตลาดฉะนั้นทางที่ดีที่สุด ล้างให้สะอาดก่อนเพราะลักษณะของกะหล่ำปลีอาจจะทำให้เก็บยาฆ่าแมลงไว้ได้มาก อาจใช้น้ำผสมเกลือหรือน้ำช้มสายชูล้าง จะทำให้ชำระล้างสารพิษได้มาก

ทานกะหล่ำปลีให้อร่อยนะครับทานเผื่อผมด้วย ไว้คราวหลังจะนำเรื่องพืชผักสมุนไพรไทยดีๆมาฝากอีก

ขอบคุณหนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง สำหรับข้อมูล

 

 

ต.ค. 082012
 

อาการปวดฟันนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกทรมานมาก ใตรที่เคยปวดย่อมรู้ดี เว็บสมุนไพรไทยเองขอแนะนำสมุนไพรไทย ชนิดหนึ่ง ที่จะสามารถช่วยบรรเทาเบาบาง อาการปวดฟันได้ (ก่อนที่จะไปหาหมอฟันเพื่อจัดการกับต้นเหตุต่อไป ) สมุนไพรที่เราจะมาแนะนำในวันนี้คือ กานพลู

มารู้จักกับกานพลูกันก่อน

กานพลู รูปดอกกานพลู สมุนไพรไทย ที่สามารถระงับอาการปวดฟันได้ชื่อโดยทั่วไป : กานพลู หรือ clove tree

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :SyZagium aromaticum

ชื่ออื่นๆ :  จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะ โดยทั่วไปของกานพลู

ลำต้น เป้นไม้ยืนต้น ทรงพุม มีกิ่งก้านสาขามาก สูง 9-20 เมตร ลำต้นตั้งตรง

ใบ   มีใบเดียว เรียงตรงข้าม แตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน

ดอกและผล    ช่อดอกออกที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกกานพลูมีน้ำมัน ซึ่งมีกลิ่นหอมและรสค่อนข้างเผ็ดร้อน เมื่อมีผลจะออกเป็นรูปกรวยยาว

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของกานพลู

ดอกกลานพลู  นอกจากเรื่องของบรรเทาอาการปวดฟันดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น กานพลูเองยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมาก  โดยเฉพาะส่วนที่เป็นดอกของกานพลู หากยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออกจะมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก มีรสเผ็ด สรรพคุณคือ แก้รำมะนาด และยังสามารถแก้ปัญหากลิ่นปากได้อย่างชะงัด  ใครดื่มสุรามาสามรถใช้ดับกลิ่นได้ (ป้องกันคุณแม่บ้านจับได้เป้นอย่างดี  แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความเนียนของแต่ละคนด้วย ) และสำคัญที่สุดคือ บรรเทาอาการปวดฟัน    เรียกได้ว่าสรรพคุณในด้านเหงือกและฟันค่อนค้างครบวงจรเลยทีเดียว  นอกจากนั้นด้านอื่นยังมีในเรื่องของ  บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และขัมลม แก้ไอ แก้โรคเหน็บชา ขับเสมหะได้ สามรถแก้ท้องเสียในเด็ก

ผลกานพลู  ผลการพลู  ใช้เป็นเครื่องเทศได้เป้นอย่างดี ช่วยเพิ่มความหอมให้กับอาหารได้

น้ำมันหอมระเหยจากการพลู หากสะกัดเอาน้ำมันหอมระเหยออกมา เฉพาะตัวน้ำมันหอมระเหย จะมีสรรพคุณ ในการเป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรมได้ เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา ใช้ป็นยาขับลม และ แก้ปวดท้อง

สูตรยาสมุนไพรไทยจากกานพลู 

ได้อ่านสรรพคุณกันไปแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำยาจากกานพลูกันบ้างว่ามีวิธีการทำอย่างไร

 สูตรยาช่วยระงับอาการปวดฟัน  ใช้ไม้พันสำลี หรือ คัตเติลบัต ชุบน้ำมันกานพลูนำไปหยด 4 -5 หยด ในรูฟันที่ปวด หรือใช้ชุบสำลี เคียวไว้ในปากบริเวณที่ปวด

สูตรยากำจัดกลิ่นปาก ให้อมดอกกานพลูไว้ 2-3 ดอกสัก 1-2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง

สูตรยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม  สำหรับผู้ใหญ่ใช้ดอกกานพลู 5-8 ดอก นำมาต้มหรือบดให้เป็นผงรับประทาน ในกรณีที่เป็นเด็ก ใช้ดอกกานพลู 3 ดอก ทุบให้แตกแช่ในน้ำเดือด ชงนมผสมประมาณ 750 cc ให้เด็กดื่ม

ทั้งหมดนี้เป็นสุตรยาสมุนไพรไทยจากการพลู ลองเอาไปทำดูได้นะครับ สุดท้ายยังไม่หมด เรามีสูตรชาสมุนไพรจากดอกกานพลูมาฝากทุกท่านครับ

เมนูน้ำสมุนไพร ชากานพลู

ส่วนผสม

  • ดอกกานพลู                             4-5    ก้าน
  • น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรวด              1   ช้อนชา

วิธีการทำ

1. ใส่กานหลูในถ้วยชา ใส่น้ำร้อนเกือยเต้มทิ้งไว้ 5 นาที

2. ใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลกรดลงไปคนเข้ากัน

ควรดื่มอุ่นๆ จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยย่อย ได้เป็นอย่างดี

ต.ค. 072012
 

ยอ ในที่นี้ไม่ได้ถึงการยกย่อง ชมเชย หรือแม้กระทั่งประจบประแจง แต่อย่างใด แต่มันเป็นชื่อสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง พูดชื่อคงนึกออกนะครับว่าหมายถึงอะไร

วันนี้เรามารู้จักกับยอกันดีกว่าครับ

ชื่อโดยทั่วไป : Great Morinda,Indian Mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Molinda Critiforia Linn

ชื่ออื่นอื่นของยอ :ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-ทางแม่ฮ่องสอน)

มารู้จักลักษณะของยอกัน

ยอ ลักษณะผลของยอ หรือลูกยอลำต้น ยอเป็นไม้ยืนต้น แต่ค่อนข้างมีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 3-8 เมตร (จริงๆก็ไม่เล็กมากแต่นี่เทียบกับต้นไม้อื่นๆ)

ใบ  ไม่ผลัดใบ ใบใหญ่หนาสีเขียวสด มีดอกเป็นช่อสีขาว

ผลยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุนมาก

สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของยอ

ผลดิบ ใช้ขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งของหญิงมีครรภ์ ผสมยาแก้สะอ๊ก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน

ผลสุก  ช่วยขับลมในลำไส้

ราก  ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก

ใบ  มีวิตามินเอ ใช้บำรุงสายตา หัวใจ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้เกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ด แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค

สูตรยาเด็ดๆจากยอ  พอมารู้จักยอกันแล้วผมเองมีสูตรเด็ดจากยอมาฝากกันครับ

สูตรที่ 1  แก้คลื่นไส้อาเจียน ใช้ลูกยอดิบเผาหรือปิ้งโดยใช้ไฟอ่อน เผาผิวนอกให้ดำเป็นถ่าน ข้างในให้เหลือง ถ้าเผาไม่ถึงที่ยาจะมีรสขม ให้หั่นลูกยอเป็นแว่นบางๆคั่วทั้งสดๆ โดยใช้ไฟอ่อนคั่วจนเหลืองจากนั้นนำมาชงน้ำร้อน กินเป็นชาหรือต้มก็ได้

สูตรที่ 2 แก้คลื่อนไส้อาเจียน (เป็นอีกหนึ่งสูตรสำหรับคนที่ไม่ถนัดปิ้งหรือย่าง)  ต้มให้เดือดนาน 2-3 นาที ถ้าชงน้ำร้อนใช้ยอหนึ่งลูกต่อน้ำหนึ่งแก้ว แล้วชงทิ้งไว้สัก 5 นาที ควรเติมเกลือลงไปพอให้มีรสเค็มปะแล่มเพื่อชดเชย เกลือแร่ที่เสียไปจากการอาเจียน หรือจะใช้ยาหอมผสมลงไปด้วยจะยิ่งดีใหญ่ เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์จะช่วยให้หายอาเจียนเร็วขึ้น  ข้อแนะนำ ควรกินน้ำยอขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่

สูตรที่ 3 ยาแก้ท้องผูก  นำรนากยอที่โตขนานนิ้วชี้ ยาวประมาณ 6 นิ้ว สับเป็นชิ้นๆ ใส่น้ำ 2 แก้ว ต้ม 10-15 นาที กิน 1 แก้วก่อนเข้านอน ตอนเช้าท้องไส้จะระบายดี เหมาะกับคนเป็นโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร

สูตรที่ 4  ยาลดไข้  ใช้เปลือกยอต้ม 10-15 นาที  กินวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว จะทำให้ไข้ลดลง

เป็นงครับกับ 4 สูตรเด็ดที่นำมาฝาก ขอแถมท้ายด้วยเมนูสมุนไพรสุตรฮิต นั่นก็คือ

เมนูน้ำสมุนไพรลูกยอ

ส่วนประกอบที่ใช้  

  • ลูกยอสุกผลใหญ่                   1-2         ผล
  • น้ำสะอาด                             1 1/2      ถ้วย
  • ใช้น้ำผึ้ง                               1/2         ถ้วย
  • น้ำตาลทราย                          1/4       ถ้วย
  • เกลือป่น                               1/2       ช้อนชา

 

วิธีทำง่ายมากครับ

 น้ำลูกยอ เป็นน้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี1.  นำลูกยอสุกมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำสะอาดให้เปื่อยจนเม็ดหลุดออก

2. กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำตั้งไฟ

3.เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และเกลือป่นคนให้เข้ากัน

4.เสร็จแล้วครับ จะทานร้อนๆ หรือทิ้งไว้เย็นเติมน้ำแข็งก็ได้เหมือนกัน

 

บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ

 พืชสมุนไพร, รักษาเบาหวาน, ลดไขมันในเลือด  ปิดความเห็น บน บุก สมุนไพรไทย เพื่อหลีกไกล เรื่องอ้วนๆ
ต.ค. 052012
 

บุกมาแล้ว ! บุกมาแล้ว !  รีบหนีเร็ว  เอ๊ะยังไงนี่ เรากำลังดูหนังสงครามอยู่เหรอ เปล่าครับ บุกในที่นี้ไม่ได้ถึงข้าศึกบุก แต่หมายถึงหัวบุก สมุนไพรไทยบ้านเรา ต่างหาก และที่ต้องหนี ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นโรคฮอตฮิตในปัจจุบันอย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน ต่างหากที่ต้องหนีไป

บุก ส่วนที่เห็นคือ หัวบุก ทีแรกเรื่องของบุกในเมืองไทย มันก็ไม่ได้แพร่หลายหรือเป็นที่ได้รับความนิยมเหมือนทุกวันนี้เพราะจริงๆ ทีแรกมันก็เป็นพืชพื้นบ้านอยู่ดี  คนในท้องถิ่นก็นำบุกมาประกอบอาหาร เหมือนเผือก เหมือนมันทั่วไป     พอเริ่มมีคนมาวิจัย   สรรพคุณต่างๆของมัน เลยกลายเป็นพืชสมุนไพรไทยยอดนิยม มีการแปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สารสกัด บุกผง วุ้นบุก และอื่นๆอีกมาก วันนี้เองก็คงจะไม่ช้าเกินไปที่จะนำทุกท่านมารู้จัก พืชสมุนไพรไทย ที่เรียกว่าบุกกันแบบถึงกึ๋น

 

มารู้จักบุกกัน  

ชื่อไทย   บุก 

ชื่อสามัญ  Konjac ,  devil’s tongue  (ลิ้นปิศาจ  น่ากลัวนะครับชื่อนี้ คาดว่ามาจากลักษณะของดอกบุก )   , shade palm, umbrella arum

ชื่อวิทยาศาสตร์      Amorphophallus rivieri Durieu cv. Konjac

ชื่อวงศ์    ARACEAE

ชื่อตามท้องถิ่น  :  บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ (แม่ฮ่องสอน) มันซูรัน (ภาคดลาง)  หัวบุก (ปัตตานี) บุกคางคก  (ภาคกลาง, เหนือ) บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน)  กระบุก (อิสาน)

 

เราพบบุกได้ที่ไหน

บุกเป็นพืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ โดยขึ้นอยู่ตาม ชายป่า และบางทีก็พบตามพื้นที่ ทำนา เช่นที่ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นต้น บุกขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีให้หัวขนาด ใหญ่ได้ในดินร่วนซุย น้ำไม่ขังและดินที่มีฮิวมัส หรืออินทรียวัตถุสูง

 

ลักษณะของต้นบุก

ลักษณะของต้น บุก แสดงให้เห็นส่วนประกอบคือใบบุก และหัวบุกลำต้นใต้ดิน  บุกมีลำต้นใต้ดินหรือที่เราเรียกแบบง่ายๆก็คือ หัวบุก  แบบเดียวกับเรียกหัวเผือก หัวมัน ขนาดอยู่ที่ประมาณ 25 เซนติเมตร (บางพันธ์อาจเล็กกว่านี้ )ทรงกลมแป้นลักษณะทรงเดียวกับลูกฟักทอง แต่บางสายพันธ์มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป  ซึ่งส่วนนี้เอง เป็นใช้ที่สะสมอาหารของบุก

 ใบ  ลักษณะเหมือนใบมะละกอ มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย    บางชนิดมีหนามอ่อนๆ  หรือบางทีบุกบางชนิดก็มีใบมีจุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน  จะเห็นว่าใบบุกมีใบลักษณะที่หลากหลายมาก  แต่ที่เด่นๆสังเกตง่ายว่าเป็บุกคือ จะมีก้านตรงจากกลางของหัว เมื่อโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทาง มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่บาง พันธุ์จะแปลกตรงที่กลับขึ้นด้านบนเหมือนหงายร่ม ดังนั้นลักษณะของใบบุก มีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของบุก

ดอกของบุก     ลักษณะดอกดอกคล้ายต้นหน้าวัว แต่ละชนิดมีขนาด สี และรูป ทรงต่างกัน บางชนิดมีดอกใหญ่มาก โดยเฉพาะบุกคางคก ดอกบุกมีกลิ่น เหม็นเหมือนเนื้อสัตว์เน่า บุกชนิดอื่นๆ มีดอกเล็กก้านดอกจะโผล่ขึ้นตรง จากกลางหัวบุก เช่นเดียวกับก้านใบ บุกมักจะมีดอกในช่วงปลายฤดูแล้ง แต่บุกสามารถออกดอกได้ในช่วง เวลาต่างๆ กัน ระยะเวลาในการแก่เต็มที่ ของดอกที่จะติดผลก็ต่างกัน

 ผลบุก (อย่าสับสนกับหัวบุกนะ ) หลังจากดอก ผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล ผลอ่อนของบุก มีสีขาวอมเหลือง พออายุ ได้ 1-2 เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่ปลายคล้ายผลกล้วย ผล ของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว  บุกบางชนิดก็มีเมล็ดในกลม   ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือแดงส้ม

 

 

บุกกับการนำมาประกอบอาหาร

เป็นพืชอาหารพื้นบ้านซึ่งคนไทยนำเอาก้านใบมาแกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก     ส่วนหัวบุกมีการนำไปดัดแปลงตามแต่ละภูมิภาค เช่นทางภาคอีสาน มีการทำขนมที่เรียกว่าขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน (แกงลาว)   ภาคตะวันออกจะมีการฝาน หัวบุกเป็นแผ่น บางบาง แล้วนำมานึ่งกินกับข้าว ทางภาคเหนือโดยเฉพาะชาวเขา มักนำมา ปิ้งรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน

*บุกมีหลายชนิดหลายพันธุ์ อาจขมและมีพิษ ทุกชนิดมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ทั้งที่ก้านใบและหัว ซึ่งอาจทำให้คัน ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มเสียก่อน ไม่งั้นกินเข้าไปทำให้คันปากและลิ้นพอง

อาหารที่แปรรูปมาจากบุก

ปัจจุบันมีการนำบุกมาแปรรูป ทั้งในลักษณะของเส้นบุก ซึ่งคือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส่วนหัวบุก มีแบบเส้นใส สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้ ผมว่าใครเคยไปกินเนื้อย่างคงเคยเจอบ้าง   นอกจากเส้นบุกแล้วมีการนำมาผสมเครื่องดื่มต่างๆ เอาแบบฮิตๆสมัยก่อน คือ เจเล่ ผสมผงบุก ถ้าจำไม่ผิดอันนี้เขามาทำเป็นรายแรก (เจ้าของบริษัทผ่านมาอ่านขอค่าโฆษณาด้วยนะครับ)
สรรพคุณของบุก

จากการศึกษาพบว่า  แป้งบุกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน พวกกลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (polysaccharides)ที่ประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) และ (D-mannose) เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในรูปของใยอาหาร (dietary fiber)  ซึ่งดูดน้ำได้มาก แต่ร่างกายย่อยสลายได้ยาก ดูดซึมได้ช้า จึงให้พลังงานและสารอาหารน้อย เหลือกากมาก ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดี ผู้ที่ต้องการลดความอ้วนนิยมกินอาหารจากแป้งบุก เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก เพราะกินอิ่มได้ ระบายท้อง แต่ไม่ทำให้อ้วน

นอกจากนี้เองเจ้า สารกลูโคแมนแนนนี้ สามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ก็เนื่องจากความเหนี่ยว ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของกลูโคลสจากทางเดินอาหาร ยิ่งหนืดมาก็ยิ่งมีผลลดการดูดซึมกลูโคลส ดังนั้น กลูโคแมนแนนช่วยลดน้ำตาลได้ดีมาก ปัจจุบันจึงใช้แป้งเป็นวุ้นเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคมีไขมันในเลือดสูง

นี่แหละครับคือประโยชน์จากบุก ลองหามาทานกันนะครับ มีประโยชน์ขนาดนี้ สมัยนี้ไม่หายากแล้วเดินไปห้าง ก็ได้บุกเส้นแล้ว แนะนำมามายำแบบยำวุ้นเส้นนะครับ รับรองอร่อยแท้ๆ

 

 

ต.ค. 042012
 

ครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องตะไคร้กัน พอพูดถึงตะไคร้ แล้วคุณนึกถึงอะไร  บางคนอาจนึกถึง ยำปลาทูใส่ตะไคร้ พูดแล้วน้ำลายไหล บางคนอาจจะนึกไปไก ลถึงเรื่องเล่าที่ว่าที่ว่า

ตะไคร้ หรืือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า lemon grass

หากไม่ต้องการให้ฝนตก ให้เอาตะไคร้ มาปักกลับหัว !  ขำขำนะครับ ประเด็นนี้ ถ้ามันจะตกจริงผมว่า เอาตะไคร้มาทั้งกอก็เอาไม่อยู่   แต่ไม่ว่าคุณจะนึกถึงอะไร ไม่สำคัญ ตะไคร้ ก็ย่อมเป็นตะไคร้อยู่วันยังค่ำ มีคุณค่าในตัวของมันเอง
ซึ่งนอกจากการ ประกอบอาหาร ตะไคร้เอง ก็มีสรรพคุณในด้านการเป็น ” สมุนไพรไทย ” อยู่มากทีเดียว จากการหาข้อมูล ใครจะเชื่อว่าตะไคร้ จะถูกเอาไปทำเป็น สมุนไพรได้ถึง 5 สูตร น่าสนใจใช่ไหมล่ะครับ ก่อนที่เราจะพูดถึงสูตรเด็ดทั้งห้านั้น ตอนนี้เรามารู้จักกับ ตะไคร้ กันก่อน

 

ชื่อสามัญ   LEMON GRASS (LEMON = มะนาว  ,GRASS =หญ้า รวมกันเป็นหญ้ามะนาว เออฝรั่งเข้าใจตังชื่อดีนะครับ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้    Cymbopogon citratus Stapf

ชื่อวงศ์                                   Graminease

ชื่อแตละท้องถิ่น                    จะไคร (ทางภาคเหนือ)  ไคร (ภาคใต้)

ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุก (ขนาดพืชยังล้มแล้วลุก ทำไมคนเราล้มแล้วจึงไม่ลุก) อยู่รวมกันเป็นกอ มีข้อและปล้องสั้น ค่อนข้างเข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนจะมีใบเรียงซ้อนกันหลาชั้น ใบมีกาบใบเป็นแผ่นยาวโอบซ้อนกันจนแข็งจนคล้ายลำต้น ตัวใบเรียวยาว แหลม กว้างประมาณ 1-2 ซม.ยาวเต็มที่ได้ถึง 80 ซม. เนื้อใบหยาบมีขนอยู่ทั่วไป ขอบใบค่อนข้างคม เวลาจับใช้คามระมัดระวังด้วยนะครับ ผมเคยโดนบาดมาแล้ว  อ้ออีกอย่างตะไคร้มีดอกด้วยนะครับเวลาออกดอกเป็นช่อยาวมาก ซึ่งประกอบด้วยช่อย่อยที่มีดอกขนาดเล็กๆเป็นจำนนมาก มีขนที่ก้านดอก

เอาล่ะครับเมื่อรู้จักตระไคร้กันแล้ว เรามารู้จักสูตรเด็ด สมุนไพรไทยจากตะไคร้กันบ้าง

สุตรที่ 1 ใช้ตระไคร้เป็นสมุนไพรไทย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ  ท้องอืด ท้องเฟ้อใครไม่เคยเป็นยกมือขึ้น ไม่มีใครยกแสดงว่าเตยเป็นกันทุกคน แน่นอนครับอาการนี้ ไม่ว่าจะสาเหตุทานมากไป หรืออาหารไม่ยอมย่อย ก็ย่อมสร้างความอึดอัดแก่เราได้  บางคนอาจจะบอกว่าสมัยนี้ยามีเยอะแยะ เดินไปซื้ออีโนก็จบแล้ว อันนั้นผมไม่เถียง แต่ถ้าเรามีเลือกอื่น ที่เป็นทางเลือกจากธรรมชาติมากกว่าการใช้สารเคมี เราจะไม่ลองดูบ้างหรือ

น้ำตะไคร้ ใช้เป็นยาสมุนไพรไทยรักษา อาการท้องอืด ท้องเฟ้อวีธีใช้สมุนไพร   แค่คุณเอาตะไคร้มาทุบแหลกๆ ใช้ประมาณ  1 กำมือ เอาแบบตัวเลขแม่นๆก็ประมาณ 40-60 กรัม จากนั้นนำมาต้มกับน้ำประมาณ  2 แก้วโดยต้มสัก 4-5 นาที  จะทานร้อนๆ หรือเพื่อพิ่มรสชาติโดยการเติมน้ำตาลสักนิดแล้วตู้เย็นไว้ทานเย็นก็ได้ โดยแบ่งทานครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร

 

สุตรที่ 2 ใช้ตระไคร้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน   นอกจากการทานยาลดไข้เวลาเราไม่สบายแล้ว ตระไคร้ก็สามรถลดไข้ ลดอุณภูมิของร่างกายได้ (แต่ถ้าไข้สูง แนะนำให้พบแพทย์นะครับ)

 วิธีใช้สมุนไพร  ในสูตรนี้นอกจากตะไคร้แล้ว จะมีการใช้เหง้าขิงร่วมด้วย โดยที่ ใช้ขิงและตะไคร้ อย่างละ ¼ แก้ว และใช้น้ำ 3 แก้ว จากนั้นตั้งไฟเคี่ยวไปเรื่อยๆด้วยไฟอ่อนจนให้น้ำงวดลงจนเหลือ ประมาณ 2 ใน 3    เวลาทานก็ทานทีละ 1/3  แก้ว วันละ  3-4 ครั้ง

 

สุตรที่ 3  ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน   หลายคนอาจจะบอก่าผู้เขียนเป็นผู้ชาย จะมาเข้าใจอะไรในอาการนี้ขอผู้หญิง แน่นอนครับผมอาจจะไม่เคยปวดประจำเดือน  แต่ฟังจากคำบอกเล่า ของคุณแฟนแล้ว ก็พอเข้าใจครับว่ามันทรมานขนาดไหน

วิธีใช้สมุนไพร ใช้ต้นและรากตระไคร้สด 1 กำมือ  หั่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง ใช้ชงเป็นชากับน้ำร้อนใช้ดื่มต่างน้ำ

 

สูตรที่ 4 บำรุงผมสวยด้วยตะไคร้  มาถึงสูตรนี้เป็นเรื่องความสวยความงามกันบ้าง  สำหรับสาวๆ (หนุ่มๆ) ท่านใดอยากมีผมสวยสุขภาพดี มาลองสูตรนี้ดูกัน

วิธีใช้สมุนไพร  ใช้ต้นบนดินสดๆ ตัดใบทิ้ง (แบบที่เขามัดรมกันขายในตลาดนั่นแหละครับ) ใช้ประมาณ 3-4 ต้น นำมาหั้นแล้วตำให้ละเอียด(หรือปั่นด้วยเครื่องปั่นก็ได้) จากนั้นเติมน้ำสัก 2 ถ้วยแก้ว คั้นเอาแต่น้ำ นำมาโชลมเส้นผมที่สระเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 10-15 นาทีสระออกให้หมด จะช่วยทั้งขจัดรังแค ทำให้เส้นผมดำเงางาม อีกทั้งสำคัญที่สุดคือแก้ในเรื่องผมแตกปลายได้อีกด้วย

 

สูตรที่ 5 รักษาอาการขัดเบา อาการขัดเบา หรือปัสสาวะขัดนั้น ในตำรายาสมุนไพรไทย ก็ได้เขียนเอาไว้จึงนำมาลองให้อ่านดู

วิธีใช้สมุนไพร  สำหรับรักษาอาการขัดเบา ใช้เหง้าและลำต้นสด หรือแห้ง 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 40-60 กรัม ถ้าแห้งก็ 20-30 กรัม ทุบต้มกับน้ำพอควร แบ่งดื่ม 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือ จะหั่นตะไคร้คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร ข้อควรระวัง การใช้สมุนไพร ช่วยแก้อาการขัดเบานี้ ไม่ไช้กับคนไข้ที่มีอาการบวมน้ำ

 

เป็นไงครับกับ 5 สูตรที่ได้นำมาฝาก สนใจสูตรไหนก็ลองทำดูได้ไม่เสียหลายนะครับ

ฝากนิดนึงสำหรับคนที่จะนำบทความนี้ไปเผยแพราต่อ ทางเว็บเรายินดีครับ แต่อย่าลืมท้ายบทความช่วยลงลิงค์

http://ไทยสมุนไพร.net เพื่อเป็นเครดิตด้วยนะครับ จะได้มีกำลังใจเขียนบทความดีๆต่อไป

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือสมุนไพรไทยในวัด ,เว้บไซด์ สมุนไพรไทย 200 ชนิด:สมเด็จพระเทพ

 

ต.ค. 032012
 

หากจะพูดถึงจังหวัดนครปฐม ของดีขึ้นชื่อของที่นั่นอยู่ในคำขวัญจังหวัดอยู่แล้ว แต่มันมีหลายอย่าง แน่นอนเข้าเว็บ ไทยสมุนไพร..net จะให้นึกถึงอะไรเป็นอย่างแรกเสียไม่ได้ ถ้าไม่ใช่….. ลูกสาวสวย   …..เอ๊ยส้มโอหวานต่างหากล่ะ (เกือบหลุดแล้ว)  ส้มโอนั้นเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน ซี  และแคลเซียมสูง ผลจะนำมาทานเมื่อสุกแล้ว ใครกินส้มโอดิบคงพิลึก นอกจากทานสดสดแล้วนั้น ยังเอามาทำอาหารได้อีก ที่นิยมก็คือยำส้มโอ ไว้วันหลังมีโอกาศจะเอาสูตรเด็ด ยำส้มโอมาลง  เปลือกส้มโอมีรสขมนิยมนำไปแช่อิ่ม  นอกจากนี้ที่ประเทศจีนนิยมทำเป็นยาแก้ไอ และผสมยาหอมรับประทาน

มาพูดถึงรูปร่างลักษณะของส้มโอกันบ้าง

ผลส้มโอ หรือ ลูกส้มโอ ลักษณะของ ส้มโอลำต้นของส้มโอ ลักษณะของส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-9 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล

ใบส้มโอ   มีใบเดี่ยว รูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น  เล็กน้อย ปลายใบมนเช่นเดียวกับโคนใบ

ดอก   ออกดอกเดี่ยว  หรือเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ มีสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ 

ผล  ทุกท่านคงจะเคยผ่านตามาบ้าง รูปร่างกลมโต เปลือกหนา มีต่อมน้ำมันมาก ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลแก่หรือผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน และมีสีชมพู มีรสหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดอยู่ภายใน

 

และแล้วก็มาถึงไฮไลท์นั่นคือ สรรพคุณทางด้าน สมุนไพรไทย ของส้มโอ

ผลส้มโอ มีสรรพคุณขับลมในลำไส้  แก้เมาเหล้า (อันนี้ชอบ)

 เปลือกของผลส้มโด จะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก ตามตำราโบราณบางตำราบอกว่า  บรรเทาไส้เลื่อนได้ด้วย ซึ่งยังไม่มีหลักฐานรับรองตรงนี้ ซึ่งอาจจะมีสรรพคุณตรงนี้ตามที่ตำราโบราณเขียนไว้ก็ได้ เพราะคนโบราณเขาศึกษาจากการสังเกต แน่นอนต้องรองานวิจัยอื่นๆต่อไป

ใบส้มโอ นำมาต้มพอกศรีษะ บรรเทาอาการปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้ออีกด้วย

ดอกส้มโอ  แก้อาการจุกสียดในกระบังลม กระเพาะอาหาร

เมล็ดส้มโอ มีประโยชน์ในเรื่องของ แก้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร รวมไปถึงเรื่องของการแก้ไส้เลือน ซึ่งอันนี้เป็นกรณีที่ต้องค้นคว้าต่อเหมือนเปลือกของส้มโอ

 

นอกจากนั้นแล้วส้มโอยังมี วิตามินซี อันนี้คงพอทราบกันในเรื่อป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงในส้มโอยังมีแคลเซียม ซึ่งเสริมสร้างและบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี

 

ทั้งหมดนี้คือที่ผมนำมาฝาก ไปตลาดเห็นส้มโอ ก็อุดหนุนแม่ค้าสักคนละสูกสองลูกนะครับ

ปอลอ ช่วงนี้เขียนเรื่องผลไม้เยอะหน่อยอย่าว่ากันนะครับ  วันต่อๆมาอาจจะมีผักสมุนไพร และพืชสมุนไพรอื่นทยอยมาเพิ่ม อยากให้เขียนเรื่องไหน สมุนไพรอะไร ก็ comment มาบอกกันได้นะครับ

 

ต.ค. 022012
 

มะละกอ จริงๆแล้วจะว่ามะละกอเป็นพืช สมุนไพรไทย คงจะไม่ค่อยถูกนัก เพราะอะไร เพราะมะละกอเดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา (มาไกลแฮะ) ตอนมาก็หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาปัจจุบัน ออกลูกออกหลาน ขยายพันธ์เต็มบ้านเต็มเมืองเราได้ เริ่มต้นนั้นชาวยุโรปนำเข้ามาผ่านเรือสินค้าปัจจุบันก็กระจายกันไปจนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะบ้านเรามะละกอขึ้นชื่อมาก จนบางทีหลายคนคิดว่าถิ่นกำเนิดมาจากบ้านเรา อ้อฝรั้งนั้นรู้จักชื่อเสียงของมะละกอบ้านเราดี ในแง่ของการนำไปทำส้มตำหรือ papaya pok pok          (ปาปาย่า ป็อก ป็อก )    ไม่เชื่อ seach google ดูโดยใช้คำว่า papaya pok pok มีแต่เว็บฝรั่งทั้งนั้น)

ชื่อเรียกโดยทั่วไป papaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.
วงศ์  CARICAEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น  ในข้อมูลไม่บอกไว้ด้วย รู้แต่ว่า ภาคกลางเรียก มะละกอ ภาคอิสานเรียก บักหุ่ง (ใครพอรู้ของภาคอื่นๆ post ไว้ที่ comment หน่อยนะครับ)

ลักษณะทั่วไปของมะละกอ

ลักษณะของ ต้นมะละกอลำต้น เป็นพรรณไม่เนื้ออ่อน ไม่เหมาะแก่การนำมาสร้างบ้าน (แหงล่ะ) บางต้นสูงได้ถึง 8 เมตร ทีเดียว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นตรง ก้านใบแตกออกมาลำต้นโดยตรง
ใบ เป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆ คล้ายขนนก ใบมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร
ดอก มะละกอก็มีดอกนะครับถ้าไม่สังเกตจะไม่ค่อยเห็น ดอกตัวผู้มีสีเหลืองออกเขียว กลีบดอกบางยาว 2 ซม.ดอกตัวเมียไม่มีก้านดอก ยาว 7 เซนติเมตร เป็นดอกเดี่ยวและกระจุก กลีบดอกสีขาวเหลือง
ผล กลมยาวรี ผลดิบภายนอกมีสีเขียวเนื้อในสีขขาว เมื่อสุงอมจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อหนานุ่ม น่ารับประทาน รสหวานฉ่ำ มีเมล็ดสีดำผิวขรุขระอยู่ด้านใน

สรรพคุณทาง สมุนไพรไทย
– นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี(ช่วยในการย่อยไขมัน) ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แบบไม่ต้องง้อยาริดสีดวงทวารตรา ปลามังกรคู่
– ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่ดีมากๆ เป็นยาระบายชั้นดี
– นำเนื้อสุกมาปั่นพอกหน้าเพิ่มความชุ่มชื้น ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เรื่อง “รวมสูตรสมุนไพร เพื่อการบำรุงผิวหน้าง่ายๆที่บ้าน

มะละกับการประกอบอาหาร และคุณค่าทางอาหาร
– มะละกอเอามาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ถ้ามะละกอดิบ แน่นอนส้มตำส้มตำ หรือ papaya pok pok
– อย่าคิดว่ามะละกอดิบจะทำส้มตำได้อย่างเดียว หั่นเป้นแว่นๆพอคำ ใส่แกงส้มปลาช่อน ที่ไม่ใช่แกงส้มAF ได้
-มะละกอสุก นำมาปอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด หั่นเป้นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่นผสมน้ำตาล หรือน้ำเชื่อม และใส่เกลือเล็กน้อย คลายร้อนได้อย่างดี
-มะละกออุดมไปด้วย

> แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

> วิตามินซี เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ (คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้) และช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน

> วิตามินเอ บำรุงสายตาและระบบประสาท
นี่แหละครับคือคุณค่าของมะละกอที่ผมเอามาฝาก อ่านบทความจบแล้วจะไปหามะละกอสักลูกมาทานก็ไม่ว่ากันครับ ทานเผื่อผมด้วย

ข้อมูลอ้างอิง herb&healthy  ,thai wiki

หากท่านใดต้องการเอาบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อผมไม่หวงครับ แต่ขอความกรณาลง link ที่มา จาก web                                                                                                                    http://ไทยสมุนไพร.net  ให้ด้วยนะครับ

 

 

ต.ค. 012012
 

จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก

 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอกชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.

ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple

วงศ์ :  Anacardiaceae

ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)

รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) : 

ลักษณะของต้นมะกอกลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง

ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิดจากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :

  • เนื้อผลมะกอก – มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย

ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

  • น้ำคั้นใบมะกอก – ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก – รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก – ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก – สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ

ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด

ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น

คุณค่าทางอาหารของมะกอก

–        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา

–        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม

–        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

–        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม

–        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม

–        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม

–        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล

–        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม

–        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม

–        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม

–        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม

น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง

ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้

นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร

น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้

อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)

อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้

1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว

2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย

3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว

4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)

5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี

6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ

7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ

8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)

9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง

10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้

นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

 

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ

รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

 

 

 

 

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้

 ช่วยสมานแผล, พืชสมุนไพร, ลดไข้, แก้ไอ ขับเสมหะ  ปิดความเห็น บน ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรทะลายไข้
ก.ย. 292012
 

หากใครจำเหตุกรณ์ เมื่อตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดได้จะพบว่าตอนนั้นมีพืชชนิดหนึ่ง ที่ได้รับกระแสความนิยม นั่นคือสมุนไพรไทยที่ชื่อฟ้าทะลายโจร ถึงขนาดกระทรวงสาธารณะสุขออกมาส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและใช้
และมีการทำยาลักษณะแคปซูลออกมาขายมากมาย วันนี้เรามารู้จักพืชชนิดนี้กันนะครับ

สมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจรข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata Wall. ex Ness.
สกุล  ACANTHACEAE
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (ชลบุรี) หญ้ากันงู (สงขลา) สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) เขยตายยายคลุม (อ.โพธาราม) เมฆทะลาย (ยะลา) เรียกได้ว่ามีชื่อเรียกหลากหลายทีเดียว

ลักษณะของพืชชนิดนี้

ต้น เป็นไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม จะแตกกิ่งก้านออก เฉพาะด้านข้างเท่านั้น กิ่งก้านมีสีเขียว และ จะสูงประมาณ 30-60 ซม.
ใบ ออกใบเดี่ยว ลักษณะของใบแคบ ตรงปลายและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมันมีสี เขียว
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ปลาย ดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ สีขาว หรืออมม่วง อ่อนๆ ดอกจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก ที่ปากบน แยกออกเป็น 3 กลีบ ล่าง 2 กลีบ มีกลีบ เลี้ยง 5 กลีบ
ผล คล้ายกับผลของต้นต้อยติ่ง แต่มี ขนาดเล็กและสั้นกว่า ผลนี้จะตั้งมุมก้านดอก เมื่อผลแก่เต็มที่ก็แตกออกเป็นสองซีกทำให้ มองเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบนๆ มีอยู่จำนวนมาก

การขยายพันธุ์ เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ ในดินทุกชนิด และจะปลูกได้ทุกฤดูกาลด้วย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น (สด- แห้ง) และใบ

สรรพคุณ

ใบ รักษาแผลน้ำร้อนลวก แก้ไฟไหม้ โดยการนำมาบดผสมกับน้ำมันพืชใช้ทาตรง บริเวณที่เป็นแผล

ใบและทั้งต้น แก้บิดชนิดติดเชื้อ แก้ทางเดิน อาหารอักเสบ แก้หวัด แก้ทอนซิล แก้ปอด อักเสบ เรียกได้ว่าเรื่องของหวัดไข้ แก้ได้อย่างครบวงจรเลยทีเดียว แก้อาการท้องเดิน โดยใช้ต้น แห้งประมาณ 1 – 3 กำมือเอามาหั่น แล้วต้ม กับน้ำดื่ม ส่วนเป็นยาแก้ไข้นั้นให้ใช้ครั้งละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือก่อน อาหารเช้าเย็นและถ้าเป็นโรคภายนอก

วิธีการทำยาเค็ปซูล นำใบมาตากแห้ง บดให้ละเอียด และนำมาบรรจุในแคปซูลเปล่าเพื่อรับประทาน(แคบซูลเปล่าหาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป)

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของฟ้าทลายโจร สมุนไพรไทยที่เรานำมาฝากกัน

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 292012
 

ทับทิม เป็นพืชสมุนไพรไทย หรือจะเรียกว่าเป็น ผลไม้สมุนไพรก็ได้ ด้วยรสชาติที่หอมหวานจึงมีคนนำทับทิมมาประยุกต์เป็นอาหารที่หลาหลาย เช่นนำมาใส่ของหวาน ทำทับทิมลอยแก้ว นอกจากนี้ในด้านการเป็นสมุนไพร ทับทิมยังมีสรรพคุณต่างๆอีกมากมาย

ทับทิม สมุนไพรไทยข้อมูลทั่วไปของทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์   Punica granatum Linn.
ชื่อวงศ์ PUNICACEAE

ชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่น
มะแก๊ะ (เหนือ) มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน) หมากลิง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) พิลา (หนองคาย) เจียะลิ้ว (จีน)

ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น เป็นไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะผิวเปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือ มีหนามแหลมยาวขึ้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมน แคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบ เกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.8 ซม. ยาว ประมาณ 2.5 – 6 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็น ดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบ ดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสร ตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 2 – 3 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้าง กลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือ สุกเต็มที่มีสีเหลืองปนแดง และลักษณะของผล จะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลก็จะมีเมล็ดเป็น จำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด

การขยายพันธุ์ ทับทิมนั้นเป็นพืชที่โตได้ดีในดินปนทรายหรือดินที่มีกรวด สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้ เมล็ด

ส่วนที่ใช้ เปลือกลำต้น , ใบ , ดอก, เปลือกผล , เมล็ด , และเปลือกราก

สรรพคุณ

ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้าง แผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบ สดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้เป็น ต้น

เปลือกต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35 – 0.6 ฺ% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้ มีชื่อเรียกว่า Pelle tierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี

เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6 – 9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน หรือยาลูกกลอน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจาก โรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำ ให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น

เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6 – 12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรังเป็นต้น

ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3 – 6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือด กำเดาแข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก

เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5 – 4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำ มาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรค บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น

 

เป็นไงบ้างครับประโยชน์ของทับทิม ว่าแล้วก็เด็ดมาทานสักลูกจากต้นข้างบ้านดีกว่า

ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 292012
 

มะระขี้นก เป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักดีและ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำมารัปประทาน เป็นผักที่ใช้ทานคู่กับน้ำพริก (พูดมาแล้วน้ำลายไหล) แม้จะมีรสค่อข้างขม (ถ้าลวกดีๆก็ไม่ขมนะ) แต่รสชาติโดยรวมถือว่าใช้ได้ ซ้ำยังมีสรรพคุณทางยาอีกมายมาย

ข้อมูลทั่วไป
มะระขี้นกมะระขี้นก สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสกุล  CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นที่เรีกกันตามภูมิภาค
ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล มะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้น เป็นไม้เถา ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว ลำต้นมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน มีรสชาดขม
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ออกตาม บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมแดง และผลนั้นก็จะแตกอ้าออก ข้าง ในผลก็จะมีเมล็ดอยู่ เป็นรูปกลม แบน ถ้า เมล็ดสุกก็จะมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้น ตามบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีการขยายพันธุ์ด้วย การใช้เมล็ด

 

สรรพคุณ

ผล ใช้ผลสด นำมาต้มหรือประกอบเป็น อาหารใช้รับประทาน มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ หรือใช้ผลแห้งนำ มาบดให้ละเอียด ใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง เป็นต้น

ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ เป็นต้น

ใบ ใช้ใบสด นำมาลวก หรือต้มกินเป็น ยาฟอกเลือด ยาระบาย เจริญอาหาร หรือใช้ ใบแห้ง นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น

ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาตำให้ ละเอียดแล้ว คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ ขับลม และสามารถใช้เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ

 

นี่แหละครับคือประโยชน์ของมะระขี้นกอ่านแล้วยิ่งอยากนำมารับประทานมากขึ้น
ขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยสำหรับข้อมูล

ก.ย. 262012
 

ช่วงนี้กระแสเห็ดฟีเวอร์ มีการนำเห็ดมาสกัดผสมกับซุปไก่ยี่ห้อดังยี่ห้อหนึ่ง ตอนโฆษณาเขาใช้คำว่าเห็ด ซิทาเกะ ฟังดูออกญี่ปุ่นมาก แต่จริงแล้วเห็ดชนิดนี้คนไทยเราคุ้นเคยมานาน ซึ่งมันก็คือเห็ดหอมนั้นเองครับ แม้เห็ดหอม ไม่ได้เป็น สมุนไพรไทย แต่คนไทยเราก็รู้จักกันดี โดยเฉพาะสรรพคุณในการต้านมะเร็ง ทางเว็บเราจึงขอตามกระแสหน่อยด้วยการนำข้อมูลของเห็ดหอมมานำเสนอ

เห็ดหอม หรือ shiitake mushroom ภาพที่เห็นคือ เห็ดหอมแห้ง ที่ผ่านการตาก หรือ อบชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.

ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ

ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ

ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน

ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม

ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว

แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร

การกิน  : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น

สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก ป้องกัน และต้านมะเร็ง

ข่า สมุนไพรไทย รักษาลมพิษ

 รักษาโรคผิวหนัง  ปิดความเห็น บน ข่า สมุนไพรไทย รักษาลมพิษ
ก.ย. 242012
 

นอกจากประโยชน์ของข่าในการใช้ประกอบอาหารแล้วนั้น ประโยชน์อย่างหนึ่งที่คนไม่รู้กันคือช่วยในการบรรเทาโรคผิวหนัง และลมพิษต่างๆ จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์มากทีเดียว

ข่า ข้อมูลทั่วไป
ข่า
ชื่อวิทย์ Alpinia nigra (Gaertn.) B.L.Burtt
ชื่อวงศ์ Fam. : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น
ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)
กุฏกกโรหินี เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน)สะเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ลงหัวจำพวก กะวาน เร่ว กะลา จะลงหัวใหญ่ขาวอวบอ้วน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม
ใบ จะมีลักษณะรูปไข่ยาว จะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้นบนดิน ซึ่งจะเป็นกาบของใบหุ้ม ลำต้น ใบคล้ายพาย
ดอกเป็นช่อมีขาวแต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
ดอก จะออกเป็นช่อตรงปลายยอด และดอกช่อนั้นก็จะจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีกาบ
สีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้นจะบาน จากข้างล่างขึ้นข้างบน
ผล มีลักษณะกลมโตและมีขนาดเท่าเม็ด บัว เมื่อแก่จะมีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน จะมีรสขม เผ็ดร้อน
การขยายพันธุ์ ข่าจะปลูกด้วยเหง้า หรือหน่อจะปลูกได้ทุกฤดูกาล โดยการแยกปลูกเป็นหลุม ๆ ละต้น ปลูกห่างกันราว ๆ
80 ซม. เผื่อให้มันแตกกอ และปลูกง่ายไม่มีศัตรูพืชรบกวน
ส่วนที่ใช้ เหง้าอ่อน และแก่

สรรพคุณ ของพืชสมุนไพร ชนิดนี้
เหง้า เหง้าแก่ นำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ใช้เป็นยารักษาภายนอก หรือจะตำใช้ทำกระ สายเป็นเหล้าโรง ทารักษาอาการคันในโรค ลมพิษ ทาบ่อย ๆ จนกว่าลมพิษนั้นจะหายไป

ก.ย. 242012
 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้่ที่หาทานได้ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แต่สรรพคุณไม่กล้วยเหมือนชื่อของมันเลยกล้วยน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไปกล้วยน้ำว้า สมุนไพรไทย กล้วยน้ำว้า

ชื่อวิทย์ Musa sapientum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MUSACEAE
ชื่ออื่น -ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นที่เห็นจะเกิดจากก้านหุ้มซ้อนกัน จะมีลำต้นขนาดใหญ่ และสูงประมาณ 25 เมตร
ใบ มีสีเขียว เป็นแผ่นยาว เส้นของใบจะขนานกัน แกนใบจะเห็นชัดเจน
ดอก มีลักษณะที่ห้อยย้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. เป็นช่อซึ่งเรียกว่า หัวปลี และตามช่อนั้นจะมีกาบหุ้มช่อ
มีสีแดงปนม่วง เป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซ.ม ส่วนทีเป็นฐานดอกจะมีเกสรตัวเมีย ส่วนปลายจะมีเกสรตัวผู้
ช่อดอกจะเจริญกลายไปเป็นผลนั้น เกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้จะร่วงไป
ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้ว ผลนี้จะประกอบเป็นหวี เครือละประมาณ 7-8 หวี เมื่อออกผลใหม่จะมีสีเขียว
เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง แต่ละต้นจะให้ผลครั้งเดียว แล้วตายไป
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ หรือแยกเหง้า
ส่วนที่ใช้ ผล หัวปลี หยวกกล้วย

สรรพคุณ
ผล ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ดอก แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจางลดน้ำตาลในเส้นเลือด (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการเบาหวาน)

 

ก.ย. 242012
 

สำหรับ สมุนไพรไทย ตัวนี้ชื่ออาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าได้เห็นรูปของสมุนไพรชนิดนี้อาจจะร้องอ๋อ ต้นแบบนี้นี่เอง สำหรับกระทือเป็นพืชตระกูลเดีวกับพวกขิง ข่า ลักษณะดอกสวยงาม

ข้อมูลทั่วไป

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   ingiber zerumbet Smith.
ชื่อวงศ์ Family  : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค   หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน (ภาคเหนือ)  เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นประเภทเดียวกับไพล หรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ในดินมี สีขาวอมเหลือง
ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ลักษณะ ของใบ เรียวยาว ใบมีสีเขียวแก่
ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นมาจากเหง้า ช่อก้านดอกยาว และเป็นปุ้ม ส่วน ปลายมีกลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนแดง
ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบอ้าออก กลีบเลี้ยงจะอุ้มน้ำไว้ได้
การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย
ส่วนที่ใช้ ลำต้น, ดอก, ใบ, เหง้า
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ลำต้น    ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร เจริญอาหาร
ใบ          เป็นยาใช้ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ(ผมเองก็งงกับศัพท์คำนี้อยู่น่าจะหมายถึงขับประจำเดือน)  วิธีใช้ด้วยการนำมาต้ม เอาน้ำดื่มกิน
ดอก      เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง ผอมแห้ง ใช้นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้า     ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ เสมหะเป็นพิษและบำรุงน้ำนม วิธีใช้โดยการนำหัวหรือเหง้าสด ประมาณ 2 หัว (20 กรัม) ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนผสมกับน้ำปูนใส ประมาณครึ่งแก้ว แล้วใช้น้ำดื่ม